[สรุป] กิจกรรม CREATURES OF TRILOGA WORKSHOP 2022
มาแล้วค่ะ กับสรุปเนื้อหาในกิจกรรม “CREATURES OF TRILOGA WORKSHOP” ในวันที่ 9 ตุลาคมที่ผ่านมา ขอบคุณกิจกรรมดีๆจากทางทีมงาน และสามารถไปติดตามกิจกรรมอื่นๆได้ในเพจ Art of Triloga เลยนะคะ
.
ในกิจกรรมบรรยายโดย
- คุณนภนต์ ซูซูกิ (เทปเป้) napon_suzuki
- คุณภัทรพงศ์ ชูสุทธิสกุล (วิน) Phattmawin
- TRILOGA Team
.
ภายในกิจกรรมจะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือการเสวนากับเวิร์คช็อป โดยเนื้อหาที่เราพูดส่วนใหญ่จะเป็นในช่วงครึ่งแรกค่ะ เพราะว่าครึ่งหลังเป็นการให้ผู้ร่วมกิจกรรมได้ลองดีไซน์สิ่งมีชีวิตขึ้นมาแทน
.
ซึ่งเราต้องเกริ่นไว้ก่อนเลยว่า เราแทบไม่ได้ถ่ายบรรยากาศในการเสวนาเลยค่ะ ก้มหน้าจดงกๆอย่างเดียว 55 แถมยังมีบางส่วนจดตามไม่ทันในสมุดที่จดจึงค่อนข้างเละเลย(ฮา) แต่เราจะเขียนอธิบายเพิ่ทเป็นการทดแทนนั่นเองค่ะ!!
.
เริ่มแรกเป็นการแนะนำตัวพิธีกรกับการเกริ่นเรื่องดีไซน์ค่ะ ซึ่งเราสารภาพตรงนี้เลยว่า...เราเผลอหลับค่ะ- เป็นเพราะวันนั้นโต้รุ่งเพื่อไปกิจกรรมด้วยแหละค่ะ 555 แต่ว่าเราตื่นมาพอดีตอนที่เริ่มเข้าเนื้อหาแรกค่ะ
"เมื่อทำงานการดีไซน์ ไม่ว่าจะเป็นการดีไซน์สิ่งที่มีความแฟนตาซีสูง หรือว่าเน้นไปทางไซไฟมากขนาดไหนก็สามารถทำได้ ขอแค่มันยังคงสัมพันธ์กับพื้นเพและ 'กฏ' ของโลกก็พอ"
.
จริงๆอันนี้เป็นประโยคภาษาอังกฤษจากหนังสืออะไรสักอย่างที่พิธีกรยกขึ้นมาพูดค่ะ แต่เราจำไม่ได้ว่าตัวประโยคดั้งเดิมคืออันไหน แต่ว่าอันนี้คือความหมายจากคำแปลคร่าวๆที่เราสรุปได้ค่ะ ซึ่งสิ่งแรกที่เขาพูดถึงนั่นก็คือเรื่องของ 'กฏ' ของโลกค่ะ ไม่ว่าจะเป็นโลกที่สร้างขึ้นมาเองหรืออะไรก็ตาม ล้วนแล้วแต่มีที่มาที่ไปและกฏของมันอยู่ ดังนั้นท้ายที่สุดสำหรับดารดีไซน์สิ่งต่างๆภายในเรื่องราวของเราจึงต้องรักษา 'กฏ' ของโลกที่ได้วางเอาไว้แต่แรกค่ะ เพื่อที่จะทำให้ทุกอย่างมีความ 'สมเหตุสมผล' ในตัวของมันเอง
.
และต่อมานั่นก็คือ องค์ประกอบของการดีไซน์ แบ่งเป็น 2 หัวข้อใหญ่ๆค่ะคือ
.
1.) จินตนการ
- ความแปลกใหม่
- ความคิดสร้างสรรค์
.
