ในอดีตมนุษย์เรานับถือ"กี" ก่อนนับถือผีเสียอีก"กี"หรือ"โยนี"แปลว่า อวัยวะเพศหญิง!!
ศาสนาแรกสุดของมวลมนุษยชาติ
ในอดีตการเจริญพันธ์เป็นเรื่องสำคัญมากๆเป็นสิ่งชี้เป็นชี้ตายของมนุษย์เผ่าพันธ์ต่างๆในยุคต่างๆ เผ่าพันธ์ไหนมีประชากรน้อยจะไม่มีแรงงานในการล่าสัตว์และทำการเกษตรสำหรับสะสมอาหารไว้กินในยามหน้าแล้ง...และเมื่อมีจำนวนประชากรน้อยมากๆคนที่เหลือก็แทบไม่รอดพ้นจากภัยอันตรายรอบตัวตามธรรมชาติและโรคระบาค..บางเผ่าพันธ์ถึงกับสูญพันธ์กันเลยทีเดียวเช่นในปัจจุบันที่พึ่งสูญพันธ์ไปในพศ.2565คือมนุษย์รูที่บลาซิลที่ชายคนสุดท้ายของเผ่าพึ่งตายไปในเดือนกันยายน..ดังนั้นจำนวนประชากรจึงสำคัญสุดๆในการคงอยู่ของเผ่าพันธ์ต่างๆทั่วโลก
ว่ากันว่าในอดีตมวลมนุษย์เรานับถือ"กี"ก่อนนับถือผีเสียอีก"กี"หรือ"โยนี"แปลว่า อวัยวะเพศหญิง ในภาษาไทยนั้นย่อมาจาก “...น” คำบาลีที่แปลว่า เล็ก ต่ำต้อย ด้อยกว่า ทั้งๆ ที่สังคมโบราณไม่ว่าของวัฒนธรรมไหนๆ ต่างยกให้ผู้หญิงเป็นใหญ่ เช่น สัญลักษณ์บางอย่างที่ถูกใช้กันมาแต่โบราณกาล หรือการยกย่องเทพแห่งธรรมชาติของไทย ก็มักใช้คำว่า "แม่" มานำหน้า การนับถือกีบูชากีมีมากว่า30000ปีก่อน..มนุษย์ใช้กีเป็นสัญลักษณ์แทนเพศหญิง ที่เป็นผู้ดูแลที่อยู่อาศัยและปรุงอาหาร แต่ที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นคือการผสมพันธ์และให้กำเนิดลูกหลาน ซึ่งจะมาเป็นกำลังสำคัญของครอบครัวต่อไป ดังนั้นในสมัยโบราณมนุษย์มักสร้างประติมากรรมรูปกีใช้เป็นตัวแทนของความอุดมสมบูรณ์นั่นเองแต่เดิมในวัฒนธรรมตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์จนกระทั่งวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ อำนาจฝ่ายหญิงทรงพลังเป็นอย่างมาก หลักฐานหนึ่งที่ตกค้างมาจนปัจจุบันของอำนาจโบราณแห่งภคะนี้ คือ เทวีนั่งแหกกีโชว์ของลับอย่างเปิดเผย “เจ้าแม่ลชาเคารี” (Laja Gauri)
ท่าแหกขานี้ได้แต่ใดมา? สันนิษฐานจากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบ คงได้มาแต่วัฒนธรรมสินธุ เพราะ มีการพบตราประทับมีภาพเจ้าแม่นั่งแหกขาแล้วมีต้นไม้เกิดออกมาจากอวัยวะเพศ สะท้อนอำนาจการเกิดอย่างชัดเจนตรงไปตรงมา ความตรงไปตรงมานี้ชี้ว่า
