กราวเขียว หรือ ตะพาบหัวกบ สัตว์แปลกๆตะพาบ..อะไรก็ไม่รู้..หัวเหมือนกบ
กราวเขียว หรือ ตะพาบหัวกบ สัตว์แปลกๆตะพาบ..อะไรก็ไม่รู้..หัวเหมือนกบ
วันนี้ก็จะนำเสนอเรื่องสัตว์โลกแปลกๆตามเคยนะครับเราก็ชอบสรรหาอะไรที่มันแปลกๆใหม่ๆมานำเสนอเพื่อเปิดโลกทัศน์ชีวิตสัตว์โลกที่ยังไม่รู้อีกมากมายเรารู้เราพบเราจะมานำเสนอให้เพื่อนๆได้ชมได้อ่านกัน
ถ้าเอ่ยชื่อว่าตัว กราวเขียว ทุกๆคนก็คงจะงงล่ะครับว่า ไม่รู้ว่ามันคือตัวอะไรกันแน่ เป็นต้นไม้หรือว่าสัตว์หรือว่าอะไรกัน....แต่ถ้าบอกว่ามันคือชื่อของตะพาบชนิดหนึ่งที่ชื่อ..ตะพาบหัวกบ รายละเอียดของตะพาบตัวนี้จะเป็นอย่างไรเดี๋ยวเราเข้าไปชมรายละเอียดอ่านกันเลยนะครับ
กราวเขียว หรือ ตะพาบหัวกบ (อังกฤษ: Asian giant softshell turtles) เป็นสกุลของตะพาบจำพวกหนึ่ง พบกระจายพันธุ์อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pelochelys
ข้อมูลเบื้องต้น กราวเขียว, การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ ...
มีด้วยกันทั้งสิ้น 3 ชนิด ได้แก่
P. bibroni พบได้ในอินโดนีเซีย, ปาปัวนิวกินี จนถึงออสเตรเลียทางตอนเหนือ
P. cantori พบได้ในภูมิภาคอินโดจีน นับเป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุด
P. signifera พบในปาปัวนิวกินี เป็นชนิดที่เพิ่งได้รับการอนุกรมวิธานไปเมื่อปี ค.ศ. 2002
และอีก 2 ชนิด ที่ยังไม่มีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ชัดเจน
👉🏿พบอาศัยอยู่ระหว่างอินเดียและพม่า ยังไม่มีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์อย่างเป็นทางการ
อีกชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายกับ P. bibroni แต่ขอบกระดองมีลายจุดเป็นดวงสีเหลืองอ่อนเห็นชัดเจน
ซึ่งมีการพบตัวอย่างจากธรรมชาติแค่ไม่กี่ครั้งเท่านั้น
ทุกชนิดมีลักษณะคล้ายคลึงกัน ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลเขียว ด้านล่างสีอ่อน หัวมีลักษณะเล็กสั้นคล้ายกบหรืออึ่งอ่าง จึงเป็นที่มาของชื่อ ตามีขนาดเล็ก
เมื่อเล็ก ๆ ในบางตัวอาจมีจุดสีเหลืองเล็ก ๆ กระจายทั่วไป เมื่อโตขึ้นจะกลายเป็นสีน้ำตาลเขียวแทน โดยไม่มีลวดลายใด ๆ
ขนาดโตเต็มที่อาจยาวได้ถึง 1 เมตร นับเป็นตะพาบสกุลที่มีความใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 รองจากสกุล Chitra มีพฤติกรรมชอบซุ่มซ่อนตัวใต้พื้นทรายใต้น้ำ เพื่อรอดักเหยื่อ ซึ่งได้แก่ สัตว์น้ำต่าง ๆ รวมถึงสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำขนาดเล็กด้วย
อ้างอิงจาก: วิกิพีเดีย และ YouTube