2.) ความรู้
- สัตว์ ใช้เป็นแหล่งอ้างอิงในการสร้างสรรค์
- สภาพแวดล้อม เพื่อให้การมีตัวตนดูน่าเชื่อถือ
- อนาโตมี่ เพื่อปรับเปลี่ยนและรังสรรค์กว้างขึ้น
- ท่าทาง แสดงคาร์แลคเตอร์ของสิ่งที่ดีไซน์
- การวาด ส่วนสำคัญที่ทำให้ถ่ายทอดความคิดเราออกมท
.
ในส่วนของจินตนาการนั้นคงไท่ต้องพูดถึงเยอะมากนัก เพราะว่าจินตนาการเป็นสิ่งที่ทุกคนคงคุ้นชินและรู้จักมันดี เป็นเรื่องพื้นๆเลยที่คนเรามักจะมีความคิดสร้างสรรค์อยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเรื่องราวที่เหนือความจริงไป ซึ่งสำหรับเราแล้ว ความคิดที่ออกมาจากเราๆม่ว่าจะได้รับแรงบันดาลใจหรืออะไรจากที่ไหนก็ตาม หากผสมเข้ากับตัวตนและทัศนคติของแต่ละคนก็จะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวอยู่ และนั่นคือ 'ความแปลกใหม่' ค่ะ
.
มาต่อที่ในส่วนของความรู้ ในบางครั้งคนเราอาจจะพูดว่าจินตนาการหรือการสร้างสรรค์นั้นไม่จำเป็นต้องพึ่งพาความรู้มากขนาดนั้น จริงอยู่ว่าแม้เราจะไม่มีความรู้แต่ก็สามารถใช้จินตนาการรังสรรค์ออกมาได้ แต่ว่า หากต้องการจะนำมาเผยแพร่และออกสู่สายตาผู้อื่นละก็ ความรู้คือจุดเชื่อมที่จะทำให้คน 'เชื่อ' ในจินตนาการของเราค่ะ ยิ่งเราใช้ควาทรู้ในการสร้างสรรค์เท่าไหร่ ก็ยิ่งสร้างความเชื่อและมีอารมณ์ร่วมไปกับมันได้ถึงที่สุด อีกทั้งการที่เรามีความรู้เป็นพื้นฐาน ก็จะยิ่งสามารถต่อยอดจินตนาการออกไปได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุดค่ะ
.
ซึ่งในส่วนของความรู้ ทางพิธีกรจะเล่าพื้นเพเรื่องของ 'โลก' เราค่ะ ทั้งการกำเนิด การเอาตัวรอด และเล่าย้อนไปถึงยุคไดโนเสาร์ ซึ่งถ้าเราเขียนทั้งหมดคงยาวเกินไป ขอสรุปแค่ในความสำคัญหรือน่าสนใจสำหรับเราอย่างเดียวนะคะ และเพราถเป็นการสรุปตามความเข้าใจของเราอาจจะมีบางส่วนผิดพลาดได้ ใครที่มีความรู้เพิ่มเติมสามารถเสริมได้นะคะ
.
อย่างแรกเลย โลกที่เป็นดาวเคราะห์นั้นมีทักษะการเอาตัวรอดสูงมาก และไม่มีทางพังหรือแตกได้ง่ายๆอย่างแน่นอน เพราะทุกครั้งที่โลกถึงช่วงวิกฤตก็จะทำการดันลาวา(?)ที่อยู่ใต้ผิวโลกออกมา เพื่อล้างสิ่งมีชีวิตบนโลกและเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง นั่นคือปรากฏการการ 'สูญพันธุ์' นั่นเอง และโลกเคยมีเหตุการณ์เช่นนี้มาแล้วถึง 5 ครั้งด้วยกัน ที่โด่งดังที่สุดคงไม่พ้นการสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์
.
