นักดาราศาสตร์ค้นพบดาวเคราะห์คล้ายโลกใหม่ล่าสุด ..ที่มนุษย์ อาจไปอาศัยอยู่ได้ ห่างออกไป 100 ปีแสงเท่านั้นเอง
นักดาราศาสตร์ค้นพบดาวเคราะห์คล้ายโลกใหม่ล่าสุด ..ที่มนุษย์ อาจไปอาศัยอยู่ได้ ห่างออกไป 100 ปีแสงเท่านั้นเอง
มันเป็นข่าวที่น่ายินดีหรือเปล่าก็ไม่รู้นะครับที่พบดาวเคราะห์คล้ายโลกและมีโอกาสเป็นไปได้ว่ามนุษย์อาจจะอาศัยอยู่ได้
👉🏿แต่ข่าวนี้มันก็เป็นการสมมติฐานของนักนักดาราศาสตร์นานาชาติที่ประกาศเมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาว่าพวกเขาค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะที่มนุษย์อาจอาศัยอยู่ได้สองดวงซึ่งอยู่ห่างออกไปเพียง 100 ปีแสง
🙄ย้ายไปอยู่ได้ไหม? นักดาราศาสตร์พบดาวเคราะห์คล้ายโลก ที่อาจอาศัยอยู่ได้ ห่างออกไป 100 ปีแสง - ที่ยังต้องศึกษาเพิ่มเติม
🚀ทีมนักดาราศาสตร์นานาชาติประกาศเมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาว่าพวกเขาค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะที่มนุษย์อาจอาศัยอยู่ได้สองดวงซึ่งอยู่ห่างออกไปเพียง 100 ปีแสง โดยทั้งสองดวงมีขนาดใหญ่กว่าโลกอย่างมาก และหนึ่งในนั้นอาจเหมาะกับการกำเนิดชีวิต การค้นพบนี้ได้เผยแพร่ในวารสาร ‘Astronomy and Astrophysics’
🪐ดาวเคราะห์ทั้งสองมีชื่อว่า LP 890-9b (TOI-4306b) และ LP 890-9c (SPECULOOS-2c) โดยโคจรรอบดาวฤกษ์ครบหนึ่งรอบในระยะเวลา 2.7 วัน และ 8.4 วันของโลกตามลำดับ แม้มีวงโคจรที่ใกล้ดาวฤกษ์ยิ่งกว่าดาวพุธโคจรรอบดวงอาทิตย์ถึง 10 เท่า แต่ปริมาณรังสีความร้อนที่พวกมันได้รับก็ไม่ได้แผดเผาดาวเคราะห์นอกระบบทั้งสองดวงนี้ เนื่องจากดาวฤกษ์นั้นเป็นประเภทดาวแคระแดง
☀️ซึ่งเล็กกว่าดวงอาทิตย์ของเราประมาณ 6.5 เท่าและมีอุณหภูมิที่ต่ำกว่าประมาณครึ่งหนึ่ง ส่งผลให้ทั้งสองอาจเป็นดาวที่มนุษย์อาศัยอยู่ได้ และหนึ่งในนั้นอาจรองรับการกำเนิดชีวิตได้อีกด้วย
🪐“แม้ว่าดาวเคราะห์ดวงนี้จะโคจรใกล้กับดาวฤกษ์ของมันมาก ในระยะทางที่สั้นกว่าดาวพุธวนรอบดวงอาทิตย์ประมาณ 10 เท่า แต่ปริมาณการแผ่รังสีของดาวฤกษ์ที่มันได้รับยังคงต่ำ และนั่นอาจทำให้น้ำมีสถานะเป็นของเหลวอยู่บนพื้นผิวดาวเคราะห์ดวงนั้น” ฟรานซิสโก โพซูยลอส (Francisco Pozuelos) หนึ่งในทีมวิจัยกล่าว พร้อมเสริมว่า “สิ่งนี้อธิบายได้ว่าทำไม LP 890-9c ถึงมีสภาพที่เหมาะกับชีวิต แม้ว่ามันจะอยู่ใกล้ดาวฤกษ์ของมันมากกว่าที่โลกใกล้ดวงอาทิตย์มา”
🧔🏻ทีมงานเชื่อว่าดาวเคราะห์ดวงนี้เป็นสถานที่เอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตมากที่สุดเป็นอันดับสอง โดยอันดับหนึ่งคือดาวเคราะห์ที่มีชื่อว่า ‘TRAPPIST-1e’ ซึ่งพบในปี 2016