ท่าแหกขานั้นคือ “ท่าคลอดบุตร” ท่าที่ทรงพลังที่สุดของฝ่ายแม่ในฐานะผู้สร้าง การสร้างจะไม่สมบูรณ์เลย หากไม่มีการแหกขาเพื่อคลอด (ในทางเดียวกันลึงค์ที่แข็งตัวจึงเป็นสัญลักษณ์อันทรงพลังของอำนาจการสร้างฝ่ายชาย) พระนางลชาเคารีผู้แสดงท่าทางนี้มีลักษณะอื่นที่สำคัญคือ ทรงไม่มีเศียร ในส่วนเศียรมักถูกแทนที่ด้วยดอกบัวขนาดใหญ่ ประทับแหกขา ร่างการเปลือยเปล่า ในตรงนี้ทางประติมานวิทยาตีความว่า พระนางคือแผ่นดินที่ให้กำเนิดชีวิต ทรงเป็นที่มาแห่งความอุดมสมบูรณ์ทั้งหลายดังแผ่นดินแผ่นน้ำ ในอีกทางหนึ่งดอกบัวก็คือแสดงความผลิบานของโยนีสาวแรกรุ่นที่เปี่ยมด้วยอำนาจแห่งการสร้าง และท่าคลอดบุตรก็แสดงว่า เราคือสิ่งที่ถูกสร้างผ่านช่องคลอดของเจ้าแม่
พระนางที่แสดงเครื่องเพศชัดเจนเช่นนี้จึงได้รับการตีความว่าเป็นเทวีแห่งบรรพกาล แต่พระนางมิเคยเก่าเลย ทรงได้รับการนับถือทั่วทั้งอินเดียมาถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะ ในบริเวณรัฐอานธรประเทศ อุตรประเทศ มัธยมประเทศ CAROL RADCLIFFE BOLON กล่าวว่า แท้จริงแล้วพระนางมีรูปแบบมากกว่านี้ บางครั้งแสดงเศียรอย่างมนุษย์ บางครั้งทรงดอกบัวในพระหัตถ์ทั้ง 2 คล้ายพระลักษมีเทวีแห่งความอุดมสมบูรณ์ ลักษณะทางประติมานนำไปสู่ข้อสันนิษฐานว่า พระนางอาจเป็นต้นแบบหนึ่งของพระลักษมีหรือไม่ เพียงแต่เปลี่ยความอุดมสมบูรณ์ที่แสดงออกให้เรียบร้อยขึ้นในสายตาแบบศาสนาฝ่ายชาย คือ จับโยนีมาส่วมสาหรี่นั่นเอง
ในฤคเวทอธิบายว่า พระนางเป็นส่วนหนึ่งกับเทวีอทิติ เจ้าแม่แห่งท้องฟ้า ทรงเป็นรูปปรากฏของอทิติผู้เป็นอนังคะ (ไร้รูป) ประเด็นส่วนนี้หมายความว่า พระนางคือฟ้า คือฝน คือความอุดมสมบูรณ์ ถ้าพูดเช่นนี้คงไม่ต้องอธิบายนะครับว่า ฝนนั้นคือน้ำอะไร ส่วนนี้อธิบายได้ว่า แม้เข้าสู่ยุคพระเวทคือหลังการรับวัฒนธรรมอารยันแล้ว พระนางก็ยังคงครองพื้นที่ด้านความอุดมสมบูรณ์อยู่เช่นเก่า โดยร่องรอยหลักฐานทางโบราณคดีช่วยยืนยันว่า เทวีที่แสดงท่าแหกขานั้นมีสืบมาในศิลปะอินเดียโบราณ (พุทธศตวรรษที่ 3-6) แอบ ๆ อยู่ตามสัญลักษณ์มงคลต่าง ๆ ทั่วทั้งสถูปสาญจี กระทั่งการสร้างรูปเคารพของพระนางปรากฏเป็นประติมากรรมชัดเจนในสืบพุทธศตวรรษที่ 9 และก็ดูเหมือนว่าจะยังคงมีมาเสมอ บ้างนำเอาไปประดับฐานเสา ฐานสถาปัตยกรรม เป็นเครื่องรางขนาดเล็ก เป็นตราประทับบนเหรียญเงิน เป็นต้น
นัยซ่อนเร้นในสัญญะที่คุ้นตา