โดยในยุคก่อแผ่นดินนั้นอยู่เกาะตัวดันเป็นแผ่นปึกใหญ่ ก่อนที่เพราะการเคลื่อนตัวทีละน้อยของโลกตลอดระยะเวลากลายร้อยหลายพันล้านปี แผ่นดินก็ค่อยๆแยกตัวออก ดลายเป็นทวีปและเกาะน้อยใหญ่ต่างๆดังเช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน นั่นเป็นหลักฐานชัดเจนที่สุดเลยว่าการมีอยู่ของโลกนั้นเป็นมาอย่างยาวนานมากๆ มากเสียจนช่วงเวลาที่มนุษย์เริ่มมีตัวตนอยู่นั้นไม่อาจเทียบเคียงได้ ท้ายที่สุด ช่วงเวลาของมนุษย์เพียง 10,000 ปีนั้นถือว่าสั้นมากๆ ถ้าเทียบกับยุคของไดโนเสาร์
.
และจากการครองโลกของไดโนเสาร์ที่กินเวลาอย่างยาวนาน เมื่อเกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ก็เป็นยุคของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่สามารถเอาชีวิตรอดมาได้ จักรวาลไตรโลกาก็เริ่มขึ้นตรงนี้นั่นเอง
ซึ่งต่อไปจะเริ่มเข้าเนื้อหาเกี่ยวกับการ 'วิวัตนาการ' ค่ะ ซึ่งต้องเกริ่นถึงบุลคลสำคัญที่คนน่าจะคุ้นชื่อกันดีทั้ง 2 ท่านก็คือ
.
Jean Lamarck ซึ่งเป็นคนริเริ่มแนวคิดว่าสิ่งมีชีวิตนั้นไม่ได้ถูกสร้างขึ้นโดยพระเจ้า และมันมีที่มาที่ไปของมัน ซึ่งบุลคลท่านนี้ก็เป็นคนที่จุดประกายความคิดให้กับท่านต่อไป
.
Charles Robert Darwin เป็นคนปฏิวัติความเชื่อเดิมด้วยทฤษดี 'วิวัตนาการ' ซึ่งเป็นการกล่าวถึงที่มาของสิ่งมีชีวิตบนโลก ว่าล้วนแล้วแต่ปรับตัวมาจากสิ่งมีชีวิตนับตั้งแต่ช่วงยุคไอซ์เอด
.
หากให้สรุปความต่างของทฤษฏีทั้งสองท่านจะได้เป็นดังนี้ค่ะ
.
Jean Lamarck - บรรพบุรุษยีราฟพยายามยืดคอเพื่อกินใบไม้สูงๆ จึงส่งต่อมายังลูกหลายให้คอยาวตาม
Charles Robert Darwin - มีแค่ยีราฟที่คอยาวเท่านั้นที่รอด ตอนนี้ยีราฟทั้งหมดจึงคอยาว
.
และมาถึงการวิวัฒนาการ เพราะหลังตากเข้าสู่ช่วงยุคไอซ์เอดก็มีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมส่วนใหญ่ที่รอด และก็ดำรงอยู่เป็นต้นบรรพบุรุษของทุกๆสิ่งมีชีวิตในปัจจุบัน หรือก็คือทั้งโลกในตอนนี้นั้นเรียกได้ว่าเป็นญาติห่างๆกัน หากเราลองศึกษาอนาโตมี่จะสังเกตุเห็นจุดนี้ได้ ว่าแท้จริงแล้วทุกอย่างมีโครงสร้างใกล้เคียงกันมาก ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของกระดูกมือ ที่จะเป็นฝ่ามือและแยกออกไป 5 นิ้ว ถ้าลองเอากระดูกมือของสัตว์แต่ละชนิดมาเทียบกัน จะพบว่ามันเป็นแบบนั้นเหมือนกันหมด เพียงแค่มีรูปร่าง รูปทรง หรือขนาดแตกต่างกันไปตามการปรับตัว ไม่ว่าจะเป็น วาฬ นก ค้างคาว แมว และมนุษย์
.
