นักวิจัยค้นพบ"คนที่มีหน้าตา คล้ายหรือเหมือนเรา"อาจจะมียีน หรือ โครโมโซม ที่คล้ายกันกับเราหลายตัวทั้งๆที่ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกันเลย
🙄นักวิจัยค้นพบ"คนที่มีหน้าตา คล้ายหรือเหมือนเรา"อาจจะมียีน หรือ โครโมโซม ที่คล้ายกันกับเราหลายตัวทั้งๆที่ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกันเลย
👉🏿คุณเชื่อเรื่องปาฏิหาริย์และความบังเอิญหรือเปล่า...บางทีเราเดินๆตามถนนแล้วบังเอิญเราไปเจอคนที่หน้าเหมือนกับเรานั่นมันอาจจะเป็นปาฏิหาริย์หนึ่งในร้อยหนึ่งในพันหรือเหตุบังเอิญก็ได้นะครับ
😁ไม่ได้เป็นพี่น้องกันไม่ได้เป็นฝาแฝดแต่เป็นคนอื่นที่ไม่รู้จักกันแต่หน้าคล้ายและเหมือนเราอันนี้อาจจะมองได้ในหลายแง่มุมบ้างก็ว่าอาจจะเป็นบุพเพสันนิวาสเนื้อคู่กันบ้าง..หรือก็เชื่อเรื่องมิติเร้นลับ สารพัดที่คนเราจะคิดจินตนาการกันไปครับ แต่มันก็เป็นไปได้ที่จะเจอคนที่หน้าตาคล้ายเราเหมือนกัน....มาเข้าเรื่องบทความนี้กันเลยดีกว่า..
👉🏿แต่เชื่อว่าหลายๆ คนอาจจะเคยได้ยินกันมาบ้างว่าบนโลกใบนี้จะมีคนอยู่อีกราวๆ 7 คน ที่หน้าตาคล้ายกับเราแม้ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกัน ซึ่งบ่อยครั้งเราก็มักจะเรียกคนเหล่านี้ว่า "ดอพเพลแกงเกอร์"
แต่เชื่อหรือไม่ว่าเหล่าดอพเพลแกงเกอร์ของเรานั้นเขาไม่ได้แค่ใบหน้าหน้าเหมือนเราเท่านั้นนะ
เพราะจากงานวิจัยของศูนย์วิจัยโรคลูคีเมียที่สเปน นักวิทยาศาสตร์ก็เพิ่งจะค้นพบเลยว่าคนที่หน้าเหมือนเรามักมียีนหลายๆ ตัวเหมือนกับเราตามด้วย แม้ไม่ได้เกี่ยวข้องกันเลยก็ตาม
โดยนักวิจัยพบความจริงที่น่าตกใจนี้ในการวิเคราะห์คู่ดอพเพลแกงเกอร์ที่ไม่เกี่ยวข้องกัน 32 คู่จากทั่วโลก (ในบรรดานี้ 16 คู่เหมือนกันมากจนระบบตรวจจับใบหน้าแยกไม่ได้ด้วยซ้ำ)
พวกเขาพบว่าในบรรดาคู่ดอพเพลแกงเกอร์เหล่านี้ ราวๆ 9 คู่มีความแปรปรวนทางพันธุกรรม (โดยเฉพาะการแปรผันของนิวคลีโอไทด์เดี่ยว หรือ SNP) ร่วมกันกว่า 19,277 รายการ ภายในยีน 3,730 ตัวเลย
แถมแม้ว่าพวกเขาจะไม่ได้มีอีพีเจเนติกส์หรือไมโครไบโอมต่างจากกลุ่มที่ไม่ได้เหมือนกันนัก หลายๆ คู่ยังมักมี นิสัยการสูบบุหรี่ ระดับการศึกษา และน้ำหนักที่คล้ายคลึงกันด้วย
แสดงให้เห็นว่าพฤติกรรมของเราอาจสามารถได้รับอิทธิพลอย่างลึกซึ้งจากยีนกว่าที่คิด
ดังนั้น นักวิจัยจึงระบุว่าจริงๆ แล้วการผสมผสานที่จีโนมมนุษย์สามารถทำได้นั้น อาจจะไม่ได้มีอยู่อย่างอนันต์อย่างที่บางคนคาดก็ได้ เพราะแม้โอกาสจะต่ำแต่ในบางครั้งคนเราก็อาจจะเกิดมามีใบหน้าเหมือนๆ กันได้จริงๆ
และมันก็ไม่แน่เหมือนกันว่าการศึกษาเรื่องราวในศาสตร์นี้ก็อาจจะสามารถนำเราไปสู่เทคโนโลยีในอนาคตอย่างการ สร้างใบหน้าขึ้นใหม่จาก DNA การวินิจฉัยโรคทางพันธุกรรม
หรือแม้แต่การวิเคราะห์เบาะแสโรคหรือจีโนมของผู้ป่วยโดยอาศัยภาพถ่ายใบหน้าของพวกเขาได้เลยนั่นเอง
🙄ข้อมูลเพิ่มเติมนี้เป็นข้อมูลเพิ่มเติมสาระวิชาการหน่อยนะครับเอามาเพื่อเป็นการอ้างอิงในบทความนี้
โครโมโซมคู่เหมือน (อังกฤษ: homologous chromosomes, homologs) คือคู่ของโครโมโซมที่เซลล์ได้รับมาจากฝั่งพ่อและฝั่งแม่และมาจับคู่กันในขั้นตอนการปฏิสนธิ มียีนเดียวกันในตำแหน่งเดียวกันของโครโมโซม ทำให้โครโมโซมคู่เหมือนนี้สามารถจับคู่กันได้พอดีก่อนที่จะแยกกันในกระบวนการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส
The paternal (blue) chromosome and the maternal (pink) chromosome are homologous chromosomes. Following chromosomal DNA replication, the blue chromosome is composed of two identical sister chromatids and the pink chromosome is composed of two identical sister chromatids. In mitosis, the sister chromatids separate into the daughter cells, but are now referred to as chromosomes (rather than chromatids) much in the way that one child is not referred to as a single twin.
โครโมโซมคู่เหมือนมีตำแหน่งของยีนตรงกัน แต่ไม่ได้มีลำดับเบสเหมือนกันทุกประการ ถือเป็นผลผลิตจากการปฏิสนธิ และอาจถือเป็นภาวะปกติของเซลล์สิ่งมีชีวิต ต่างจากโครโมโซมคู่พี่น้องซึ่งเป็นการทำซ้ำโครโมโซมอันเดิม ด้วยกระบวนการการถ่ายแบบดีเอ็นเอเพื่อเตรียมแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส ซึ่งมีลำดับเบสเหมือนกันทุกประการ
คลิปประกอบบทความ
อ้างอิงจาก: วิกิพีเดีย google และ YouTube