🦀ปูเจ้าฟ้า สุดเอกลักษณ์กระดอง-กามขาว ขา-ตาม่วงดำ ที่เขาบางหนาอุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาว จ.ระนอง
🦀#ปูเจ้าฟ้า สุดเอกลักษณ์กระดอง-กามขาว ขา-ตาม่วงดำ ที่เขาบางหนาอุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาว จ.ระนอง
🦀“ปูเจ้าฟ้า” พบครั้งแรกที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาว ชื่อปูเจ้าฟ้า ได้รับพระราชทานพระราชานุญาตอัญเชิญพระนามาภิไธยของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นชื่อวิทยาศาสตร์ของปูชนิดนี้
🦀มีเอกลักลักษณ์เฉพาะตัวที่โดดเด่นไม่เหมือนปูน้ำจืดทั่วๆ ไป คือ บริเวณส่วนของกระดองและก้ามเป็นสีขาว บริเวณปาก เป้าตา และขาทั้งสี่คู่เป็นสีม่วงดำ ด้วยสีสันสวยงามแปลกตา เมื่อโตเต็มที่จะมีความกว้างของกระดอง ประมาณ 9-25 มิลลิเมตร หรือประมาณ 1 นิ้ว
🦀สภาพชีวิตของปูเจ้านั้น จะอาศัยอยู่ในธารน้ำที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 300 ฟุต ภายใต้สภาวะอากาศที่เย็นฉ่ำ น้ำใสสะอาดตา และที่สำคัญจะต้องมีปริมาณออกซิเจนที่สูงเท่านั้น โดยมักจะซ่อนตัวอยู่ตามซอกหิน ลักษณะเด่นอีกอย่างหนึ่งของปูชนิดนี้อยู่ที่ปล้องท้องหรือจับปิ้ง ตัวผู้จะมีลักษณะแหลม ส่วนตัวเมียนั้นปลายจะมน
🦀ช่วงเดือนมิถุนายนจะเป็นช่วงที่ปูเจ้าฟ้าผสมพันธุ์ เดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายนปลายฤดูฝนย่างเข้าสู่ต้นฤดูหนาวจะเป็นช่วงที่ปูวางไข่เสร็จเรียบร้อยแล้ว เราสามารถเจอปูเจ้าฟ้าได้มากที่สุดช่วงนี้ การหากินจะหากินตามถิ่นที่อยู่อาศัยเหมือนกับปูชนิดอื่นๆ อาหารจะเป็นตัวอ่อนของแมลงตะไคร่น้ำ ตัวทากหรือสัตว์เล็กๆ ที่สามารถใช้ก้ามหนีบได้ เป็นต้น
ชมคลิปวีดีโอ🦀
อ้างอิงจาก: เฟสบุ๊ค กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และ https://youtu.be/WmrOq3VB1j8