"12 อุตสาหกรรมดาวเด่นในอนาคตของประเทศไทยในอีก 20 ปีข้างหน้า"
เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ อาจจะเคยได้ยิน (มั้งนะ) 10 อุตสาหกรรมแนวใหม่ หรือ 10 อุตสาหกรรมแห่งอนาคตของประเทศไทย ซึ่ง รัฐบาล (ลุงตู่) อยากให้ประเทศเราพัฒนาไปทางนั้น และจะเป็นอุตสาหกรรมแห่งอนาคต เพื่อนำมาประเทศของเราให้พ้นจากกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลาง
สำหรับ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย หรือ S-Curve ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมได้เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเมื่อปลายปี 2558 มีความหมายถึงอุตสาหกรรมที่มีกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต แบ่งเป็น 5 อุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพในการต่อยอด (First S-Curve) และ 5 อุตสาหกรรมอนาคต (New S-Curve)
แต่ในปัจจุบัน พฤษภาคม 2565 กระทรวงทางด้านการพัฒนาประเทศ ไปอยู่ในกลุ่ม 12 อุตสาหกรรมโดยเพิ่มเติมอีก 2 อุตสาหกรรมเข้ามา คราวนี้เราไปดูกันเลยว่า 12 อุตสาหกรรมอนาคตของประเทศไทยจะมีอะไรกันบ้าง
1 อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ (Next-Generation Automotive)
ในที่นี้คือ ประเทศไทยต้องการ พัฒนาประเทศให้เป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า (EV) โดยเริ่มจากการประกอบร่วมกับ
ผู้ผลิต (OEM) เพื่อนำไปสู่อุตสาหกรรมแบตเตอรี่และระบบขับเคลื่อนรถไฟไฟ้าต่อไป
2 อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Smart Electronics)
ในส่วนนี้จะเน้นการผลิต ระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในยานยนต์ และอุปกรณ์ที่ใช้กับผลิตภัณฑ์ อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีสูง เช่น อุปกรณ์โทรคมนาคม รวม ออกแบบและผลิตระบบที่อยู่อาศัยอัจฉริยะ และเครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart
Appliances) ซึ่งเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ (Internet of Things)
3 อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการท่องเที่ยว (Affluent, Medical and Wellness Tourism)
โดยรัฐบาลจะสนับสนุนธุรกิจทางการแพทย์ และศูนย์ฟื้นฟูสุขภาพ (Wellness and Rehabilitation) โดยต่อยอดจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Medicaltourism) ที่เข้มแข็ง รวมถึงส่งเสริมประเทศไทยในการเป็นศูนย์รวมของการแสดงสินค้าและนิทรรศการ
ระดับนานาชาติ (MICE)
4 อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ (Agriculture and Biotechnology)
ได้แก่ ประเภทธุรกิจเทคโนโลยีการเกษตรขั้นสูง เช่น การใช้ระบบเครื่องรับรู้(Sensors) การใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลระดับสูง (Advance Danalytics) และระบบอัตโนมัติ มีการลงทุนและการวิจัยทางเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) เช่น การปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์
5 อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร (Food for the Future)
ได้แก่อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการเพิ่มมาตรฐานด้านการตรวจสอบย้อนกลับ ในกฎระเบียบความปลอดภัยด้านอาหาร และ กลุ่มอุตสาหกรรมวิจัยและผลิตโภชนาการเพื่อสุขภาพ
6 อุตสาหกรรมหุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม (Robotics)
ได้แก่ การผลิต หุ่นยนต์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ และหุ่นยนต์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น หุ่นยนต์ดดำน้ำ และหุ่นยนต์ที่ใช้ ในปฏิบัติการทางการแพทย์โดยมุ่งเน้นรูปแบบที่ผลิตมาเพื่อสรีระของผู้ป่วยชาวเอเชีย
7 อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ (Aviation and Logistics)
เช่น การพัฒนา ศูนย์รวมกิจการโลจิสติกส์ทันสมัย เช่น การขนส่งทางอากาศ (Air Cargo) , ศูนย์กระจายสินค้าระหว่างประเทศด้วยระบบที่ทันสมัย (International Distribution Center: IDC) การขนส่งแบบ Cold Chain และการขนส่งที่ใช้ Big Data and Analytics
8 อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ (Biofuels and Biochemicals)
สร้างอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพครบวงจร โดยการพัฒนาอุตสาหกรรมกลางน้ำ
9 อุตสาหกรรมดิจิทัล (Digital)
ธุรกิจพัฒนาและให้บริการซอฟต์แวร์ ทั้ง Embedded Software, Enterprise Software และ Digital Content และสามารถพัฒนาเป็นพื้นที่นิคม Software Park
10 อุตสาหกรรมการแพยท์ครบวงจร (Medical Hub)
เช่น การผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อการวินิจฉัยและติดตามผลระยะไกล (Remote Health Monitoring Devices)
11 อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ
สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) กระทรวงกลาโหม ได้ระบุชัดถึงความสำคัญของการส่งเสริมอุตสาหกรรมด้านนี้ไว้ว่า
“อุตสาหกรรมการป้องกันประเทศ เป็นโครงสร้างพื้นฐานและหลักประกันทางด้านความมั่นคงของประเทศ ต่อความพร้อมรบของกองทัพในด้านยุทโธปกรณ์และขีดความสามารถในการพึ่งพาตนเอง การพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศจึงถูกยกให้เป็นวาระสำคัญที่บรรจุไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 และอยู่ในนโยบายของกระทรวงกลาโหม ดังนั้น เพื่อให้การพัฒนาเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมอย่างรวดเร็ว เป็นระบบและมีความยั่งยืน จึงควรมีการกำหนดแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมด้านนี้ขึ้นมาให้ชัดเจนครบทุกมิติ”
12 อุตสาหกรรมพัฒนาคนและการศึกษา
เพื่อนๆ คงเห็นแล้วว่า ประเทศไทยเรา มีการกำหนดทิศทางที่จะเข้าสู่โลกอนาคตเช่นกันนะ วันนี้เราคงได้รับความรู้เพิ่มเติม
ยังไง ช่วยกดไลค์ กดแชร์ เม้นต์มาบอกว่าอยากรู้ ข้อมูลเรื่องอะไรบ้าง













