เซลลูไลท์ คืออะไร? ดูดไขมันแล้วจะหายไปด้วยไหม?
บรรดาปัญหาเรื่องของไขมันส่วนเกินหรือเรื่องของปัญหาสัดส่วน ที่ถือว่าเป็นปัญหายอดฮิตนั่นก็คือ เรื่องของเซลลูไลท์หรือ ผิวเปลือกส้ม และประจวบเหมาะกับการที่หลาย ๆ คนมักให้ความสนใจกับการเสริมความงามพอดีโดยเฉพาะ" การดูดไขมัน"
แต่เรื่องนี้บางคนเองก็ยังงง ๆ ปน ๆ ระหว่างผิวหนังที่หย่อนคล้อยกับเซลลูไลท์วันนี้เราจะมาอธิบายและมีวิธีแนะนำในการสังเกตร่างกายมาฝาก พร้อมบอกถึงผิวแบบไหนจะสามารถดูดไขมันได้และไม่ได้มาฝากกัน
ผิวหนังหย่อนคล้อย Vs เซลลูไลท์
ผิวหนังหย่อนคล้อย คือ Stubborn Fat ภาวะของปัญหาผิวที่มีหลายปัจจัยเกี่ยวข้องทั้งปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอก
ปัจจัยภายใน คือ
สุขภาพไม่ดี เครียด ขาดสารอาหาร ท้องลายจากการคลอดบุตร (นับเป็นปัจจัยที่ควบคุมได้ยาก)
และปัจจัยภายนอก คือ
แสงแดดทำร้าย ผอมอย่างรวดเร็ว ไม่บำรุงผิว เป็นไปตามแรงโน้มถ่วงของโลก
ความหย่อนคล้อยของผิวลักษณะนี้แม้ว่าจะลดน้ำหนักได้แล้ว คุมการรับประทานอาหารแล้ว รวมถึงการออกกำลังกายก็ไม่สามารถที่จะกำจัดออกไปได้ อาจเรียกได้ว่าเป็น "ไขมันจอมดื้อ"แต่จะดีขึ้นได้หลังการดูดไขมัน
วิธีสังเกต: เมื่อใช้มือยกหรือดันก้นทั้งก้น แล้วเห็นว่ารอยริ้ว ๆ ที่เคยมีอยู่นั้นจะหายไป แบบนี้ไม่เรียก เซลลูไลท์
เพราะน้ำหนักที่ทำให้ ก้น และขา ห้อยลง จะยกขึ้นเนื่องจากมีไขมัน ทำให้โดนลากโดยแรงโน้มถ่วงของโลกนั่นเอง
ส่วนเซลลูไลท์ คือ มีองค์ประกอบของการเกิดเซลลูไลท์นั้นเกิดมาจาก ไขมันที่อยู่ใต้ผิวหนังที่เราเรียกว่า Subcutaneous Fat Tissue เกาะตัวกันเป็นก้อนรวมถึงมีการดึงรั้งของพังผืด ใต้ผิวหนังจึงทำให้เราเห็นว่าผิวมีความไม่เรียบแล้วก็เป็นรอยบุ๋ม ขรุขระ อย่างที่เราเรียกว่าผิวเปลือกส้ม
ส่วนใหญ่แล้วบริเวณที่จะเกิดเซลลูไลท์ก็จะได้แก่บริเวณก้น สะโพก หรือบริเวณขา โดยที่พบว่า 80% ของคนที่เป็นเซลลูไลท์จะพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
ในการแบ่งระดับความรุนแรงของเซลลูไลท์
ก็สามารถแบ่งคร่าว ๆ ได้ 3 ระดับ ดังนี้
ระดับที่ 1 ก็คือเป็นเซลลูไลท์ที่ปกติแล้ว ถ้าเราดูผิวเผินก็ยังดูเรียบอยู่ แต่เมื่อใดที่เราจับผิวหรือบีบผิวขึ้นมาจะเห็นเป็นก้อนตะปุ่มตะป่ำนั่นก็คือระดับที่ 1
ระดับที่ 2 ระดับปานกลางระดับนี้ก็จะมีลักษณะที่มากกว่า ระดับแรกขึ้นมานิดหน่อยก็คือ จะเกิดเซลลูไลท์ให้เห็นได้ แม้ว่าเราจะไม่ได้บีบผิวขึ้นมาแต่จะเป็นในบางอิริยาบท อย่างเช่น เวลาเรายืนขึ้น แต่เมื่อเรานอนลงหรือมีการผ่อนคลาย ผิวเปลือกส้มก็สามารถหายไปได้เอง
ส่วนในระดับสุดท้ายคือระดับที่ 3 เป็นระดับที่มีความรุนแรงเซลลูไลท์จะสามารถเห็นได้ในทุกอิริยาบทไม่ว่าเราจะยืน นอนหรือนั่ง
สาเหตุ
สำหรับสาเหตุของการเกิดเซลลูไลท์ที่แท้จริง เราอาจจะไม่สามารถระบุได้ชัดเจน เนื่องจากมีปัจจัยมากมายจริงๆ ที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดเซลลูไลท์
