แนะนำวิธีใช้ยาแก้ไออย่างเหมาะสมในช่วงอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย
ช่วงก่อนอากาศร้อนจนควันขึ้น พอมาตอนนี้ฝนก็ตกทุกวัน หลายท่านคงประสบกับปัญหาอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อยจนล้มป่วยเป็นไข้เป็นหวัด ต้องเร่ออกไปซื้อยาลดไข้ บรรเทาอาการหวัด ยาแก้ไอ โดยเฉพาะคนที่ต้องออกไปทำงานแล้วบังเอิญต้องตากฝนกลับบ้าน บางคนกลับมาบ้านก็เริ่มคันคอ ไอค่อกไอแค่กแล้ว
การใส่ใจเรื่องสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญมาก เมื่อเรามีอาการไอหรือไข้หวัด เราจำเป็นต้องทานยาแก้ไอ เพื่อบรรเทาอาการ โดยการใช้ยาแก้ไอก็ต้องเหมาะสมกับอาการของเรา บางคนหยิบยาไหนได้ก็ทานเลย ไม่อ่านฉลากหรือดูอาการให้ดีเสียก่อน เราจึงอยากให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาการไอและยาแก้ไอประเภทต่างๆ เพื่อให้ท่านเลือกใช้ยาแก้ไอได้อย่างเหมาะสมกับอาการ เพื่อดูแลคนที่คุณรักยามเข้าไม่สบาย
ยาแก้ไอ (Cough Medicine)
ยาแก้ไอ คือ ยาที่มีสรรพคุณบรรเทาและยับยั่งอาการระคายเคืองที่เกิดจากการที่สิ่งแปลกปลอมเล็ดลอดเข้ามาในระบบทางเดินหายใจ ตัวยาแก้ไอที่นิยมใช้ ได้แก่ โคดีอีน ซึ่งช่วยบรรเทาอาการระคายเคืองระบบทางเดินหายใจหรือไอลงได้ นอกจากนั้นยาแก้ไอยังใช้ในการบรรเทาผลค้างเขียงจากยาบางตัวที่ส่งผลให้เวลาทานเข้าไปแล้วเกิดอาการไอตามมา
รู้จักอาการไอ
สาเหตุอาการไอ
อาการไอ เกิดจากการที่มีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในระบบทางเดินหายใจ ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อหรือมีเชื้อโรคเข้ามาในระบบทางเดินหายใจ ทำให้เกิดอาการระคายเคืองและอักเสบ ถ้าสังเกตเวลาเราป่วยหรือเป็นโรค เราก็จะมีอาการไอขึ้นมาเพราะกลไกของร่างกายตอบสนองต่อสิ่งแปลกปลอม พยายามจะขับสิ่งที่ทำให้ระบบหายใจปนเปื้อนออกไป ซึ่งการทานยาแก้ไอจะช่วยรักษาและขจัดเชื้อโรคเหล่านั้นออกไป
กลุ่มอาการไอ
อาการไอมี 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ ไอแห้ง และ ไอแบบมีเสมหะควบคู่มาด้วย ซึ่งกลุ่มอาการที่ต่างกันก็จำเป็นที่จะต้องได้รับยาที่แตกต่างกัน โดยอาการไอมักเกิดควบคู่กับอาการไข้วัด หรือ โรคอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ และ ปอด
รูปแบบของยาแก้ไอ
ยาแก้ไอรูปแบบต่างๆ ถูกผลิตขึ้นมาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยเนื่องจากว่าอาการไอสามารถเกิดได้กับทุกเพศและทุกวัย ยาแก้ไอจึงมีทั้งรูปแบบเม็ด รูปแบบน้ำ รูปแบบยาพ่น เพื่อให้ครอบคลุมอาการของผู้ป่วย ผู้ป่วยบางคนอาจไม่สามารถทานยาแบบเม็ดหรือกลืนยาเม็ดไม่ได้ โดยยาแก้ไอมีรูปแบบต่างๆ ดังนี้
1. ยาเม็ดแก้ไอ
ยาลดอาการไอชนิดเม็ด มักมีส่วนประกอบเป็นตัวยาสำคัญที่ช่วยบรรเทอาการไอแห้งหรือไอแบบมีเสมหะ ไม่มีการผสมยาอื่น ยาแก้ไอชนิดเม็ดเหมาะสำหรับผู้ใหญ่เนื่องจากออกฤทธิ์ได้ดีแต่ไม่เหมาะกับเด็กที่ไม่ชอบทานยาเม็ด สามารถพกพาและทานได้สะดวก เพียงแค่ทานยาก่อนดื่มน้ำตามลงไป
