ผมร่วงเยอะมาก ผมร่วงเกิดจากอะไร วิธีทำให้ผมไม่ร่วง
ผมร่วงเป็นปัญหาที่พบได้ทั่วไปในผู้คนทุกเพศทุกวัย นับเป็นหนึ่งในปัญหาที่ใครหลาย ๆ คนมักจะมองข้าม โดยปกติผมของคนเราจะร่วงไม่เกินวันละ 50-100 เส้นต่อวัน การที่ปริมาณผมร่วงเยอะมากกว่าปริมาณโดยเฉลี่ยก็เป็นอีกหนึ่งสัญญาณที่จะช่วยบอกความผิดปกติได้เช่นกัน
ผู้ที่กำลังประสบปัญหานี้อยู่จะต้องมองย้อนกลับไปถึงสาเหตุผมร่วงเสียก่อน เพื่อที่จะได้ทำการค้นหาวิธีแก้ผมร่วงได้อย่างตรงจุด แต่สำหรับผู้ที่มีปัญหาผมร่วงหนักมากการรักษาด้วยตนเองอาจจะไม่เห็นผลเท่าที่ควร ควรที่จะเข้าพบแพทย์เพื่อรักษาผมร่วงได้อย่างทันท่วงที
ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับผมร่วง
หลาย ๆ ครั้งเราจะได้ยินสาเหตุผมร่วงมากมาย แต่บางสาเหตุก็เป็นความเข้าใจที่ผิด เราจึงได้ยกตัวอย่างมาให้ทุกท่านได้ทำความเข้าใจกันใหม่อีกครั้ง ดังนี้
- การสวมหมวกในที่ร่มจะทำให้ผมร่วง : การสวมหมวกไม่ได้ทำให้ผมหลุดร่วง แต่จะทำให้เกิดความอับชื้น จนเกิดเป็นเชื้อราได้
- ผมร่วงเกิดจากการใช้เคมีจัดแต่งทรงผมมากไป : การใช้ผลิตภัณฑ์เคมีที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน อย. จะไม่ทำให้ผมหลุดร่วง
- สระผมบ่อย ๆ ทำให้ผมร่วง : การสระผมบ่อย ๆ จะทำให้หนังศีรษะแห้งจนเกิดปัญหารังแคตามมา สำหรับผู้ที่ไม่ค่อยสระผมการสระผมแล้วผมร่วงมากกว่าปกติจึงเป็นเรื่องที่พบได้บ่อย ๆ
- แชมพูเด็กช่วยรักษาผมร่วงได้ : แชมพูเด็กถูกออกแบบมาให้อ่อนโยนก็จริง แต่ก็ไม่ได้เป็นการรักษาจากต้นเหตุเมื่อหยุดใช้อาจกลับมามีปัญหาได้
ปัญหาผมร่วง สาเหตุหลัก
ปัญหาผมร่วงเกิดจากหลายสาเหตุ การหมั่นสังเกตตัวเองอยู่เสมอจะทำให้ทราบถึงสาเหตุผมร่วง และทำการแก้ไขและรักษาผมร่วงได้อย่างทันท่วงที โดยสาเหตุหลักของปัญหาผมนี้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 9 ปัจจัย ดังนี้
1.ผมร่วงกรรมพันธุ์
ผู้ที่มีปัญหาผมร่วงเยอะมากจากกรรมพันธุ์มักจะพบได้มากในเพศชาย ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป เนื่องจากมีความไวต่อฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgen) ที่ทำให้อายุของผมสั้นกว่าปกติ
กรรมพันธุ์จะส่งผลโดยตรงต่อรากผม ซึ่งจะทำให้ผมร่วง 2 ลักษณะ ได้แก่
- ผมหลุดร่วงบริเวณหน้าผาก : เป็นบริเวณที่ผมร่วงมากกว่าปกติ เนื่องจากมี Androgentic receptor ซึ่งตอบสนองต่อฮอร์โมนได้ดี
- และผมร่วงบริเวณกลางกระหม่อม : เป็นบริเวณยอดนิยมของเหล่าคุณผู้ชาย เนื่องจากมีเอนไซม์ที่จะทำให้ผมเกิดการร่วงอยู่มาก
2.ผมร่วงเพราะขาดสารอาหาร
สารอาหารต่าง ๆ นอกจากจะช่วยบำรุงร่างกายแล้ว ในขณะเดียวกันก็ช่วยบำรุงเส้นผมได้ ผมร่วงขาดสารอาหารอะไร หลัก ๆ จะเป็นโปรตีน ไบโอติน วิตามิน B, D ธาตุเหล็ก และสังกะสี ซึ่งจะช่วยให้ผมและหนังศีรษะแข็งแรง ลดการหลุดร่วง และช่วยให้ผมเติบโตอย่างเต็มประสิทธิภาพ
3.ผมร่วงหลังคลอด
อาการผมร่วงหลังคลอดเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย พบได้มากถึง 40-50% ของคุณแม่หลังคลอด วิธีแก้ผมร่วงเบื้องต้นสามารถทำได้โดยการทานอาหารให้ครบ 5 หมู่, หวีผมอย่างเบามือ และทานอาหารเสริมควบคู่
