ตรวจสุขภาพหลังติดเชื้อโควิด-19 ทำอย่างไร ตรวจที่ไหนดี
การตรวจสุขภาพหลังเป็นโควิด เป็นเรื่องที่สำคัญ โดยภาวะการติดเชื้อโควิด-19 ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน จนถึงตอนนี้มีคนจำนวนไม่น้อยที่ได้รับเชื้อและติดเชื้อโควิด-19 ไปแล้ว หลังหายจากโรคดีแล้วซึ่งบางครั้งอาจใช้เวลานานถึง 28 วันหรือมากกว่าหลังจากที่พบเชื้อ บางคนพบว่ามีอาการผิดปกติที่บางครั้งไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นอะไร
ภาวะผิดปกติทั้งหลายที่เกิดขึ้นนี้จะเรียกว่าลองโควิด (Long COVID) ซึ่งถ้าเกิดภาวะเหล่านั้นขึ้นแล้วอาจต้องมีการสืบหาโรคว่าจริง ๆ แล้วเป็นอาการที่หลงเหลืออยู่ของการติดเชื้อโควิด-19 หรือเป็นโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้นหรือไม่
โดยการตรวจสุขภาพหลังหายจากโควิดเป็นการตรวจเพื่อเช็คสุขภาพอย่างละเอียดตามระดับอาการผิดปกติคงค้างที่ส่งผลต่อชีวิตประจำวัน เพื่อจะได้ดูแลตัวเองได้อย่างถูกวิธี ในบทความนี้จะมาแนะนำถึงรายละเอียดในการตรวจให้เข้าใจกันมากขึ้น
การตรวจสุขภาพหลังติดโควิด
การตรวจสุขภาพหลังเป็นโควิด เรียกง่ายๆ ว่าการตรวจลองโควิด (Long COVID) หากพบความผิดปกติภายในร่างกาย สามารถวางแผนการดูแลรักษาสุขภาพได้ทันที ก่อนที่อาการเจ็บป่วยนั้นจะมีพัฒนาการความรุนแรงมากกว่าเดิม ซึ่งอาจต้องอาศัยกระบวนการรักษาและระยะเวลาที่มากกว่าเดิม
ภาวะลองโควิด (Long COVID) คืออะไร
โดยภาวะลองโควิดนั้น เมื่อหายป่วยจากโควิด-19 แต่จะยังคงมีอาการบางอย่างหลงเหลืออยู่ ถึงแม้จะเข้ารับการรักษาจนเชื้อโควิดหายจากร่างกายแล้วก็ตาม โดยอาการในแต่ละคนมีความแตกต่างกัน และสามารถเกิดขึ้นกับส่วนใดของร่างกายก็ได้ เช่น ระบบหายใจ ระบบประสาท ระบบทางเดินอาหาร หัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น
อาการที่พบบ่อยหลังการติดเชื้อโควิด ภาวะลองโควิด หรือ อาการหลงเหลือหลังติดเชื้อโควิด-19
- อ่อนเพลีย
- เหนื่อยง่าย หายใจไม่อิ่ม
- กล้ามเนื้อไม่มีแรง
- ปวดเมื่อยตามตัว ปวดตามข้อ
- การรับรสและได้กลิ่นผิดปกติ
- ไอเรื้อรัง
- ปวดศีรษะ มึนศีรษะ
- รู้สึกเหมือนมีไข้
- ความจำไม่ดี ไม่มีสมาธิ
- นอนไม่หลับ
- ใจสั่น แน่นหน้าอก
- ท้องเสีย ท้องอืด
- มีภาวะวิตกกังวล ซึมเศร้า เครียด
โดยเมื่อทำการตรวจสุขภาพ จะสามารถช่วยตรวจวิเคราะห์และประเมินระบบการทำงานของร่างกายได้เข้าใจมากขึ้น
ตรวจสุขภาพหลังเป็นโควิด สำคัญไหม
การตรวจสุขภาพหลังเป็นโควิด มีความสำคัญอย่างมากเพราะโควิด-19 เป็นโรคที่ส่งผลกระทบระยะสั้นและระยะยาวต่อร่างกาย ผู้ป่วยบางรายอาจมีสุขภาพไม่แข็งแรงดังเดิม ผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19 บางรายอาจยังรู้สึกไม่หายดี และยังมีอาการหลงเหลือหลังจากติดเชื้อโควิด
ดังนั้น จึงเป็นเหตุผลให้สถานพยาบาลหลายแห่งแนะนำให้เข้าโปรแกรมตรวจ Long COVID เพื่อทำการรักษาและดูแลหลังจากการติดเชื้อโควิด-19 แล้วแต่การตรวจลองโควิดนั้น ก็ต้องทำการศึกษาข้อมูลให้ดี เช่น แนวทางเตรียมตัวก่อนตรวจ รายการตรวจสุขภาพหลังติดโควิด ว่าตรวจอะไรบ้าง เป็นต้น
ผู้ที่ควรตรวจสุขภาพหลังติดโควิด
โดยผู้ที่ควรตรวจสุขภาพหลังเป็นโควิดนั้น มีอยู่หลายกลุ่ม เช่น
- ผู้ที่มีโรคประจำตัวอื่นๆร่วมด้วย เช่น เบาหวาน หัวใจ
