ดูดไขมันทั้งตัว ในครั้งเดียวทำได้จริงหรือไม่?
หลายคนมักเข้าใจผิดกับการดูดไขมันบ้างก็เข้าใจว่า...ถ้ากระชากเอาไขมันของฉันที่มีอยู่ออกไปทั้งหมดฉันจะสวย จะหล่อและดูดีมากแน่ ๆ วันนี้จะมาไขข้อความเข้าใจแบบผิด ๆ ออกไปสิ้นซาก
ต้องบอกก่อนว่า การทำศัลยกรรมดูดไขมันต้องอาศัยความเป็นไปได้หลายส่วน โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะคอยให้คำปรึกษาอย่างตรงไปตรงมาเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงที่สุดกับผู้ที่ต้องการเข้ารับการดูดไขมัน...
กรณีที่มีผู้เสียชีวิต จากการดูดไขมัน ก็ถือว่ามีคนจำนวนมากเน้นให้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่องของการเสียชีวิตจากการทำศัลยกรรมความงาม ไม่ว่าจะเป็นในประเทศไทยหรือต่างประเทศ
การเสียชีวิตจากการดูดไขมันก็เป็นเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีกและสิ่งที่หลายคนสงสัยก็อยู่ในหัวข้อของการดูดไขมันทั้งตัว...ในครั้งเดียวนั้นจะทำได้จริงหรือไม่?
สิ่งที่จะอธิบายต่อไปนี้เราได้เก็บรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดูดไขมัน ได้งานวิจัยตีพิมพ์ในวารสาร PRS golbal open ปี2017 โดยDr.Lazaro เรื่อง Strategies for Reducing Fatal Complication in Liposuction โดยทำการรวบรวมงานวิจัยทั้งหมดที่เกี่ยวกับการดูดไขมันและภาวะแทรกซ้อนตั้งแต่ปี 1973 จนถึงปี 2017
ซึ่งเราจะขอเน้นย้ำให้ผู้อ่านทราบโดยทั่วว่าการที่คนเรามีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นแน่นอนว่าทุก ๆ ส่วนของร่างกายก็เพิ่มขึ้นด้วย เรียกได้ว่าเพิ่มไปทุกจุดรวมถึงกล้ามเนื้อ น่องจะใหญ่ แขน ขาใหญ่ เพราะว่าจำเป็นจะต้องใช้กล้ามเนื้อขนาดใหญ่ในการพยุงร่างกาย
ฉะนั้นคนที่แขนใหญ่ แล้วอ้วนมาก การดูดไขมันจึงไม่ได้ทำให้แขนเล็กลง
เนื้อหาเพิ่มเติม: ยังมีไขมันอีกหลายส่วนที่ดูดออกไปไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็น บริเวณพุงที่มีไขมันถึง 2ชั้น โดยจะเป็นไขมันบนผิวหนังตรงนี้สามารถดูดออกได้ กับไขมันช่องท้องที่ป่องออกมาตำแหน่งนี้คือไม่สามารถดูดได้ จำเป็นที่จะต้องอาศัยการออกกำลังกายและควบคุมการรับประทาน
“การดูดไขมัน จึงไม่ใช่การลดความอ้วน”
การลดความอ้วนที่ดีที่สุด ก็คือ การควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย สำหรับการดูดไขมันถือเป็นการกำจัดไขมันส่วนเกินในบางตำแหน่ง ในคนที่ไม่ได้อ้วนเท่านั้น แต่การดูดไขมันเพื่อลดความอ้วนเรียกว่าเป็นการกระทำที่ผิด...และนำมาซึ่งภาวะแทรกซ้อน
1. Pulmonary Embolism
ที่มักจะเรียกกันย่อ ๆ ว่า (PE) Pulmonary Embolism คือการที่มีลิ่มเลือดไปอุดตันหลอดเลือดแดงในปอด เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตจากการดูดไขมันที่พบมากที่สุด
แล้วลิ่มเลือดที่อุดตันมาจากไหน?
