มิกิโซ อุเอดะ ชายญี่ปุ่นอายุมากที่สุดในประเทศ เสียชีวิตแล้ว 112 ปี และ วันเคารพผู้สูงอายุ ของญี่ปุ่น
มิกิโซ อุเอดะ ชายญี่ปุ่นอายุมากที่สุดในประเทศ เสียชีวิตแล้ว 112 ปี และ วันเคารพผู้สูงอายุ ของญี่ปุ่น
คนที่อายุยืนแสดงว่าคนคนนั้นเป็นคนที่มีบุญวาสนาดีถึงอายุยืนยาว..แต่ยังไงก็แล้วแต่มนุษย์ทุกคนก็ต้องตายมันเป็นธรรมดาเกิดแก่เจ็บตายไม่มีใครอยู่ค้ำฟ้า
👉🏿เมื่อวันอังคาร (13 ก.ย.) รัฐบาลท้องถิ่นญี่ปุ่นเปิดเผยว่ามิกิโซ อุเอดะ ชายญี่ปุ่นอายุมากที่สุดในประเทศ เสียชีวิตแล้วไม่นานนี้ด้วยวัย 112 ปี ในเมืองนาราทางตะวันตก
อุเอดะเกิดในเดือนพฤษภาคม 1910 และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 9 ก.ย. ที่ผ่านมา ด้านกระทรวงสาธารณสุขญี่ปุ่นเตรียมประกาศชายอายุมากที่สุดที่ยังมีชีวิตอยู่ในสัปดาห์นี้
ญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในประเทศที่ประชากรมีอายุคาดเฉลี่ยสูงสุดในโลก และเป็นบ้านของกลุ่มคนที่ถูกจดบันทึกว่ามีอายุมากที่สุดหลายคนด้วยกัน
🤓ก่อนหน้านี้ คาเนะ ทานากะ หญิงญี่ปุ่นวัย 119 ปี ซึ่งถูกจดบันทึกจากกินเนสส์ เวิลด์ เรคคอร์ด (Guinness World Record) ว่าเป็นบุคคลอายุมากที่สุดในโลก เสียชีวิตที่จังหวัดฟุกุโอกะเมื่อวันที่ 19 เม.ย. ปีนี้
👉🏿โดยหลังจากเธอเสียชีวิต หญิงอายุมากที่สุดในญี่ปุ่นในปัจจุบันคือฟุสะ ทัตสึมิ วัย 115 ปี จากจังหวัดโอซากา
อนึ่ง จิโรเอมอน คิมูระ ชายชาวญี่ปุ่น ซึ่งกินเนสส์ เวิลด์ เรคคอร์ดจดบันทึกว่าเป็นชายมีอายุยืนยาวที่สุดในโลก เสียชีวิตด้วยวัย 116 ปี 54 วัน ในเดือนมิถุนายน 2013
👉🏿ข้อมูลเพิ่มเติมวันเคารพผู้สูงอายุ (ญี่ปุ่น: 敬老の日; โรมาจิ: Keirō no Hi) หรือ วันผู้สูงอายุ ตรงกับวันจันทร์ที่ 3 ของเดือนกันยายนของทุกปีในประเทศญี่ปุ่น เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองการมีสุขภาพดีและอายุยืนยาว
วันเคารพผู้สูงอายุในประเทศญี่ปุ่นเริ่มต้นครั้งแรกในจังหวัดเฮียวโงะที่ได้จัดงานวันผู้สูงอายุ (ญี่ปุ่น: 年寄の日; โรมาจิ: Toshiyori no Hi) ในวันที่ 15 กันยายน และวันดังกล่าวก็ได้รับความนิยมไปทั่วประเทศจนถึงปี ค.ศ. 1966
รัฐบาลฯ จึงกำหนดวันดังกล่าวให้เป็นวันหยุดราชการตามพระราชบัญญัติวันหยุดราชการ แต่ต่อมาในปี 2003 วันเคารพผู้สูงอายุถูกกำหนดใหม่ให้เป็นวันจันทร์ที่ 3 ของเดือนกันยายนเพื่อสร้างวันหยุดต่อเนื่องรวม 3 วันตามระบบแฮปปี้ซันเดย์
ข้อมูลเบื้องต้น วันเคารพผู้สูงอายุ
ในปี 2015 จากการสำรวจของรัฐบาลญี่ปุ่น พบว่าประชากรที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไปมีทั้งสื้นราว 34 ล้านคน ในขณะที่ประชากรที่มีอายุมากกว่า 80 ปีขึ้นไปมีมากถึง 10 ล้านคน
การเฉลิมฉลอง
แม้ว่าในวันดังกล่าวจะไม่มีประเพณีในการปฏิบัติตนอย่างแน่ชัด แต่องค์กรหรือหน่วยงานท้องถิ่นจะจัดงานเพื่อผู้สูงอายุโดยเฉพาะ เช่น การมอบเบ็นโตและเครื่องใช้ที่จำเป็นอย่างสบู่หรือยาสีฟัน โรงเรียนในท้องถิ่นจะร่วมการจัดการแสดงในบ้านพักคนชรา หรือการจัดการแข่งขันระหว่างผู้สูงอายุ ห้างสรรพสินค้าจะวางจำหน่วยสินค้าเพื่อให้คนในครอบครัวมอบแก่ผู้สูงอายุที่เป็นที่เคารพอย่าง "โยคัง" หรือ ปลาแห้งปรุงรสโรยข้าวราดน้ำชา "ชาซูเกะ"
👱เป็นอะไรที่น่ายินดีเลยนะครับที่รัฐบาลญี่ปุ่นประเทศญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุ
ไม่รู้ว่าประเทศไทยจะมีโอกาสดีๆแบบนี้หรือมีวันสำคัญสำหรับผู้สูงอายุบ้างหรือเปล่าก็ไม่รู้นะครับ
อ้างอิงจาก: วิกิพีเดีย YouTube และ google