อาการก่อนเป็นประจำเดือน คืออะไร เป็นอย่างไร สามารถบรรเทาอาการได้ไหม มาหาคำตอบกัน ?
ผู้หญิงทุกคนที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์จะมีประจำเดือนซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติมาก โดยช่วงก่อนประจำเดือนมาคุณผู้หญิงอาจมีอาการที่เรียกว่า PMS (Premenstrual Syndrome)
ซึ่งทำให้รู้สึกครั่นเนื้อครั่นตัวก่อนเป็นประจําเดือน ปวดหลังก่อนเป็นประจําเดือน เจ็บหน้าอกก่อนเป็นประจําเดือน ปวดขาก่อนเป็นประจําเดือน ปวดเมื่อยก่อนเป็นประจําเดือน ตัวบวมก่อนเป็นประจําเดือน และมีตกขาวก่อนเป็นประจําเดือน เป็นต้น ทั้งนี้อาการเหล่านี้สามารถหายไปเองได้หลังประจำเดือนมา 2-3 วัน แต่บางรายอาจมีอาการที่รุนแรงมากกว่าปกติ
หากคุณผู้หญิงกำลังสงสัยว่าตัวเองเป็นอาการนี้อยู่หรือเปล่า มาหาคำตอบกันได้ในบทความนี้ซึ่งเราจะอธิบายเรื่องของอาการก่อนเป็นประจำเดือน (PMS) ว่าคืออะไร มีสาเหตุการเกิดมาจากอะไร
อาการก่อนเป็นประจำเดือน (PMS)
PMS (Premenstrual Syndrome) คืออาการก่อนเป็นประจําเดือน 1 อาทิตย์ สาเหตุเกิดจากในช่วงก่อนมีประจำเดือนจะมีการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเพศหญิง โดยอาการนี้ส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นทั้งด้านสุขภาพกายและจิตใจ เช่น ก่อนเป็นประจําเดือน เวียนหัว คลื่นไส้ หรืออารมณ์ก่อนเป็นประจําเดือน หงุดหงิดง่าย โมโหร้าย เป็นต้น
อาการก่อนเป็นประจำเดือนเกิดจากอะไร
1. การเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมอง
การเปลี่ยนแปลงทางเคมีในสมองบางอย่างอาจทำให้มีอาการก่อนเป็นประจำเดือนได้อย่าง เซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ส่งผลต่อสภาวะทางอารมณ์ ถ้าระดับเซโรโทนินต่ำจะทำให้อยากรับประทานอาหารมากขึ้น หงุดหงิดง่าย นอนไม่หลับ แต่ถ้าระดับเซโรโทนินสูงจะทำให้ท้องเสีย ปวดศีรษะ เป็นไข้
2. การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน
ระดับฮอร์โมนที่ไม่สมดุลสามารถทำให้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ และจะลดลง 1 สัปดาห์ก่อนมีประจำเดือน ซึ่งจะทำให้มีอาการหงุดหงิดง่ายและปวดท้องน้อย
3. ผู้ที่มีน้ำหนักเกินกว่าเกณฑ์
ผู้ที่น้ำหนักเกิน หรือเป็นโรคอ้วน ผู้หญิงที่ค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 30 สามารถเกิดอาการก่อนเป็นประจำเดือนได้สูงกว่าผู้หญิงที่มีน้ำหนักปกติถึง 3 เท่า
4. ความเครียดสะสม
การที่มีความเครียดสะสม สามารถส่งผลทำให้สภาพจิตใจและร่างกายย่ำแย่ จนทำให้เกิดอาการก่อนเป็นประจำเดือนได้
5. พฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ
หากสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีนเป็นประจำ สามารถเกิดอาการก่อนเป็นประจำเดือนได้เช่นกัน
อาการก่อนเป็นประจำเดือนเป็นอย่างไร
อาการทางด้านร่างกาย
- มือบวม เท้าบวม
- เจ็บที่บริเวณเต้านม หรือคัดตึงเต้านม
- มีอาการปวดท้อง ท้องอืด ท้องผูก หรือท้องเสีย
- ปวดศีรษะ
- อยากอาหารมากขึ้น
- มีสิวขึ้นตามที่ต่าง ๆ
- ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ
