ธรรมเนียมสินสอดของเกาหลี
ธรรมเนียมสินสอดของเกาหลี
ธรรมเนียมดั้งเดิมของการแต่งงานเกาหลี
ธรรมเนียมการแต่งงานแบบดั้งเดิมของเกาหลีถือว่าแตกต่างกับธรรมเนียมการแต่งงานของประเทศอื่นๆ
ที่อยู่ใกล้เคียงกัน หลายประเทศในแถบเอเชียรวมถึงไทยที่ส่วนใหญ่เวลาที่ผู้หญิงแต่งงานจะเป็นการแต่งออกจากบ้านเพื่อไปอยู่กับเจ้าบ่าว
แต่การแต่งงานแบบดั้งเดิมของเกาหลีที่มีมาตั้งแต่สมัยโกรยอ (고구려) เรียกว่า "서옥제" (ซออกเจ)
ซึ่งถือธรรมเนียมที่เมื่อแต่งงานฝ่ายชายจะต้องย้ายมาอยู่บ้านของผู้หญิง โดยบ้านของฝ่ายหญิงจะสร้างบ้านหลังเล็กๆให้กับคู่แต่งงานใหม่ และทั้งคู่จะต้องอาศัยอยู่ที่นี่จนกว่าลูกจะโต (หรืออายุประมาณ 10 ปี) ค่ะ
ซึ่งเมื่อฝ่ายหญิงต้องย้ายไปอยู่ที่บ้านฝ่ายชาย จะนำอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆติดตัวไปด้วยและหากครอบครัวฝ่ายหญิงมีฐานะร่ำรวย
ทางครอบครัวก็จะส่งของมีค่า, คนรับใช้และข้าวสารให้ไปด้วย เพื่อหวังว่าลูกสาวจะมีชีวิตที่สุขสบายค่ะ
ที่เกาหลีไม่มีธรรมเนียมการให้สินสอด (Dowry) มาตั้งแต่สมัยอดีต โดยมีความเชื่อว่า "การรับเงิน, ทองหรือของมีค่าสำหรับการแต่งงานเป็นเรื่องที่น่าอับอาย
เพราะเหมือนเป็นการขายลูกสาว" ดังนั้นตั้งแต่อดีตฝ่ายเจ้าบ่าวจะมอบเป็นผลผลิตการเกษตรหรือวัวเป็นของขวัญแต่งงานแทนการมอบเงินค่ะ
แต่ช่วงปลายของสมัยโชซอนระบบปิตาธิปไตย (Patriarchy: 가부장제) หรือระบบที่ถือผู้ชายเป็นใหญ่ ได้เริ่มมีบทบาทในสังคม ทำให้มีการนำแนวคิดว่า
"การแต่งงานควรจัดที่บ้านของฝ่ายชาย" มาใช้ แต่สุดท้ายแล้วคนเกาหลีในยุคนั้นก็ไม่ได้ทำตาม และยังคงจัดการแต่งงานที่บ้านเจ้าสาวค่ะ
แต่สิ่งที่เปลี่ยนแปลงคือธรรมเนียม "서옥제" (ซออกเจ)
โดยเปลี่ยนเป็นคู่แต่งงานที่เป็นลูกคนโตจะอาศัยอยู่กับพ่อแม่ที่อายุมาก
และคู่แต่งงานที่เป็นลูกคนรองหรือลูกคนเล็ก จะอาศัยอยู่กับพ่อแม่เพียงระยะหนึ่งและจะแยกบ้านออกมาอยู่เองในเวลาต่อมาค่ะ
ธรรมเนียมการแต่งงานที่เปลี่ยนไป
ช่วงปี 1960-1970 เป็นช่วงที่เกาหลีใต้เริ่มเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม คนวัยหนุ่มสาวจะนิยมมาทำงานในตัวเมือง
ขณะที่พ่อแม่จะทำการเกษตรอยู่ที่นอกเมือง
แ
ต่เมื่อแต่งงานแล้วคู่บ่าวสาวยังคงยึดธรรมเนียมการอยู่กับพ่อแม่ซักระยะและหลังจากนั้นก็จะแยกออกมาอยู่เองค่ะ
หลังจากช่วง IMF ธรรมเนียมการอาศัยอยู่กับพ่อแม่หลังแต่งงานก็ค่อยๆหายไป
แต่เมื่อแต่งงานแล้วคู่บ่าวสาวยังคงยึดธรรนอกทันทีหลังจากแต่งงาน แต่ความคิดเรื่องการแต่งงานที่ยังคงเหลืออยู่ก็คือ
"ความคิดที่ว่าผู้ชายต้องเป็นฝ่ายซื้อบ้าน" (남자는 집, 여자는 혼수) ค่ะ
โดยความคิดเรื่องการแต่งงานแบบนี้คือ ผู้ชายจะเป็นผู้จัดเตรียมบ้านในขณะที่ผู้หญิงจะเป็นผู้จัดเตรียมสิ่งของที่จำเป็นในบ้านและเงินสด