4. ผมร่วงหลังผ่าตัด
ผมร่วงหลังผ่าตัดอาจเกิดได้จากความเครียด หรือผลข้างเคียงจากยาสลบ ซึ่งอาจเกิดขึ้นหลังการผ่าตัด 3-4 เดือน ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล โดยผมจะมีการพักฟื้นและกลับมาแข็งแรงได้เองในเวลาต่อมา
5.ผมร่วงจากฮอร์โมน
ฮอร์โมนมีผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตของเส้นผม โดยฮอร์โมนที่เป็นสาเหตุของปัญหาผมร่วงมีด้วยกัน 2 ชนิด คือ
- ฮอร์โมนไดไฮโดรเทสโทสเตอโรน (Dihydrotestosterone Hormone) : มีหน้าที่กระตุ้นไขมันเมื่ออยู่ในผมจะช่วยให้เกิดความเงางาม แต่ถ้ามีมากเกินไปจะทำให้การงอกของเส้นผมมีวงจรชีวิตเร็วขึ้น จนเกิดภาวะผมร่วงได้
- ไทรอยด์ฮอร์โมน (Thyroid Stimulating Hormone) : ช่วยควบคุมเกี่ยวกับไขมันในเส้นผม หากมีมากไปจะทำให้เกิดความอุดตัน และถ้ามีน้อยไปจะทำให้ขาดความชุ่มชื้น ดังนั้นฮอร์โมนชนิดนี้จะต้องมีปริมาณที่เหมาะสมจึงจะไม่เกิดปัญหาผมร่วงนั่นเอง
6.ผมร่วงจากโรคต่างๆ
การเจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น โรคติดเชื้อ เช่น เอชไอวี ซิฟิลิส ติดเชื้อรา รวมถึงโรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน โรคผิวหนัง โรคไต หรือโรคเกี่ยวกับระบบไหลเวียนเลือด จะทำให้เกิดผลข้างเคียงเป็นอาการผมร่วงได้
7. ผมร่วงจากความเครียด
ความเครียดอีกหนึ่งสาเหตุที่ส่งผลให้เกิดอาการผมร่วง เนื่องจากจะส่งผลให้การทำงานร่างกายเกิดความผิดปกติ เช่น ฮอร์โมนทำงานผิดปกติ หรือความดันสูง เป็นต้น ซึ่งจะส่งผลกระทบไปถึงการเจริญเติบโตของเส้นผมเช่นกัน
8. ผมร่วงจากเคมี
การเข้ารับเคมีบำบัด หรือฉายรังสี จะเกิดผลข้างเคียงจากการรักษาที่พบได้บ่อย คือ ผมร่วง เนื่องจากเคมีต่าง ๆ ทำให้รากผมเกิดการแบ่งตัวช้าลง ส่งผลให้เกิดความไม่แข็งแรง และเกิดการหลุดร่วงในภายหลัง
9. ผมร่วงจากปัจจัยภายนอก
ปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เป็นการทำร้ายเส้นผมทางอ้อมที่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เช่น
- การอดอาหาร : ทำให้ร่างกายขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อการเติบโตของเส้นผม
- การดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่ : จะทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ได้อย่างเต็มที่ ทำให้รากผมไม่มีอาหารไปเลี้ยง เป็นสาเหตุหลักของผมร่วง
- การทานอาหารรสจัด : ส่งผลให้ความดันโลหิตสูง ซึ่งเลือดจะไปเลี้ยงรากผมได้ไม่เพียงพอ ทำให้ผมไม่แข็งแรง
ผมร่วงมากแค่ไหนจึงควรพบแพทย์
อาการผมร่วงเป็นสัญญาณที่จะช่วยบ่งบอกโรคอันตรายได้ โดยปัญหาผมร่วงผิดปกติ สามารถสังเกตได้จาก 3 อาการหลัก ๆ ได้แก่
1.ผมร่วงมากกว่า 50-100 เส้นต่อวัน ในผู้ที่สระผมเป็นประจำทุกวัน
2.ผมหลุดร่วงระหว่างวันเกิด 70-100 เส้น
3.การเข้าข่ายเป็นโรคต่างที่เกี่ยวกับผมร่วงโดยตรงได้ เช่น
- โรคผมร่วงทั่วศีรษะ : จะทำให้ผมเกิดการร่วงเร็วกว่าที่ควร
- โรคผมร่วงเป็นหย่อม : อาจทำให้ผมเกิดการร่วง 1-2 หย่อม ไปจนถึงทั้งศีรษะ