- น้ำหนักเพิ่มขึ้น
อาการทางด้านจิตใจและอารมณ์
- รู้สึกเศร้า หดหู่ และร้องไห้บ่อย
- มีอารมณ์แปรปรวน หรือควบคุมอารมณ์ได้ไม่ดี
- มีความเครียด
- หงุดหงิด โมโหง่าย
- นอนหลับยาก
- รู้สึกสับสัน วิตกกังวล กระวนกระวายใจ
- รู้สึกเหงา และหวาดระแวง
- ไม่อยากพบปะผู้คน
เทียบอาการก่อนเป็นประจำเดือนกับการตั้งครรภ์
คุณผู้หญิงหลายคนเมื่อปวดท้องอาจไม่แน่ใจว่าตัวเองจะเป็นประจำเดือน หรือปวดท้องตั้งครรภ์กันแน่ โดยเราได้ทำการเปรียบเทียบระหว่างอาการก่อนเป็นประจําเดือนกับตั้งครรภ์มาไว้ให้แล้ว
อาการก่อนเป็นประจำเดือน
จะรู้สึกปวดท้องหน่วง ๆ ก่อนเป็นประจําเดือน คัดเต้านม ปวดหลัง ท้องอืด รู้สึกเพลีย หรือเหนื่อยล้า อยากอาหารมากกว่าปกติ สิวขึ้น น้ำหนักตัวขึ้น และปวดหัว
อาการของคุณแม่ตั้งครรภ์
ส่วนอาการของคุณแม่ตั้งครรภ์จะมีอาการเหมือนกับอาการก่อนประจำเดือนจะมา เพียงแต่ต่างกันที่หัวนมจะเปลี่ยนสี ปัสสาวะบ่อย สิวไม่ขึ้น และน้ำหนักตัวไม่เพิ่มขึ้น
เมื่อไหร่ที่ควรพบแพทย์
หากอาการปวดท้องก่อนเป็นประจําเดือนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และมีความรุนแรงมากขึ้นจนไม่สามารถควบคุมอาการได้จะเรียกอาการนี้ว่า (Premenstrual Dysphoric Disorder: PMDD) โดยจะมีความรุนแรงทางด้านอารมณ์มากกว่าอาการก่อนเป็นประจำเดือน ซึ่งสามารถสังเกตอาการได้ ถ้าหากรู้สึกว่าโกรธง่าย ไม่มีสมาธิ อ่อนเพลีย วิตกกังวลและเครียด ซึมเศร้าอย่างมาก อารมณ์แปรปรวนง่าย ควรไปปรึกษาแพทย์โดยเร็ว เพราะอาจเป็น PMDD ได้
การวินิจฉัยอาการก่อนเป็นประจำเดือน
- การตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์
ผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์บางคนอาจเป็นโรคต่อมไทรอยด์ โดยบางอาการของฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำจะมีความคล้ายคลึงกับอาการก่อนมีประจำเดือน
- การจดบันทึกอาการของอาการก่อนมีประจำเดือน
ในช่วง 2-3 เดือนของรอบประจำเดือน แพทย์จะให้ผู้ป่วยเขียนบันทึกอาการเพื่อดูว่าอาการก่อนมีประจำเดือนเกิดขึ้นนานเท่าไหร่และเกิดขึ้นเวลาใดบ้าง หรือในแต่ละเดือนอาการมีความแตกต่างกันอย่างไร
อาการก่อนเป็นประจำเดือนแบบรุนแรง (PMDD)
PMDD (Premenstrual Dysphoric Disorder) คืออาการก่อนเป็นประจำเดือนแบบรุนแรง โดยผู้ที่มีอาการจะรู้สึกเครียดอย่างรุนแรง หงุดหงิด โมโหร้าย ควบคุมอารมณ์ตนไม่ได้ ซึมเศร้าอย่างมาก ร้องไห้บ่อย ๆ นอนไม่หลับ ไม่มีเรี่ยวแรง ไม่มีสมาธิหรือสมาธิสั้น บวมตามตัว บวมคัดหน้าอกอย่างมาก หรือปวดศีรษะมาก เป็นต้น ซึ่งอาการ PMDD พบได้ในจำนวนหญิงที่มีประจำเดือนเพียง 2-10% ของทั้งหมดเท่านั้น
วิธีบรรเทาอาการก่อนเป็นประจำเดือน
หากคุณรู้สึกปวดประจำเดือนมากและกำลังหาวิธีบรรเทาอาการให้น้อยลงอยู่ เราได้นำวิธีบรรเทาอาการก่อนเป็นประจำเดือนมาฝากคุณแล้ว ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 3 วิธี ดังนี้
1. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต
- ควรออกกำลังกายเป็นประจำ และควรปฏิบัติได้ดังนี้ในแต่ละสัปดาห์
- ออกกำลังกายที่ใช้แรงไม่มากเป็นเวลา 2 ชั่วโมง 30 นาที