2. ยาน้ำแก้ไอ
ยาน้ำแก้ไอ หรือ ยาแก้ไอน้ำเชื่อม เป็นยาแก้ไอชนิดน้ำที่มักมีส่วนประกอบที่ทำให้ตัวยามีรสชาติหวานแต่ยังคงมีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการไอ ยาแก้ไอประเภทนี้เหมาะกับทั้งผู้ใหญ่และเด็กที่ไม่สามารถทานยาเม็ดได้เนื่องจากอาการเจ็บคอ ระคายเคืองคอที่เป็นอยู่ นอกจากนั้นยังเหมาะกับผู้ที่ไม่ชอบทานยาเม็ดด้วย
3. ยาพ่นแก้ไอ
ยาพ่นแก้ไอ เป็นยาที่ใช้ฉีดพ่นในลำคอบรรเทาอาการไอและอักเสบในลำคอ ซึ่งยาแก้ไอประเภทนี้สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป สามารถใช้ได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่เมื่อมีอาการเจ็บคอมากๆ ควบคู่กับอาการไอ ยาชนิดนี้สามารถช่วยบรรเทาได้ แต่ถ้าเกิดใช้แล้วไม่ดีขึ้น ควรพบแพทย์เพื่อตรวจดูอาการและรับยาที่เหมาะสมกับอาการจะดีที่สุด
ยาแก้ไอมีกี่กลุ่ม
แห้ง กับ ไอแบบมีเสมหะ ตัวยาแก้ไอแห้งจะช่วยลดการตอบสนองของร่างกายเรา ทำให้เราไอน้อยลง แต่บางครั้งเราไอแล้วมีเสมหะในลำคอของเรา เราจำเป็นต้องทานยาที่มีฤทธิ์ต่อเสมหะ หรือที่เราเรียกว่า ยาแก้ไอละลายเสมหะ ซึ่งยาแก้ไอทั้งสองแบบมีสรรพคุณในการรักษาอาการที่ต่างกัน จำเป็นต้องทานให้เหมาะสมกับอาการ ยาแก้ไอจึงแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่
1. ยาแก้ไอแบบมีเสมหะ
ยาแก้ไอแบบมีเสมหะ หรือ ยาแก้เสมหะ เป็นยาที่ใช้ก็ต่อเมื่อเรามีเสมหะอยู่ในลำคอเมื่อเรามีอาการไอหรือเป็นไข้ ยาแก้ไอแบบเสมหะมีอยู่สองประเภท คือ ยาขับเสมหะ กับ ยาละลายเสมหะ
2. ยาแก้ไอแห้ง
ยาแก้ไอแห้ง เป็นยาที่ช่วยบรรเทาอาการไอที่ไม่มีเสมหะ ช่วยบรรเทาอาการระคายเคืองในลำคอ โดยมีฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง
ยาแก้ไอแบบมีเสมหะ
1. ยาขับเสมหะ (Expectorants)
ยาแก้ไอประเภทนี้ช่วยให้ร่างกายสร้างเมือกในระบบทางเดินหายใจเพื่อช่วยทำให้เสมหะเหลวตัวและลดความเข้มข้นของเสมหะ ในเวลาที่ไอออกมาจะทำให้ขับเสมหะออกมาได้ง่ายขึ้น จึงเรียกว่ายาขับเสมหะ มีตัวยาสำคัญที่นิยมใช้คือ Guaifenesin ใช้ในการรักษาและบรรเทาอาการไอมีเสมหะ ที่เกิดจากไข้หวัด ห้ามใช้ยาตัวนี้กับเด็กอายุน้อยกว่า 4 ปี ผู้ที่ตั้งครรภ์และมีประวัติแพ้ยาควรปรึกษาแพ้ก่อนใช้ยาขับเสมหะ
2. ยาละลายเสมหะ (Mucolytics)
ยาแก้ไอที่ทานเข้าไปแล้วจะทำปฏิกิริยากับโปรตีนในเสมหะ ช่วยให้เสมหะไม่เกาะตัวไม่เหนียวข้นภายในลำคอ และสามารถขับออกมาได้ง่าย ตัวยาสำคัญ ได้แก่ Ambroxol hydrochloride Bromhexine Carbocysteine ช่วยลดความเข้มข้นและเหนียวของเสมหะ การใช้ยาละลายเสมหะก็มีข้อควรระวังเช่นกัน ทานแล้วอาจมีผลข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหาร กระเพาะอาหาร และ ลำไส้ หากมีอาการข้างเคียงรุนแรงต้องรีบไปพบแพทย์ทันที
ยาแก้ไอแห้ง
