"ต้นกำเนิดของอาหารที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาสงครามโลกครั้งที่ 2"
"ต้นกำเนิดของอาหารที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาสงครามโลกครั้งที่ 2"
ไปดูกันเลยว่ามีอะไรบ้าง
1 ผัดไทย (Pad Thai)
ผัดไทย เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ผัดไทย เป็นอาหารของไทย ที่โด่งดังไปทั่วโลก แต่เพื่อนๆทราบกันไหมว่า ผัดไท มีต้นกำเนิดจากการเกิดภาวะสงครามโลกครั้งที่ 2 ในสมัยจอมพล ป พิบูลสงคราม ท่านได้รณรงค์ให้ประชาชนหันมานิยมรับประทานก๋วยเตี๋ยว เพื่อลดการบริโภคข้าวภายในประเทศ เนื่องจากในช่วงนั้นสภาวะเศรษฐกิจของประเทศตกต่ำ ข้าวแพง ซึ่งแต่เดิมผัดไทยมีชื่อเรียกว่า "ก๋วยเตี๋ยวผัด" แต่ลักษณะก็ยังมีความคล้ายกับ ก๋วยเตี๋ยวของคนจีนอยู่ จึงมาปรับส่วนผสมบางอย่างทำให้ถูกปากคนไทย เช่นไม่ใส่หมู แต่ใส่กุ้งแห้งแทน และพัฒนาเป็นกุ้งสด จนกลายเป็นผัดไทยในที่สุด ซึ่งสรุปได้ว่าเป็นการรณรงค์ แก้ปัญหาข้าวแพง
2 ราเมง (Ramen)
เช่นเดียวกันกับคนไทย ในฝั่งคนญี่ปุ่นเนื่องจากประสบปัญหาการแพ้สงคราม และเกิดการอาหารขาดแคลนขึ้นในประเทศ ในช่วงนั้นรัฐบาลจึงเห็นว่า บะหมี่ ที่มาจากคนจีนที่คนจีนอพยพเข้ามาอยู่ในญี่ปุ่น คำว่า "ราเม็ง" มาจากภาษาจีน "ลาเมี่ยน" (拉麺) ที่มีความหมายถึง เส้นบะหมี่ที่ใช้มือนวดให้มีความเหนียวนุ่ม ได้รับความนิยมบริโภคไปทั่วเอเชียตะวันออก น่าจะเป็นอาหารทางเลือกใหม่ซึ่งถูกทำได้ง่ายและไม่ต้องเสียเงินนำเข้ามา จนปัจจุบัน ราเมน กลับกลายเป็น บะหมี่ ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของชาวญี่ปุ่น ที่คนญี่ปุ่นนำมาปรับสูตรให้อร่อยและเข้ากับรสชาติของตนเอง แต่ใครจะรู้ว่า ราเมน นี่ได้รับความนิยมมาจากหลังสงครามครั้งที่ 2 ด้วยเช่นกัน
3 บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ยี่ห้อ นิชชิน (Nissin)
จุดเริ่มต้นของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปนั้น เริ่มต้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างที่รู้กันว่าในตอนนั้นญี่ปุ่นตกอยู่ในสถานะของผู้แพ้สงคราม ส่งผลให้เศรษฐกิจย่ำแย่ถึงขีดสุด อาหารที่ทุกคนสามารถซื้อกินได้ในราคาย่อมเยาจึงมีเพียง “โลเมียง” (Lo-Mein) หรือก็คือ ราเม็ง แต่แล้ววันหนึ่งในฤดูหนาวของปี ค.ศ. 1958 มีชายที่ชื่อว่าโมโมฟุกุ อันโด (Momofugu Ando) เขาได้เห็นภาพของชาวญี่ปุ่นยืนต่อคิวยาวสู้ความหนาวเพียงเพื่อรอ โลเมียงเพียง 1 ชามเท่านั้น นายอันโดจึงตั้งปณิธานว่าเขาจะต้องทำให้ทุกคนมีโอกาสกินบะหมี่อร่อยๆ ได้ที่บ้านในราคาที่สมเหตุสมผล และนั่นก็เป็นที่มาของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปยี่ห้อนิชชิน (Nissin)
