ใส่ใจเด็กในครอบครัวเมื่อมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป เพื่อจะได้แก้ปัญหาได้ทันท่วงที
หากเราติดตามข่าวสารประจำวัน จะได้รับข่าวมากมายที่เกี่ยวกับเยาวชน เด็ก และความเสี่ยงต่างๆที่อาจเกิดขึ้นได้ เพราะเด็กและเยาวชนเหล่านี้สามารถเข้าถึงสื่อหลายช่องทาง ที่แม้แต่ผู้ใหญ่อย่างเรายังไม่สามารถรู้ได้อย่างทั่วถึง อีกทั้งยังมีเนื้อหาและคอนเทนต์ที่ไม่มีการผ่านการกรองหรือเซ็นเซอร์จากหน่วยงานใดๆ เด็กที่ยังไม่มีวุฒิภาวะจึงกลายเป็นเหยื่อและเป็นเป้าสำหรับคนที่อาจจะก่ออาชญากรรมกับเด็กและเยาวชนได้ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่อันตรายต่อสถาบันครอบครัวอย่างมาก เพราะถ้าหากครอบครัวไม่แข็งแรง เด็กไม่มีภูมิต้านทานในเรื่องนี้ เด็กจะตกเป็นเหยื่อได้ง่าย และหากเกิดอะไรขึ้นมา อาจจะสายเกินกว่าแก้ได้
เพราะฉะนั้นแล้ว พ่อแม่ผู้ใหญ่ ผู้ปกครองควรสังเกตพฤติกรรมและสอบถามอย่างใกล้ชิด หากมีความรู้สึกว่ามีสิ่งใดผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นการเก็บตัวเงียบขึ้น ไม่สุงสิงกับใครในบ้าน ไม่พูดไม่คุย หลบตา ผู้ใหญ่ควรหาเวลาเปิดใจคุยและรับฟังในปัญหาที่อาจเกิดขึ้น หรือถ้าเรื่องที่เกิดขึ้นนั้นบานปลายจนไม่สามารถหาทางออกได้ ควรพาเด็กไปปรึกษาจิตเวชเด็กและหมอที่เชี่ยวชาญในเรื่องนี้โดยเฉพาะ เพื่อให้เราสามารถแก้ปัญหากับสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้องและทำให้เด็กมีความแข็งแรงทั้งกายและใจ ได้ฟื้นฟูสภาพจิตใจหลังจากเผชิญเรื่องราวต่างๆ เว็บไซต์ abnormalbehaviorchild ได้แชร์บทความเกี่ยวกับ พฤติกรรมของเด็กที่เกิดการสุ่มเสี่ยง ซึ่งมีทั้ง พฤติกรรมของเด็กที่มีแนวโน้มโตขึ้นมาอาจจะเป็นเด็กที่ชอบโกโหก เด็กเล็ก หรือเด็กที่มีอายุประมาณ 3-4 ขวบสมองสั่งการยังไม่เต็มที่มากนักจึงยังไม่แน่ใจว่าสิ่งที่พูดออกมานั้น เป็นสิ่งที่ผิดหรือถูก หรือเป็นการโกหกหรือไม่ เพราะเด็กจะยังไม่ทราบว่าอันไหนคือความจริง เด็กบางคนพูดคุยกับการ์ตูนที่ตนเองสนิท และพูดคุยถึงเรื่องราวต่างๆที่ได้พบเห็นในภาพยนตร์ที่เพิ่งรับชมมา แต่หากไม่เชิงพูดปด เพราะสิ่งเหล่านั้น คือการพูดถึงเรื่องความฝันของเด็กคนนั้นต่างหาก แต่ใช่ว่าสิ่งเหล่านี้จะถือว่าเด็กคนนั้น ต้องกายเป็นเด็กที่ชอบพูดโกหก เราไม่ควรดุ หรือว่าเด็ก โกหก เราควรรับฟัง และอธิบายให้เขาเข้าใจว่า สิ่งที่พูดออกมานั้น ไม่เป็นความจริงบางอย่าง เด็กๆจะค่อยๆเรียนรู้ในสิ่งที่ตนเองนั้น พูดไม่เป็นความจริงด้วยตัวเด็กเอง เมื่ออายุเข้าสู่ 7-8 ขวบ เด็กคนนั้นควรแยกแยะออกแล้ว ว่าสิ่งไหนพูดจริง และสิ่งไหนคือการพูดโกหก แต่หากเด็กยังไม่เลิกการโกหกอีก เราต้องมาหาสาเหตุกัน ว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร ปัญหาเหล่านี้ จะติดตัวไปจนถึงอายุมาก และกายเป็นว่าต้องพูดออกมาสม่ำเสมอ พ่อแม่ควรอธิบายในสิ่งที่เขากำลังทำ และให้เข้าใจว่าการโกหก เป็นสิ่งที่ไม่ดี พฤติกรรมของเด็กสุ่มเสี่ยงจะเป็นขโมย หรือพูดจาหยาบคาย สิ่งเหล่านี้ คือการแสดงออกมาจากจิตใต้สำนึก และไม่บ่อยครั้งที่จะเห็นเด็กแสดงออกมาเพื่อต่อต้านสังคม หรือความรุนแรงในอนาคต สาเหตุที่เกิด อาจจะเป็นเรื่องครอบครัว พ่อแม่ ที่ทะเลาะกันอยู่บ่อยครั้ง จนทำให้ลูกเห็นและทำตาม และเข้าใจว่าการทำแบบนี้คือทางออกของอารมณ์ การพูดจาไม่ดี การขโมยของ ล้วนเป็นการแสดงออกทางด้านที่ผิด แต่เด็กก็คงยังอยากที่จะทำ และทดลองมัน พ่อแม่ควรรีบอรมรณ์ และอธิบายถึงสิ่งที่ไม่ดีให้ลูกเข้าใจด้วยเช่นกัน