ดังนั้นพอเราศึกษาได้ว่าทุกๆสิ่งมีชีวิตมีเบสเหมือนกันแล้ว ก็จะสามารถนำมาปรับและผสมให้อยู่รวมกันได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์มากๆในการสร้างสรรค์สิ่งมีชีวิตใหม่ๆขึ้นมาค่ะ เพราะพอเราเข้าใจเราก็จะยิ่งมีแนวทางการปรับเปลี่ยนได้เยอะมากยิ่งขึ้นนั่นเอง
.
และยังคงต่อด้วยเรื่องของสัตว์ ซึ่งตรงนี้เขาพูดเร็วมากๆเราเลยตามไม่ค่อยทันนะคะ คราวนี้เขาจะเล่าเกริ่นถึงพื้นเพของสัตว์ค่ะ ว่าจะมีสัตว์มีกระดูกสันหลังและไม่มีกระดูกสันหลัง ซึ่งจะมีลักษณะที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน ก่อนจะอธิบายสัตว์ไม่มีกระดูกสั้นแบบสั้นมากๆและไปสู่สัตว์มีกระดูกสันหลังเลย ซึ่งก็จะแยกไปอีกนั่นก็คือสัตว์เลือดเย็นกับเลือดอุ่น ซึ่งตรงนี้จะสำคัญในส่วนของการดีไซน์ผวหนังกายภาพ และวิถีชีวิตของสิ่งมีขีวิตที่สร้างค่ะ
.
มาต่อที่ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติส่วนสุดท้าย นั่นก็คือถิ่นที่อยู่อาศัยค่ะ ซึ่งเป็นหัวข้อที่สำคัญมากจนแทบจะเรียกได้ว่าการวางถิ่นอาศัยนั้น เป็นส่วนที่จะกำหนดปัจจัยยิบย่อยทุกอย่างในการออกแบบเลยค่ะ ซึ่งมันมีไบโอมเยอะมากๆเลย ที่เราจดทันส่วนมหญ่จะเป็นอันหลักๆที่พบเจอได้บ่อยค่ะนั่นก็คือ
.
ทะเลทราย - สิ่งมีชีวิตในถิ่นนี้มัดจะมีความทรหดมากที่สุดเพราะสภาพแวดล้อมที่เลวร้าย ส่วนมากจะมีสีอ่อนเพื่อสะท้อนความร้อนจากแสงอาทิตย์
.
ขั้วโลก - หรือพื้นที่ที่ปกคลุมด้วยหิมะ เป็นถิ่นที่ท้าทายการออกแบบมากที่สุดแล้วค่ะ ซึ่งสัตว์ในถิ่นที่อยู่นี้มักจะมีไขมันเยอะเพื่อสร้างความอบอุ่นให้ร่างกาย
.
ทะเล - ซึ่งจะแบ่งเป็นสองเขตพื้นที่ใหญ่ๆค่ะ คือในส่วนของประการัง เช่น ปลาการ์ตูน ดอกไม้ทะเล หอยต่างๆ แล้วก็ในส่วนที่เป็นทะเลลึก เช่น ฉลาม วาฬ และอื่นๆ
.
ทุ่งหญ้า - เขานิยามไว้ว่านี่เป็นถิ่นที่ 'ป่าเถื่อน' ที่สุดแล้วค่ะ เพราะเป็นพื้นที่โล่งกว้างไม่มีที่ให้ซ่อน สิ่งมีชีวิตในพื้นที่นี้จึงต้องมีความแข็งแรงเป็นพิเศษ เพื่อเอาตัวรอดจากสภาพแวดล้อมเช่นนั้นค่ะ
.
ภูเขา - ส่วนมากจะมีความสามารถในการทรงตัวและปีนป่าย สัตว์มีกีบบางทีก็มีร่องด้านล่างเหมือนกับจุ๊บที่เอาไง้เกาะติดกับหินค่ะ
.
หนองน้ำ(?) - คือพื้นที่ที่ผสมผสานระหว่างป่ากับแหล่งน้ำค่ะอย่างเช่นป่าดิบชื้น สิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่ก็จะเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ และสภาพแวดล้อมนี้ถือว่ามีความสมบูรณ์ที่สุดแล้วค่ะ
.
