คนงานเหมืองทองขุดพบซากลูกแมมมอธขนยาว..ซากลูกช้างตัวเมียอายุ30,000 ปี ได้รับการตั้งชื่อว่า "นุนโชกา"อยู่ในสภาพสมบูรณ์
คนงานเหมืองทองขุดพบซากลูกแมมมอธขนยาวโดยบังเอิญ..ซากลูกช้างตัวเมียอายุ30,000 ปี ตั้งชื่อว่า "นุนโชกา"อยู่ในสภาพสมบูรณ์
🐘รัฐบาลท้องถิ่นของดินแดนยูคอน (Yukon) ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของประเทศแคนาดา แถลงว่าได้ค้นพบซากลูกช้างแมมมอธขนยาว (woolly mammoth) อายุเก่าแก่กว่า 30,000 ปี ใต้ชั้นดินเยือกแข็งคงตัวหรือเพอร์มาฟรอสต์ (permafrost) ซึ่งช่วยรักษาร่างของมันไว้ไม่ให้เน่าเปื่อยอยู่ในสภาพสมบูรณ์
🐘คนงานของเหมืองทองแห่งหนึ่งเป็นผู้ค้นพบซากลูกแมมมอธดังกล่าว ขณะที่รถตักดินบังเอิญไปกระทบเข้ากับวัตถุบางอย่างในโคลน และเมื่อพวกเขาพบว่ามันคือซากช้างดึกดำบรรพ์ เหล่าคนงานเหมืองและทีมนักวิทยาศาสตร์ที่มาตรวจสอบต้องตกตะลึง เนื่องจากโครงร่างและผิวหนังเกือบทั้งหมดอยู่ในสภาพสมบูรณ์ เสมือนกับว่ามันยังมีชีวิตอยู่ โดยยังคงมีขนและร่องรอยขีดข่วนที่เท้าปรากฏให้เห็นชัดเจน
🐘ซากลูกช้างตัวเมียดังกล่าวได้รับการตั้งชื่อว่า "นุนโชกา" (Nun Cho Ga) ซึ่งแปลว่า "ลูกสัตว์ตัวใหญ่" ในภาษาของชนพื้นเมืองแถบลุ่มแม่น้ำยูคอน โดยทางการท้องถิ่นระบุว่ามันเป็นซากลูกแมมมอธขนยาวที่สมบูรณ์ที่สุดในภูมิภาคอเมริกาเหนือ และมีขนาดตัวพอกับ "ลยูบา" (Lyuba) ซากลูกแมมมอธขนยาวอายุ 42,000 ปี ซึ่งค้นพบที่ไซบีเรียเมื่อปี 2007
งวงและกล้ามเนื้อหลายส่วนของซากลูกแมมมอธหดลีบลง
งานวิจัยของมหาวิทยาลัยแม็กมาสเตอร์ที่เผยแพร่เมื่อปี 2021 ซึ่งวิเคราะห์ดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิตโบราณที่หลงเหลืออยู่ในชั้นดินเยือกแข็งคงตัว พบว่าแมมมอธขนยาวมีชีวิตอยู่ร่วมสมัยกับม้าป่า สิงโตถ้ำ และควายไบซันยักษ์ ในทุ่งหญ้าสเตปป์ของภูมิภาคยูคอนมาอย่างยาวนานตั้งแต่ยุคน้ำแข็ง จนกระทั่งสูญพันธุ์ไปเมื่อราว 5,000 ปีก่อน โดยสาเหตุนั้นมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ไม่ใช่เพราะถูกมนุษย์ไล่ล่าจนสูญพันธุ์แต่อย่างใด
แมมมอธขนยาวตัวผู้มีความสูงราว 3.5 เมตร ส่วนตัวเมียเตี้ยกว่าเล็กน้อย งาที่โค้งงอนของมันมีความยาวสูงสุดถึง 5 เมตร ส่วนขนหนาใต้ท้องที่ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น มีความยาวได้ถึง 3 เมตรเลยทีเดียว อย่างไรก็ตามมันมีใบหูเล็กกว่าช้างในปัจจุบันมากและมีหางสั้น เพื่อป้องกันการสูญเสียความร้อน
เนื่องจากแมมมอธมีพันธุกรรมใกล้เคียงกับช้างในปัจจุบันมาก โดยมีดีเอ็นเอที่เหมือนกันถึง 99.4% นักวิทยาศาสตร์หลายคณะจึงมีความคิดที่จะทำให้พวกมันฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกครั้ง โดยใช้เทคนิคการโคลนหรือดัดแปลงพันธุกรรมหลากหลายวิธี แต่ยังไม่มีผู้ใดทำได้สำเร็จ
🐘สาระข้อมูลเพิ่มเติม
แมมมอธ มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อมนุษย์ในยุคหินเก่า ด้วยการล่าเอาเนื้อเป็นอาหาร หนังและไขมันเป็นเครื่องสร้างความอบอุ่น จนมีภาพเขียนสีบนผนังถ้ำหลายแห่งที่ปรากฏภาพ การล่าแมมมอธด้วยอาวุธที่ทำจากหินในยุคนั้น
ภาพเปรียบเทียบขนาดของมนุษย์กับแมมมอธแต่ละชนิด
🧔🏻โดยชนิดที่เป็นที่รู้จักดีที่สุด คือ แมมมอธขนดก (Mammuthus primigenius) ที่มีขนปกคลุมอยู่ทั้งตัว
🐘เชื่อว่า แมมมอธสูญพันธุ์ไปเพราะถูกล่าโดยมนุษย์จนหมด แต่จากการศึกษาด้านพันธุกรรมศาสตร์และดีเอ็นเอพบว่า แมมมอธนั้นมีสายสัมพันธ์ใกล้เคียงกับ Elephas หรือช้างเอเชียที่ยังดำรงเผ่าพันธุ์มาจนปัจจุบัน จึงมีความพยายามจากนักวิทยาศาสตร์ที่จะโคลนนิงตัวอ่อนของแมมมอธให้เกิดขึ้นมาให้ได้
🐘โดยให้แม่ช้างเอเชียเป็นฝ่ายอุ้มท้อง จากการสกลัดนิวเคลียสจากซากดึกดำบรรพ์ของลูกแมมมอธที่ค่อนข้างสมบูรณ์ เพราะถูกแช่แข็งในน้ำแข็ง จากไขกระดูกบริเวณต้นขา และจากหลักฐานใหม่ที่ได้ทำการศึกษาพบว่า แมมอธสูญพันธุ์ไปเพราะสาเหตุการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศมากกว่า โดยประชากรในยุโรปเกือบสูญพันธุ์ไปก่อนหน้านั้นเมื่อ 20,000-30,000 ปีก่อน จากนั้นเมื่อ 14,000 ปีก่อน โลกเริ่มมีอุณหภูมิที่อุ่นขึ้น จึงพากันสูญพันธุ์ เนื่องจากสภาพร่างกายที่ใหญ่และมีขนยาวปกคลุมลำตัว
👉🏿ในปลายเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2012 มีการค้นพบซากลูกแมมมอธอายุราว 30,000 ปี ที่สมบูรณ์มากตัวหนึ่งที่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือห่างจากกรุงมอสโคราว 3,500 กิโลเมตร โดยเด็กชายวัย 11 ขวบคนหนึ่ง นับเป็นการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ที่สมบูรณ์มากซากหนึ่งในรอบนับร้อยปี เชื่อว่า ลูกแมมมอธตัวดังกล่าวตายลงเมื่อมีอายุได้ 16 ปี มีความสูงได้ 2 เมตร
อ้างอิงจาก: วิกิพีเดีย YouTube และ google