- ผู้ที่มีอาการรุนแรงขณะติดเชื้อ
- ผู้สูงอายุ
- ผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน
- ผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ
ซึ่งการตรวจ Long COVID นั้นเหมาะสำหรับผู้ที่ติดเชื้อโควิดหายแล้ว 1-3 เดือน และต้องการตรวจเช็กสุขภาพเพื่อหา ผลข้างเคียงระยะยาวจากการติดเชื้อโควิด ว่าร่างกายเรามีอวัยวะส่วนใดที่ถูกทำลายจากการติดเชื้อ เพราะหลังจากการตรวจ แพทย์จะทำการวางแผนเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายในอนาคต
แนวทางเตรียมตัวก่อนตรวจสุขภาพหลังติดโควิด
โดยการเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจสุขภาพหลังเป็นโควิดนั้น ก็เป็นอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญ โดยทำได้ดังนี้
- หากพักผ่อนไม่เพียงพอจะทำให้ผลการตรวจคลาดเคลื่อน ไปโดยเฉพาะความดันโลหิต การเต้นของหัวใจ และอุณหภูมิของร่างกาย
- ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง
- งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อย่างน้อย 24 ชั่วโมง เนื่องจากยาและแอลกอฮอล์ อาจมีผลต่อการตรวจบางรายการ
- งดอาหาร และเครื่องดื่ม อย่างน้อย 8-10 ชั่วโมงก่อนตรวจ (สามารถจิบน้ำเปล่าได้เล็กน้อย)
- ควรสวมเสื้อผ้าที่สะดวกต่อการเจาะเลือดที่ข้อพับ แขน
- หากมีโรคประจำตัว หรือประวัติสุขภาพด้านอื่นๆ ควรแจ้งให้แพทย์ หรือพยาบาลทราบก่อนการตรวจ
รายการตรวจสุขภาพหลังติดโควิด ตรวจอะไรบ้าง
ในแต่ละโปรแกรมตรวจสุขภาพหลังเป็นโควิดนั้น จะมีรายละเอียดการตรวจที่แตกต่างกันไป โดยทั่วไปแล้วโปรแกรมการตรวจจะมีรายการตรวจสุขภาพ ดังต่อไปนี้
- ตรวจค่า crp โดยปกติ ค่า CRP ที่สูงบอกถึงประสิทธิภาพการฟื้นฟูของร่างกายที่ไม่ดีนัก
- ตรวจค่าอักเสบในเลือดสูงจากโควิด ตรวจหา C-Reactive Protein (hsCRP) เป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่สร้างขึ้นจากตับ เพื่อตอบสนองต่อการอักเสบในร่างกาย
- ตรวจการทำงานของตับ Liver Function Test (SGPT or ALT) ตรวจเอนไซม์ตับ และเมื่อน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น ตับจะถูกกระตุ้นให้ผลิตคอลเลสเตอรอลมากขึ้น
- ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด Hemoglobin A1c (HbA1c) เนื่องจากเชื้อไวรัสจะส่งผลให้ร่างกายหลั่งอินซูลินผิดปกติ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น
- ตรวจระดับความเข้มข้นของเลือด (Hematocrit) คือ การตรวจสอบความสมบูรณ์แบบของจำนวนปริมาตรเลือดที่ถูกผลิตออกมานั้น มีจำนวนมากพอหรือไม่
- ตรวจการทำงานของไต เพื่อตรวจปริมาณยูเรียในเลือด ตรวจค่าครีเอตินีน อัตราการกรองของไต และการติดเชื้อ เพราะจะส่งผลต่อการทำงานของไตที่ลดลง อาจจะเสี่ยงไตวายเฉียบพลันได้
- ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด Complete Blood Count (CBC) เพื่อประเมินความรุนแรงของโรคโควิด และประเมินระดับการฟื้นฟู
- ตรวจระดับไขมันในเส้นเลือด หรือ การตรวจ Lipid Profile คือ การเช็กระดับไขมันทุกส่วนประกอบของเส้นเลือดในร่างกายทั้งหมด
- ตรวจปัสสาวะอย่างสมบูรณ์ UA หรือ Urinalysis คือ การตรวจฉี่ที่ถูกไตคัดกรองในรูปแบบของเสียและมีสถานะเป็นของเหลวนั้น มาทำการตรวจสอบส่วนประกอบของน้ำปัสสาวะเบื้องต้น