และนี่คือการเกริ่นก่อนเจ้าหัวข้อหลัดของกิจกรรมเรื่องการดีไซน์ค่ะ ทั้งหมดทั้งมวลนี้คือ 'กฎของโลก' ที่เราอยู่ในปัจจุบันค่ะ ซึ่งการเข้าใจกฎตั้วต้นเอาไว้นั้นจะช่วยในการที่จะสามารถต่อยอด และสร้างกฏใหม่ๆขึ้นมาในเรื่องราวของเรานั่นเองค่ะ ซึ่งก็จะเข้าเรื่องต่อไปอย่างรวดเร็วค่ะนั่นก็คือ
ขั้นตอนการดีไซน์สิ่งมีชีวิต ของ พิธีกรทั้ง 2 ท่านค่ะ
.
1.) กำหนดถิ่นที่อยู่อาศัย ว่าจะให้สิ่วมีขีวิตนี้อยู่ที่ไหน สภาพปวดล้อมยังไงก่อนเปผ้นอันดับแรก เพื่อให้หาไอเดียและวางรากฐานของการดีไซน์ให้สรอดคล้อง และเปผ้นอันหนึ่งอันเดียวกันค่ะ
.
2.) แยกองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิต โดยมีดังนี้ หน้า,เขา,ร่างกายส่วนบน,ผิวหนัง,ขาหน้า,ขาหลัง,ปีก,กรงเล็บ,หาง,บั้นท้าย ซึ่งการแยกองค์ประกอบในร่ายกายสิ่งมีชีวิตออกมานั้น ก็เพื่อที่จะสามารถปรับเปลี่ยนแต่ละส่วนได้เห็นภาพมากขึ้นค่ะ ยกตัวอย่างง่ายๆก็คือพอแยกองค์ประกอบออกมา เราก็สามารถนำส่วนประกอบเหล่านี้จากสัตว์ชนิดต่างๆมารวมตัวกันได้
.
3.) การหา reference ในแต่ละส่วนค่ะ ยิ่งเราหาเรฟลงลึกไปเยอะมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีวัตถุดิบในการพลิกแพลงมากจึ้นค่ะ อย่างเช่นเรฟเป็นแมงป่อง แล้วเป็นแมงป่องชนิดไหนล่ะ? ราวๆนั้นค่ะ เรฟนั้นเปผ้นสิ่งที่สำคัญมากค่ะ เพราะต่อให้เรามีภาพหรือความจำในหัวอยู่แล้ว แต่พยายามอย่าใช้สิ่งที่อยู่ในหัววาดออกมาค่ะ ควรที่จะหาเรฟประกอบจะดีกว่า
.
และมาต่อในส่วนของการยกตัวอย่างค่ะ โดยพิธีกรนั้นจะยกตัวอย่างการดีไซน์สิ่งมีชีวิตในไตรโลกา ซึ่งทุกตัวจะเริ่มต้นเหมือนกันนั่นก็คือ การหาข้อมูลและตีความจากข้อความในไตรภูมิ และนำมาตกผลึกต่อยอดใหม่ในความคิดของทั้งคู่
.
1.) ติณราชสีห์ อ้างอิงร่างกาย รูปทรง เขี้ยวแบบ Hell Pig หมูป่าที่สูญพันธุ์ไปแล้ว และใช้แบบไบสัน
.
2.) บัณทุราชสีห์ ใช้พฤติกรรมการเป็นอยู่คล้ายกับชีต้า การรวมฝูงแบบชะมด และการล่าแบบนกตบยุง ตีความข้อความว่า 'ลายใบไม้ร่วง' เป็นลวดลายของงู
.
3.) ไกรสรราชสีห์ มีความสามารถการหอนเหมือนกับหมาป่า ร่างกายอ้างอิง Tasmanian Tiger ซึ่งมีขากรรไกรที่กว้าง พร้อมกับเสริมแผงคอให้เหมือนกับสิงโต
.
