อาการโยโย่เกิดจากอะไร?
โยโย่เอฟเฟค Yoyo Effect ชื่อจริง ๆ ก็คือWeight Cycling เป็นอาการของคนที่พยายามลดน้ำหนักหลายรอบแล้วก็มีการขึ้นลง สลับกันสุดท้ายน้ำหนักกลับขึ้นไปมากกว่าเดิมตั้งแต่ก่อนลดน้ำหนัก หรือไม่สามารถที่จะรักษาน้ำหนักให้คงที่ไว้ได้ระยะยาว
เนื่องจากมีการเพิ่ม ลด เพิ่ม ลด และกลับมาอ้วนกว่าเดิมโดยคนที่ใช้คำนี้คำแรกก็คือ Dr .Kelly D Brownell
สาเหตุของการเกิดYoyo Effect
ซึ่งปัจจัยในการเกิด Yoyo Effect มี3 ปัจจัย ดังนี้
1.ร่างกาย
การลดน้ำหนักลงไปอัตราการเผาผลาญจะเป็นอัตราการเผาผลาญต่อน้ำหนักตัว เช่นการเดิน ด้วยคนที่น้ำหนักตัวมากก็จะมีการเผาผลาญที่สูงกว่าคนที่มีน้ำหนักตัวต่ำกว่า
เปรียบเทียบ: เปรียบเสมือนรถที่ไม่บรรทุกของ แต่จะขับรถแล้วใช้น้ำมันน้อยกว่ารถที่บรรทุกของอยู่เต็มคัน
อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญของร่างกาย หลายๆ คนที่พยายามลดน้ำหนักเร็วๆ สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ ช่วงแรกน้ำหนักตัวลดลงมาก (ลดฮวบ) เพราะว่าที่ลดไปส่วนใหญ่เป็นน้ำในกล้ามเนื้อซึ่งถ้าเกิดลดน้ำหนักตัวเร็วๆ ก็มักจะเสียทั้งน้ำและมวลกล้ามเนื้อไปด้วยแต่ไขมันจะค่อยๆ ลดลงอย่างช้าๆ สิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากนั้นคือทำให้ระบบเผาผลาญลดลงตาม
ตัวอย่างที่ :1.ของการเกิด “โยโย่”
ก่อนลดน้ำหนักกิน 3 มื้อต่อวันช่วงลดน้ำหนัก ทานIFหรือ Intermittent Farting ทานวันละ 1 มื้อน้ำหนักจะลดลงมาคาดคำนวณว่าประมาณ 10 กิโลหลังจากนั้นกลับไปกิน 3 มื้อต่อวันเรียกได้ว่ากินเยอะไปเลยจึงทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น
เนื่องจากว่าอัตราการเผาผลาญลดลง นี่ก็เป็นปัญหาของการเกิดโยโย่
ตัวอย่างที่:2. ของการเกิด “โยโย่”
ในเมื่อเรามีน้ำหนักที่ลดลงอัตราการเผาผลาญต่อวันจะลดลงตามอยู่แล้วเมื่อตอนที่รถน้ำหนักลงไปเรื่อยๆ แต่ก็กลับมากินเหมือนช่วงก่อนลดน้ำหนักซึ่งไม่ได้กินเยอะแต่กินเท่าเดิม ก็สามารถเรียกเหตุการณ์นี้ว่า ร่างกายเกิดการโยโย่
ความจริงของโยโย่ เอฟเฟคที่ไม่ได้เกิดกับคนที่ลดความอ้วน
จริง ๆ แล้วโยโย่เอฟเฟคไม่ได้เกิดกับคนที่ลดความอ้วนเพียงเท่านั้นแต่สามารถเกิดจากคนที่เล่นกล้ามหรือเพาะกายด้วย เพราะต้องพยายามลดไขมันเยอะๆ เพื่อแข่งประกวด
โดยอ้างอิงจากหนังสือของ Dr.Layne Norton เราพบว่าหลังจากที่ประกวด นักเพาะกายจะสะสมไขเพื่อแข่งประกวเนื่องจากในร่างกายจะมีเซลล์ไขมันจำนวนหนึ่ง แต่พอลดลงไปเรื่อยๆ เซลล์ไขมันไม่ได้หายไปแต่ขนาดของเซลล์ไขมันกับลดลง
แต่สิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากที่กลับมากินเยอะๆ ทำให้เซลล์ไขมันใหญ่กว่าเดิมปริมาณของเซลล์ไขมันเพิ่มขึ้นทำให้การลดไขมันครั้งต่อไปยากขึ้นตามด้วย
ส่วนหนึ่งปัจจัยหนึ่งคือปริมาณกล้ามเนื้อซึ่งส่งผลต่อการเผาผลาญพลังงานระหว่างวันของเรา เมื่อเราลดน้ำหนักผิดวิธีกล้ามเนื้อก็จะหาย พอกล้ามเนื้อหายก็จะมีการเผาผลาญพลังงานที่น้อยลงพอกลับมากินเยอะๆ ก็จะมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปเลยทำให้กลับมาอ้วนได้ง่ายขึ้นนี่เอง
2.พฤติกรรม
