หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ย้อนรอย!! ไทยเคยโดน "ติดธงแดง" ยังไม่มีการกำกับดูแลมาตรฐานความปลอดภัยด้านการบินพลเรือนอย่างเพียงพอภายใต้มาตรฐานของ ICAO

โพสท์โดย ลูกสาวอบต

 

มาย้อนรอยไทยเคยโดน "ติดธงแดง" ในช่วงปี 2558  ไทยเผชิญปัญหาวิกฤตการบิน จาก องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO)  ที่ได้เข้ามาตรวจสอบ อย่างเต็มรูปแบบ เจอในข้อบกพร่อง 7 ด้าน ได้แก่ ด้านกฎหมายและระเบียบ, ด้านการจัดการองค์กรกำกับดูแล, ด้านการออกใบอนุญาตผู้ประจำหน้าที่, ด้านการปฏิบัติการบิน, ด้านความสมควรเดินอากาศของอากาศยาน, ด้านบริการการเดินอากาศ และด้านสนามบิน

"ธงแดง" ของ ICAO นั้นหมายความว่า ในตอนนั้น ไทยถูก ICAO ประเมินว่า เป็นประเทศที่มีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยด้านการบินพลเรือน จากการที่ไทยไม่สามารถกำกับดูแลมาตรฐานความปลอดภัยการบินของประเทศให้ได้ตามมาตรฐานสากล  ก่อให้เกิดผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนานาชาติ หรือพูดเป็นภาษาชาวบ้านคือ ICAO มองว่า เครื่องบินและบุคลากรทางการบินของไทย ไม่มีความปลอดภัยเพียงพอในการให้บริการด้านการบินนั่นเอง

ซึ่งพบว่า ไทยมีข้อบกพร่องมากถึง 33 ข้อ ที่มีนัยสำคัญต่อความปลอดภัย โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับกระบวนการออกใบรับรองผู้ดำเนินการเดินอากาศ 

 

1. ICAO (International Civil Aviation Organization) เข้ามาตรวจสอบการกำกับดูแลความปลอดภัยด้านการบินของประเทศไทยในเดือนมกราคม พ.ศ. 2558 โดยตรวจพบว่า มีข้อบกพร่อง จำนวน 572 ข้อ และมีข้อบกพร่องที่มีนัยสำคัญต่อความปลอดภัย (Significant Safety Concerns: SSC) อยู่ 33 ข้อ ซึ่งขณะนั้นหน่วยงานที่กำกับดูแลด้านการบินพลเรือน คือ กรมการบินพลเรือน

2. ทาง  ICAO ได้ประกาศติดธงแดงไทยบนเว็บไซต์ เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2558 ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงว่า ไทยยังไม่มีการกำกับดูแลมาตรฐานความปลอดภัยด้านการบินพลเรือนอย่างเพียงพอภายใต้มาตรฐานของ ICAO

3. ปรับโครงสร้างองค์การกำกับดูแลการบินพลเรือน ไม่ให้เกิดการ ทับซ้อน และมีประสิทธิภาพ  แยกหน่วยงานปฏิบัติกับหน่วยงานกำกับดูแลด้านการบินพลเรือนออกจากกันอย่างเด็ดขาด โดยได้ยุบกรมการบินพลเรือนและจัดตั้งสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย หรือ CAAT

ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ ที่ไม่ใช่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ทำหน้าที่กำกับดูแลด้านความปลอดภัย  การรักษาความปลอดภัยและกิจการการบินพลเรือน โดยภารกิจด้านสนามบินได้โอนให้กรมท่าอากาศยาน  และภารกิจด้านการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัย และการสอบสวนอุบัติเหตุที่เกี่ยวกับอากาศยาน โอนให้เป็นของสำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม

4. ได้ปรับปรุงกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนการทำงาน คู่มือ Checklist รวมถึงจัดการฝึกอบรมที่เหมาะสมให้กับพนักงานและผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนปรับปรุงระบบการออกใบรับรองผู้ดำเนินการเดินอากาศ (Air Operator Certificate) ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ ICAO กำหนด

5. ในที่สุด 6 ตุลาคม 2560 ICAO SSC Committee ได้พิจารณาเห็นชอบให้ประเทศไทยพ้นจากการเป็นประเทศที่มีข้อบกพร่องที่มีนัยสำคัญต่อความปลอดภัย (Significant Safety Concerns) และด้วยผลจากมติดังกล่าว สถานภาพในเว็บไซต์ของ ICAO ในส่วนของ Safety Audit Results ซึ่งเคยมีรูปธงแดงอยู่ด้านหน้าชื่อประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 18 มิถุนายน 2558 ได้รับการถอดออก ทำให้ประเทศไทยสามารถ “ปลดธงแดง” ได้สำเร็จ

 

อีกทั้ง   FAA  หรือ องค์การบริหารการบินแห่งสหรัฐอเมริกา (Federal Aviation Administration) ได้เข้าตรวจสอบไทยมาแล้ว 2 ครั้ง และเคยถูกลดอันดับเป็น Category 2  

ซึ่งประเทศที่ถูกลดอันดับจาก Category 1 มาเป็น Category 2 ส่งผลกระทบโดยตรงที่ไทยได้รับนอกจากการห้ามเพิ่มเที่ยวบิน การห้ามทำ Code Sharing แล้วสายการบินของไทยที่ทำการบินเข้าสหรัฐฯ จะถูกตรวจสอบ ณ ลานจอด  อย่างเข้มข้นขึ้น

