ปราสาทสิกิริยา(ศรีลังกา) ที่ถูกทิ้งร้าง!!
ปราสาทสิกิริยา(ศรีลังกา) ที่ถูกทิ้งร้าง
Sigiriya เรียกอีกอย่างว่า Lion Rock ศิลาสิงห์โต หรือ Lion Mountain ภูสิงห์ เดิมเป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์ ภูผี ภูเทวดา ภูพราหมณ์ ก่อนพุทธศาสนาเข้ามาเผยแพร่ และเป็นศาสนสถานทางศาสนาพุทธ ก่อนที่กษัตริย์จะฮุบ/เข้ายึดครอง สร้างวัง/สร้างเมืองสิกิริยา ที่มีชื่อเสียงด้านซากปรักหักพังของพระราชวังบนยอดหินสูง 180 เมตรที่รายล้อมไปด้วยซากปรักหักพัง ของ สวน อ่างเก็บน้ำ/พัง/สระพัง/บาราย และโครงสร้างอื่นๆ สร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 5
แหล่งน้ำบนนี้มาจากน้ำฝนเพียงอย่างเดียว ช่างก่อสร้างจึงสร้างที่กักเก็บน้ำ/พัง/สระพัง/บาราย เป็นขั้นบันไดจากที่สูงลงไปที่ต่ำกว่า พร้อมระบบท่อน้ำ แบบค่อย ๆ ลดระดับลงมา ใช้หลักแรงโน้มถ่วง มีจุดพักน้ำ/ช่องเปิดให้เป็นน้ำพุ เพื่อลดแรงดันน้ำ ทำเป็นนำ้พุ เพื่อกันท่อแตก/พัง ก่อนไหลลงทึ่กักเก็บน้ำ/พัง/สระพัง/บาราย ที่สร้างเป็นรูปขั้นบันได น้ำส่วนเกินก็ระบายให้ไหลลงด้านล่างภูเขา มีพัง/สระพัง/บารายเฉพาะของกษัตริย์ ป้องกันการวางยาพิษ/ลอบปลงพระชนม์
******************************
กษัตริย์สิงหลที่ 1 แห่งแคว้นสิงหล (ครองราชย์ ในปี ค.ศ. 477–495) ได้สร้างวัง/สิงห์โตขนาดมหึมา บนพื้นที่หลายไร่บนยอดเขา เพื่อเป็นป้อมปราการป้องกันศัตรู อย่างไรก็ตาม กษัตริย์พ่ายแพ้ในปี ค.ศ. 495 (บางตำนานว่าถูกทหารล้อมทางขึ้นเขา ไม่ให้มีคนขนส่งเสบียงอาหารขึ้นไปให้ จนอดอาหารตาย)
เมืองหลวง/พระราชวังถูกละทิ้ง หลังจากการสิ้นพระชนม์ของกษัตริย์ ต่อมา สถานที่แห่งนี้ก็กลายเป็นสถานที่แสวงบุญ และปัจจุบันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม
ผู้เยี่ยมชมเริ่มต้นการขึ้นสู่ยอดเขา ผ่านอุ้งเท้าของสิงห์โต ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่เหลืออยู่ไม่กี่แห่งของพระราชวังที่ยังคงสภาพสมบูรณ์ และยังมีภาพเขียนหินอัปสราจำนวน 21 ภาพ (นักร้องและนักเต้นจากสวรรค์)
ปราสาทสิกิริยาได้รับเลือกให้เป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโกในปี ค.ศ.1982
฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿
น้ำที่นี่คงไม่ขาดแคลนมาก เพราะศรีลังกา ติดทะเลล้อมรอบ จึงมีมรสุม/ร่องฝนผ่านเป็นประจำ แบบปักษ์ใต้ จะมีฝนตกทุกเดือน มากบ้างน้อยบ้าง ถ้าระนองก็ฝนแปด แดดสี่ (แบบเดา/นับจำนวนวันที่ฝนไม่ตก)
