ช่วง 40 ปีที่ผ่านมา มีพายุไต้ฝุ่นเพียง 2 ลูกเท่านั้นที่ผ่านเข้ามาในบริเวณอ่าวไทย
ถ้าพูดถึง พายุไต้ฝุ่น ก็จะเป็นพายุหมุนเขตร้อนความเร็วลมสูงสุด ปรากฏการณ์พายุแบบเดียวกันที่เกิดขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือทางตะวันออกจะถูกเรียกว่า เฮอร์ริเคน และพายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนที่ไปยังมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันตกจะถูกเรียกว่า ไต้ฝุ่น
ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ พายุไต้ฝุ่นไม่มีการกำหนดฤดูกาลอย่างเป็นทางการ เพราะพายุไต้ฝุ่นก่อตัวขึ้นตลอดทั้งปี เช่นเดียวกับพายุหมุนเขตร้อนทั่วไป ปัจจัยที่ทำให้พายุไต้ฝุ่นก่อตัวและมีความเร็วเพิ่มขึ้นนั้นมีหกประการ ได้แก่
- อุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลที่อุ่นเพียงพอ
- ความไม่แน่นอนของสภาพอากาศ
- ระดับความชื้นสัมพัทธ์สูงในชั้นโทรโพสเฟียร์ระดับล่างถึงกลาง
- แรงโคริโอลิสที่มากพอที่จะสร้างศูนย์ความดันอากาศต่ำ
- การรบกวนหรือจุดรวมระดับต่ำที่มีอยู่แล้ว
- และวินเชียร์แนวดิ่งต่ำ
พายุไต้ฝุ่นส่วนมากก่อตัวขึ้นระหว่างเดือนมิถุนายนและเดือนพฤศจิกายน ขณะที่พายุหมุ่นเขตร้อนก่อตัวขึ้นอย่างน้อยก็ระหว่างเดือนธันวาคมและพฤษภาคม
โดยเฉลี่ยแล้ว มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือเป็นบริเวณที่เกิดพายุหมุนเขตร้อนบ่อยครั้งที่สุดและรุนแรงที่สุดในโลก เช่นเดียวกับแอ่งอื่น ๆ พายุจะถูกนำทางโดยลิ่มความกดอากาศสูงเหนือเขตร้อนไปทางตะวันตกหรือตะวันตกเฉยงเหนือ
โดยมีบางลูกที่ย้อนกลับมาใกล้ทางตะวันออกของญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการขึ้นฝั่ง จีนและญี่ปุ่นได้รับผลกระทบน้อยกว่าบ้าง พายุไต้ฝุ่นที่สร้างความเสียหายมากที่สุดในประวัติศาสตร์ได้พัดเข้าถล่มจีน ทางตอนใต้ของจีนมีบันทึกผลกระทบของพายุไต้ฝุ่นที่ยาวนานที่สุด
ซึ่งสามารถย้อนหลังไปได้นับพันปีผ่านเอกสารในหอจดหมายเหตุ ไต้หวันเคยประสบกับพายุไต้ฝุ่นที่มีฝนมากที่สุดเท่าที่เคยบันทึกมาในแอ่งพายุหมุนเขตร้อนแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ
อธิบายลักษณะและคุณสมบัติต่างๆ ของไต้ฝุ่นได้เป็นข้อๆ ดังต่อไปนี้
1. พายุไต้ฝุ่น คือพายุโซนร้อน ซึ่งเกิดในมหาสมุทรหรือทะเลในโซนร้อน และมีลมพัดรอบศูนย์กลางอย่างน้อยด้วยความเร็ว 118 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (อาจจะถึง 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมงได้)
แหล่งเกิดของพายุโซนร้อน เส้นสีดำใหญ่และลูกศรแสดงแหล่งและทิศของการเคลื่อนตัวของพายุ
แหล่งเกิดของพายุโซนร้อน เส้นสีดำใหญ่และลูกศรแสดงแหล่งและทิศของการเคลื่อนตัวของพายุ
2. พายุไต้ฝุ่น เป็นบริเวณความกดต่ำ ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลางเป็นร้อยๆ กิโลเมตร จนถึงประมาณ 1,600 กิโลเมตร หรือกว่านั้น และมีอายุอยู่ได้หลายๆ วัน ลมของพายุนี้ พัดรอบๆ ศูนย์กลาง และลอยตัวขึ้นคล้ายบันไดวน