สัญญะที่ถ่ายทอดรูปลักษณ์ของโยนีจึงมีมายาวนาน อย่างรูปสามเหลี่ยมที่ปลายแหลมคว่ำลง สัญลักษณ์ Egyptian Ankh กากบาทของอียิปต์ ซึ่งมีวงเหมือนริบบิ้นอยู่ด้านบน ต่อด้วยด้ามตรงที่อยู่ด้านล่าง
แท้จริงก็ร่างขึ้นมาเพื่อแทนค่าเพศหญิง วงตรงกลางหมายถึงอวัยวะเพศหญิง ส่วนเส้นตรงข้างล่างคืออวัยวะเพศชาย เมื่อรวมร่างกันจึงมีความหมายถึงการเกิดขึ้นของชีวิตใหม่ การมีชีวิตนิรันดร์ ความอุดมสมบูรณ์ ส่วนแขนสองข้างที่กางออกไปนั้นหมายถึงแขนของเด็ก หรือชีวิตที่เกิดใหม่ แต่เมื่อมาถึงปัจจุบันแล้ว กากบาทซึ่งมักนำมาใช้ทำเป็นจี้เครื่องประดับนั้น เข้าใจกันว่าหมายถึงคำอวยพรให้โชคดี
ส่วน Jesus Fish สัญลักษณ์รูปปลาในคริสต์ศาสนา ซึ่งหมายถึงความอุดมสมบูรณ์เช่นกัน เมื่อวางแนวขวางแล้ว เรามองอย่างไรก็เป็นรูปปลาเท่านั้น และยังเชื่อมโยงกับความตอนหนึ่งในพระคัมภีร์ ที่พระเยซูได้เสกข้าวปลาอาหารมาเลี้ยงคนได้ไม่มีวันหมด แต่เมื่อวางในแนวตั้ง ก็จะเห็นได้ว่าจำลองรูปทรงของเพศหญิงออกมา
นี่เป็นสัญลักษณ์ที่มีใช้มาเนิ่นนาน เทพเจ้าแห่งความอุดมสมบูรณ์อย่างอทาร์กาทิส (Atargatis) ของชาวซีเรียน เงือกไซเรนที่โชว์อวัยวะเพศ สืบต่อมายังตำนานเทพของกรีก สัญลักษณ์ของเทพีอะโฟรไดต์ หรือวีนัส (Aphrodite / Venus) ซึ่งเป็นเทพแห่งความรักและเพศสัมพันธ์ มาถึงตำนานของความเชื่อเพแกน กับ เทพีมหามารดา (Great Mother Goddess) ซึ่งคริสต์ศาสนานั้นได้เข้าสวมทับเครื่องหมายแห่งความเชื่อนั้น เพื่อสืบต่อความศรัทธาอย่างกลมกลืน แต่ยังคงความหมายแห่งความอุดมสมบูรณ์อยู่ตามเดิม
ในทำนองเดียวกัน วงรีแนวตั้งที่มีบนล่างเป็นมุมตัด (เหมือนสัญลักษณ์ปลาในแนวตั้ง) หรือ “เรือแห่งปลา (Vessel of Fish)” นั้น มักปรากฏอยู่ในโครงร่างของรูปเคารพ รวมถึงสถาปัตยกรรม โดยเฉพาะในยุคโกธิค ก็มีผู้วิเคราะห์ว่านั่นคือโครงร่างของอวัยวะเพศหญิงซึ่งซ่อนเพื่อสื่อถึงความอุดมสมบูรณ์ แม้แต่ในรูปเคารพของพระแม่มารี ก็ยังมีผู้มองเห็นและชี้ว่าที่ซ่อนความเป็นเพศแม่อยู่ในนั้น เมื่อไม่เคยนึกถึงมาก่อน ก็ไม่มีทางดูออก แต่เมื่อมีผู้ชี้จุดแล้ว จะเห็นได้ว่าชัดเจนอยู่เหมือนกัน แต่ทั้งนี้ เราคิดว่าไม่ได้มีความหมิ่นหยามอยู่ในนั้น เมื่อเราคิดในบริบทว่า อวัยวะเพศหญิงคือสัญลักษณ์แห่งการเกิด ความมีชีวิต และความอุดมสมบูรณ์
เครื่องรางสำหรับคนรุ่นใหม่
