กำเนิดผ้าคลุมหน้าเจ้าสาว
กำเนิดผ้าคลุมหน้าเจ้าสาว
ในเอกสารสมัยราชวงศ์ถัง "ตู๋อี้จื้อ《獨異志》" ของ หลี่หร่ง(李冗) บันทึกว่าในยุคที่ห้วงอวกาศเริ่มแยกตัว บนผืนดินมีสตรีนาม “หนวี่วา “ กับ “พี่ชาย (ชื่อ ฝูซี) “ อยากอยู่กินฉันสามีภรรยา แต่ในใจมีความละอาย ทั้งคู่จึงขึ้นเขาวิงวอนต่อฟ้าว่า…ถ้าฟ้าเห็นด้วยให้แต่งงานให้มวลเมฆบนฟ้ารวมตัวกัน ถ้าไม่เห็นด้วยก็ขอให้มวลเมฆสลายตัว ในที่สุดมวลเมฆรวมตัว ได้แต่งงานสมใจอยาก เมื่อแต่งงานแล้วยังมีความกระดากอายจึงทอหญ้าเป็นพัดปิดหน้าด้วยความอาย แต่พัดหญ้าไม่อ่อนนุ่มสวยงามเท่าผ้าแพรไหม เหตุนี้พัดที่ทำจากหญ้าก็เปลี่ยนเป็นครอบหัวปิดหน้าแทน
หนวี่วา
มาจากตำนานในตอนที่จักรวาลเพิ่งเกิดขึ้นมา ในตอนนั้นมีเพียงเทพฝูซีและเจ้าแม่หนี่วาเท่านั้น สองท่านนี้อยากให้กำเนิดมนุษย์แต่ก็มีความอาย ทั้งสองจึงอธิษฐานต่อฟ้าว่าถ้าเห็นด้วยกับการแต่งงานก็ขอให้มีเมฆมารวมตัวกัน พออธิษฐานเสร็จเมฆก็เคลื่อนตัวมารวมกันเป็นก้อน
พอได้แต่งงาน ฝ่ายเทพธิดาก็ยังรู้สึกอาย เลยเอาพัดสานมาบังหน้าไว้ พัดสานที่บังหน้านี่แหละ ค่อยๆกลายมาเป็นผ้าคลุมสีแดงถึงปัจจุบัน
ประเพณีการแต่งงานของคนจีน ฝ่ายเจ้าสาวจะมีผ้าแดงคลุมไว้ที่หน้า เมื่อเข้าสู่ห้องหอแล้ว เจ้าบ่าวจะเปิดผ้าแดงเองโดยใช้คันชั่ง (มีความหมายว่าสมความปรารถนา)
***ทำไมต้องใช้คันชั่ง??
คันชั่งเปรียบเหมือนมังกร ผ้าคลุมหน้าเจ้าสาวเปรียบเหมือนหงส์ครับ เพราะฉะนั้นการใช้คันชั่งเปิดผ้าคลุมหน้าเจ้าสาวมีความหมายว่า มังกรเลือกหงส์
***
แต่.......บางตระกูลจะให้พ่อฝ่ายชายเป็นผู้ใช้คันชั่งเปิดผ้าคลุมหน้าเจ้าสาว (หมายถึงความเท่าเทียมกันของพ่อแม่เจ้าบ่าวและเจ้าสาว) พอหลังจากเปิดผ้าคลุมเสร็จก็ต้องเอาผ้าคลุมนั้นสอดเข้าไปในอกของแม่เจ้าบ่าว (มีความหมายว่าทั้งเจ้าสาวและแม่เจ้าบ่าวมีใจที่ตรงกัน)