- โรคเชื้อราบนหนังศีรษะ : การติดเชื้อจะทำให้ผมร่วงเป็นวงได้
- หรือโรคดึงผม : เป็นความผิดปกติทางจิตใจ ผู้ป่วยมักชอบดึงผมตัวเองโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ
แนะนำวิธีแก้ปัญหาผมร่วง
วิธีรักษาผมร่วงด้วยตัวเอง
เป็นการรักษาอาการผมร่วงขั้นเบื้องต้น ซึ่งสามารถทำได้ด้วยตนเอง เช่น
- การทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ลดการทานอาหารรสจัด
- ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่
- ลดการใช้ความร้อน และเคมีในการจัดแต่งทรงผม
- ลดความเครียด
- หลีกเลี่ยงการขยี้ผม และการหวีขณะผมเปียก
วิธีรักษาผมร่วงทางการแพทย์
การรักษาทางการแพทย์เหมาะกับปัญหาผมร่วงระยะรุนแรง ที่ทำการรักษาด้วยตนเองไม่เป็นผล แบ่งออกได้เป็น 5 วิธีหลัก ๆ ได้แก่
- การทานยาเพื่อรักษาอาการผมหลุดร่วงในระยะยาว
- การปลูกผมด้วยวิธี FUE สำหรับผู้ที่ผมไม่สามารถงอกใหม่ได้แล้ว
- การทำ PRP หรือการฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้น กระตุ้นการงอกผม
- การใช้เลเซอร์รักษาผมร่วง (Fotona Laser)
- การฉีดสเต็มเซลล์ผม กระตุ้นการงอกผม และการไหลเวียนเลือด
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับผมร่วง
กินผงชูรสเยอะทำให้ผมร่วงจริงไหม
ในปัจจุบันยังไม่มีผลการวิจัยจากทางการแพทย์ หรือข้อมูลจากองค์การอาหารและยาที่รับรองว่าการกินผงชูรสในปริมาณจะทำให้เกิดอาการผมร่วง แต่จะทำให้เสี่ยงต่อการชัก หัวใจเต้นผิดปกติ และเสี่ยงต่อการเป็นโรคไตเท่านั้น
ผมร่วง ดัดผมได้ไหม
ผู้ที่มาอาการผมร่วงสามารถตัดผมได้ แต่ควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยนต่อเส้นผม ไม่มีสารเคมีที่แรงเกินไป เนื่องจากผลิตภัณฑ์นั้น ๆ จะทำให้เส้นผมได้รับความเสียหาย ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ผมไม่สามารถเจริญเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
รังแคทำให้ผมร่วงหรือไม่
รังแคไม่ได้ส่งผลให้เกิดปัญหาผมร่วงโดยตรง แต่เป็นปัจจัยทางอ้อมที่นำไปสู่ปัญหาผมหลุดร่วง เนื่องจากรังแคอาจทำให้เกิดการคันที่ทำให้ผู้ประสบปัญหาเกาจนผมขาด หรือเกิดความการอุดตันบริเวณหนังศีรษะจนขัดขวางการเติบโตของเส้นผม ที่อาจทำให้เกิดอาการผมร่วงได้
ข้อสรุป
จากที่ได้กล่าวมาจะเห็นได้ว่าผู้ที่กำลังประสบปัญหาผมร่วงเยอะมาก มีสาเหตุผมร่วงที่หลากหลายขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล โดยผมร่วงเกิดได้จากทั้งปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอก การหมั่นสังเกตตัวเองจะช่วยให้ทราบปัญหาเส้นผมที่กำลังพบเจอ ซึ่งจะทำให้สามารถรักษาผมร่วงได้อย่างทันท่วงที
ในส่วนของวิธีแก้ผมร่วงสามารถทำได้ด้วยตัวเอง ซึ่งสามารถทำได้ง่าย แต่อาจจะไม่เห็นผลกับผู้ที่มีปัญหาผมร่วงรุนแรง วิธีทำให้ผมไม่ร่วงอีกหนึ่งทางเลือกคือการเข้าพบแพทย์เพื่อรักษาผมร่วง ซึ่งแพทย์จะเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสม แต่ผู้เข้ารับการรักษาก็จะต้องดูแลตัวเองร่วมด้วย เพื่อให้การรักษาเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด