กุ้งหรือไม่ใช่กุ้ง‘Cystisoma’ สัตว์เปลือกแข็งสุดแปลกจากทะเลลึก มีดวงตาใหญ่ยักษ์ ลำตัว-อวัยวะใสจนมองเห็นได้ยาก
🦐กุ้งหรือไม่ใช่กุ้ง‘Cystisoma’ สัตว์เปลือกแข็งสุดแปลกจากทะเลลึก มีดวงตาใหญ่ยักษ์ ลำตัว-อวัยวะใสจนมองเห็นได้ยาก
🌊ใต้ท้องทะเลลึก ยิ่งลึกก็ยิ่งมีสิ่งที่ให้น่าค้นหา มีอะไรที่ลึกลับซับซ้อนทั้ง ปลา กุ้งหอยหรือสัตว์แปลกๆที่แฝงตัวอยู่อีกมากมายวันนี้เราจะมานำเสนอสัตว์แปลกๆ อีกชนิดหนึ่ง มันคืออะไรกันแน่ระหว่างกุ้งหรือไม่ใช่กุ้งมันคือตัว ‘Cystisoma’ สัตว์เปลือกแข็งสุดแปลกจากทะเลลึก
🤓มาเข้ารายละเอียดของบทความกันเลยดีกว่านะครับ
🦐กุ้งไม่กุ้ง? มาพบกับ ‘Cystisoma’ สัตว์เปลือกแข็งสุดแปลกจากทะเลลึก มีขนาดเท่ากำปั้น มีดวงตาใหญ่ยักษ์ ลำตัว-อวัยวะใสจนมองเห็นยาก
😁กลับมาอีกแล้วกับช่วงสัตว์แปลกใต้สมุทร วันนี้เราจะพามาพบกับแอมฟิพอดทะเลลึกในสกุล Cystisoma สัตว์เปลือกแข็ง รูปร่างคล้ายกุ้ง (หรือเปล่า) ที่พบได้ทุกมหาสมุทรทั่วโลก ที่ความลึกระหว่าง 200 - 900 เมตร ซึ่งเป็นบริเวณที่แสงอาทิตย์แทบจะส่องไม่ถึง
👉🏿ดูจากภาพคุณอาจจะคิดว่า เจ้า Cystisoma นี่คงตัวเล็กแน่ ๆ แต่ไม่ใช่เลย เพราะความจริงแล้วพวกมันมีขนาดเท่ากำปั้น หรือบางชนิดอาจยาวสุดเกือบ 18 เซนติเมตร นอกจากนี้ พวกมันยังมีดวงตา (ก้อนสีน้ำตาลในภาพ) ขนาดใหญ่ยักษ์จนแทบจะกินพื้นที่หมดทั้งหัว ซึ่งช่วยให้มันดำรงชีวิตในที่มืดได้ดี เพราะจับอนุภาคแสงได้มากขึ้น
👉🏿โดยปกติแล้ว จอประสาทตาจะต้องมีเม็ดสีที่เข้มไว้ดูดแสง เลยเป็นส่วนที่ซ่อนจากศัตรูได้ยาก แต่สำหรับ Cystisoma พวกมันมีวิธีซ่อนดวงตาคู่ยักษ์ที่แตกต่างออกไป เพราะเม็ดสีบนจอประสาทตาของมัน ถูกกระจายกลายเป็นแผ่นบาง ๆ ที่มีจุดสีแดงมากมาย ซึ่งเล็กเกินกว่าที่สัตว์อื่นจะมองเห็น
🦐เจ้า Cystisoma ยังมีลำตัวและอวัยวะภายในใสแจ๋ว ยกเว้นส่วนระบบทางเดินอาหารสีเหลืองทอง ซึ่งเป็นทรงสูง ทำให้แทบจะไม่มีเงาปรากฏให้เห็นเมื่อพวกมันอยู่ในลักษณะตามปกติ “คุณจะไม่เห็นมันจนกว่าจะหยิบมันขึ้นมาจากน้ำ” Karen Osborn จาก Smithsonian Institution กล่าว
🧔🏻จริง ๆ แล้ว สกิลการซ่อนตัวของ Cystisoma นั้น เหนือกว่าที่คิด ในปี 2016 Osborn และคณะค้นพบว่า exoskeleton หรือเปลือกแข็งด้านนอกของ Cystisoma ถูกปกคลุมด้วยโครงสร้างเล็กจิ๋วคล้ายพรมขน
แต่บางส่วนก็ถูกปกคลุมด้วยโครงสร้างทรงกลม ซึ่งนักวิจัยคาดว่า อาจเป็นโคโลนีของแบคทีเรียที่ไม่รู้จัก
โครงสร้างเหล่านี้ทำให้แสงทะลุผ่านร่าง Cystisoma ได้ง่ายขึ้น 100 เท่า แทนที่จะสะท้อนเข้าตาศัตรูที่ผ่านไปมา “มันช่วยลดการสะท้อนแสงในวิธีเดียวกัน กับสารเคลือบลดการสะท้อนบนเลนส์กล้อง” Osborn กล่าวก่อนอธิบายว่า Cystisoma ตัวผู้มีหนวดขนาดใหญ่ที่น่าจะช่วยให้มันดมกลิ่นในน้ำและหาคู่ผสมพันธุ์เจอ
สาระข้อมูลเพิ่มเติม Cystisoma
Cystisomaเป็นสกุลของ amphipod ......🦐ซึ่งเป็นสมาชิกเพียงคนเดียว ของตระกูล Cystisomatidaeภายใน Hyperiidea
สกุลนี้ขึ้นชื่อเรื่องความโปร่งใสเกือบสมบูรณ์ ดัดแปลงให้เข้ากับชีวิตในน้ำที่มีแสงน้อย
การกระจาย
Cystisoma อาศัยอยู่ใน เขตepipelagicและmesopelagic แสงสลัว สามารถพบได้ในมหาสมุทรทั้งหมดของโลก [ อ้างอิงจำเป็น ]พวกมันดูเหมือนจะว่ายน้ำอย่างอิสระและไม่เหมือนไฮเปอร์อิดส์อื่น ๆ ดูเหมือนจะไม่สัมพันธ์กับsalpsอย่าง ใกล้ชิด
สายพันธุ์
Cystisoma fabricii Stebbing, พ.ศ. 2431
Cystisoma gershwinae Zeidler, 2003
Cystisoma latipes (สตีเฟนเซ่น 2461)
Cystisoma longipes (โบวัลลิอุส 2429)
Cystisoma magna (Woltereck, 1903)
Cystisoma pellucida (Willemöes-Suhm, 1873)
🙄อ่านมาจนจบบทความแล้วคุณรู้สึกว่าตัวนี้‘Cystisoma’ที่มาจากใต้ทะเลลึก มันแปลกไหมครับ...❓
😯แต่สำหรับเท่าที่ดูแล้วอ่ะ‘
ตัวCystisoma’มันแปลกมากๆนะครับ ลำตัวมันใสๆเหมือนก้อนน้ำแข็งก็เหมือนนะ...อีกอย่างหนึ่งหน้าตามันดูรวมแล้วเหมือนกับสัตว์ประหลาดจากต่างดาวเลยนะครับพวกเอเลี่ยนอะไรพวกนี้😁
อ้างอิงจาก: วิกิพีเดีย facebook และ YouTube