ยาแก้ไอแห้ง หรือ ที่เรียกว่ายา Antitussive มีผลในการกดอาการไอด้วยฤทธิ์ของยาที่มีผลต่อระบบประสาท ร่างกายของผู้ทานยาแก้ไอประเภทนี้จะตอบสนองต่อการระคายเคืองภายในระบบทางเดินหายใจ ช่วยบรรเทาอาการไอ เหมาะสำหรับอาการไอแห้งไม่มีเสมหะ ตัวยาที่นิยมใช้ได้แก่ ตัวยา Codeine โดยได้ชื่อทางการค้าว่า Terco-C Codesia เป็นต้น เนื่องจากยาแก้ไอมักผสมยาตัวอื่น เพื่อรักษาอาการอื่น การใช้ยาจึงควรเลือกให้เหมาะสมกับอาการที่เป็นอยู่มากที่สุด
วิธีเลือกยาแก้ไอ
1. เลือกตามอาการไอ
สำรวจอาการป่วยของตัวเองแล้วเลือกยาแก้ไอตามอาการที่เป็นอยู่ ถ้าไอแห้งไม่มีเสมหะก็เลือกยาแก้ไอแห้ง แต่ถ้ามีเสมหะหรืออาการอื่นๆ ให้เลือกยาแก้ไอที่มีผลบรรเทาอาการใกล้เคียงกับที่เป็น
2. เลือกจากสาเหตุของการไอ
เลือกยาแก้ไอตามสาเหตุของอาการไอ สาเหตุที่ต่างกันก็ส่งผลต่อการรักษาอาการที่ต่างกัน อย่างเช่น ถ้าเกิดไอแห้งเฉยๆ ก็ทานแค่ยาแค่ไอแห้งพอ
3. เลือกจากรูปแบบของตัวยาแก้ไอ
การเลือกยาแก้ไอในรูปแบบต่างๆ ขึ้นอยู่กับตัวบุคคล ยาแก้ไอเด็กที่เป็นน้ำก็เหมาะสำหรับเด็กที่มีอาการไอ หรือ บางคนไม่ชอบทานยาเลย ก็อาจให้ยาจิบแก้ไอ หรือ ยาอมแก้ไอ คันคอ กับเขาแทน
แนะนำวิธีใช้ยาแก้ไอและปริมาณที่เหมาะสม
โดยปกติแล้ว เราควรกินยาแก้ไอก็ต่อเมื่อมีอาการเท่านั้น การกินยาแก้ไอควรกินหลังรับประทานอาหาร วันละ 3 ครั้ง กินครั้งละ 1 เม็ด หรือ 1 ช้อนสำหรับยาน้ำแก้ไอ ควรอ่านฉลากยาทุกครั้งก่อนทานยา เพื่อความปลอดภัย และ หลีกเลี่ยงผลข้างเคียง
ข้อควรระวังในการใช้ยาแก้ไอ
1.ถ้ามีอาการไอ ให้รับประทานยาแก้ไอในปริมาณที่เหมาะสมตามอาการที่เป็นอยู่
2.เวลาซื้อยาหรือไปพบแพทย์ ควรแจ้งประวัติการแพ้ยาหรือปัญหาเรื่องสุขภาพเพื่อป้องกันการแพ้ยา
3.ควรระมัดระวังในการใช้ยากับเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี ต้องมีการปรึกษาแพทย์ก่อน และ ห้ามใช้ยากับเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี
4.ถ้าทานยาแก้ไอไม่ว่าประเภทใดก็ตาม แล้วอาการไม่ดีขึ้นภายใน 2 สัปดาห์ ควรปรึกษาแพทย์
5.สตรีมีครรภ์ ผู้สูงอายุ ควรปรึกษาแพทย์และระมัดระวังทุกครั้งที่ใช้ยา
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากยาแก้ไอ
1.ยาบรรเทาอาการไอ : เมื่อพบอาการแปลกๆหลังทานยาแก้ไอ ไม่ว่าจะเป็น คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง หัวใจเต้นเร็ว หรือ อาการอื่นๆ ที่เสี่ยงเป็นอันตรายให้รีบพบแพทย์โดยด่วน
2.ยาละลายเสมหะ : ผลข้างเคียงที่พบมักเป็นขับถ่ายออกมาเป็นสีดำ เพราะมีเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร
3.ยาขับเสมหะ : เกิดอาการปั่นป่วนในกระเพราะอาหาร หรือ คลื่นไส้ อาเจียนออกมาอย่างหนัก ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน
อาการแพ้ยาแก้ไอ
อาการของผู้ที่แพ้อาการแก้ไอ ได้แก่ มีผื่นขึ้น แน่นหน้าอกหายใจไม่ออก วิงเวียนศีรษะ หรือ อาการข้างเคียงอื่นๆ ที่มีความรุนแรง ควรรบพาผู้ป่วยไปพบแพทย์โดยทันที
