ตุ๊กแกบิน(Flying geckos) ตุ๊กแกธรรมดาๆก็สยองแล้ว แต่ถ้ามาเจอตุ๊กแกบินคุณจะตะลึงเลยครับ
👉🏿ตุ๊กแกบิน( Flying geckos) ตุ๊กแกธรรมดา ๆก็สยองแล้ว แต่ถ้ามาเจอตุ๊กแกบินคุณจะตะลึงเลยครับ
ช่วงบ่ายๆฝนเหมือนจะตกวันนี้รู้สึกว่าอากาศร้อนอบอ้าว ไม่ดีเลยครึ้มฟ้าครึ้มฝนอย่างไรก็ไม่รู้..เรามาหาสาระบทความสัตว์แปลกๆดูกันดีกว่านะครับ...คุณรู้จักตุ๊กแกไหมครับ..
ตุ๊กแกธรรมดาๆ
🦦ตุ๊กแกบ้านก็ว่าน่ากลัวแล้วนะครับ..ร้องเสียง"ตุ๊กแก" ๆ"ตุ๊กแก"ๆ เมื่อตุ๊กแกมันร้องฟังดูแล้วมันก็สยองดีเหมือนกัน
แต่วันนี้เราจะนำเสนอตุ๊กแกอีกชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ตุ๊กแกบิน (อังกฤษ: Flying geckos, Parachute geckos, Gliding geckos)
รับรองหรือว่ารูปร่างของมันสยดสยองกว่าตุ๊กแกบ้านธรรมดาๆแน่นอน ตุ๊กแกบิน ครับเรามาเข้าเรื่องกันเลยดีกว่า
👉🏾ตุ๊กแกบิน (อังกฤษ: Flying geckos, Parachute geckos, Gliding geckos) เป็นสัตว์เลื้อยคลานที่อยู่ในอันดับ Squamata ในวงศ์ตุ๊กแกและจิ้งจก (Gekkonidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Ptychozoon
ข้อมูลเบื้องต้น ตุ๊กแกบิน, การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ ...
👉🏿ลักษณะ
มีรูปร่างโดยรวมคล้ายกับจิ้งจกในสกุล Hemidactylus หรือจิ้งจกบ้าน แต่มีขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อย มีจุดเด่น คือ มีแผ่นหนังระหว่างนิ้วเท้าและมีแผ่นหนังด้านข้างลำตัว ใช้สำหรับในการร่อนจากต้นไม้ต้นหนึ่งไปยังต้นหนึ่ง ที่อยู่ในระดับต่ำกว่า ด้วยการแผ่กางแผ่นหนังทั้งหมดออกและลงสู่เป้าหมายด้วยมุมที่น้อยกว่า 40° โดยสามารถร่อนได้ไกลถึง 200 ฟุต หรือ 60 เมตร
👉🏿ถิ่นที่อยู่
ตุ๊กแกบิน อาศัยอยู่ในป่าดิบและบริเวณที่มนุษย์อยู่อาศัย ส่วนใหญ่พบตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ของไทย ไปจรดถึงแหลมมลายู จนถึงอินโดนีเซีย
แต่ก็มีรายงานพบที่อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า ในภาคเหนือ รวมถึงที่ปากน้ำแหลมสิงห์ อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี ในภาคตะวันออก และพื้นที่ป่าสะแกราช อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ในภาคอีสานของไทยด้วย ออกหากินในเวลากลางคืน โดยกินแมลงเป็นอาหารหลัก
การจำแนก พบทั้งสิ้น 8 ชนิด
Ptychozoon horsfieldii (Gray, 1827)
Ptychozoon intermedium Taylor, 1915
Ptychozoon kaengkrachanense Sumontha, Pauwels, Kunya, Limlikhitaksorn, Ruksue, Taokratok, Ansermet, & Chanhome, 2012
Ptychozoon kuhli Stejneger, 1902
Ptychozoon lionotum Annandale, 1905
Ptychozoon nicobarensis Das & Vijayakumar, 2009
Ptychozoon rhacophorus (Boulenger, 1899)
Ptychozoon trinotaterra Brown, 1999
พบในประเทศไทย 4 ชนิด
อ้างอิงจาก: วิกิพีเดีย และ YouTube