โพรไบโอติกส์ จุลินทรีย์ชนิดดีที่จำเป็นต่อร่างกาย
ระบบการย่อยอาหารของเราต้องการความสมดุลของจุลินทรีย์โพรไบโอติกสส์อยู่เสมอ โพรไบโอติกส์ที่อยู่ในลำไส้ของมนุษย์มีคุณสมบัติความเป็นกรดและด่าง สามารถป้องกันการเกิดโรคที่เกี่ยวกับลำไส้และระบบทางเดินอาหาร ซึ่งร่างกายสามารถสร้างโพรไบโอติกส์ได้เองตั้งแต่แรกเกิด แต่ถ้าหากร่างกายสร้างปริมาณโพรไบโอติกส์ไม่เพียงพอ สามารถเสริมได้ผ่านการรับประทานอาหารที่มีจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์
ทำความรู้จัก โพรไบโอติกส์
โพรไบโอติกส์ (Probiotic) คือ จุลินทรีย์ที่สำคัญต่อระบบการย่อยอาหาร ดูแลสุขภาพของลำไส้ และยังสามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายได้อีกด้วย ร่างกายที่มีความสมดุลของจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ประเภทดีจะทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดการอักเสบของอวัยวะภายในร่างกาย ป้องกันการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ และที่สำคัญยังช่วยเรื่องการดูดซึมสารอาหารและระบบขับถ่ายได้อีกด้วย
จุลินทรีย์โพรไบโอติกส์พบในส่วนใดของร่างกาย
- ลำไส้
- ช่องปาก
- ช่องคอ
- ระบบสืบพันธู์
- ผิวหนัง
ประเภทของจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์
1. แลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus)
แลคโตบาซิลลัส เป็นแบคทีเรียที่มีอยู่ในร่างกาย โดยเฉพาะในลำไส้และช่องคลอด มีส่วนช่วยทำให้ระบบการย่อยอาหารและการดูดซึมอาหารทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีส่วนช่วยในการปรับสมดุลและป้องกันการเกิดเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับลำไส้
2. แซคคาโรไมซิส (Saccharomyces Boulardii)
แซคคาโรไมซิส เป็นจุลินทรีย์ประเภทยีสต์ มีส่วนช่วยรักษาสมดุลระบบทางเดินอาหาร สามารถป้องและกันรักษาอาการท้องเสียได้
3. บิฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium)
บิฟิโดแบคทีเรียม จุลินทรีย์ชนิดนี้อาศัยอยู่ในทางเดินอาหาร ช่วยย่อยเส้นใยอาหารและป้องกันการติดเชื้อในลำไส้ได้
4. จุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ประเภทอื่น
- Lactobacillus acidophilus Lac-361 : มีส่วนช่วยในการสร้างสมดุลและเสริมภูมิคุ้มกันให้ลำไส้ อีกทั้งยังช่วยระบบย่อยอาหารให้ดูดซึมสารอาหารได้ดีขึ้น
- Lactobacillus gasseri Lac-343 : สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันและลดการติดเชื้อภายในลำไส้ ช่วยให้ลำไส้มีสุขภาพที่ดี
- Bifidobacterium longum BB536 : ช่วยป้องกันการเกิดลำไส้อักเสบและลดความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งลำไส้ได้อีกด้วย
ความแตกต่างโพรไบโอติกส์กับพรีไบโอติกส์
โพรไบโอติกส์
โพรไบโอติกส์ คือ เชื้อจุลินทรีย์ชนิดดีที่มีส่วนช่วยให้ระบบทางเดินอาหารทำงานได้ดียิ่งขึ้น หากมีปริมาณเชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์อยู่ในร่างกายอย่างเหมาะสม สามารถทนต่อความเป็นกรด-ด่างและช่วยลดปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ประเภทไม่ดีที่จะก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมาได้ ดังนั้นเชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ช่วยในการรักษาสมดุลของระบบลำไส้
พรีไบโอติกส์
พรีไบโอติกส์ คือ อาหารหลักของโพรไบโอติกส์ส์เนื่องจากพรีไบโอติกส์ไม่สามารถย่อยหรือดูดซึมสารอาหารได้เหมือนโพรไบโอติกส์ แต่พรีไบโอติกส์สามารถเป็นอาหารของโพรไบโอติกส์ได้โดยการถูกโพรไบโอติกส์ย่อย ทำให้เชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์มีกำลังและมีประสิทธิภาพในการย่อยและดูดซึมสารอาหารได้ดียิ่งขึ้น
ประโยชน์ของโพรไบโอติกส์
1. สร้างสมดุลให้ระบบย่อยอาหารและการขับถ่าย
เชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ ช่วยให้ระบบย่อยอาหารและระบบดูดซึมอาหารทำงานได้ดีขึ้น จึงส่งผลให้ระบบขับถ่ายทำงานได้อย่างปกติ เนื่องจากโพรไบโอติกส์เป็นเชื้อจุลินทรีย์ประเภทดี จึงสามาถป้องกันการเกิดเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารได้เช่น โรคลำไส้อักเสบจากการติดเชื้อ โรคลำไส้แปรปรวนและโรคท้องผูก เป็นต้น
2. กระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกาย
เชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ มีส่วนช่วยในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันร่างกาย เนื่องจากสามารถปรับสมดุลภายในร่างกายช่วยให้ระบบต่างๆภายในร่างกายทำงานได้อย่างปกติ หากร่างกายขาดเชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์จนทำให้ระบบภูมิคุ้มกันตํ่าลง อาจก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมาได้
3. รักษาบรรเทาโรคกระเพาะ
ประโยชน์ของโพรไบโอติกส์ประเภทดีจะสามารถเป็นเกาะป้องกันการอักเสบของเนื้อเยื่อบุภายในกระเพาะอาหารได้
4. ลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
มะเร็งลำไส้ใหญ่เกิดจากการอักเสบของระบบทางเดินอาหารและระบบย่อยอาหาร ซึ่งมีต้นตอมาจากการขาดความสมดุลของปริมาณโพรไบโอติกส์ หากได้รับโพรไบโอติกส์ไม่เพียงพอในแต่ละวัน จะทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับลำไส้ตามมา
5. ลดอาการอักเสบและภูมิแพ้
โพรไบโอติกส์เป็นจุลินทรีย์ประเภทดี เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ เนื่องจากโพรไบโอติกส์สามารถยับยั้งการเกิดภูมิแพ้และลดอาการอักเสบที่เกิดจากโรคภูมิแพ้ได้ ที่สำคัญยังสามารถกระตุ้นการผลิตสารภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันการเกิดโรคภูมิแพ้ระยะยาว
6. ช่วยเรื่องระบบทางเดินปัสสาวะ
การทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ มีส่วนสำคัญในการสร้างความสมดุลให้กับระบบภายในร่างกายผู้หญิงอย่างมาก โพรไบโอติกส์ประเภทดีสามารถเข้าไปยับยั้งการเกิดโพรไบโอติกส์ประเภทไม่ดีได้ เพื่อสร้างค่า pH ที่เหมาะสมให้กับจุดซ่อนเร้น เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อทางช่องคลอดและระบบทางเดินปัสสาวะ
7. ป้องกันฟันผุและลดกลิ่นปาก
การทานอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มที่มีเชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ประเภท Lactobacillus paracasei SD1เป็นประจำจะช่วยลดการเกิดฟันผุ ลดกลิ่นปากและป้องกันการเกิดโรคเหงือกอักเสบได้ เนื่องจากโพรไบโอติกส์ส์มีคุณสมบัติปรับสมดุลของแบคทีเรียภายในช่องปากได้ดี
โพรไบโอติกส์ช่วยบรรเทาโรคใดได้บ้าง
จุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ประเภทดี เป็นตัวช่วยหลักในการสร้างความสมดุลให้กับลำไส้และระบบทางเดินอาหาร อีกทั้งยังสามารถรักษาและช่วยบรรเทาอาการต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดโรคตามมาได้ ดังนี้
- รักษาปัญหาของระบบทางเดินอาหาร เช่น อาการท้องเสียหรือท้องผูก ระบบลำไส้แปรปรวน โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง และผนังเยื่อบุระบบย่อยอาหารอักเสบ
- ป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียในลำไส้
- ป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะหรือโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ
- ป้องกันฟันผุ ลดกลิ่นปากและสามารถรักษาโรคเหงือกอักเสบได้อีกด้วย
- ป้องกันโรคภูมิแพ้
- บรรเทาอาการของโรคสะเก็ดเงินหรือโรคผิวหนังอักเสบ
โพรไบโอติกส์กับภาวะลองโควิด
