นาคไม่ใช่คน บวชนาคไม่มีในพุทธบัญญัติ
ถ้า นาก คำนี้คือ เป็นโลหะผสมที่เกิดจากการผสมระหว่าง ทองแดง ทองคำ และ เงิน และ สัตว์ที่อยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แต่.................
นาค คำนี้ ตามคติศาสนาฮินดู ศาสนาพุทธ และศาสนาเชน นาค (สันสกฤต: नाग Nāga) คืองูใหญ่มีหงอนอาศัยในเมืองบาดาล แปลงกายเป็นมนุษย์ได้ ในทางประติมานวิทยามักแสดงในสามรูปแบบคือ มนุษย์มีงูที่ศีรษะ งู หรือครึ่งงูครึ่งมนุษย์ นาคเพศหญิงเรียกว่านาคี นาคผู้เป็นหัวหน้าเรียกว่าพญานาค ถือเป็นสัตว์ในนิยายที่มีบทบาทสำคัญในเรื่องปรัมปราในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
และนาค อุษาคเนย์ คำว่า นาค เป็นคำใช้เรียกคนผู้ชายที่จะขออุปสมบท คือบวชเป็นพระภิกษุ เป็นประเพณีไทยแต่โบราณนานมาแล้วไม่เรียกพิธีอุปสมบทว่าบวชคนให้เป็นพระ แต่เรียกบวชนาค (ให้เป็นพระ)
ในพระวินัยของพระพุทธเจ้าไม่มีเรื่องบวชนาค (ให้เป็นพระ) ฉะนั้นพิธีบวชนาคจึงไม่มีในชมพูทวีป (คืออินเดียโบราณ) แต่เป็นประเพณีพื้นเมืองของภูมิภาคอุษาคเนย์ โดยเฉพาะบริเวณผืนแผ่นดินที่เป็นพม่า (มอญ) เขมร ลาว และไทย
ศาสนาฮินดู
ในความเชื่อของฮินดู นาคเป็นสิ่งมีชีวิตกึ่งเทวะ (semidivine) ที่มีพลังอำนาจ วิเศษ ภูมิใจ และมหัศจรรย์ ด้วยสถานะความเป็นกึ่งเทวะจึงอาจอนุมานรูปลักษณะทางกายภาพของนาคว่าเป็นมนุษย์, กึ่งมนุษย์กึ่งนาค หรือเป็นลักษณะนาคทั้งหมด นาคอาศัยอยู่ในโลกบาดาลที่เรียกว่า "บาดาล" ซึ่งเต็มไปด้วยอัญมณี ทองคำ และสมบัติทางโลกอื่น ๆ
ปตันชลีในปางเศษะ
นอกจากนี้นาคยังมีความเกี่ยวพันกับพื้นน้ำ เช่น แม่น้ำ ทะเลสาบ ทะเล หรือแม้แต่บ่อน้ำ และถือว่าเป็นผู้พิทักษ์สมบัติ พลังอำนาจและพิษของนาคทำให้นาคเป็นไปได้ว่าจะเป็นอัตรายต่อมนุษย์ อย่างไรก็ตามนาคมักปรากฏอยู่ในฐานะตัวเองที่เป็นประโยชน์ในตำนานฮินดู เช่นในสมุทรมณฑล
ซึ่งพญาวาสุกีซึ่งประทับรอบพระศอของพระศิวะได้มาเป็นเชือกสำหรับการกวนน้ำในเกษียรสมุท Their eternal mortal enemies are the Garudas, the legendary semidivine birdlike-deities.