จังหวัดสงขลา มีพังที่จะทิ้งพระ มีพังสนามชัยใหญ่ที่สุดในภาคใต้ อยู่ใกล้กับวัดพะโคะ/ถ้ำคูหา ต้นกำเนิดหลวงพ่อทวด วัดช้างไห้ พื้นที่แถบบก (ระโนฎ/จะทิ้งพระ/หัวไทร) แผ่นดินงอกทับพื้นที่ทะเล ที่นี่ พื้นที่ส่วนใหญ่ ถ้าขุดบ่อลึกเกินกว่า 10-20 เมตร น้ำจะเน่าเหม็นแบบกลิ่นหญ้าเน่า/สาบโคลนมาก เพราะด้านล่างคาดว่าเป็นพืชน้ำ ที่ถูกแผ่นดินงอกลงมาทับถม ที่นี้จึงต้องสร้างพังเก็บน้ำ หรือใช้วิธีขุดบ่อน้ำตื้นไม่เกิน 2-5 เมตร เพื่อใช้น้ำกินน้ำใช้ มีพังราว 200 กว่าแห่งในภาคใต้ ตามงานวิจัยของมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย บางแห่งก็ถูกชาวบ้านถมทิ้ง/ทำไร่นา/สร้างบ้านไปแล้ว
฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿
สมัยพระนารายณ์มหาราช มีการว่าจ้างวิศวกรฝรั่งเศส/ดัชต์ ในการสร้างวังที่ลพบุรี (ตอนนี้ฝูงลิงเข้าไปอยู่เป็นจำนวนมาก) เพื่อหนีความวุ่นวายในเมืองหลวงจากกลุ่มขุนนางเก่า กับป้องกันการรัฐประหาร มีการว่าจ้างทหารรับจ้างชาวต่างชาติคุ้มกันจำนวนหนึ่ง เพราะไม่ไว้ใจทหารสยาม (แต่ทหารรับจ้างรบเพื่อเงิน ไม่ใช่รบเพื่อนายหรือยอมตายแทนนาย ในวันสุดท้ายที่พระเพทราชาก่อการรัฐประหาร จึงสวรรคตแบบเดียวดาย) มีในบันทึกของฝรั่งเศส
ในเมืองลพบุรี มีการสร้างระบบประปาที่นำน้ำจากแหล่งน้ำ 2 แหล่ง คือ ทะเลสาบชุบศร มีประตูปากน้ำจั่น กับ ห้วยซับเหล็ก ทึ่บีบช่องเขาทำลำราง/ฝาย บังคับให้น้ำไหลผ่านเข้าท่อประปาดินเผา มีลักษณะเป็นท่อวงกลมทรงกระบอก ปลายด้านหนึ่งมีส่วนคอนเล็กลงกว่าปลายอีกด้านหนึ่ง เพื่อให้สวมกันเป็นท่อยาวได้ มีความหนาประมาณ 4 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางท่อกว้างประมาณ 26 เซนติเมตร มีความยาวแต่ละท่อประมาณ 48 เซนติเมตร เมื่อเรียงสวมต่อกันแล้วจะเชื่อมหุ้มรอยต่อระหว่างท่อ ป้องกันการรั่วของน้ำด้วยปูนผสมหิน
ระหว่างเส้นทางแนวท่อน้ำเข้าสู่เมืองลพบุรี มีการสร้างท่อ (ปล่อง) ระบายความดันของน้ำไว้เป็นระยะ ๆ เพื่อใช้เป็นจุดผ่อนคลายแรงดันของน้ำในฤดูที่มีน้ำมาก กระแสน้ำไหลแรง ป้องกันมิให้แรงน้ำสูงมากเกินไป จนเกินกำลังรับน้ำของท่อน้ำดินเผาที่ทำให้ท่อแตกได้ และจุดนี้มักจะมีน้ำพุ ถ้าตกแต่งดีดี สร้างความสวยงาม/บันเทิงอารมณ์ได้ แบบน้ำพุในกรุงโรม กับ หลายประเทศในยุโรป ก็ใช้การชักน้ำจากแหล่งน้ำนอกเมือง ตามแม่น้ำ ลำคลอง กับระบบท่อประปา ที่มักจะมีน้ำพุ (ป้องกันท่อแตก) เข้ามาใช้ในเมือง กับตามบ้านเรือน
ประปา แปลว่า น้ำ/ระบบน้ำ เป็นคำภาษาสันสกฤตโบราณ อาจารย์ภาควิชาสันสกฤต มหาวิทยาลัยในอินเดีย ท่านหนึ่ง บอกว่าเป็นปลื้มกับดีใจมาก ที่เมืองไทยยังใช้คำนี้ในภาษาไทย และคงจะดีใจมาก ถ้ารู้ว่า เขมรยังไม่เคลมว่าเป็นภาษาเขมร
อ้างอิงจาก: https://www.facebook.com/100042409957890/posts/pfbid02tYkRfjCzVBew1ybnwULcFp9GRAJdfCNEq12f4vxP2F7ZTfkNCAxZnzomFceqLX6dl/