วางแผนเรื่องเรียนและเรื่องเล่นให้สนุกและได้ความรู้ไปพร้อมกัน
เวลาเรากล่าวถึงเรื่องการเรียน เราจะรู้สึกเบื่อ เพราะเรียนนั้นเหมือนเต็มไปด้วยเรื่องราวต่างๆที่ต้องจดจำ เป็นวิชาการ และต้องอ่านหนังสือเรียนมากๆ ทำให้ลึกๆแล้วเราต่อต้าน ยิ่งไปกว่านั้น หากวิชาที่เราชอบไม่ได้มีความน่าสนใจ เราก็จะยิ่งรู้สึกไม่อยากเรียน แต่ถ้าเราเจอครูผู้สอนที่สามารถสอนเรื่องที่ยากๆให้เข้าใจได้ง่ายๆ นักเรียนก็จะเข้าใจ และสามารถนำความรู้ไปใช้ได้ เด็กๆนั้นจะห่วงเล่น เพราะในวัยของเขา การเล่นคือการได้ปลดปล่อย ได้ทำในสิ่งที่ชอบ ได้สนุกสนานไปกับเพื่อนๆ ยิ่งถ้าได้เรียนหลักสูตรแบบ bilingual programmeเด็กจะได้ภาษาที่สองและยังต่อยอดในภาษาที่สามอีกด้วย
พ่อแม่หลายท่านมักกังวลว่า ลูกๆจะห่วงเล่นมากเกินไป จนลืมนึกถึงความจริงที่ว่า การเล่นนั้นสามารถต่อยอดความรู้ได้อย่างหลายหลาย อีกทั้งยังพัฒนาสมองและร่างกายไปพร้อมๆกัน นอกจากนี้ยังมีทักษะการเข้าสังคมที่ได้มาจากการเข้าหาเพื่อนใหม่ๆ ได้ชวนเพื่อนใหม่ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าหากเจอปัญหา เพราะเมื่อเด็กอยู่ร่วมกันมากๆ ก็จะมีความขัดแย้ง ทะเลาะกันได้ ในส่วนนี้ลูกจะเริ่มเข้าใจอารมณ์ต่างๆ และยังสามารถพัฒนาในส่วนของความฉลาดทางอารมณ์ได้อีกด้วย เมื่อพ่อแม่ได้อธิบายถึงเหตุและผลต่างๆ พร้อมทั้งให้ลูกได้ทำความเข้าใจสิ่งเหล่านั้น เว็บไซต์ rama mahidol ได้แชร์บทความที่น่าสนใจไว้ว่า สภาพชีวิตในปัจจุบัน ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของภาวะสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคมเป็นยุคของวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ที่มีทั้งผลดีและผลเสีย ทำให้เราทุกคนต้องพยายามปรับตัวต่อสู้ดิ้นรนเพื่อจะได้อยู่กับความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้ แต่เนื่องจากความสามารถของแต่ละคนมีขอบขีดจำกัด บางครั้งเมื่อประสบปัญหา จึงทำให้เกิดความวิตกกังวล ท้อแท้ สิ้นหวัง เบื่อหน่าย นักสังคมวิทยาบางคนให้สมญายุคนี้ว่า ยุคแห่งความวิตกกังวล เนื่องจากการมีสุขภาพที่ดีนั้น ย่อมหมายถึง ภาวะที่สมบูรณ์ของร่างกายและจิตใจ ไม่มีความเจ็บไข้ได้ป่วย และดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างดี ไม่มีความหวาดหวั่นพรั่นพรึง สุขภาพจิต คือ สภาพชีวิตที่เป็นสุขมีอารมณ์มั่นคง สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงมากๆได้ มีสมรรถภาพในการทำงาน และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ด้วยความพอใจ การเรียนรู้เรื่องของจิตใจ ก็จะช่วยให้เข้าใจชีวิต เข้าใจตนเอง และผู้อื่นมากขึ้น สภาพจิตใจของแต่ละคนจะเป็นอย่างไร ปกติหรือไม่ พอที่จะประเมินได้ โดยการพิจารณาในเรื่องความต้องการ ความต้องการนี้แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล แล้วแต่สภาพแวดล้อม ถ้าความต้องการได้รับการตอบสนอง ก็จะทำให้เกิดความพึงพอใจ ถ้าไม่ได้ก็เกิดความคับข้องใจ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดปัญหาทั้งด้านร่างกายและจิตใจได้ เป้าหมายของชีวิต ทุกคนมีความคาดหวัง ตั้งเป้าหมายชีวิตของตนไว้ทำให้มีกำลังใจทำกิจกรรมการงานต่างๆ ถ้าเป้าหมายนี้เป็นจริง ก็จะทำให้รู้สึกพอใจ เป็นสุข ถ้าไม่เป็นไปตามนั้นก็จะผิดหวังและเป็นทุกข์ เป้าหมายนี้อาจจะมากจนทำให้เกิดความยากลำบากในการปรับตัวได้