ลิ่มเลือดมักเกิดขึ้นที่หลอดเลือดดำในขา แล้วไหลไปที่ปอด โดยมีต้นเหตุ 3 อย่าง เลือดดำไม่ไหลเวียน มีแผลภายในหลอดเลือดและภาวะเลือดแข็งตัวง่ายโดยมีส 3 สาเหตุ ดังนี้
สาเหตุที่1 เลือดดำไม่ไหลเวียน
สาเหตุที่2 มีแผลภายในหลอดเลือดเกิดจากการที่คนไข้ดมยาสลบและอยู่ในท่านอนราบเป็นเวลานาน
สาเหตุที่3 เลือดแข็งตัวง่าย เป็นภาวะที่มีอยู่ในตัวคนไข้ บางคนมีเองอยู่แล้วการเกิดลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดแดงในปอดถือเป็นสิ่งที่ป้องกันได้ ถ้าคนไข้ได้รับการประเมินก่อนผ่าตัด ผ่าตัดในระยะเวลาที่เหมาะสม ไม่นานเกินไปและถ้าจำเป็นต้องผ่าตัดเป็นเวลานานจะต้องมีการป้องกันทั้งการให้ยาและการใช้อุปกรณ์ปั๊มลมบริเวณขาเพื่อให้เกิดการไหลเวียนของเลือด
2.อวัยวะในช่องท้องทะลุ
ไม่ว่าจะเป็นลำไส้เล็ก, ลำไส้ใหญ่หรือ ม้าม
ปัจจัยที่ทำให้อวัยวะภายในช่องท้องทะลุอาจเกิดจากผนังหน้าท้องอ่อนแอหรือมีไส้เลื่อนที่หน้าท้อง หรือเทคนิคการผ่าตัดที่ไม่ถูกต้องทำให้หัวดูดไขมันพลาดไปแทงอวัยวะภายในทำให้ทะลุตามมาในระหว่างทำการดูดไขมัน
แพทย์ที่ทำอาจไม่รู้ตัวว่ามีการพลาดไปแทงอวัยวะในช่องท้อง
ดังนั้นการสังเกตอาการหลังการดูดไขมันจึงเป็นสิ่งสำคัญมากอาการที่ต้องระวังคือปวดท้องมาก, คลื่นไส้อาเจียน และการบีบตัวของลำไส้ผิดปกติ
ถ้าสงสัยว่าจะเกิดการทะลุจะต้องรีบตรวจเพิ่มเติมเช่น X-ray หรือ CT Scan และต้องรีบผ่าตัดเพื่อซ่อมแซมอวัยวะนั้น ๆ
2. ปัญหาจากการให้สารน้ำระหว่างการดูดไขมัน
ในการทำการผ่าตัดทุก ๆ อย่างจะมีการเสียเลือดและการเสียน้ำเพื่ิออกจากร่างกาย การดูดไขมันก็เช่นกันจึงจำเป็นจะต้องมีการให้สารน้ำทดแทนทางเส้นเลือด
ในการดูดไขมันจะมีความแตกต่างจากการผ่าตัดอื่น ๆ ตรงที่จะมีการฉีดสารน้ำที่ผสมยาชา+ อะดีนาลีน ปริมาณมาก ในปริมาณที่จะทำการดูดไขมัน
โดยมีเป้าหมายเพื่อลดการเสียเลือด โดยบางส่วนของสารน้ำจะถูกดูดซึมเข้าเส้นเลือดได้ ทำให้ต้องคำนวณการให้สารน้ำทางเส้นเลือดอย่างระมัดระวังจึงไม่เหมือนการผ่าตัดอื่น ๆ ให้น้อยเกินไปร่างกายจะขาดน้ำทำให้เกิดภาวะ Shockได้ แต่ถ้าให้มากเกินไปจะทำให้น้ำท่วมปอดนั่นเอง
นี่จึงเป็นสาเหตุที่ว่าการจะดูดไขมันในครั้งเดียวไม่สามารถที่จะทำได้ ซึ่งการดูดไขมันที่ถูกวิธีคือ ทำได้เป็นหย่อม ๆ หรือทำได้เพียงทีละนิด ทีละน้อยเท่านั้น
4.การได้รับยาชาเกินขนาด