4.) กาฬราชสีห์ มีความใจดีแบบแรดชวา โหนกกับหงอนผสมผสานลายไทยเข้าไปด้วน พฤติกรรมคล้ายกับหมูป่าและฮิปโป ที่จะรักสงบแต่หากถูกก่อกวนก็ดุร้ายเช่นกัน
.
5.) ครุฑ ร่างกายอ้างอิงจาก Pterosauros ที่เป็นไดโนเสาร์นกยักษ์ การเดินเหมือนกัยคล้างคาวที่ใกล้เคียงการคลานมากกว่า ส่วนมากจะปีนปายมากกว่าบิน ปีกเอาไว้ใช้สำหรับร่อนในหุบเหว มีพฤติกรรมล่าเยื่อเหมือนนกเหยี่ยวบางชนิดที่จะเก็บอาหารที่ล่าเสียบเอาไว้กิน หงอนสื่อถึงมงกุฏตามคอนเซปของครุฑ ซึ่งในส่วนนี้ได้มาจากร่างกายของนกหัวชนหิน และตรงท้ายทอยจะมีขนดกเป็นเหมือนเส้นขน เพื่อสื่อถึงการเป็นมนุษย์นก
.
และตรงนี้ก็จบในส่วนเนื้อหาขั้นตอนการดีไซน์ค่ะ...โดยเวลาที่เหลือ พิธีกรจะสาธิตการดีไซน์สอ่งมีขีวิตให้ดู 1 อย่าง โดยเอาโจทย์เป็นสัตว์ 3 ชนิดจากผู้ฟัง ซึ่งเป็นโจทย์ที่โหดหินเอาเรื่องค่ะนั่นก็คือ "ฮิปโป + ผีเสื้อ + หอยมือเสือ อยู่ในเขตหิมะ"
ซึ่งในส่วนนี้เราจดเป็นขั้นตอน และความคิดของเขาตอนวาดนะคะ เพื่อให้เป็นตัวอย่างแบบเป็นรูปประธรรมมากขึ้นนะคะ ว่าการทำงานของนักออกแบบเป็นแบบไหน
.
- เริ่มจากการวางโครงตัวฮิปโปมาก่อน เพื่อให้เป็นเบสสำหรับแต่งเติมสิ่งต่างๆลงไป
- ใส่ปีกผีเสื้อ แล้วปรับให้มีแกนเนื้อเหมือนกัยนก เพื่อให้เข้าและกลมกลืนกับตัวฮิปโป และดูไม่เป็นแมลงเกินไป
- เอาเปลือกหอยมาเชื่อมกับกระดูกสันหลัง ลามขึ้นมาและแผ่ออกเป็รเหมือนกันแผงคอ
- ให้คอเหมือนกับโผล่หัวออกมาจากเปลือกหอย
- เปลี่ยนให้เป็นหางแบบผีเสื้อยาวๆ แล้วก็ผสมผสานเปลือกหอยเข้าไปด้วย เป็นเหมือนกับแผงเกร็ดของก็อตซิล่า
- ปรับปีกแบ่งให้กลายเป็น 2 แง่ง จนมีทั้งหมด 4 ปีก ด้สนหน้าใหญ่ ส่วนด้านหลังใกล้ๆบั่นท้ายเป็นปีกเล็ก
- ปรับหัวฮิปโปที่ดูฮิปโปเกินไปจนเหมือนภาพตัดแปะ ให้มีความโค้งเว้าและแนบเนียนกับเปลือกหอยด้านหลังมากขึ้น พร้อมกับเปลี่ยนหูเปผ้นยาวๆเหมือนแมวคัลราเคิล เพื่อให้ดูน่ารัก
- เอาเปลือกหอยมือเสือมาผสมผสานกับเกร็ดด้านข้างลำตัว
- เปลี่ยนโครงปีกให้มีความหงิกงอเหมือนกับเปลือกหอย เพื่อให้ทั้งคู่มีความกลมกลืนกันมากขึ้น
