จุดกำเนิดของอูฐ และ วิวัฒนาการ การปรับตัวของอูฐ มาถึงปัจจุบัน
จุดกำเนิดของอูฐ และ วิวัฒนาการ การปรับตัวของอูฐ มาถึงปัจจุบัน
นักวิทยาศาสตร์พบชิ้นส่วนกระดูกของอูฐบนเกาะของประเทศแคนาดาในเขตอาร์กติก อยู่ในพื้นที่ไกลกว่าจุดเหนือสุดของโลกที่เคยพบฟอสซิลอูฐก่อนหน้านี้ 750 กิโลเมตร แต่นั่นก็เป็นเวลา 3.5 ล้านปีมาแล้ว มีการพบเศษซากกระดูกของอูฐในเกาะเอลเลสเมียร์ ของประเทศแคนาดา
ค่อนข้างจะเป็นเรื่องเหลือเชื่อที่ว่าสัตว์ท่องทะเลทรายอันร้อนระอุชนิดนี้จะเคยมีถิ่นอาศัยในพื้นที่หนาวยะเยือกของเขตอาร์กติก ทีมนักวิทยาศาสตร์เปิดเผยว่า อูฐในสมัยดึกดำบรรพ์เดินทางไปมาในป่าไม้ที่หนาวเย็นซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าปัจจุบัน 30 เปอร์เซ็นต์ และอุณหภูมิในพื้นที่ขณะนั้นสูงกว่าตอนนี้ประมาณ 14-22 องศาเซลเซียส แต่ก็ถูกปกคลุมด้วยหิมะประมาณ 9 เดือนต่อปี
นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าอูฐได้ปรับสภาพร่างกายให้เหมาะสมกับอุณหภูมิในเขตขั้วโลกเหนือ โดยหนอกของพวกมันทำหน้าที่สะสมไขมัน
ซึ่งจะนำมาใช้ในช่วงอากาศหนาวที่หาอาหารได้ยาก ส่วนเท้าที่แบนและกว้างก็เพื่อช่วยในการทรงตัวขณะเดินบนหิมะ ส่วนในปัจจุบันก็มีประโยชน์ในการประคองร่างกายในทะเลทราย
ขณะที่ดวงตาใหญ่โตมีไว้เพื่อหาอาหารในสภาพดินฟ้าอากาศที่มืดครึ้มปีละหลายเดือน นาตาลี ริบซินสกี ผู้ศึกษาซากดึกดำบรรพ์ของพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติแห่งแคนาดา
ผู้นำการสำรวจในครั้งนี้ เปิดเผยว่า ทีมของเขาพบชิ้นส่วนกระดูกขาล่างของอูฐจำนวน 30 ชิ้น ในดินแดนที่อยู่ในละติจูดสูงสุดในโลกเท่าที่เคยพบมา
ซึ่งห่างจากจุดที่เคยพบฟอสซิลสัตว์ชนิดนี้ขึ้นไปทางเหนือ 1,200 กิโลเมตร นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า อูฐมีการกำเนิดสายพันธุ์ขึ้นในทวีปอเมริกาเหนือเมื่อประมาณ 45 ล้านปีก่อน
จากนั้นพวกมันก็กระจัดกระจายย้ายถิ่นไปยังยูเรเซียเมื่อ 7 ล้านปีที่แล้ว
โดยใช้พื้นดินที่เชื่อมระหว่างอะแลสกาและรัสเซีย (ในปัจจุบัน) ในการเดินทาง ส่วนซากฟอสซิลที่พบล่าสุดนี้อายุประมาณ 3.5 ล้านปี
นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ได้สกัดคอลลาเจนจากกระดูกของฟอสซิลที่พบ และเปรียบเทียบกับอูฐ 37 สปีชีส์ในปัจจุบัน พบว่าซากอูฐที่พบนี้มีลักษณะคล้ายยูคอน
อูฐหนอกเดียวขนาดใหญ่ที่สูญพันธุ์ไปในปัจจุบัน ซึ่งเป็นอูฐหนอกเดียวขนาดใหญ่ที่สูญพันธุ์ไปแล้วในช่วงยุคน้ำแข็ง
👉🏾การปรับตัวของอูฐ
โดยทั่ว ๆ ไป อุณหภูมิร่างกายคนเราจะไม่สูงเกินกว่า 37 องศาเซลเซียสได้มากนัก เมื่ออุณหภูมิสูงกว่าเกณฑ์ ร่างกายจะขับเหงื่อออกมาเพื่อให้อุณหภูมิของร่างกายลดลง แต่อูฐจะรับความร้อนได้ถึง 41 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิทั่วไป ในท้องทะเลทรายที่ร้อนระอุ เหงื่อของอูฐถึงจะหลั่งออกมา ดังนั้นอูฐจึงรักษาน้ำเอาไว้ในร่างกายได้มาก เนื่องจากในท้องทะเลทรายอุณหภูมิจะไม่สูงเกิน 41 องศาเซลเซียสตลอดเวลา
👉🏾ขนอูฐสามารถกันความร้อนภายนอกได้ แต่ขนอูฐจะไม่หนาหรือยาวเกินความจำเป็น มิฉะนั้นเหงื่อซึ่งระบายออกจากร่างกายจะไม่สามารถระเหยได้
👉🏾ระบบสรีระของอูฐสามารถทนทานต่อการสูญเสียน้ำในร่างกายได้ดี สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตัวอื่นจะตายทันทีเมื่อร่างกายสูญเสียน้ำเพียงร้อยละ 20 แต่อูฐสามารถทนอยู่ได้ แม้ร่างกายจะสูญเสียน้ำถึง ร้อยละ 40
👉🏾อูฐดื่มน้ำได้ครั้งละมาก ๆ อูฐบางตัวดื่มน้ำในปริมาณเกือบ 1 ใน 3 ของน้ำหนักตัวภายใน 10 นาที จากเหตุผลที่ว่ามา ทำให้อูฐสามารถเดินทางไกลในทะเลทรายได้โดยไม่ต้องดื่มน้ำบ่อย ๆ อูฐวิ่งได้เร็วกว่าชั่วโมงละ 16 กิโลเมตร เร็วพอ ๆ กับแกะ ในขณะที่คนวิ่งเร็วที่สุดเพียง 32 กิโลเมตรต่อชั่วโมง