แบ่งเป็นหัวข้อใหญ่ ๆ เพื่อให้ทุกคนทำความเข้าใจกันได้ง่ายขึ้น
ปัจจัยที่1: ฮอร์โมนที่มีผลต่อการเกิดเซลลูไลท์
ยกตัวอย่าง เช่น ฮอร์โมนเอสโตรเจนในเพศหญิงจะมีฮอร์โมนเอสโตรเจนที่สูงประเภทชายนั่นก็เป็นสาเหตุว่าทำไมร้อยละ 80 ของคนไข้ที่มีเซลลูไลท์นั้นจะเป็นเพศหญิง
ซึ่งในงานรีวิววิจัย Cellulite : an evidence-based review.เรื่อง เซลลูไลท์:จากการตรวจสอบตามหลักฐาน โดย Stefanie Luebberding ที่ก็พบว่า80-90% จะพบเซลลูไลท์เป็นภาวะปัจจัยที่มีอยู่ในผู้หญิงหลังวัยแรกรุ่น และยังเป็นปัญหาด้านความงาม
ที่แม้ว่าผลิตภัณฑ์ทรีทเม้นท์รสเซลลูไลท์จะมีมากมายแต่ก็ยังไม่มีการตรวจสอบอย่างเป็นระบบเพื่อประเมินประสิทธิภาพของตัวเลือกการรักษาที่มีอยู่ของเซลลูไลท์
ปัจจัยที่2: ฮอร์โมนอินซูลิน
ฮอร์โมนอินซูลินจะสัมพันธ์กับการบริโภคอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต
ซึ่งประกอบไปด้วยแป้ง ข้าว น้ำตาล อินซูลินมีผลต่อ fax Cell ดังนั้นเมื่อเราบริโภคอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตมากขึ้น อินซูลินจะเพิ่มมากขึ้น และส่งผลทำให้fax Cellมีขนาดใหญ่ขึ้นดังนั้น เซลลูไลท์ก็จะแย่ลง
ปัจจัยที่3: พันธุกรรม
ในบางคนก็จะมีในเรื่องของพันธุกรรมที่ทำให้เป็นเซลลูไลท์ได้ง่ายกว่าคนอื่น ๆ อันนี้ก็จะเป็นปัจจัยภายในซึ่งเราอาจจะไม่สามารถคอนโทรลได้ปัจจัยสุดท้ายก็คือในเรื่องของไลฟ์สไตล์ซึ่งก็จะประกอบไปด้วยทั้งการบริโภค การออกกำลังกาย การพักผ่อนและความเครียด
เหล่านี้ก็เป็นสาเหตุของเซลลูไลท์ได้เช่นกันหลังจากที่เราพอจะทำความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดเซลลูไลท์กันแล้ว
"เซลลูไลท์จึงไม่ได้เกิดในคนอ้วนหรือในคนที่มีไขมันเสมอไปอาจจะเกิดในคนผอมก็ได้ เพราะรอยบุ๋มสามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่มีถิ่นกำเนิดมาจากน้ำหนัก"
เรื่องของการดูแลและรักษาเซลลูไลท์
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่าเราไม่สามารถจะกำจัดเซลลูไลท์ไปได้ทั้งหมด 100% แต่เราสามารถดูแลให้เซลลูไลท์ดีขึ้นได้ดังนี้
อันดับแรก
-การบริโภค
อาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตแป้งข้าวน้ำตาลจะเป็นตัวที่ทำให้เกิดฮอร์โมนอินซูลินเพิ่มขึ้น
ดังนั้นจะขอแนะนำว่าการบริโภคอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตเราควรบริโภคให้พอเหมาะไม่ควรบริโภคมากเกินไป เพราะจะเป็นสาเหตุทำให้ฮอร์โมนอินซูลินเพิ่มสูงขึ้นและเซลลูไลท์ก็จะแย่ลง
สำหรับคำแนะนำอีกอย่างในการที่จะลดฮอร์โมนอินซูลินนั่นก็คือการทำIntermittant Fasting Diet ก็จะสามารถช่วยควบคุมให้อินซูลินลดลงได้
-การดื่มน้ำ
เราควรดื่มน้ำให้เพียงพออย่างน้อย 1.5-2 ลิตรในแต่ละวันก็จะช่วยทำให้เซลลูไลท์ดีขึ้นได้
-การออกกำลังกาย