ตารางต่อไปนี้แสดงจำนวนและแหล่งเกิดของพายุหมุนในโซนร้อนในคาบ 10 ปี ตามบริเวณต่างๆ ของโลก
ตารางแสดงจำนวนและแหล่งเกิดของพายุหมุนในโซนร้อนในคาบ 10 ปี
3. คุณสมบัติที่สำคัญ และน่าสนใจอย่างหนึ่งของพายุนี้ก็คือ ที่บริเวณศูนย์กลางของพายุเราเรียกว่า "ตา" ของไต้ฝุ่น ตาเป็นบริเวณเล็กๆ ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10 ถึง 50 กิโลเมตร ในบริเวณตาของไต้ฝุ่นจะมีอากาศค่อนข้างดี ลมพัดค่อนข้างเบา
4. พายุไต้ฝุ่น มีพลังงานมากมายมหาศาล ในวันหนึ่งสามารถผลิตพลังงานได้ เท่ากับลูกระเบิดไฮโดรเจนขนาด 1 ล้านตันของ ที เอ็น ที ได้มากว่า 10,000 ลูก ไต้ฝุ่นได้ รับพลังงานมหึมาจากพลังงานความร้อนแฝง ซึ่งไอน้ำในทะเลกลั่นตัวเป็นน้ำ
5. ในละติจูดต่ำๆ ไต้ฝุ่นจะเคลื่อนตัวตามกระแสลมส่วนใหญ่จากทิศตะวันออก มาทางทิศตะวันตก และค่อยโค้งขึ้นไปทางละติจูดสูง แล้วเวียนโค้งกลับไปทางทิศตะวัน ออกอีก
6. เมื่อไต้ฝุ่นเคลื่อนตัวเข้าสู่พื้นดิน ภูเขา หรือมวลอากาศเย็น ทำให้พลังงานของไต้ฝุ่นค่อยๆ สลายตัวลงอย่างรวดเร็ว กลายเป็นพายุโซนร้อน หรือดีเปรสชั่น
7. อันตรายจากพายุไต้ฝุ่น มีหลายอย่าง เช่น ฝนตกหนัก ลมแรง พายุฟ้า คะนอง คลื่นจัด และอุทกภัย (ซึ่งมักจะทำให้มีผู้คนเสียชีวิตได้มาก) ฝนอาจจะตกได้ กว่า 1,800 มิลลิเมตรในระยะเวลา 24 ชั่วโมง พายุโซนร้อนซึ่งพัดเข้าแหลมตะลุมพุก จังหวัดนครศรีธรรมราช
ไอน้ำกลั่นตัวลงบนอนุภาคเล็กๆ เป็นเม็ดเมฆเล็กๆ รวมกันเป็นจำนวนมากมายในบรรยากาศ ไอน้ำกลั่นตัวลงบนอนุภาคเล็กๆ เป็นเม็ดเมฆเล็กๆ รวมกันเป็นจำนวนมากมายในบรรยากาศ
8. เราสามารถจะกำหนดที่อยู่ของพายุไต้ฝุ่นได้ โดยการวัดความกด ตรวจดู ลักษณะอากาศ ทิศ และความเร็วลม การหาที่อยู่ของไต้ฝุ่นอาจสำรวจได้จากเครื่องมือหลายอย่าง เช่น
- สถานีตรวจอากาศตามเกาะหรือในทะเล
- เครื่องบินตรวจอากาศ
- เรดาร์
- ดาวเทียมตรวจอากาศ
9. ปัจจุบันโดยที่ระบบโทรคมนาคมของการสื่อสารมวลชนดีขึ้นมาก ประชาชนสามารถจะทราบคำเตือนเรื่องพายุไต้ฝุ่นได้อย่างรวดเร็ว จึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ที่ประชาชนควรระมัดระวัง ในเมื่อได้รับคำเตือนเรื่องพายุร้ายแรงและอันตรายจากพายุไต้ฝุ่น เรือในทะเลควรจะหลบหนีออกไปจากบริเวณไต้ฝุ่น
พายุไต้ฝุ่นเพียง 2 ลูกที่ผ่านเข้ามาในบริเวณอ่าวไทย คือ
พายุไต้ฝุ่นเกย์ ( Typhoon Gay) หรือ พายุไซโคลนกาวาลี พ.ศ. 2532 เป็นพายุหมุนเขตร้อนขนาดเล็กแต่ทรงพลังที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 800 คนในอ่าวไทยและบริเวณโดยรอบในเดือนพฤศจิกายน 2532
เป็นพายุไต้ฝุ่นครั้งเลวร้ายที่สุดที่พัดถล่มคาบสมุทรมลายูรอบ 35 ปี พายุเกย์ก่อตัวขึ้นจากร่องมรสุมที่ปกคลุมอยู่เหนืออ่าวไทยในต้นเดือนพฤศจิกายน สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมทำให้พายุทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วจนมีความเร็วลมมากกว่า 120 กม./ชม.
