Share Facebook LINE Twitter
หน้าแรก เว็บบอร์ด Chat ตรวจหวย ควิซ คำนวณ Pageแชร์ลิ้ง
หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

คอมเพรสเซอร์ (Compressor)

โพสท์โดย tothemoon555

คอมเพรสเซอร์หรือคอมแอร์ที่หลาย ๆ คนคุ้นเคย เป็นหนึ่งในอุปกรณ์ทำความเย็นที่มีความสำคัญต่อระบบทำความเย็นและปรับอากาศเป็นอย่างมาก บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่องคอมเพรสเซอร์เบื้องต้น ไม่ว่าจะเป็น การทํางานของคอมเพรสเซอร์ หรือประเภทของ Compressor ที่นิยม เพื่อให้ทุกท่านเข้าใจการทำงานของอุปกรณ์หลักในระบบทำความเย็นกันมากขึ้นไป


Compressor (คอมเพรสเซอร์) คืออะไร

คอมเพรสเซอร์ (compressor) หรือเครื่องอัดไอ ทำหน้าที่ในการดูดสารทำความเย็นที่อยู่ในสถานะแก๊สความดันต่ำ ที่มีอุณหภูมิต่ำจากอีวาพอเรเตอร์เข้ามา และทำการอัดแก๊สนี้ให้มีความดันสูงและมีอุณหภูมิที่สูงขึ้น จากนั้นจะส่งเข้าไปยังคอนเดนเซอร์เพื่อกลั่นตัวเป็นของเหลวผ่านการระบายความร้อนออกจากสารทำความเย็นอีกทีหนึ่ง 

การทํางานของคอมเพรสเซอร์มีการแบ่งความดันในระบบเป็น 2 รูปแบบ คือ ด้านความดันสูงและด้านความดันต่ำ ซึ่งครอบคลุมทั้งการดูดและอัดสารทำความเย็น อีกหนึ่งความรู้เรื่องคอมเพรสเซอร์ที่ควรระวัง คือ การถูกออกแบบมาให้ดูดอัดสารทำความเย็นในสถานะก๊าซเท่านั้น หากเกิดการดูดอัดในสถานะของเหลวอาจทำให้ Compressor เกิดความเสียหายได้


ความสำคัญของ คอมเพรสเซอร์ (Compressor) 

คอมเพรสเซอร์ (compressor) เป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่มีความสำคัญต่อระบบทำความเย็นและปรับอากาศเป็นอย่างมาก เนื่องจากการทํางานของคอมเพรสเซอร์คือการดูดและอัดสารทำความเย็นในสถานะแก๊ส ที่จะทำให้เกิดความเย็นขึ้น รวมถึงทำให้เกิดการหมุนเวียนความเย็นภายในระบบเช่นกัน

เมื่อ Compressor เริ่มทำงาน จะเกิดการส่งสารทำความเย็นที่อยู่ในสถานะก๊าซแรงดันสูงภายในระบบ เมื่อสารทำความเย็นผ่านการคายความร้อนแล้ว จากนั้นจะถูกเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลวเย็นและระเหยตามลำดับ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเข้าไปสู่บริเวณที่ต้องการทำความเย็น จะเห็นได้ว่าคอมเพรสเซอร์เป็นอุปกรณ์ที่นับเป็นหัวใจสำคัญในระบบทำความเย็นอีกหนึ่งชนิดก็ว่าได้


ประเภทของ คอมเพรสเซอร์ (Compressor) 

ประเภทของคอมเพรสเซอร์ (compressor) จากการทํางานของคอมเพรสเซอร์ผ่านการอัดที่ได้รับความนิยมนำมาใช้งานเป็นอย่างมากในปัจจุบัน สามารถจำแนกได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่

The Rotary-Screw Compressor (แบบสกรูโรตารี่)

คอมเพรสเซอร์แบบสกรูโรตารี่ (The Rotary-Screw Compressor) เป็นการดูดอัดสารทำความเย็นในสถานะแก๊สผ่านการใช้งานสกรู 2 ตัว คือ สกรูตัวเมีย (Female Rotor) และสกรูตัวผู้ (Male Rotor) ที่นำมาขบกัน ในขณะที่สกรูถูกหมุนจะเกิดการดูดสารทำความเย็นเข้าเก็บและอัดออกทางด้านปลายของสกรูทั้งสองข้าง จากนั้นสารทำความเย็นจะถูกส่งออกทางด้านอัดของคอมเพรสเซอร์ต่อไป

The Reciprocating Compressor (แบบลูกสูบ)

คอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบ (The Reciprocating Compressor) เป็นการอาศัยการทำงานของเพลาข้อเหวี่ยงที่จะทำให้เกิดการดูดและอัดสารทำความเย็น ซึ่งลูกสูบหนึ่งจะเคลื่อนที่ลงในจังหวะดูดและอีกลูกสูบหนึ่งจะเคลื่อนที่ขึ้นในจังหวะอัดในลักษณะเส้นตรงภายในกระบอกสูบ 

สารทำความเย็นที่ผ่านการดูดและอัดจากคอมเพรสเซอร์จะถูกเก็บไว้ภายในกระบอกสูบ เมื่อกระบอกสูบเลื่อนขึ้นความดันสูงจะดันให้ลิ้นเปิด จากนั้นสารทำความเย็นจะไหลออกเพื่อไปยังส่งไปยังคอนเดนเซอร์ เพื่อเตรียมพร้อมในการให้ความเย็นต่อไป

The Rotary-Vane Compressor (แบบโรตารี่เวน)