พระวิษณุนั้นดั้งเดิมแล้วมีการสร้างรูปเคารพในรูปลักษณะที่ทรงมีนาคเศษะประทับปกคลุม หรือประทับนอนบนนาคเศษะ อย่างไรก็ตามประติมานวิทยานี้ได้ขยายออกไปตามเทพองค์อื่น ๆ ด้วยเช่นกัน เช่นเดียวกับในพระคเณศซึ่งปรากฏนาคในหลายลักษณะ ทั้งประทับคล้องพระศอของพระคเณศ ใช้เป็นด้ายศักดิ์สิทธิ์ (สันสกฤต: ยัชโญปวีตะ; yajñyopavīta),
ประทับคล้องพระวรกายของพระคเณศ หรือแแต่ในลักษณะเป็นบัลลังก์ให้พระคเณศประทับพระศิวะมักปรากฏในรูปเคารพพร้อมนาคในลักษณะคล้ายมาลัยเช่นกัน Maehle (2006: p. 297) ระบุว่า "ปตัญชลีนั้นเชื่อกันว่าเป็นการประจักษ์ของความเป็นนิรันดร์"
ศาสนาพุทธ
พระพุทธรูปปางนาคปรก พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
นาคในศาสนาพุทธมักแสดงในรูปของงูเห่าขนาดใหญ่ บางตนมีพลังวิเศษแปลงกายเป็นรูปมนุษย์ได้ บางครั้งมีการสร้างรูปของนาคในลักษณะของมนุษย์ซึ่งมีงูหรือมังกรปรกอยู่เหนือศีรษะ
พระพุทธรูปปางนาคปรก พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ในพุทธประวัติระบุว่าเคยมีนาคตนหนึ่งซึ่งแปลงกายอยู่ในรูปมนุษย์ได้มีความพยายามที่จะออกบวช แต่พระโคตมพุทธเจ้าตรัสว่าไม่สามารถให้นาคบวชได้
หากนาคต้องการบวชจักต้องเกิดใหม่ในชาติที่เป็นมนุษย์จึงจะบวชได้ในศาสนาพุทธเชื่อว่านาคอาศัยในบาดาล เช่นเดียวกันกับเทวดาบางส่วน และอาศัยในส่วนต่าง ๆ ของโลกมนุษย์ บางส่วนอาศัยในน้ำ เช่นลำธาร แม่น้ำ ทะเล มหาสมุทร และบางส่วนอาศัยบนบกเช่นในถ้ำ
นาคเป็นบริวารของท้าววิรูปักษ์ หนึ่งในโลกบาลผู้พิทักษ์ทิศตะวันตก นาคต่าง ๆ ทำหน้าที่เป็นผู้พิทักษ์บนเขาพระสุเมรุ เพื่อปกป้องชั้นดาวดึงส์จากอสูร
หนึ่งในนาคที่เป็นที่รู้จักดีในศาสนาพุทธคือมุจลินท์ ซึ่งปรากฏในมุจจลินทสูตรว่า ระหว่างที่พระพุทธเจ้าเสวยวิมุตติสุข เกิดฝนฟ้าคะนองรุนแรง พญามุจลินท์จึงได้ขดรอบพระพุทธองค์แล้วแผ่พังพานปกพระเศียรของพระพุทธเจ้าเพื่อมิให้ทรงต้องฝน
หลังจากฝนหยุด พญามุจลินท์ได้คลายขดออกและแปลงกายเป็นชายหนุ่มยืนพนมมือถวายความเคารพอยู่เฉพาะพระพักตร์ตำนานในส่วนนี้มีความแตกต่างกันในรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ไปตามความเชื่อในแต่ละภูมิภาค
ในความเชื่อของวัฒนธรรมร่วมไทย-ลาว มีการนับถือนาคในลักษณะเป็นเทพแห่งน้ำ และมีความเชื่อว่าในแม่น้ำโขงนั้นมีนาคอาศัยอยู่ ตามตำนาน สัตว์จำพวกงู, แมงป่อง, ตะขาบ, คางคก มีพิษจากพิษที่นาคได้คายทิ้งไว้
นอกจากนี้ในความเชื่อของไทยได้แบ่งนาคออกเป็น 4 ตระกูลใหญ่ คือ ตระกูลวิรูปักษ์ เป็นพญานาคตระกูลสีทอง, ตระกูลเอราปถ พญานาคตระกูลสีเขียว, ตระกูลฉัพพยาปุตตะ พญานาคตระกูลสีรุ้ง, ตระกูลกัณหาโคตมะ พญานาคตระกูลสีดำ และเชื่อว่านาคสามารถเกิดได้สี่รูปแบบ คือ โอปปาติกะ เกิดแล้วโตทันที, สังเสทชะ
เกิดจากเหงื่อไคล สิ่งหมักหมม, ชลาพุชะ เกิดจากครรภ์ และ อัณฑชะ เกิดจากฟองไข่ ผู้คนที่อาศัยอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำโขงเชื่อว่า แม่น้ำโขงเกิดจากการแถตัวของพญานาค 2 ตน จึงเกิดเป็นแม่น้ำโขงและแม่น้ำน่าน นอกจากนี้ยังรวมถึงบั้งไฟพญานาค โดยมีตำนานว่าในวันออกพรรษาหรือเป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พญานาคแม่น้ำโขงต่างชื่นชมยินดี จึงทำบั้งไฟถวายการเสด็จกลับของพระพุทธเจ้าจนกลายเป็นประเพณีทุกปี