Share Facebook LINE Twitter
หน้าแรก เว็บบอร์ด Chat ตรวจหวย ควิซ คำนวณ Pageแชร์ลิ้ง
หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

วัดสวนสวรรค์ ชุมชนบ้านปูนบางยี่ขัน ศิลปกรรมแห่งสวนสวรรค์ที่ถูกลืม!

โพสท์โดย อับดุล รอเเย๊ะส์


เชื่อว่าสำหรับผู้คนภายนอกท้องถิ่นยังไม่ค่อยมีผู้ใดทราบว่ายังมีโบราณสถานอีกแห่งหนึ่งซึ่งอยู่คู่ชุมชนบางยี่ขันมาเนิ่นนาน อาจจะตั้งแต่ก่อนจะมีบ้านปูนเสียอีก นั่นคือ "วัดสวนสวรรค์" วัดเก่าแก่และถูกทิ้งร้างไปนานแล้ว
หากลองเดินลัดเลาะเข้าในตรอกหลังวัดคฤหบดีไปทางบ้านปูน เมื่อจะข้ามสะพานให้เลี้ยวขวาเลียบลำคลองเล็กๆ ไปทางทิศตะวันตก ซอยนี้ก็จะไปทะลุออกยังถนนอรุณอมรินทร์ทางเชิงสะพานพระราม 8 ได้ด้วย


ไม่นานจะพบป้ายเล็กๆ ว่า "ซอยสวนสวรรค์" มีแผ่นป้ายประชาสัมพันธ์ "หลวงพ่อดำ" อยู่ เมื่อเดินเข้าตรอกนี้ไปก็จะเห็นอาคารทรงโบราณ มุงกระเบื้องดินเผาสภาพทรุดโทรม มีรากไม้เถาวัลย์ปกคลุมสูงตระหง่านขึ้นมาเหนือกำแพงบ้านคน วัดร้างแห่งนี้คือ "วัดสวนสวรรค์"


พื้นที่วัดถูกล้อมโดยบ้านเรือนชาวบ้านจนหมด มีทางเข้าเพียงซอยเล็ก ๆ แคบ ๆ ดังที่กล่าวมาเท่านั้น ซ้ำร้ายยังมีบ้านที่สร้างกำแพงรั้วกั้นส่วนบ้านตัวเองมาชนปิดติดกับผนังอุโบสถด้านทิศใต้เอาไว้จนหมด จึงไม่สามารถเข้าไปได้เว้นเสียแต่ต้องขอเข้าทางบ้านข้างหน้า ซุ้มใบเสมาบางซุ้มมาตั้งอยู่กลางถนน เป็นภาพที่ให้ความรู้สึกสับสนอย่างบอกไม่ถูก
พื้นที่ที่พอจะมีเหลืออยู่บ้างของวัดคือ ลานโล่งทางทิศเหนือที่ติดกับผนังอุโบสถ ซึ่งก็ใช้เป็นทางสัญจรในชุมชนไปด้วย เมื่อเดินมาถึงด้านหน้าคือทิศตะวันออกก็จะเป็นทางเข้าไปสู่ภายในอุโบสถที่แต่เดิมปิดร้างไว้ แต่ในปัจจุบันจากความร่วมมือของชุมชนก็ได้จัดการให้เป็นระเบียบเรียบร้อยเพื่อเหมาะแก่การสักการบูชา "หลวงพ่อดำ" พระพุทธรูปประธานศักดิ์สิทธิ์ภายในโบสถ์
ความเป็นมาสองบรรทัดของวัดสวนสวรรค์
เนื่องจากเป็นวัดร้าง และไม่เคยพบอยู่ในระเบียนวัดหลวงแต่อย่างใด แสดงว่าวัดสวนสวรรค์มีฐานะเป็นวัดราษฎร์ จึงเป็นการยากที่จะสืบสาวประวัติว่าสร้างขึ้นเมื่อใด ใครสร้างขึ้น จากการตรวจสอบเอกสารพบเพียงข้อความสั้น ๆ ในประวัติของวัดคฤหบดีว่า วัดสวนสวรรค์ร้างไปเมื่อ พ.ศ. 2463 จึงได้รวมเข้าด้วยกันใน พ.ศ. 2519 โดยมีพระสงฆ์ของวัดคฤหบดีเป็นผู้ดูแลต่อมา
ดังนั้นเมื่อไม่มีเอกสารพอเพียงจึงต้องอาศัยสิ่งก่อสร้างที่พบภายในวัดเป็นข้อมูลสำคัญในการกำหนดอายุสมัยความเป็นมาของวัดนี้
ศิลปกรรมแห่งสวนสวรรค์
สิ่งก่อสร้างเหล่านี้กระจุกตัวอยู่ในพื้นที่แคบ ๆ ที่ล้อมด้วยชุมชนในขณะที่บางอย่างตกไปอยู่ในบริเวณบ้านคนที่รุกล้ำพื้นที่วัดเข้ามา
อุโบสถ อยู่ในสภาพกึ่งสมบูรณ์ คือมีสภาพทรุดโทรมแต่ยังคงหลังคาเครื่องบนมุงกระเบื้องเอาไว้ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนทรงสูง ขนาดเล็กกะทัดรัดราว 5 ห้อง (นับตามช่วงเสาประดับผนัง) หันหน้าไปทางทิศตะวันออกลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา เดิมหลังคามีต้นไม้วัชพืชขึ้นรกแต่ก็มีผู้ถากตัดออกบ้างแล้ว จึงเห็นรายละเอียดว่าหลังคานั้นใช้กระเบื้องแผ่นเกล็ดเต่ามุง หากได้ยินอยู่ทางเข้าอุดบสถและแหงนหน้าขึ้นมองจะเห็นว่าเคยมีเพิงหลังคาลาดยื่นออกมาแต่พังไปแล้วเหลือเพียงไม้บางชิ้นและแนวเสาด้านหน้า อันเป็นรูปแบบที่พบในอาคารสมัยอยุทธยาตอนปลายมาก่อน