- ออกกำลังกายแบบแอโรบิค เป็นเวลา 1 ชั่วโมง 15 นาที
- ออกกำลังกายแบบใช้แรงไม่มากและแบบแอโรบิคที่ใช้กำลังมากผสมกันไป
- ออกกำลังกายโดยเน้นสร้างกล้ามเนื้อ 2 วันต่อสัปดาห์ขึ้นไป
- ออกกำลังกายแบบผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เช่น โยคะ
- นอนหลับพักผ่อนให้ได้ 8 ชั่วโมงต่อวัน
- ควรทำกิจวัตรประจำวันให้เป็นเวลา
- หากิจกรรมที่สามารถลดความเครียดทำ
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และเลิกสูบบุหรี่
2. ใส่ใจเรื่องโภชนาการและอาหารการกิน
- รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
- เลือกรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน (Complex Carbohydrate) สูง
- ลดการดื่มเครื่องดื่มที่มีเกลือ (โซเดียม) คาเฟอีนและน้ำตาล ที่มากเกินไป
- อาการก่อนมีประจำเดือนสามารถบรรเทาลงได้โดยการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบางชนิดเช่น วิตามินอี วิตามินบี 6 แคลเซียม แมกนีเซียม กรดโฟลิก น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส (Evening Primrose Oil) หรือแบล็คโคโฮส (Black Cohosh)
ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะทานอาหารเสริมทุกชนิดเพราะอาหารเสริมบางชนิดไม่ได้รับการรับรองว่าช่วยรักษาได้จริงและอาจมีปฏิกิริยาต่อยาที่กำลังทานรักษาโรคอยู่
3. การบรรเทาอาการด้วยการใช้ยา
- กลุ่มยาบรรเทาอาการปวด
ยาคีโตโปรเฟน (Ketoprofen) ยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) ยาแอสไพริน (Aspirin) ยานาพรอกเซน (Naproxen)
- ยาคุมกำเนิดปรับสมดุลฮอร์โมน
ยาคุมกำเนิด จะช่วยให้อาการก่อนเป็นประจำเดือน เช่น ปวดหลัง อาการเจ็บเต้านม และตะคริว โดยก่อนจะใช้ยาเหล่านี้ควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรเพื่อให้สามารถใช้ยาเหล่านี้ได้อย่างปลอดภัย
หากปวดท้องประจำเดือน ควรทำอย่างไร
1. การประคบด้วยถุงน้ำร้อน
หากกระเป๋าน้ำร้อนมาประคบบริเวณใต้ท้องน้อย ไออุ่นจากกระเป๋าน้ำร้อนจะสามารถช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัวและลดอาการปวดได้
2. การทานยาแก้ปวดประจำเดือน
ถ้ามีอาการปวดมาก จะทนไม่ไหว หรือปวดจนเดินไม่ไหว ให้ลองรับประทานยาแก้ปวดประจำเดือนเพื่อบรรเทาอาการ
3. ใส่เสื้อผ้าที่โปร่งสบายตัว
ควรใส่เสื้อผ้าที่สบายตัว ไม่ควรใส่เสื้อผ้ารัดตัว เพราะอาจจะทำให้ต้องรู้สึกอึดอัดไม่สบายตัว
4. ดื่มน้ำเยอะๆ
ดื่มน้ำเปล่าเยอะ ๆ ถ้าให้ดีควรเป็นน้ำอุ่น เพื่อทำให้เลือดได้มีการไหลเวียนมากยิ่งขึ้น
ข้อสรุป
ผู้หญิงทุกคนสามารถเป็นอาการก่อนเป็นประจำเดือนได้ โดยจะรู้สึกเป็นไข้ก่อนเป็นประจําเดือน ท้องเสียก่อนเป็นประจําเดือนคันช่องคลอดก่อนเป็นประจําเดือน อารมณ์แปรปรวนก่อนเป็นประจําเดือน นอนไม่หลับก่อนเป็นประจําเดือน และ อาการท้องอืดก่อนเป็นประจําเดือน เป็นต้น แต่อาการเหล่านี้ยังถือว่าปกติ แต่ถ้ารู้สึกมีความเครียดมาก ๆ หรือประจำเดือนมามากกว่าปกติอาจถือว่าอยู่ในขั้นที่รุนแรงควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อหาสาเหตุและทำการวางแผนการรักษาได้อย่างเหมาะสม