Malayan tapir สมเสร็จมาลายู สัตว์รูปร่างแปลกประหลาด มีลักษณะของสัตว์หลายชนิดผสมอยู่ในตัวเดียวกัน
Malayan tapir สมเสร็จมาลายูสัตว์รูปร่างแปลกประหลาด มีลักษณะของสัตว์หลายชนิดผสมอยู่ในตัวเดียวกัน
Malayan tapir สมเสร็จมาลายูหรืออีกชื่อหรือว่าผสมเสร็จมันเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีรูปร่างแปลกประหลาด มีลักษณะของสัตว์หลายชนิดผสมอยู่ในตัวเดียวกัน
แค่นี้ก็รู้สึกว่าแปลกแล้วใช่ไม่ล่ะอย่างนั้นเรามาดูข้อมูลตัวผสมเสร็จกันดีกว่า...
สมเสร็จมลายู หรือ สมเสร็จเอเชีย (อังกฤษ: Malayan tapir, Asian tapir) บ้างเรียก ผสมเสร็จ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กีบคี่ นับเป็นสมเสร็จชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเป็นชนิดเดียวที่พบในทวีปเอเชีย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tapirus indicus
ข้อมูลเบื้องต้น สมเสร็จมลายู, สถานะการอนุรักษ์ ...ใกล้สูญพันธุ์
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ของสมเสร็จมลายู (สีเขียวเข้ม-สถานที่ ๆ พบภายในปี ค.ศ. 2003, สีเขียวอ่อน-สถานที่ ๆ เคยพบในอดีต)
ลักษณะ
สมเสร็จมลายูเป็นสัตว์มีหน้าตาประหลาด คือ มีลักษณะของสัตว์หลายชนิดผสมอยู่ในตัวเดียวกัน มีจมูกที่ยื่นยาวออกมาคล้ายงวงของช้าง
รูปร่างหน้าตาคล้ายหมูที่มีขายาว หางสั้นคล้ายหมีและมีกีบเท้าคล้ายแรด ลักษณะเด่น คือ บริเวณส่วนหัวไหล่และขาทั้งสี่ข้างมีสีดำ ส่วนกลางลำตัวเป็นสีขาว
ใบหูกลม ขนปลายหูและริมฝีปากมีสีขาว มีแผ่นหนังหนาบริเวณสันก้านคอเพื่อป้องกันการโจมตีของเสือโคร่ง ที่จะตะปบกัดบริเวณก้านคอ ลูกที่เกิดใหม่จะมีลวดลายคล้ายแตงไทยและขนยาว และลายนี้จะค่อย ๆ จางลงเมื่ออายุได้ 6-8 เดือน
ตัวผู้จะมีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย โตเต็มที่ความยาวลำตัวและหัว 220-240 เซนติเมตร ความยาวหาง 5-10 เซนติเมตร ความสูงจากพื้นดินถึงหัวไหล่ 100 เซนติเมตร มีน้ำหนัก 250-300 กิโลกรัม
แหล่งอาศัย
มีการกระจายพันธุ์อยู่ในภาคใต้ของพม่า, ภาคใต้และภาคตะวันตกของไทย, มาเลเซีย และเกาะสุมาตรา
ถิ่นที่อยู่และแหล่งอาหารอาศัยและหากินอยู่ตามลำพัง มักอาศัยในป่าที่มีความชื้นสูงและอยู่ไม่ไกลจากแหล่งน้ำ เนื่องจากชอบแช่น้ำ เมื่อหลบภัยก็จะหลบไปหนีแช่ในน้ำจนกว่าแน่ใจว่าปลอดภัยแล้วจึงขึ้นมา รวมทั้งผสมพันธุ์ในน้ำด้วย มีความสามารถว่ายน้ำได้เก่ง อาหารของสมเสร็จได้แก่ ยอดไม้อ่อน, ยอดหวาย, หน่อไม้ นอกจากนี้ยังกินดินโป่งเพื่อเพิ่มแร่ธาตุให้แก่ร่างกาย
ออกหากินในเวลากลางคืน มีนิสัยชอบถ่ายมูลซ้ำในที่เดิมจนเป็นกองใหญ่ มีสายตาไม่ดีนัก แต่มีระบบประสาทดมกลิ่นและฟังเสียงที่ดีมาก มักใช้จมูกที่ยาวเหมือนงวงช้างช่วยในการดมกลิ่นหาอาหาร และใช้คอที่หนาดันตัวเองเข้าพุ่มไม้ มีการเคลื่อนไหวตัวที่เงียบมาก
ปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าสงวนตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535
อ้างอิงจาก: วิกิพีเดีย