ภายในอุโบสถ ประดิษฐาน "หลวงพ่อดำ" เป็นพระพุทธรูปประธานปางมารวิจัย เค้าโครงดูเป็นพระพุทธรูปเก่าราวสมัยอยุธยาที่เคยปิดทองแต่หลุดลอกออกไปจนเหลือแต่รักสีดำ (ภาพที่ 9) มีพระสาวก 2 องค์ยืนถวายอัญชลี ผนังภายในสองข้างเจาะช่องเว้ารูปวงโค้ง ยอดแหลมเรียงกัน ส่วนด้านหลังพระประธานไม่มีประตูแต่เจาะหน้าต่างเล็ก ๆ สองช่อง และเมื่อแหงนหน้าขึ้นจะมองเห็นดาวเพดานเขียนลายทองบนพื้นสีแดงที่ยังอยู่ในสภาพดี มีดาวเพดานบางส่วนหลุดร่วงลงมาเป็นแผ่นไม้ฉลุเขียนสีแดง แสดงถึงการซ่อมแซมในสมัยหลังลงมามาก
สังเกตได้ว่าอุโบสถนี้ไม่มีเสาภายในรองรับหลังคา เป็นเพราะเกิดจากโครงสร้างที่ใช้ผนังรับน้ำหนัก คือก่อผนังหนาให้เอนสอบเข้าหากันเล็กน้อยทำให้สามารถรับขื่อคานไม้ได้โดยไม่ต้องก่อเสา ทั้งนี้สังเกตเห็นช่องหน้าต่างบางช่องที่ถูกก่อปิดในสมัยหลัง (เนื่องจากอิฐมีขนาดที่ต่างกัน) เข้าใจว่าเพื่อให้โครงสร้างผนังแข็งแกร่งขึ้น ส่วนผนังนั้นมีเสาอิงติดเป็นระยะอันสังเกตได้ว่าเป็นเสาที่ปั้นนูนขึ้นติดผนัง มิได้มีโครงสร้างอิฐก่อยื่นออกมาเป็นเสาแต่อย่างใด บัวหัวเสาเป็นบัวเกลียวยาว ยังมีคันทวยสลักไม้สวยงามอีกหลายอันอยู่กับเสาติดผนังเพื่อรองรับชายคาปีกนกด้านข้าง
งานประดับอาคารอุโบสถ หน้าบันด้านทิศตะวันออกของอุโบสถวัดสวนสวรรค์นั้นก่ออิฐถือปูนขึ้นไปถึงอกไก่ยอดจั่ว แบ่งออกเป็น 2 ชั้นปั้นปูนประดับสวยงาม ชั้นล่างใต้หน้าจั่วเป็นลายดอกไม้เหนือขึ้นไปปั้นรูปพระมาลัยสนทนากับพระอินทร์บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีพระเจดีย์จุฬามณีตั้งอยู่ตรงกลาง
ส่วนหน้าบันด้านหลังคือทิศตะวันตกแบ่งเน 2 ชั้นเช่นเดียวกัน ชั้นล่างเป็นลาวดอกไม้ ชั้นบนเป็นรูปเทวดาเหาะซึ่งเข้าใจว่าอาจเกี่ยวข้องกับเรื่องพระมาลัยที่หน้าบันด้านหน้า ไม่แน่ใจว่าปูนปั้นรูปเหล่าเทวดาและพระมาลัยบนสวรรค์ทั้งหลายที่ปรากฏบนหน้าบันอุโบสถแห่งนี้ จะสัมพันธ์กับชื่อของวัด "สวนสวรรค์" นี้มากน้อยเพียงใด
ปัจจุบันชาวบ้านโดยรอบเริ่มเห็นความสำคัญของโบราณสถานวัดสวนสวรรค์นี้ มีการจัดการทำความสะอาดและอนุรักษ์อุโบสถตามกำลังที่มีกันในชุมชน ให้อยู่ในสภาพท่สามารถเข้าไปใช้งานเพื่อเปิดให้ผู้คนทั่วไปได้เข้ามากราบไหว้นมัสการหลวงพ่อดำ ซึ่งเป็นเรื่องน่ายินดีที่โบราณสถานกับชุมชนอยู่ร่วมกันอย่างถ้อยทีถ้อยอาศัย
ขอบคุณที่มาจากหนังสือ “วัดร้างในบางกอก” ค้นหาอดีตของกรุงเทพฯ จากซอกมุมที่ถูกลืม โดย ผศ.ดร.ประภัสสร์ ชูวิเชียร
________________________________