จากข้อที่ 3 การดูดไขมันจะต้องมีการฉีดสารน้ำที่มีส่วนผสมของยาชาถ้าร่างกายได้รับยาชามากเกินไปจะเกิดผลข้างเคียงตามมาตั้งแต่น้อย ๆ เช่น ชารอบปากหรือรุนแรงขึ้นจนกระทั่งทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะชักและหัวใจหยุดเต้นได้
เนื่องจากยาชาที่ใช้จะมี Maximum และปริมาณยาต่ครั้งที่ต้องการใช้ 1 วัน ตามน้ำหนักตัว จะมีเกณฑ์ที่ใช้ประมาณ 35-40 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ กิโลเปอร์เซ็นต์เดย์ ถ้ามากกว่านี้ร่างกายจะกำจัดไม่ทันและกลายเป็นพิษ
เพื่อไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนยาชาและน้ำเกลือต้องไม่เกิน 10% ของน้ำหนักตัว
ยกตัวอย่าง : น้ำหนัก 50 กิโลกรัมหลังดูดไขมันหนัก อยู่ ๆ น้ำหนักจะเพิ่มขึ้น7-8 กิโลกรัมจากการเติมน้ำเกลือซึ่งอาจทำให้เกิดหัวใจไว้ได้เนื่องจากมีมากเกินไป
ดังนั้น 10-20 ลิตรเป็นไปไม่ได้ที่ร่างกายจะรับได้
อาการของการได้รับยาชาเกินขนาดอาจไม่ได้เกิดขึ้นทันที เนื่องจากยาชาจะค่อย ๆ ถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดทำให้อาการเหล่านี้เกิดขึ้นได้หลายชั่วโมงหลังจากดูดไขมันเสร็จ การสังเกตอาการหลังดูดไขมันจึงมีความสำคัญมากจากงานวิจัยได้แนะนำให้สังเกตอาการในสถานพยาบาล 15-24 ชั่วโมงหลังการดูดไขมัน
5.Fat Embolism
เรื่องนี้จะคล้ายกับข้อแรก หรือ Pulmonary Embolism แต่จะเป็นกรดไขมันที่ไหลไปอุดตันหลอดเลือดแทนที่จะเป็นลิ่มเลือด
กลไกการเกิดภาวะนี้มี 2 อย่าง
สรุปง่าย ๆ ว่ามีโอกาสเกิดในคนที่ดูดไขมันเกิน 900cc และมีโอกาสเกิดภาวะนี้จากการที่เส้นเลือดได้รับการบาดเจ็บแล้วก็มีกรดไขมันเข้าไปในเส้นเลือด
และนี่ก็เป็นสาเหตุที่ว่าทำไมคนเราจึงไม่สามารถที่จะดูดไขมันทั้งตัว ในครั้งเดียว นอกจากนี้ก็ยังเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดที่ทำให้คนไข้เสียชีวิตจากการดูดไขมัน
ทั้งนี้ก็ยังมีสาเหตุอื่น ๆ อีกมากมายและสาเหตุที่ได้อธิบายมาทั้งหมดสามารถที่จะป้องกันได้ถ้าได้รับการตรวจและประเมินก่อนการดูดไขมันอย่างละเอียดพอ
Reference
1. Cárdenas-Camarena L, Andrés Gerardo LP, Durán H, Bayter-Marin JE. Strategies for Reducing Fatal Complications in Liposuction. Plast Reconstr Surg Glob Open. 2017 Oct 25;5 (10) :e1539. Doi: 10.1097/GOX.0000000000001539. PMID: 29184746; PMCID: PMC5682182.
2.Is Liposuction Safe?Medically reviewed by Catherine Hannan, M.D. — Written by Lana Bandoim — Updated on September 18, 2018