ความเชื่อมีที่ทางของตัวเองเสมอทุกยุคทุกสมัย สัญลักษณ์โบราณนี้จึงถูกนำมาออกแบบเป็นเครื่องประดับ ทั้งเพื่อความสวยงามเก๋ไก๋โดยไม่คำนึงถึงความหมาย ทั้งใส่ใจความหมาย โดยปรับรูปแบบให้เรียบง่าย ไม่ดูตรงตัวเกินไป หรือกระทั่งการนำรูปแบบมาใช้อย่างตรงไปตรงมา และหวังผลในเชิงโชคลางอย่างจริงจัง
Yoni Amulet หรือ แม่โยนีมหาเสน่ห์ เครื่องรางจำลองรูปอวัยวะเพศหญิงจากเมืองไทย มีขายแพร่หลายในร้านค้าออนไลน์ระดับบิ๊ก เครื่องรางโยนีมีฤทธิ์ด้านมหาเสน่ห์ พกพาเพื่อดึงดูดและให้โชคเรื่องความรัก
ขณะที่เครื่องรางของไทยนั้นออกแบบสัณฐานของแม่โยนีเข้าขั้นเหมือนจริง ในโลกตะวันตกซึ่งตอบรับเอาความเชื่อและศาสนาโบราณมาใช้ ออกแบบเครื่องรางใหม่ให้ดูทันสมัย สีสันสดใส ดูป๊อบมากขึ้น เชื่อมโยงกับแนวธรรมชาติบำบัด การกลับคืนสู่ธรรมชาติ หรือพลังงานบำบัด อย่างพลังงานของจักระทั้ง 7 โดยโยนีนั้นสื่อถึงกุณฑาลินี คือจักระบริเวณอวัยวะเพศ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานสำคัญ นอกจากงานศิลปะที่หยิบเอาอวัยวะเพศหญิงมาเป็นหัวข้อ เพื่อกระตุ้นพลังของผู้หญิง ก็มีร้านค้าออนไลน์ที่ขายเครื่องรางโยนีกันมากมาย ดีไซน์สวยงาม ดัดแปลงให้ไม่ต้องสมจริงเกินไป
ในโลโก้เงือกดั้งเดิมของสตาร์บัคก็มีสัญลักษณ์นี้เช่นกัน แต่ถูกซ่อนไม่ให้มองเห็นไปเรียบร้อยแล้ว เพื่อลดการถกเถียงกันว่าเงือกสองหางของสตาร์บัคคืออะไร แท้จริงแล้วก็คือเงือกนั้นเชื่อมโยงกับสัญลักษณ์ “ปลา” ของเพศหญิงอย่างชัดเจน เงือก 2 หางนั้นแท้จริงคือตั้งใจโชว์ “เรือแห่งปลา” เพื่อหมายถึงความอุดมสมบูรณ์มั่งคั่งนั้นเอง (ว่ากันโดยโชคลาง ก็นับว่าได้ผลจริงนะ)
ซึ่งตัวอย่างของการใช้สัญลักษณ์นี้มีมากมายมหาศาล ถึงกับรวบรวมเป็นพิพิธภัณฑ์ อย่างที่ https://www.vaginamuseum.co.uk/ หรือช่องทาง Facebook Vagina Museum หรือที่ Instagram @vagina_museum ได้รวบรวมไว้ ลองเข้าไปดูแล้วจะซึ้งเลย
ไม่ว่าตอนนี้โลกจะก้าวไกลไปถึงไหนต่อไหน แต่การอ้างอิงถึงรากความเชื่อเดิม ยังคงจำเป็นอยู่เสมอในการเล่าเรื่อง จึงเป็นเรื่องที่สนุกมากในการเฝ้าสังเกตการมีอยู่ของสัญลักษณ์เก่าแก่ที่มีอยู่และหมุนเปลี่ยนไปตามโลกสมัยใหม่
อ้างอิงจาก: https://www.komchadluek.net/amulet/153194
Cr.
http://jedeethai.blogspot.com/2020/08/laja-gauri.html?m=1