👨🏭“จากการคำนวนของผม ระบบในดาวเคราะห์ที่พบนี้ดีที่สุดเป็นอันดับสอง จากการศึกษาสภาพอากาศหรือค้นหาบรรยากาศด้วยเครื่องมืออย่าง JWST(James Webb Space Telescope)” อมัวรี ทรัยอด์ (Amaury Triaud) จากสหราชอาณาจักรและหนึ่งในทีมวิจัย กล่าว เขาหวังว่าข้อมูลเพิ่มเติมจาก JWST จะสามารถบอกเราได้ว่ามันมีบรรยากาศอะไรรวมทั้งสิ่งที่อยู่ภายในดวงดาว
👨แม้ว่าจะยังไม่แน่ชัดถึงเรื่องมวลของดาวเคราะห์ทั้งสอง แต่ข้อมูลทางอ้อมอื่น ๆ ก็ทำให้นักวิทยาศาสตร์บอกได้อย่างค่อนข้างมั่นใจว่าทั้งคู่คือ ‘ซูปเปอร์เอิร์ธ (Super-Earth - ดาวเคราะห์คล้ายโลกที่มีมวลมากกว่าโลก แต่มีมวลน้อยกว่าดาวเคราะห์แก๊สยักษ์)’
🪐โดย LP 890-9b มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.32 เท่าของโลก และมีมวลมากกว่าถึง 13 เท่า ขณะที่ LP 890-9c มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.37 เท่าของโลก และมีมวลมากกว่าถึง 25 เท่า การวัดนี้บ่งบอกว่ามันมีความหนาแน่นในแบบที่เป็นหิน เช่น โลก ดาวอังคาร และดาวศุกร์ มากกว่าจะเป็นแบบดาวเคราะห์ก๊าซหรือน้ำแข็ง เช่น ดาวพฤหัสบดีหรือดาวเนปจูน
👉🏿อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเหล่านี้ยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมอีกมาก “เราไม่ควรคาดหวังมากเกินไป” โรเบิร์ต เวลส์ (Robert Wells) นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเบิร์นในเยอรมนีกล่าว “การอยู่ในจุดที่ถูกต้องไม่ได้รับประกันว่าจะมีชายหาดและต้นปาล์ม ดาวศุกร์เพื่อนบ้านของเราก็อยู่ใกล้บริเวณที่เรียกว่าอาศัยอยู่ได้รอบดวงอาทิตย์เช่นกัน แต่มันคือหม้อความดันที่มีอุณหภูมิสูงเกือบ 500 องศาเซลเซียส และเต็มไปด้วยคาร์บอนไดออกไซด์”
✴️LP 890-9c ก็อาจติดอยู่ในภาวะเรือนกระจกที่หนีไม่พ้นนี้เช่นกัน เราไม่รู้แน่ชัดว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง อย่างไรก็ตาม “การค้นพบ LP 890-9c ก็เป็นโอกาสพิเศษในการทำความเข้าใจและข้อจำกัดสภาพความเป็นอยู่ของดาวฤกษ์ที่เล็กที่สุดและยอดเยี่ยมในย่านระบบสุริยะของเรา” เลียทเทีย เดลเรซ (Laetitia Delrez) หัวหน้าทีมวิจัยกล่าว
🌍สาระข้อมูลเพิ่มเติม
ดาวเคราะห์คล้ายโลก (อังกฤษ: terrestrial planet) หรือบางครั้งเรียกว่า ดาวเคราะห์หิน (rocky planet) หรือ ดาวเคราะห์ชั้นใน (inner planet) หมายถึงดาวเคราะห์ที่มีองค์ประกอบพื้นฐานเป็นหินซิลิเกต ในระบบสุริยะจะหมายถึงดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์มาก และดาวเคราะห์ที่มีลักษณะภายนอก "คล้ายกับโลก"มาก