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปสูตรของนายอันโดในเริ่มแรกจะทำมาจากเส้นบะหมี่ที่ผสมกับน้ำซุปกระดูกไก่ ก่อนจะนำไปทอดเพื่อไล่ความชื้นออกไป จนได้บะหมี่กรอบสีเหลืองทอง เวลากินก็เพียงแค่เติมน้ำร้อน เส้นก็จะคืนตัวและพร้อมกินได้เลย ส่วนเครื่องปรุงก็ไม่ต้องใช้ เพราะความอร่อยอยู่ในเส้นแล้ว ดังนั้น รสชาติแรกที่ถูกผลิตขึ้นมาจำหน่ายก็คือ “บะหมี่รสไก่” (Chicken Ramen) ที่ยังคงเป็นรสที่ได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน
5 ชีโตส ขนมอบชีส
ใครจะรู้ว่าเหล่า อาหารกระป๋อง อาหารกึ่งสำเร็จรูป และขนมขบเคี้ยวที่กำลังมีติดบ้านเป็นจำนวนมากอยู่ในตอนนี้ ไม่ได้ถูกสร้างมาเพื่อความสะดวกสบายเท่านั้น หากแต่มีอีกหลายผลิตภัณฑ์ที่ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อต่อสู้กับภาวะอดอยากและสงคราม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่กระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกาที่พยายามคิดค้นอาหารเหล่านี้เพื่อเป็นเสบียงให้กับเหล่านาวิกโยธินอย่างจริงจัง ซึ่งอาหารที่ว่านั้นจะต้องมีคุณค่าทางโภชนาการ เก็บไว้ได้นาน และมีรสอร่อย ทั้งนี้ก็เพื่อให้คนกินอาหารมีสุขภาพกายและใจที่ดีไปพร้อมๆ กัน
การคิดค้นผงชีสอย่างเป็นจริงจังเริ่มต้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1943 โดย จอร์จ แซนเดอร์ส (George Sanders) นักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์นมของกระทรวงเกษตรสหรัฐ แต่หลังจากความพยายามหลายต่อหลายครั้งก็ยังไม่สามารถทำสำเร็จ เพราะเขายังหาวิธีเก็บรักษาไขมันให้อยู่ในผงชีสอันเป็นลักษณะเด่นของชีสเอาไว้ไม่ได้ แล้วยิ่งภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 กระทรวงกลาโหมก็ไม่สามารถแบกภาระด้านการเงินไว้ได้อีก โกดังอาหารจึงถูกเปิดเหล่าบรรดาของแห้งได้ถูกขายทอดตลาด บ้างก็แจกจ่ายให้กับประชาชน เช่นเดียวกับสูตรการทำชีสที่บริษัทฟริโต เลย์ (Frito-Lay) สามารถนำมาต่อยอดได้เป็นผลสำเร็จ
6 สแปม แฮมกระป๋อง
เมื่อสหรัฐอเมริกาประกาศเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2 โชคยังดีที่กองทัพสหรัฐอเมริกาเลือกสแปมไปเป็นหนึ่งในอาหารของเหล่าทหารหาญในกองทัพ และนั่นก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้สแปมเป็นที่รู้จักของคนทั่วโลกจากการที่ทหารสหรัฐอเมริกาลงพื้นที่ไปส่วนต่างๆ ของโลกและนำสแปมไปเผยแพร่ โดยเฉพาะในฮาวายและเกาหลีใต้ที่หลงรักแบรนด์สินค้าสแปม