(10%~20%ของราคาบ้าน) ถูกปลูกฝังและเผยแพร่ให้คนเกาหลี ทำให้เชื่อกันว่านี่เป็นธรรมเนียมการแต่งงานที่ถูกต้องและเหมาะสมค่ะ
แม้ว่าเราจะพยายามค้นหาเหตุผลที่แท้จริงของธรรมเนียมการแต่งงานนี้ แต่ก็ไม่มีหลักฐานที่อธิบายอย่างชัดเจน
แต่จากการวิเคราะห์และพูดคุยกับคนเกาหลีทำให้เชื่อว่า
สมัยก่อนสังคมเกาหลีเป็นสังคมที่ผู้ชายเป็นหลัก ส่วนใหญ่ผู้ชายจะมีบทบาทในการหาเงินและมีโอกาสทำงานมากกว่า
นอกจากนั้นแม้ว่าจะทำงานในตำแหน่งหน้าที่เดียวกัน แต่มีแนวโน้มว่าผู้ชายจะได้รับเงินที่มากกว่าผู้หญิง
ดังนั้นในการแต่งงานผู้ชายจึงเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายหลักก็คือ "การซื้อบ้าน" ในขณะที่ผู้หญิงจะเป็นผู้จัดเตรียมอุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้านค่ะ
สำหรับธรรมเนียมการแต่งงานแบบนี้ศาสตราจารย์ด้านวัฒนธรรมการแต่งงานของ Keimyung University กล่าวว่า
"นี่ไม่ใช่ธรรมเนียมที่ถือปฎิบัติมาตั้งแต่ดั้งเดิมของเกาหลี เป็นเพียงธรรมเนียมที่ถูกสร้างขึ้นมาเมื่อไม่กี่ 10 ปีก่อนเท่านั้น"
และธรรมเนียมนี้ได้สร้างความทุกข์ทรมานให้กับคู่บ่าวสาวและพ่อแม่ที่ต้องหาเงินจำนวนมากค่ะ
ธรรมเนียมการแต่งงานในปัจจุบัน
จากการสำรวจเมื่อปี 2021 พบว่าค่าบ้านของคู่แต่งงานคือ 192.71 ล้านวอน (5.5 ล้านบาท) ในขณะที่ค่าเครื่องใช้ที่ฝ่ายหญิงต้องจัดเตรียมนั้น 13,090,000 วอน
(370,000 บาท) ซึ่งรวมกับของขวัญที่ฝ่ายหญิงต้องเตรียมอีกประมาณ 13.48 ล้านวอน (380,000 บาท)ค่ะ
จะเห็นว่าภาระค่าใช้จ่ายของฝ่ายหญิงและฝ่ายชายต่างกันมาก
โดยผู้ชายต้องรับผิดชอบมากถึง 61% ขณะที่ผู้หญิงรับผิดชอบ 39% ทำให้หลายคู่เลือกที่จะไม่แต่งงานเพราะปัญหาด้านการเงิน และหลายคู่ที่แต่งงานก็ต้องเจอปัญหาหนี้สินที่เกิดจากการทำตามธรรมเนียมค่ะ
แต่เนื่องจากความทุกข์ทรมานที่เกิดขึ้น ทำให้คู่แต่งงานเกาหลีรุ่นใหม่เริ่มเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับธรรมเนียมการแต่งงาน โดยเรียกว่า
"การแต่งงานคนละครึ่ง" (반반 결혼) ซึ่งหมายความว่าทั้งสองฝ่ายจะรับผิดชอบภาระค่าใช้จ่ายในปริมาณที่เท่าๆกันค่ะ
ซึ่งคู่แต่งงานจะทุ่มงบไปที่ค่าใช่จ่ายที่มากที่สุดก็คือ "บ้าน" โดยการรวบรวมเงินทั้งหมดที่พวกเขามี หรือกู้เงินหรือขอความช่วยเหลือจากพ่อแม่
และเลือกที่จะลดค่าใช้ที่ไม่จำเป็นเช่น ค่าใช้จ่ายสำหรับพิธีการหรือของขวัญที่ไม่จำเป็น และประหยัดเงินโดยทุ่มงบประมาณจำนวนมากสำหรับฮันนีมูนหรือเครื่องใช้ในบ้านและเฟอร์นิเจอร์ค่ะ
แต่ความคิดของคนรุ่นใหม่เกี่ยวกับธรรมเนียมการแต่งงานมักขัดแย้งกับการรับรู้เรื่องการแต่งงานของคนรุ่นพ่อแม่ซึ่งทำให้เกิดความขัดแย้ง
เนื่องจากผู้ใหญ่มักมองถึง "ความเหมาะสม" ตามความคิดของตนเอง ซึ่งทำให้คู่แต่งงานบางคู่เกิดปัญหาร้ายแรงกับพ่อแม่ระหว่างเตรียมงานก็มีค่ะ