ยาแก้ไอราคาเท่าไหร่
ยาแก้ไอสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยา และ ร้านสะดวกซื้อ 7- 11 ใกล้บ้าน ในราคาที่ไม่แพงนัก มีตั้งแต่ 20 - 300 บาท เมื่อมีอาการไอก็สามารถไปซื้อยาได้เลย ปัจจุบันเซเว่นหลายแห่งก็มีแผนกเภสัชกรจำหน่ายยาให้กับลูกค้าแล้ว
วิธีเก็บรักษายาแก้ไอ
จะเป็นยาแก้ไอ ยาขับเสมหะ หรือ ยาแก้ไอรูปแบบอื่นๆ ก็มีวิธีเก็บรักษาที่คล้ายกัน คือ เก็บไว้ในอุณหภูมิห้อง ปิดฝาหรือบรรจุไว้ในภาชนะที่ปิดสนิท อย่าให้สัมผัสแสงแดดหรือความชื้นเป็นเวลานาน และต้องเก็บให้ห่างจากมือเด็กป้องกันเด็กหยิบไปทานเอง
วิธีอื่นที่ช่วยรักษาอาการไอ
1. ใช้สมุนไพรแก้ไอ
นอกจากยาแก้ไอแล้ว ยังมีสมุนไพรที่นำมาทำเป็นยาที่ช่วยบรรเทาอาการไอได้เช่นกัน อย่างเช่น มะขาม ขิง เป็นต้น
2. ดื่มน้ำอุ่นบรรเทาอาการเจ็บคอ
การดื่มน้ำอุ่นช่วยให้บรรเทาอาการระคายเคืองและอักเสบบริเวณคอได้เช่นกัน หลังทานยาแก้ไอแล้วก็หาน้ำอุ่นมาจิบ ช่วยให้รู้สึกสบายบริเวณลำคอที่อักเสบ
3. ใข้สเปรย์พ่นคอ
สเปรย์พ่นคอก็ช่วยบรรเทาอาการไอและเจ็บคอได้เช่นกันเนื่องจากผลิตภัณฑ์สเปรย์บางตัวทำจากสมุนไพรที่มีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการระคายเคืองในลำคอ
4. การกลั้วคอด้วยน้ำเกลือ
ทางวิทยาศาสตร์การกลั้วคอด้วยน้ำเกลือช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอได้จริง น้ำเกลือจะช่วยทำให้ลำคอชุ่มชื่น สบาย บรรเทาอาการระคายเคือง ช่วยฆ่าเชื้อโรคในลำคอ
คำถามที่พบบ่อย
หากใช้ยาแก้ไอเกินขนาด ต้องทำอย่างไร
ถ้าเกิดทานยาแก้ไอ หรือ ยาละลายเสมหะ แล้วเกิดผลข้างเคียงอย่างรุนแรง ขอให้รีบไปพบแพทย์โดยด่วน เพราะอาจอันตรายถึงชีวิต
หากลืมทานยาแก้ไอ ควรทำอย่างไร
ถ้ายังมีอาการไอหลังรับประทานอาหารก็ให้ทานยาแก้ไอตามปกติ ห้ามทานเกินขนาดเด็ดขาด
ยาแก้ไอทานแล้วง่วงจริงหรือไม่
เนื่องจากว่ายาแก้ไอบางตัวมีส่วนผสมของสารที่ออกฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง ซึ่งส่งผลให้มีอาการง่วงได้จริง แต่ถ้าอาการข้างเคียงที่ว่ารุนแรง หรือ มีอาการอื่นเกิดขึ้น ให้รีบพาไปพบแพทย์ให้ไวที่สุด
ข้อสรุป
การใช้ยาแก้ไอควรใช้ในรูปแบบที่เหมาะสมกับบุคคล และ ต้องดูอาการว่ามีอาการไอแบบใด ไอแห้ง ไอมีเสมหะ ก่อนรับประทานยา เพื่อให้ยารักษาตรงอาการที่สุด ไม่ว่าจะเป็นยาแก้ไอ ยาขับเสมหะ ยาละลายเสมหะ ก็ต้องทานในปริมาณที่เหมาะสม ถ้าเกิดมีอาการข้างเคียงเกิดขึ้นหลังรับประทานยาต้องไปพบแพทย์โดยด่วน
นอกจากการรับประทานยาแก้ไอแล้วก็ยังมีวิธีอื่นๆ ที่ช่วยบรรเทาอาการไอได้ สำหรับผู้ที่แพ้ยาหรือทานยาไปแล้ว แต่ต้องการวิธีอื่นเพื่อช่วยบรรเทาอาการ แต่สำคัญที่สุดคือ ถ้าอาการไม่ดีขึ้นเลยหลังทานยาหรือใช้วิธีต่างๆ แล้ว ขอให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจดูอาการอีกครั้ง เพื่อหาสาเหตุและวิธีการรักษาต่อไป