อย่างที่เราทราบว่าถ้าเราอยากสุขภาพดีก็ควรจะออกกำลังกายให้เป็นประจำสม่ำเสมอใช่ไหม
เนื่องจากการออกกำลังกายจะทำให้กล้ามเนื้อเราแข็งแรงขึ้นนั่นก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัย
ที่จะทำให้เซลลูไลท์ดีขึ้น รวมถึงการไหลเวียนโลหิตบริเวณใต้ผิวหนังที่ดีขึ้นจะทำให้การบวมน้ำลดลงเซลลูไลท์ก็จะดีขึ้นด้วยเช่นกัน
-ความเครียดและการพักผ่อนไม่เพียงพอ
เมื่อเกิดความเครียดขึ้นในร่างกายเราจะเกิดฮอร์โมน Cortisol สูงขึ้น
เมื่อฮอร์โมน Cortisol สูงขึ้นก็จะมีผลโดยตรงทั้งฮอร์โมนอินซูลินที่สูงขึ้นด้วยรวมถึง Growth Hormone ที่ลดลง
อันเป็นปัจจัยทำให้เซลลูไลท์นั้นแย่ลงด้วย
หากเราลดปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียดรวมถึงการนอนหลับพักผ่อนอย่างมีประสิทธิภาพให้เพียงพอด้วยเช่นกัน
คำถาม : เซลลูไลท์ พอจะใช้วิธีการดูดไขมัน เข้ามาช่วยได้ไหม?
คำตอบ : กระบวนการดูดไขมันไม่สามารถที่จะแก้ไขได้
หลายครั้งที่ได้มีการแก้ไข ผลปรากฏว่า
พังผืดกลับมาในตำแหน่งเดิม คล้ายมีการบาดเจ็บ เลยไปสร้างพังผืดมาใหม่เพื่อซ่อมแซม แล้วดึงใหม่ให้เกิดรอยบุ๋ม ทั้งนี้ทางการแพทย์พยายามหาวิธีการแก้ไขอยู่ เพื่อแก้ไขปัญหาพังผืดให้ไม่กลับมาเป็นอีก เนื่องจากยังเป็นวิธีการที่ยากอยู่
โดยปัจจุบันนี้ทางการแพทย์พยายามหาวิธีในการแก้ไข เซลลูไลท์แบบนี้เพื่อแก้ไขปัญหาพังผืดจากการดึงผิวจนบุ๋มลงไป
หนึ่งในวิธีที่คาดว่าจะช่วยแก้ไขได้ คือ การใช้อุปกรณ์ Vaser Smooth เข้าไปตัด ที่มีลักษณะคล้ายกับการดูดไขมัน เพียงแต่จะแตกต่างตรงที่ตัวอุปกรณ์ เมื่อพังผืดถูกตัดแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้ก็จะทำให้ เซลลูไลท์นี้ดีขึ้น
ทั้งนี้ก็ยังมีเครื่องมือทางการแพทย์ที่เข้ามาช่วยเสริม ในการดูแลเรื่องของเซลลูไลท์ให้ดีขึ้น
ยกตัวอย่างเช่น เครื่องเลเซอร์ที่ปล่อยพลังงานคลื่นวิทยุหรือ Radio Frequency โดยที่หลักการก็คือจะเป็นตัวช่วยในการไหลเวียนของเลือด ลดการบวมน้ำอันเป็นปัจจัยที่ทำให้เซลลูไลท์ที่เกิดดูดีขึ้นได้เช่นกัน
ดังนั้นแพทย์มักจะให้ความสำคัญต่อการรักษา การรักษาได้กับการรักษาแล้วได้ผลที่ดี นั่นต่างกัน การรักษาที่ได้ผลที่ดี คือ การรักษาที่ต้องไม่กลับคืนมาด้วย เพราะบางรายทำ3-4สัปดาห์ แล้วก็พบว่ามีปัญหาของการกลับมาเป็นซ้ำ ซึ่งเสี่ยงต่อการเจ็บตัว อันตรายจากการผ่าตัดแล้วไม่ได้อะไรยังเสียเงินด้วย นี่ไม่ถือว่าเป็นการรักษาที่ได้ผล
Reference
1.Luebberding S, Krueger N, Sadick NS. Cellulite: an evidence-based review. Am J Clin Dermatol. 2015 Aug;16 (4) :243-256. doi: 10.1007/s40257-015-0129-5. PMID: 25940753.
2.Alizadeh Z, Halabchi F, et al. “Review of the mechanisms and effects of noninvasive body contouring devices on cellulite and subcutaneous fat.” Int J Endocrinol Metab. Epub ahead of publication Jul 3, 2016.
Apex Profound Beauty