- มาเปลี่ยนที่ปีกอีกครั้ง ให้กลายเป็นแง่งเล็กๆคล้ายกับพังผืดของสไปโนซอรัส สามารถพับเปิดปิดได้ และหูแบบแมวหูยาวนั้น #ถูกนำออก
นี่คือในส่วนของการร่างลำตัทั้งหมดค่ะ แล้วก็มาต่อที่ขั้นตอนต่อไป เป็นการลงสีเพื่อแต่งเติมให้ภาพมีความสมบูรณ์มากขึ้นค่ะ
- ใช้สีเบสเป็นเทาทึบๆเพื่อให้เข้ากับพื้นที่ที่เป็นหิมะ
- เติมดีเทลลงสีตรงเกร็ดให้ออกโทนสีเขียว และลงสีช่วงท้องให้เป็นสีสว่าง
- เติมสีสันให้ปีกโทนส่ม โดยใช้สีส้มตรงใกล้ๆโคนปีก และใช้เป็นสีกึ่งส้มกึ่งเหลืองตรงปลายปีก ใช้โทนนี้เพื่อคุมธีมผีเสื้อ
- ลงสีที่หัวไล่สีไปเป็นสีเข้มขึ้น และปรับสีตรงท้องให้สว่างขึ้นอีก
- เพิ่มสีเขียวเข้มตรงจุดโฟกัส นั่นก็คือตรงช่วงๆปลายเกร็ด และทางพิธีกรก็รู้สึกตัว ว่าหลุดธีมหิมะไปเรียบร้อยแล้ว
- แต่ก็ยังคงเดินหน้าต่อ เพิ่มสีม่วงเปผ้นเส้นๆลงไปในปีก ตรงกลางระหว่างที่เป็นสีส้มกับเหลือง
- สุดท้ายงานเสร็จ แต่คนไม่เสร็จ เลยจับน้องมาศัลยกรรมเสียใหม่ โดยการปรับสีรูปให้กลายเป็นโทนเย็น เติมสีตาอ่อนๆให้เหมือเรืองแสง(?) เติมควันแถวจมูกให้ดูหายใจเย็นๆ เติมแบล็กกราวตรงพื้นให้เหมือนหิมะ เติมขนคิ้วยาวๆเข้าไป เติมกิมมิคให้กับเปลือกหอยโดยให้ตรงปลายๆเรืองแสงได้ แล้วก็เติมขนตรงปลายหางกับปีกอีกที
เสร็จแล้วค่ะ!! เฮ้อ เหนื่อย- พอต้องจดตามการวาดรูปของพ่อมดที่เหมือนเสกงานนี่ แทบไม่มีเวลาพักหายใจเลยค่ะ เผลอๆเราแทบไม่ได้มองตอนเขาวาดเลยด้วยซ้ำ 555 ก็แหม กะพริบตาแค่แป๊บเดี๋ยวงานก็ไปเร็วมากๆเลย
.
และนี่คือเนื้อหาทั้งหมดที่เราได้มาภายในกิจกรรม “CREATURES OF TRILOGA WORKSHOP” ค่ะ ต้องขอขอบคุณทั้งทีมงานที่จัดเตรียมงาน และพิธีกรรที่ช่วยให้ความรู้ในงานมากๆเลยค่ะ ซึ่วเราจะใส่ช่องทางติดตามผลงานของพิธีกรทั้ง 2 ท่านไว้ด้านล่างนี้นะคะ
ปล.เราฟังไม่ทันนะคะ ว่าอันไหนเป็นของใครบ้าง 5555
.
FB : Art of Napon Suzuki
IG : PHATTMAWIN
IG : NAPON_SUZUKI
.
#CREATURESOFTRILOGA #ไตรโลกา #สัตว์หิมพานต์ #สัตว์ประหลาด #ครุฑ