ในวันที่ 3 พฤศจิกายน หลังจากนั้น พายุไต้ฝุ่นเกย์กลายเป็นพายุไต้ฝุ่นลูกแรกนับตั้งแต่ปี 2434 ที่พัดขึ้นฝั่งในประเทศไทย โดยพัดขึ้นฝั่งที่จังหวัดชุมพรด้วยความเร็วลม 185 กม./ชม.
จากนั้น พายุเคลื่อนตัวลงสู่อ่าวเบงกอล แล้วมีการจัดระเบียบอีกครั้งหนึ่งในหลายวันต่อมาขณะเคลื่อนเข้าใกล้ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศอินเดีย วันที่ 8 พฤศจิกายน พายุเกย์บรรลุความรุนแรงสูงสุดเป็นพายุหมุนเขตร้อนระดับ 5 ด้วยความเร็วลม 260 กม./ชม. จากนั้นพายุพัดขึ้นฝั่งเป็นครั้งที่สองใกล้กับเมืองกาวาลี รัฐอานธรประเทศ พายุอ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็วเมื่ออยู่เหนือแผ่นดิน และสลายตัวไปเหนือรัฐมหาราษฏระในเช้าวันที่ 10 พฤศจิกายน
พายุโซนร้อนกำลังแรงลินดา ( Linda) เริ่มก่อตัวจากหย่อมความกดอากาศต่ำแล้วทวีความรุนแรงขึ้นเป็นดีเปรสชัน เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2540 ในทะเลจีนใต้ตอนล่าง
แล้วทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนในวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 และเคลื่อนผ่านบริเวณปลายแหลมญวนของประเทศเวียดนามในวันต่อมา พร้อมกับสร้างความเสียหายอย่างหนัก มีผู้เสียชีวิตกว่า 3,000 ราย วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 พายุโซนร้อนลินดา เคลื่อนตัวเข้าสู่อ่าวไทย
และได้ทวีความรุนแรงเป็นพายุไต้ฝุ่น ความเร็วลม 120 กม./ชม. เมื่อเวลา 10.00 น. ขณะอยู่ห่างจากเกาะสมุยประมาณ 230 กิโลเมตร ซึ่งสร้างความตื่นกลัวให้กับชาวไทย
เพราะทิศทางและลักษณะของพายุลินดา เหมือนกับพายุไต้ฝุ่นเกย์ที่เคยพัดถล่มจังหวัดชุมพรใน พ.ศ. 2532 แต่ปรากฏว่าก่อนจะเคลื่อนขึ้นฝั่งที่ อ.ทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อเวลา 02.00 น. พายุได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อน ความเร็วลม 80 กม./ชม. และเคลื่อนผ่านไทยเข้าสู่ประเทศพม่า ก่อนจะลงทะเลอันดามันแล้วสลายตัวไปในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ในอ่าวเบงกอล
อ้างอิงจาก: https://th.wikipedia.org/wiki/พายุไต้ฝุ่นเกย์_(%E0%B8%9E.%E0%B8%A8._2532)
https://th.wikipedia.org/wiki/ไต้ฝุ่น