ภาวะลองโควิด หรือ Post COVID-19 Syndrome คือ อาการที่เกิดขึ้นหลังจากหายจากโรคโควิด-19 อาการที่มักจะพบในกลุ่มคนที่พึ่งหายจากการเป็นโควิด-19 เช่น ท้องผูก ระบบขับถ่ายมีปัญหา จมูกไม่ได้กลิ่น มึนงงสมองคิดช้าลง ปวดหัว เหนื่อยง่าย ไอเรื้อรัง คัดจมูก และมีอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย เป็นต้น
ดังนั้นผู้ที่มีอาการลองโควิด หรือ Post COVID-19 Syndrome ควรที่จะทานอาหารที่มีเชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ส์ เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันกับร่างกายและปรับสมดุลระบบลำไส้ให้กลับมาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แนะนำ 10 อาหารที่มีโพรไบโอติกส์สูง
แหล่งโพรไบโอติกที่ดีนอกจากจะอยู่ในร่างกายของเราแล้วยังสามารถอยู่ในอาหารบางประเภทได้อีกด้วย ซึ่งโพรไบโอติกส์ส่วนใหญ่จะอยู่ในอาหารประเภทหมักหรือดอง จนทำให้เกิดเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยรักษาสมดุลของเชื้อจุลินทรีย์และสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ซึ่งส่งผลดีต่อลำไส้ในการย่อยอาหาร ดังนั้นอาหารที่มีเชื้อจุลินทรีย์ที่ดีต่อร่างกายมีดังนี้
1.นมเปรี้ยว
นมเปรี้ยวมีกระบวนการผลิตที่ผ่านการบ่มจนได้เชื้อจุลินทรย์ที่ดีต่อร่างกาย ซึ่งในนมเปรี้ยวที่ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์แล้ว จะมีโพรไบโอติกที่ยังมีชีวิตอยู่ ควรหลีกเลี่ยงนมเปรี้ยวที่ผ่านกระบวนการผลิตรูปแบบ UHT เนื่องจากวิธีการผลิตรูปแบบ UHT จะต้องใช้ความร้อนที่สูงมาก ซึ่งทำให้เชื้อจุลินทรีย์ตายหมด
2.โยเกิร์ต
โยเกิร์ตโพรไบโอติกส์ เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการเชื้อจุลินทรย์ที่ดีต่อร่างกาย เพราะในโยเกิร์ตเต็มไปด้วยโพรไบโอติกส์ ธรรมชาติสูงมาก ซึ่งโยเกิร์ตบางยี่ห้อจะมีโพรไบโอติกส์สด ๆ อยู่โดยจะระบุในฉลากผลิตภัณฑ์ว่า Live and Active, Live Probiotic, Living Probiotic หรือ Active Probiotic และวิธีกินโพรไบโอติกส์ให้ได้ประสิทธิภาพที่ดีต้องมีปริมาณโพรไบโอติก 100 ล้าน CFU ขึ้นไป
3.ดาร์กช็อคโกแลต
ดาร์กช็อคโกแลตเป็นอาหารที่มีโพรไบโอติกส์สูงมาก ช่วยทำให้ระบบย่อยอาหารดีขึ้นและยังไปช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งการทานดาร์กช็อคโกแลตเป็นประจำจะช่วยสร้างสมดุลและลดการเกิดปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับลำไส้ได้อีกด้วย
4.อาหารหมักดอง
อาหารหมักดองประเภทผักต่าง ๆ เช่น แตงกวาดอง กิมจิ ขิงดอง และกระเทียมดอง นอกจากจะมีโพรไบโอติกส์แล้วยังมีวิตามินมากมายที่ช่วยในการลดการเกิดปัญหาที่เกี่ยวกับลำไส้ การย่อยอาหาร ลดอาการท้องผูกท้องเฟ้อ ช่วยในการขับถ่ายและที่สำคัญยังเป็นอาหารที่ช่วยทำให้การลดนํ้าหนักมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
5.ชีสบางประเภท
ชีสประเภทคอทเทจชีส มอซซาเรลลาชีส เชดด้าชีส พาร์มีซานชีส และชีสเกาด้า เป็นอาหารที่มีโพรไบโอติกส์ ใช้กระบวนการผลิตโดยการบ่มให้เกิดเชื้อจุลินทรีย์ที่ดีช่วยในเรื่องการสร้างสมดุลและภูมิคุ้มกันให้กับลำไส้ ซึ่งสารอาหารภายในชีสบางประเภทจะเจอได้จากโยเกิร์ตเช่นกัน หากอยากทานชีสที่มีโพรไบโอติกส์ สามารถดูได้จากฉลากที่แปะอยู่บนชีสนั้น ๆ จะมีคำว่า live cultures หรือ active cultures
6.น้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิ้ล
น้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิล หรือ Apple-cider vinegar เป็นแหล่งอาหารที่อัดแน่นไปด้วยเชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ เป็นเครื่องดื่มสำหรับสายรักสุขภาพ ซึ่งสามารถนำมาประกอบเป็นอาหารหรือดื่มโดยผสมน้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิลกับนํ้าเปล่าหรือโซดา เพื่อช่วยกระตุ้นระบบการทำงานของลำไส้ การดูดซึมสารอาหาร การย่อยอาหาร และการขับถ่าย
7.ซุปมิโซะ