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
10 VOTES (5/5 จาก 2 คน)
VOTED: เป็ดปักกิ่ง, bemygon
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
Sakamoto Days ตอนที่ 12 วันที่และเวลาออกฉาย5 อันดับ ตึกที่สูงที่สุดของประเทศไทยในปัจจุบัน!บ้านเกือบพันหลังในจีนเสียหายหลังเกิดแผ่นดินไหวที่พม่าสิบเลขขายดี แม่จำเนียร งวด 1/4/68ส่องเลขเด็ด!! มัดรวม 10อันดับ เลขเด็ดขายดี 1 เมษายน 2568
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
สิบเลขขายดี แม่จำเนียร งวด 1/4/68บอสณวัฒน์ คอนเฟิร์ม มิสแกรนด์ไทยแลนด์ 2025 ยังจัดตามกำหนดการเดิม เสาร์ 29 มี.ค.68 นี้
สรุปคอนโดที่มีรายงานความเสียหายหรือผู้พักอาศัยไม่กล้ากลับเข้าไป หลังเหตุแผ่นดินไหว!ระทึก! เปิดคลิปวินาทีดินแยกต่อหน้าต่อตา?10 ตึกสูงที่สุดของแต่ละประเทศในอาเซียนความเชื่อโบราณ "แผ่นดินไหว" เพราะปลาอานนท์ที่นอนแบกโลกอยู่พลิกตัว!?
ตั้งกระทู้ใหม่
หน้าแรกเว็บบอร์ดหาเพื่อนChatหาเพื่อน Lineหาเพื่อน SkypePic PostตรวจหวยควิซคำนวณPageแชร์ลิ้ง
Postjung
เงื่อนไขการให้บริการ ติดต่อเว็บไซต์ แจ้งปัญหาการใช้งาน แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม ข่าวประชาสัมพันธ์ ลงโฆษณา
เว็บไซต์นี้ใช้ Cookie
เพื่อประสบการณ์ที่ดีและการใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ดูข้อมูลเพิ่มเติม อ่านนโยบายการใช้งาน
ตกลง