คอมเพรสเซอร์แบบโรตารี่เวน (The Rotary-Vane Compressor) เป็นการดูดและอัดสารทำความเย็นในสถานะแก๊สโดยอาศัยการกวาดตัวตามแกนโรเตอร์ (Rotor) ซึ่งมีข้อจำกัดในการทำงาน คือ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพกับระบบเครื่องทำความเย็นขนาดเล็กไม่เกิน 1-2 ตัน เท่านั้น

ด้วยข้อจำกัดการทำงานทำให้ Compressor ชนิดนี้ไม่เหมาะสำหรับระบบทำความเย็นขนาดใหญ่ จึงนิยมใช้งานในคอมเพรสเซอร์ตู้เย็น หรือคอมเพรสเซอร์แอร์บ้าน ที่ใช้ฟินคอยล์ในการระบายความร้อน ที่มีขนาดไม่เกิน 36,000 BTU 

The Centrifugal Compressor (แบบหมุนเหวี่ยง)

คอมเพรสเซอร์แบบหมุนเหวี่ยง (The Centrifugal Compressor) เป็นการทำงานแบบแรงเหวี่ยงหนีศูนย์ที่จะดูดสารทำความเย็นในสถานะแก๊สเข้ามาใกล้กับแกนกลางของคอมเพรสเซอร์ และเกิดการอัดตัวจากการเหวี่ยงตัวด้วยตัวใบพัดซึ่งทำให้เกิดแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง (Centrifugal force) 

เครื่องอัดไอชนิดนี้จะให้ความแตกต่างแรงดันของสารทำความเย็นที่ถูกดูดเข้าและถูกอัดออกไม่มาก ดังนั้นเพื่อให้ได้แรงดันที่สูงขึ้นจึงทำการส่งต่อแก๊สที่ถูกเหวี่ยงอัดตัวและเข้าไปเหวี่ยงอัดตัวในช่วงต่อไป การต่อวงจรคอมเพรสเซอร์ชนิดนี้จึงเหมาะเป็นอย่างยิ่งสำหรับระบบทำความเย็นขนาดใหญ่ ที่มีขนาดตั้งแต่ 50 ตันขึ้นไป


คอมเพรสเซอร์ (Compressor) สรุป

คอมเพรสเซอร์หนึ่งในอุปกรณ์ที่นอกจากจะมีกระบวนการทำงานที่สำคัญต่อระบบทำความเย็นแล้ว ยังมีคุณสมบัติที่สำคัญจากการดูดและอัดสารทำความเย็นที่จะทำให้เกิดการหมุนเวียนความเย็นในระบบขึ้นเช่นกัน จึงนับได้ว่า Compressor เป็นหัวใจหลักของระบบทำความเย็นและปรับอากาศก็ว่าได้

ในปัจจุบัน Compressor มีหลากหลายประเภทให้เลือกสรร การเลือกขนาดคอมเพรสเซอร์แอร์ที่เหมาะสมตามขนาดของระบบทำความเย็นจะทำให้การทำงานเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด นอกจากนี้การเลือกซื้อจากผู้จัดจำหน่ายที่น่าเชื่อถือก็เป็นอีกสิ่งที่สำคัญ เนื่องจากจะช่วยให้มั่นใจได้ว่าสินค้ามีคุณภาพดี คุ้มค่าคุ้มราคา และสามารถใช้งานได้อย่างยาวนาน

คอมเพรสเซอร์ (Compressor)
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
tothemoon555's profile


โพสท์โดย: tothemoon555
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
รวมภาพอารมณ์ดี ขำขัน เฮฮา ดูกันเพลินๆ ก่อนลุ้นหวยออกเด้อครับเด้อราชกิจจาฯ เผยกฎกระทรวง เพิ่ม “3 กลุ่มโรค” ไม่ต้องเกณฑ์ทหารนักร้องดัง "คีย์" SHINee โดนชาวเน็ตด่าว่า "ยาจก" หลังเปิดบ้านให้ดูปิดตำนาน น้ำพุร้อนเหมืองแร่ อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน หลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหว!อาลัย “น้องนุ่น” ว่าที่บัณฑิต จากไปพร้อมแม่-พี่ชาย ตึก สตง. ถล่ม พ่อยังสูญหาย ‎
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
เที่ยวกระบี่ แวะไหว้พระ พร้อมชมธรรมชาติสวยๆรองผู้ว่า กรุงเทพมหานคร ยืนยัน สแกนพบรูปร่างมนุษย์ 6 จุด เกาะกลุ่มกันอยู่ เร่งระดมกำลังช่วยเหลือนักร้องดัง "คีย์" SHINee โดนชาวเน็ตด่าว่า "ยาจก" หลังเปิดบ้านให้ดู
กระทู้อื่นๆในบอร์ด Variety
พ่อแม่ที่ลูกไว้ใจคือพ่อแม่ที่เป็นผู้รับฟังที่ดีนวัตกรรม Hybrid ที่กำลังจะเปลี่ยนโลกให้ดีขึ้นความเครียดส่งผลอย่างร้ายแรงต่อคุณแม่ตั้งครรภ์ได้ทำไมคนถึงหันมาใส่ใจในเรื่องการตรวจสุขภาพมากยิ่งขึ้น
ตั้งกระทู้ใหม่
หน้าแรกเว็บบอร์ดหาเพื่อนChatหาเพื่อน Lineหาเพื่อน SkypePic PostตรวจหวยควิซคำนวณPageแชร์ลิ้ง
Postjung
เงื่อนไขการให้บริการ ติดต่อเว็บไซต์ แจ้งปัญหาการใช้งาน แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม ข่าวประชาสัมพันธ์ ลงโฆษณา
เว็บไซต์นี้ใช้ Cookie
เพื่อประสบการณ์ที่ดีและการใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ดูข้อมูลเพิ่มเติม อ่านนโยบายการใช้งาน
ตกลง