1.โดยในปี 2539 เป็นปีแรกที่ FAA เข้าตรวจไทย และไทยถูกลดมาอันดับเป็น Category 2 เนื่องจากผู้ตรวจของกรมการบินพลเรือน  มีเพียงนักบินพาณิชย์ตรี แต่นักบินเหล่าพาณิชย์ตรีนั้นต้องตรวจนักบินพาณิชย์เอกของสายการบินต่างๆ อาทิ การบินไทย ประกอบกับไทยยังไม่มีคู่มือสำหรับปฏิบัติใดๆ ซึ่งไทยสามารถทำการแก้ไขจนกลับมาเป็น Category 1 ในระยะเวลา 6 เดือน

2. กพท.ต้องมีการทบทวนการออกใบอนุญาตนักบินให้กับสายการบินต่างๆ รวมแล้วกว่า 5 พันคน และมีการแจ้งกับ FAA ว่าจะใช้วิธีมอบอำนาจให้นักบินเข้ามาช่วยกพท.ในการตรวจสอบนักบิน ช่วยลดเวลาออกใบอนุญาตนักบิน


2. ปี 2550 หลังจากมีเหตุการณ์สายการบิน One To Go ตกที่ จ.ภูเก็ต FAA จึงขอเข้าตรวจไทย และพบข้อบกพร่องของ ICAO ในปี 2548 ในเรื่อง กบร.4 ครั้งนี้ไทยไม่ถูกลดอันดับ ต้องใช้เวลาประมาณ 1 ปี เพื่อแก้ไขโดยการออกข้อบังคับของคณะกรรมการการบินพลเรือนตามมาอีกหลายฉบับ

3. มีการตรวจประเมินตามโครงการยกระดับมาตรฐานการกำกับดูแลด้านความปลอดภัยตามการประเมินความปลอดภัยการบินระหว่างประเทศ (IASA: International Aviation Safety Assessment) ของ FAA โดยมีเป้าหมายเดิมคือเพื่อยกระดับประเทศไทยกลับคืนสู่ Category 1 ในปี 2564 ที่ผ่านมา

 

และนี่คือผลการประเมินเบื้องต้นที่ผ่านมาตรฐานสากลแล้ว แต่กิจกกรรม และการบริหารในอุตสาหกรรมทางการบินของไทยที่ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง อาจเป็นที่จับตาของทั้ง ICAO FAA และ EASA และเข้ามาประเมินมาตรฐานได้ทุกเมื่อ 

โพสท์โดย: ลูกสาวอบต
อ้างอิงจาก: https://www.pmdu.go.th/unlock-icao-red-flag/
https://www.facebook.com/sonicethaicrew/posts/1130637140346360/
สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
ลูกสาวอบต's profile


โพสท์โดย: ลูกสาวอบต
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
5 VOTES (5/5 จาก 1 คน)
VOTED: มยุริญ ผดผื่นคัน
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
พิซซ่าหน้ากบ พิซซ่าหน้าเต่าของพิซซ่าฮัท10 ความจริงที่คุณอาจไม่เคยรู้เกี่ยวกับน้ำดื่ม ที่จะเปลี่ยนวิธีคิดของคุณไปตลอดกาลแฮกเกอร์ชื่อ 0Mid16B อ้างว่าขโมยข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก The1 กว่า 5 ล้านรายแก๊งน้ำไม่อาบ ประสบอุบัติเหตุสังเวยชีวิตแล้ว 6 ราย หลังชนท้ายรถพ่วงและร้านค้าของชาวบ้านแฮกเกอร์ไทยสร้างตำนาน!เห็นชื่อทีมแล้วพีค พิธีกรอ่านทีลุ้นตามกันทั้งงานหนุ่มเดินขายลอตเตอรีระหว่างขึ้นภูกระดึง ได้เที่ยว ได้ตังค์ นี่มัน work and travel ของแท้
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
แฮกเกอร์ไทยสร้างตำนาน!เห็นชื่อทีมแล้วพีค พิธีกรอ่านทีลุ้นตามกันทั้งงาน"พชร์" ลั่น! เรื่องของxึง xูไม่เสือxก็ได้..หลังจะช่วยเคลียร์ใจ "มอส-เต๋า" ทะเลาะกันเจ้าอาวาสหลับลึกเกิน ปลุกกันทั้งวัดก็ยังไม่ตื่น ถึงกับต้องงัดประตูไปช่วย ลูกศิษย์บอกเพราะท่านหูตึงแก๊งน้ำไม่อาบ ประสบอุบัติเหตุสังเวยชีวิตแล้ว 6 ราย หลังชนท้ายรถพ่วงและร้านค้าของชาวบ้าน
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
พ.ร.บ. รถยนต์สำคัญอย่างไร? ทำไมรถทุกคันต้องต่อ พ.ร.บ. ทุกปี10 พฤติกรรมเล็กๆ ที่ทำให้คุณเสียเงินโดยไม่รู้ตัว (และวิธีแก้ไขง่ายๆ)วิ่งวันละนิดชีวิตแจ่มใสประโยชน์และผลข้างเคียงจากการช่วยตัวเอง
ตั้งกระทู้ใหม่