หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

“พรหมจรรย์” ที่แท้จริง เป็นอย่างไร

โพสท์โดย อับดุล รอเเย๊ะส์

เมื่อตอนที่แล้วพูดถึงเรื่องสาวพรหมจรรย์ปักตะไคร้ และก็พอดีว่าเดือนนี้เป็นเดือนกันยายน ซึ่งมีสัญลักษณ์เป็นหญิงสาว และมักจะระบุว่าเป็นหญิงสาวพรหมจรรย์ด้วย ก็เลยมาคุยกันในเรื่องนี้เสียหน่อยดีกว่า

เมื่อพูดถึงคำว่า “พรหมจรรย์” แน่นอนว่าคนยุคนี้เกือบทั้งหมดมักจะนึกถึงเรื่องเพศ คือหมายถึงผู้ที่ไม่เคยผ่านการร่วมเพศ (โดยเฉพาะผู้หญิง) แต่คุณรู้หรือไม่ว่า คำว่าพรหมจรรย์มีที่มาจากอะไร

คำตอบก็คือ มาจากความเชื่อเรื่อง “อาศรม 4” ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ซึ่งหมายถึงขั้นตอนการดำเนินชีวิตตามวิถีของชาวฮินดูโบราณ (เฉพาะสามวรรณะแรกคือพราหมณ์ กษัตริย์ และไวศยะเท่านั้น ศูทรและพวกนอกวรรณะไม่เกี่ยว) ที่จะประกอบด้วย 4 ช่วงอายุ แต่ละช่วงอายุนั้นก็จะมี “ธรรม” ที่ควรประพฤติตามอาศรม (ช่วงวัย) นั้น ๆ ได้แก่

พรหมจรรย์ เป็นช่วงแรกของชีวิต โดยมากจะเริ่มนับตั้งแต่เมื่อเด็กคนนั้นทำพิธีอุปนัยนะ คือ 8-12 ปี ซึ่งถือว่าพ้นวัยเด็กแล้ว ผู้ที่ในอาศรมนี้จะเรียกว่า พรหมจารี มีหน้าที่การศึกษาเล่าเรียน ซึ่งโดยมากแล้วพรหมจารีจะต้องไปอยู่ที่สำนักของอาจารย์เพื่อเรียนรู้พระเวท รวมถึงสรรพวิชาการต่าง ๆ สำหรับวรรณะของตน

คฤหัสถ์ เป็นช่วงที่สองของชีวิต ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่คนผู้นั้นสำเร็จการศึกษาและเข้าพิธีวิวาห์มีครอบครัว (โดยมากจะกำหนดไว้ที่ 25 ปี) คนในอาศรมนี้มีหน้าที่ในการทำงานหาเลี้ยงชีพ และมีบุตรหลานเพื่อสืบตระกูลของตน

วานปรัสถ์ เป็นช่วงที่สามของชีวิต จะเริ่มนับเมื่ออายุประมาณ 50 ปี เป็นวัยที่บุตรโตพร้อมจะรับภาระหน้าที่เลี้ยงดูครอบครัวได้เองแล้ว คนในอาศรมนี้จึงถือว่าพ้นจากหน้าที่รับผิดชอบทางโลก และใช้ชีวิตที่เหลือในการปลีกวิเวกเพื่อปฏิบัติธรรม

สันยาสี เป็นช่วงสุดท้ายของชีวิต หลังจากที่ใช้ชีวิตในวัยวานปรัสถ์แล้ว บุคคลก็จะเข้าสู่ช่วงสุดท้ายคือสันยาสี ซึ่งเป็นช่วงชีวิตที่จะละทิ้งทุกสิ่งทุกอย่างทางโลก ละทิ้งครอบครัวและบ้านเรือนที่เคยอยู่อาศัยออกบวช ใช้ชีวิตที่เหลือในการบำเพ็ญเพียรเพื่อแสวงหาหนทางไปสู่ความหลุดพ้น

จะเห็นว่า พรหมจรรย์ ที่จริงแล้วความหมายโดยตรงคือช่วงเวลาแห่งการเล่าเรียน ศึกษาหาความรู้ อย่างไรก็ตาม ในธรรมเนียมปฎิบัติของผู้ที่เป็นพรหมจารีนั้นจะต้องไม่ยุ่งเกี่ยวกับเพศตรงข้ามด้วย เพื่อมิให้เป็นอุปสรรคกับการศึกษา

และที่สำคัญคือ ที่ว่ามาทั้งหมดข้างต้นนั้นเป็นเรื่องของ “ผู้ชาย” เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับผู้หญิง เพราะในสังคมพราหมณ์โบราณ ผู้หญิงไม่ได้มีบทบาทหน้าที่อื่นใด นอกจากการเตรียมตัวฝึกฝนงานบ้านงานเรือนเพื่อแต่งงานและดูแลครอบครัวเท่านั้น ดังนั้นเมื่อผู้หญิงไม่ได้ถูกกำหนดให้ต้องดำรงชีวิตตามอาศรม 4 เหมือนผู้ชาย จึงไม่มีผู้หญิงที่เป็น “พรหมจรรย์” ไปด้วย

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
5 VOTES (5/5 จาก 1 คน)
VOTED: แหวนดอกไม้วงนั้น
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ทบ.มีคำสั่งให้ พล.ท.ณรงค์ สวนแก้ว เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก ถูกย้ายจากตำแหน่ง หลังเกิดกรณีซ้อมที่รุนแรงเปิดตัวตำรวจสาว นางฟ้าผู้พิสูจน์หลักฐาน สวยและเก่ง ช่วยคลี่คลายคดีแอมไซยาไนด์
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
'ไทเลอร์ ติณณภพ' ลูกชาย 'ธานินทร์' ดาวเด่นยุค 80 สู่พระเอกยุคใหม่"วิธีใช้รีโมทแอร์ในโหมดต่าง ๆ เพื่อประหยัดค่าไฟฟ้า
ประโยชน์ของชาเขียวโครงการช่วยเหลือให้เกิดสภาพคล่องของเศรษฐกิจรู้หรือไม่? แก๊งคอลเซ็นเตอร์มักใช้ข้อมูลอะไรหลอกลวงคุณแผนที่ที่เก่าแก่ที่สุดของยุโรปอายุ 4,000 ปี
ตั้งกระทู้ใหม่