- ตรวจระดับภูมิคุ้มกัน ตรวจระดับ antibody และตรวจความต้านทาน
- ตรวจระดับวิตามินดี วิตามินดีช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็วขึ้น
- ตรวจหาสารบ่งชี้ของการเกิดหลอดเลือดอุดตัน เพื่อประเมินว่ามีการสร้างและสลายลิ่มเลือดในร่างกายหรือไม่
- ตรวจหาระดับอนุมูลอิสระ (Oxidant/Antioxidant) เพื่อดูว่าร่างกายมีระดับสารแอนตี้ออกซิแดนซ์เพียงพอที่จะนำไปใช้ในการป้องกันร่างกายทรุดโทรมและต่อต้านผลกระทบที่เกิดจากสารอนุมูลอิสระได้มากน้อยเพียงใด
- ตรวจวิตามินบี 12 (Vitamin B12) ใช้ตรวจเพื่อช่วยวินิจฉัยโรคโลหิตจาง จากการขาดวิตามิน บี 12
- ตรวจกรดโฟลิก (Folic acid / Folate) ใช้ตรวจเพื่อช่วยวินิจฉัยโรคโลหิตจาง จากการขาด Folic acid
- ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG หรือ (Electrocardiogram) คือ การตรวจความสมบูรณ์ของการทำงานไฟฟ้าหัวใจ เพื่อตรวจหาความผิดปกติ ที่อาจจะเกิดขึ้น หรือได้เกิดขึ้นไปแล้ว ซึ่งการตรวจหัวใจแบบ EKG นั้นสามารถนำไปเป็นส่วนหนึ่งในการวินิจฉัยโรคต่าง ๆ ที่มีผลต่อหัวใจได้
- ตรวจธาตุสังกะสี (Zinc, Zn) ใช้ตรวจเพื่อหาปริมาณแร่ธาตุสารสังกะสีที่เหมาะสมในร่างกาย
- ตรวจไฟราดติน (วิตามินที่จับธาตุเหล็ก) สำหรับการวินิจฉัยภาวะขาดธาตุเหล็ก (ระดับธาตุเหล็กต่ำ)
- ตรวจธาตุแคลเซียม เพื่อตรวจวัดระดับแคลเซียมในเลือด
- การตรวจสุขภาพโดยแพทย์และรับคำแนะนำ
โดยการตรวจที่กล่าวมานั้นล้วนเป็นวิธีตรวจลองโควิดในเบื้องต้น ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ด้วยว่าต้องการตรวจอะไรเพิ่มหรือไม่ โดยอาจมีการตรวจเพิ่มเติม เช่น
- การแข็งตัวและการสลายตัวของลิ่มเลือด (D–Dimer)
- การประเมินสุขภาพจิตเบื้องต้น (PHQ-9)
- ภาพฉายรังสีทรวงอก (Chest X-ray)
- ขบวนการแข็งตัวของเลือด
- ตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง Echocardiography (ECHO)
- ระดับภูมิต้านทานต่อเชื้อ SAR-CoV-2 และความสามารถในการจัดการเชื้อโรคของภูมิ เป็นต้น
ตรวจสุขภาพหลังติดโควิดที่ไหนดี
ในการเลือกสถานพยาบาลเพื่อตรวจสุขภาพหลังเป็นโควิดนั้น ต้องคำนึงหลาย ๆ ปัจจัย เช่น
- สถานพยาบาลนั้นต้องมีความน่าเชื่อถือในด้านการแพทย์
- มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางคอยให้บริการ
- มีความชำนาญด้านการตรวจสุขภาพ
- มีอุปกรณ์ในการใช้ตรวจที่ได้มาตรฐานและทันสมัย
- มีโปรแกรมรายการตรวจสุขภาพหลังติดโควิดที่ครบถ้วนแม่นยำ
- โปรแกรมการตรวจสมควรแก่ราคาที่ตั้งไว้
- รวมทั้งการดูแลรักษาและฟื้นฟูอาการของผู้ป่วยลองโควิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อสรุป
หลังจากที่ติดโควิดแล้ว ควรที่จะสังเกตตัวเองว่ามีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย กล้ามเนื้อไม่มีแรง ไอเรื้อรัง ปวดศีรษะ รู้สึกเหมือนมีไข้หรือไม่ ที่กล่าวมานั้นล้วนเป็นอาการที่เข้าข่ายภาวะลองโควิด ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพหลังเป็นโควิด เพื่อตรวจเช็กร่างกายว่าอาการที่เป็นเหล่านั้นใช่ภาวะลองโควิดหรือไม่ และหากพบว่าเป็นอาการลองโควิดจริง ควรรีบเข้ารับการรักษาเพราะอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ และเพื่อให้ร่างกายกลับมาแข็งแรงโดยเร็วที่สุด