ซุปมิโซะเกิดจากกระบวนการหมักเชื้อราชนิดดีเข้ากับข้าวหรือถั่วเหลือง เพื่อให้เกิดเชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ที่ช่วยในการบำรุงและปรับสมดุลของลำไส้ และยังช่วยในการเผาผลาญไขมัน ซึ่งการทานโพรไบโอติกส์ ลดนํ้าหนักได้ด้วย
8.ถั่วนัตโตะ
ถั่วนัตโตะหรือถั่วหมัก เป็นแหล่งกำเนิดของเชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ที่ดีมาก ๆ ขึ้นชื่อเรื่องการปรับสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้ ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันการติดเชื้อของลำไส้ ช่วยในเรื่องการขับถ่ายและป้องกันอาหารท้องผูก
9.ชาหมักคอมบูชา
ชาหมักคอมบูชา หรือ Kombucha เกิดจากการนำชาเขียวหรือชาดำมาหมักจนเกิดเป็นเชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ ซึ่งสามารถลดเชื้อแบคทีเรียที่ไม่ดีภายในร่างกายและลำไส้ ช่วยปรับสมดุลระบบลำไส้ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและช่วยในเรื่องการขับถ่าย ที่สำคัญการดื่มชาหมักคอมบูชาเป็นประจำจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งลำไส้
10.เทมเป้
เทมเป้คือ การนำถั่วต้มสุกมาหมักกับหัวเชื้อเทมเป้จนเกิดเชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ที่ดีและยังมีไฟเบอร์สูงอีกด้วย ช่วยปรับสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้ให้ระบบการดูดซึมของลำไส้ทำงานได้เต็มที่ และยังช่วยในการขับถ่ายอีกด้วย
วิธีกินโพรไบโอติกส์อย่างปลอดภัย
โพรไบโอติกส์ส์เป็นส่วนหนึ่งของร่างกายเรา ดังนั้นโพรไบโอติกส์จึงมีความสำคัญต่อร่างกายอย่างมาก ปริมาณที่เราควรทานโพรไบโอติกส์จะอยู่ที่ 10-20 พันล้านตัวต่อวัน นอกจากจะหาโพรไบโอติกส์ทานได้จากอาหารและเครื่องดื่มแล้ว ยังสามารถทานในรูปแบบของผลิตภัณฑ์อาหารเสริมชนิด เม็ดและผงได้อีกด้วย เราสามารถทานจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์เวลาใดก็ได้ ขอเพียงแค่ทานให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน
ข้อควรรู้เกี่ยวกับอาหารเสริมโพรไบโอติกส์
ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมโพรไบโอติกส์ส์รูปแบบเม็ดและผงเหมาะสำหรับผู้ที่ใช้ชีวิตเร่งรีบไม่ค่อยมีเวลาทานอาหาร ผู้ที่ทานอาหารไม่เป็นเวลา หรือผู้ที่ไม่ชอบทานอาหารที่มีจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์เช่น นมเปรี้ยว โยเกิร์ต กิมจิ ชีสบางชนิดและนัตโตะ เป็นต้น ดังนั้นคุณสามารถทานอาหารเสริมโพรไบโอติกส์ทดแทนได้ เพื่อเพิ่มจุลินทรีย์ในร่างกายและคงความสมดุลของระบบทางเดินอาหาร
โพรไบโอติกส์ยี่ห้อไหนดี
การเลือกทานผลิตภัณฑ์อาหารเสริมโพรไบโอติกส์ยี่ห้อไหนดีให้ได้ประสิทธิภาพและปลอดภัยต่อร่างกาย ควรเลือกยี่ห้อที่ไม่มีส่วนผสมของนํ้าตาล และควรดูที่ฉลากข้างกระปุกว่ามีปริมาณโพรไบโอติกส์เพียงพอตามที่ร่างกายเราควรได้รับในแต่ละวันไหมและที่สำคัญอย่าลืมเช็ควันหมดอายุด้วย
จุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ในร่างกายของเรามีแยกย่อยออกไปอีกหลายชนิด หากอยากรู้ว่าร่างกายของคุณขาดโพรไบโอติกส์ประเภทใด ควรไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอตรวจปริมาณโพรไบโอติกส์ในร่างกาย
ข้อสรุป
การทานอาหารที่มีโพรไบโอติกส์ส์จะช่วยทำให้ลำไส้ได้รับสารอาหารหล่อเลี้ยงที่ดี ช่วยสร้างจุลินทรีย์ประเภทดีต่อร่างกายเพื่อรักษาสมดุลของระบบลำไส้ ดังนั้นจุลินทรีย์โพรไบโอติกจะช่วยเสริมสร้างระบบการทำงานของร่างกายและปรับสมดุลภายในร่างกายให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถ้าหากคุณไม่สามารถทานโพรไบโอติกส์ให้เพียงพอในแต่ละวันจากอาหารทั่วไป ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์พรีไบโอติกส์ที่ช่วยให้คุณได้รับโพรไบโอติกส์ที่เพียงพอต่อร่างกายแล้ว