พฤติกรรมที่มักจะก่อให้เกิดปัญหานี้มาจากการหักโหมหาทางลัดด้วยการกินยาลดน้ำหนักอาหารเสริมหรือการที่พยายามอดอาหาร เป็นพฤติกรรมที่มีสิ่งหนึ่งเหมือนกันก็คือ ไม่มีใครสามารถที่จะทำไปได้ต่อเนื่องหรือตลอดชีวิต ไม่มีใครกินยาลดน้ำหนักทุกวันไปจนถึงวันสุดท้ายของชีวิต หรือออกกำลังกายหนักได้ตลอด
หากไม่ใช่นักกีฬามืออาชีพ พอเราเลิกพฤติกรรมนั้นๆ น้ำหนักตัวก็จะกลับมา
3.ปัจจัยสุดท้ายจิตใจและเป้าหมายที่เป็นแรงจูงใจต่างกันในแต่ละคนซึ่งแบ่งเป็น 2 อย่าง
ความต้องการ กับ ความจำเป็น
แต่เมื่อเวลาผ่านไปหรือต้องการอะไรมักจะเปลี่ยนไปถ้าเราต้องการน้อยลงทำให้ไม่มีแรงทำต่อซึ่งควรที่จะคิดถึงตรงนั้นเพราะทำให้ขาดความต่อเนื่อง
ส่วนทางด้านจิตใจเวลาทำอะไรที่หักโหมหนักๆ จะรู้สึกว่าเหนื่อย ก็มักที่จะอยากมีการให้รางวัลแก่ตัวเองด้วยการกินอะไรดีๆซึ่งมันค่อนข้างให้ความสุขต่อตัวเราได้เร็วและง่ายที่สุด
จึงไม่แปลกเลยที่คนหักโหมเวลากินมักจะอัดเข้าไปเยอะไปหรือเรียกได้ว่า”ตบะแตก”แล้วก็กลับมาอ้วนใหม่ได้ค่อนข้างง่าย
วิธีแก้การ “โยโย่”
ออกกำลังกายให้เพิ่มขึ้นในส่วนที่ขาดเช่นเมื่อการเผาผลาญหายไปประมาณ 300 แคลอรีต่อวันเนื่องจากน้ำหนักที่ลดลงเราก็ควรจะต้องพยายามกระตุ้นการเผาผลาญเพิ่มขึ้นให้กลับคืนมา 300 แคลอรี เช่น อาจจะเดินสัก 1 ชั่วโมงวิธีนี้จะช่วยการโยโย่ได้ด้วย
การ ”โยโย่” ที่รุนแรง!
อีกปัญหาของการโยโย่ที่รุนแรงนั่นก็คือการโยโย่ที่เกิดจากการใช้ยาลดความอ้วน
เนื่องจากเกิดการกด 0 หิวในสมองทำให้ไม่รู้สึกหิวและเมื่อหยุดยาขึ้นไปความหิวจะเหมือนฝันร้ายที่ถูกขังกรง ความหิวจะกระตุ้นการกินอันนี้จะเป็นการกินที่มากกว่าเดิม เกือบ 10 เท่า ต่อให้กินมากแค่ไหนก็ยังไม่หายหิว
แม้ว่าช่วงระยะเวลาแรกๆ ยาลดความอ้วนอาจลดน้ำหนักลงไปได้ 10 กิโลกรัมแต่จะได้กลับคืนมามากกว่าที่ควรภายในระยะเวลาไม่กี่เดือน
นี่ก็เป็นลักษณะของการโยโย่ที่เกิดจากการใช้ยาลดน้ำหนักที่มีการควบคุมความหิวความอิ่มในสมอง
ในกรณีที่ต้องการใช้ยาลดน้ำหนักจะไม่มีหากจะใช้ในระยะยาวแต่ในระยะสั้นอาจจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์เพื่อรับขนาดปริมาณของยาที่เหมาะสมและการถอนยาไม่ให้เกิดการโยโย่ที่มากขึ้นแต่อย่างไรก็ตามการใช้ยาต้องจำไว้ว่าเกิดการโยโย่ได้
ดังนั้นหลีกเลี่ยงการใช้ยาส่วนวิธีธรรมชาติ คือ การออกกำลังกายและการควบคุมน้ำหนัก ยังพอเป็นมีวิธีที่สามารถแก้ไขได้และแก้ไขได้ดีกว่ามาก ๆ
ฉะนั้นโยโย่เอฟเฟคเราก็รู้แล้วว่ามี 3 ปัจจัยนั่นคือร่างกาย พฤติกรรม และจิตใจ
หากว่าเรามีเป้าหมายชัดเจนดูให้ออกว่าตนเองต้องการอะไรมากแค่ไหน จากนั้นวางแผนอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทางที่ดีขอแนะนำว่าอย่าใช้คำว่าลดน้ำหนัก แต่เปลี่ยนเป็นการลดไขมันเพื่อเส้นทางสายกลางโดยควบคุมออกกำลังกาย ไม่ให้หักโหมมากเกินไปพยายามที่จะไม่ลดหรือไม่อดอาหารมากเกินไปแล้วเราก็จะเรื่องโยโย่ เอฟเฟคได้
Reference1.Wikipedia contributors. Yo-yo effect: from Wikipedia, the free encyclopedia [Internet] San Francisco, CA: Wikimedia Foundation; [cited 2017 Aug 2]. Available
2.Moro T, et al. Effects of eight weeks of time-restricted feeding (16/8) on basal metabolism, maximal strength, body composition, inflammation, and cardiovascular risk factors in resistance-trained males. J Trans Med. 2016;13;14(1):290.
รูปภาพ: Pobpad