ด้วยความที่เป็นขวัญใจของทหารอเมริกันนี่เอง ทำให้มีเรื่องเล่าขานกันว่า เนื้อที่ใช้นำมาทำเป็นแฮมนั้นคือเนื้อของอะไรและส่วนไหนกันแน่ แถมยังมีความเชื่อมากไปกว่านั่นอาจเป็นเนื้อของเหล่าทหารที่ล้มตายในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็เป็นได้ แต่จริงๆ แล้วสแปมทำมาจากเนื้อหมูส่วนหัวไหล่ ก่อนจะปรุงรสต่างๆ ลงไป อีกทั้งยังมีรสใหม่ออกมาเรื่อยๆ อย่าง สแปมไลต์ (Spam Lite) ที่มีไขมันลดลง 50% สแปมฮอตแอนด์สไปซี่ (Spam Hot and Spicy) สแปมกับเบคอน (Spam with Bacon) และสแปมเทอริยากิ (Spam Teriyaki) ในปี ค.ศ. 2012 ซึ่งสแปมอาจจะไม่เป็นที่คุ้นเคยกับคนไทยมากเท่าไร แต่ตอนนี้เราได้ รู้จักแล้ว และทดลองไปหาซื้อมาทานกันดู
7 เอ็มแอนด์เอ็ม M&M
“ละลายในปาก แต่ไม่ละลายในมือ” คงเป็นสโลแกนสุดคุ้นหูที่คนรักช็อกโกแลตทั่วโล หากใครยังไม่รู้ จุดเด่นที่ว่านี้มีไว้เพื่อทหารสหรัฐที่ต้องไปออกรบนอกประเทศ
อ็มแอนด์เอ็มเป็นผลิตภัณฑ์ช็อกโกแลตที่ผลิตโดย มาร์ส อินคอร์ปอเรทเต็ด (Mars, Incorporated) เจ้าของช็อกโกแลตมาร์ส (Mars) ที่เริ่มผลิตขึ้นในปี ค.ศ. 1941 โดยแฟรงค์ ซี. มาร์ส (Frank C. Mars) ทายาทรุ่นที่สอง เขาได้แนวคิดมาจากการที่เห็นเพื่อนทหารที่รบในสงครามกลางเมืองสเปน (Spanish Civil War 1936-1939) พกช็อกโกแลตยี่ห้อสมาร์ตีส์ (Smarties) ช็อกโกแลตเคลือบน้ำตาลหลากสีสัญญาติอังกฤษติดตัวเอาไว้ เขาก็เลยเกิดไอเดียในการทำช็อกโกแลตแบบนี้บ้าง ก่อนที่จะจดสิทธิบัตรและเริ่มทำช็อกโกแลตอย่างเป็นทางการ
แน่นอนว่าลูกค้ารายแรกและรายใหญ่ของเอ็มแอนด์เอ็มก็คือ กองทัพสหรัฐอเมริกา เนื่องจากเห็นว่าช็อกโกแลตนี้คือสิ่งประดิษฐ์ที่จะทำให้เหล่าทหารสามารถพกพาช็อกโกแลตไปกินได้โดยไม่ละลาย แม้จะต้องประจำการยังประเทศที่มีความอบอุ่นและร้อนชื้น จนถึงขนาดผูกขาดการซื้อตลอดช่วงระยะสงครามโลกครั้งที่ 2 เลยทีเดียว ทำให้กว่าที่เอ็มแอนด์เอ็มจะเป็นที่รู้จักจริงๆ ก็ปาไปในปี ค.ศ. 1947 หรืออีกราวๆ 6 ปีให้หลังจากการผลิตครั้งแรก
ปัจจุบัน เอ็มแอนด์เอ็มยังคงมีความสัมพันธ์อันดีกับกองทัพเหมือนครั้งอดีต ด้วยการสนับสนุนด้านอาหารให้กับกองทัพที่เรียกกันว่า MRE หรือ Meal Ready to Eat และล่าสุดมาร์ส อินคอร์ปอเรทเต็ด ยังได้บริจาคผลิตภัณฑ์มูลค่ากว่า 750,000 เหรียญสหรัฐ เพื่อเป็นการฉลองครบรอบ 75 ปีเอ็มแอนด์เอ็มเมื่อปี ค.ศ. 2016 อีกด้วย
เพื่อนๆ คงจะเห็นแล้วว่า ประวัติที่มาของอาหารแต่ละอย่าง ก็น่าเหลือเชื่อมากๆ ว่ามีต้นกำเนิดมาจากสงครามโลกครั้งที่ 2 หากใครชอบอย่าลืมกดไลค์ กดแชร์ให้ด้วยน้าาา