ดาวเคราะห์ชั้นในของระบบสุริยะ ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก และดาวอังคาร ขนาดเปรียบเทียบตามจริง
ดาวเคราะห์คล้ายโลกจะมีองค์ประกอบพื้นฐานที่แตกต่างจากดาวเคราะห์แก๊สยักษ์อย่างเด่นชัด โดยที่ดาวเคราะห์แก๊สยักษ์จะไม่มีพื้นผิวเป็นของแข็งที่ชัดเจน และมีองค์ประกอบพื้นฐานส่วนมากเป็นไฮโดรเจน ฮีเลียม และน้ำ ในสถานะต่างๆ
👉🏿ดาวเคราะห์คล้ายโลกในระบบสุริยะ
มวลเปรียบเทียบกันระหว่างดาวเคราะห์คล้ายโลกดวงต่างๆ ในระบบสุริยะ รวมถึงดวงจันทร์
ในระบบสุริยะของเรามีดาวเคราะห์คล้ายโลกจำนวน 4 ดวง คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก และดาวอังคาร และมีดาวเคราะห์แคระคล้ายโลกอีก 1 ดวง คือ ซีรีส วัตถุบางชนิดเช่น พลูโต แม้จะคล้ายคลึงกับดาวเคราะห์คล้ายโลก เพราะมีพื้นผิวที่เป็นของแข็งชัดเจน
👉🏿ทว่าองค์ประกอบส่วนใหญ่ของดาวนั้นเป็นน้ำแข็ง เชื่อว่าในระหว่างการก่อตัวของดาวเคราะห์ของระบบสุริยะ อาจมีดาวเคราะห์ชั้นในเป็นจำนวนมากกว่านี้ แต่ดาวเคราะห์เหล่านั้นเกิดรวมตัวกันหรือแตกกระแทกสลายไปจนเหลือเพียง 4 ดวง ในจำนวนนี้มีเพียงโลกเท่านั้นที่มีชั้นบรรยากาศซึ่งห่อหุ้มด้วยน้ำ
🌙ดวงจันทร์ของโลก รวมถึงดวงจันทร์บริวารของดาวพฤหัสบดี คือ ไอโอ และ ยูโรปา อาจนับเป็นดาวเคราะห์คล้ายโลกด้วยเช่นกัน แม้ว่ามันจะโคจรรอบดาวเคราะห์ดวงอื่น จึงไม่ได้มีสถานะเป็น "ดาวเคราะห์" โดยตรง
💥ความหนาแน่น
ยิ่งดาวเคราะห์ใกล้โลกอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มากขึ้น เช่น ซีรีส และดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่อีก 2 ดวง มีแนวโน้มที่ความหนาแน่นของดาวจะยิ่งน้อยลง
🙄เอาจริงๆเลยนะครับสำหรับความคิดของข้าพเจ้าเองถ้ามีดาวเคราะห์คล้ายโลกและสามารถไปอาศัยอยู่ได้จริงๆ
😁จะขอเป็นคนแรกที่อาสาสมัครไปก่อนเลยครับ...มันคงจะเป็นอะไรที่น่าตื่นเต้นมากๆบางทีไปแล้วอาจจะไปตายร่างกายสูญสลายก่อนลงพื้นดาวดวงนั้นเลยก็ได้ไม่ได้กลับมาอีกแล้ว...ฝันให้ไกลไปไม่ถึง😁
🌍ก็อย่างว่าล่ะ..มนุษย์เรามีจินตนาการที่กว้างไกลและก็จะพยายามทำจินตนาการนั้นให้เป็นความจริง..มนุษย์ทำได้ครับ......🧔🏻ไม่แน่นะครับดาวเคราะห์คล้ายโลกอาจมีจริง ๆ แล้วมนุษย์ก็สามารถไปอาศัยอยู่ได้ก่อนที่โลกนี้จะสูญสลายไป...มนุษย์ก็คงย้ายไปจากโลกนี้ไปอยู่ดาวดวงอื่นๆหมดแล้วในอนาคต
อ้างอิงจาก: วิกิพีเดีย google และ YouTube