“ทำไมเสาคอนกรีตของโรมันยุคโบราณ ถึงมีความแข็งแรงมานานกว่า 2,000 ปี แม้ว่าจะโดนน้ำทะเลกัดเซาะทุกวัน ?”
ทีมวิจัยจากสหรัฐอเมริกาได้ค้นพบว่า เสาโรมันยุคโบราณถูกสร้างขึ้นมาจากเถ้าภูเขาไฟหินปูน และน้ำทะเลจนเกิดเป็นปูนขาว ซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษคือ เนื้อปูนสามารถแข็งตัวได้แม้อยู่ใต้น้ำ หรือที่เรียกกันว่า “hydraulic cement” (ส่วนปูนที่ไม่สามารถแข็งตัวในภาวะที่เปียกน้ำได้จะเรียกว่า “non-hydraulic cement”) สามารถที่จะดูดซับเกลือแร่จากน้ำเค็มของทะเลได้ดี และส่งผลให้เสาคอนกรีตโบราณมีความแข็งแรงมากยิ่งขึ้น หลังจากได้ปูนขาวซึ่งเป็นส่วนผสมจากเถ้าภูเขาไฟและหินปูนแล้ว จะนำหินภูเขาไฟมาผสมก่อนนำไปสร้างเป็นเสาของวิหารต่อไป
เมื่อเวลาผ่านไป สิ่งก่อสร้างที่สร้างด้วยซีเมนต์ที่แข็งตัวได้แม้เปียกน้ำกลับค่อยๆ สูญหายไปจนหลงเหลือให้เห็นในสิ่งก่อสร้างยุคหลังนี้เพียงไม่กี่แห่ง จนเข้าสู่ช่วงกลางศตวรรษที่ 18 จึงเริ่มมีการพัฒนาสูตรซีเมนต์ให้มีคุณลักษณะเดียวกับองค์ความรู้เดิมของชาวกรีก-โรมัน โดยซีเมนต์ที่ถูกพัฒนาขึ้นในยุคหลังนี้มักรู้จักกันในชื่อว่า “ซีเมนต์พอร์ตแลนด์”
.
PP Micropile
Photo ; Reddit
อ้างอิงจาก: Google และ Facebook เพจทันโลก