โลกร้อนขึ้นมาก แต่มนุยษ์กลับใจเย็นลงในเรื่องสำคัญนี้
สภาพอากาศในประเทศตอนนี้ หรือ ทั่วโลกก็ตาม เกิดปรากฏการณ์เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวหนาว เดี๋ยวเย็น เดี๋ยวอุ่น ร่างกายปรับตัวไม่ทันส่งผลให้บางคนเกิดอาการป่วยทันที ยิ่งตอนนี้โรคระบาดที่ทำให้คนทั่วโลกป่วยหนักและล้มตายเป็นหลายล้านคนคือโควิด 19 ซึ่งระบาดหนักทั้งโลกมา 3 ปีแล้ว ซึ่งสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงรวดเร็วขนาดนี้มันไม่ใช่เรื่องปกติแน่นอน นี่คือคำเตือนว่าโลกเรากำลังเผชิญกับสภาพภูมิอากาศแปรปรวนอย่างรุนแรง หนึ่งในปรากฎการณ์ที่หลายคนคงเคยได้ยิน คือ โพลาร์ วอร์เท็กซ์ (Polar Vortex) หรือลมวนขั้วโลก โดย Greenpeace และ National Oceanic and Atmospheric Administration, U.S. Department of Commerce) หรือ NOAA ให้การอธิบายว่า คือสภาวะที่สภาพภูมิอากาศแปรปรวนซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงและเป็นผลกระทบที่เกิดจากอุณหภูมิโลกของเราที่สูงขึ้น อุณหภูมิน้ำในมหาสมุทรอุ่นขึ้น น้ำแข็งขั้วโลกเกิดการละลายไปยังภูมิภาคต่างๆของโลก เกิดจากกระแสลมที่มีความรุนแรงหมุนทวนเข็มนาฬิกาวนรอบเหนืออาร์กติกราว 50 กม. และมีบทบาทในการเก็บรักษาลมเย็นไว้ที่ภูมิภาคอาร์กติก และไม่ให้ความร้อนจากภายนอกเข้ามา แต่ไม่ใช่พายุ เป็นเสมือนอาณาเขตที่กั้นระหว่างอากาศเย็นเยือกของอาร์กติก และอากาศอุ่นรอบแลติจูดกลางไม่ให้เล็ดลอดไปหากัน หากมีอะไรทำให้สมดุลของระบบกระแสลมนี้เปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นการลดความแข็งแกร่งของกระแสลม เปลี่ยนทิศทางลม หรือทำให้กระแสลมแตกเป็นหลายสาย จะทำให้อุณหภูมิของภูมิภาคอาร์กติกสูงขึ้น ขณะที่พื้นที่อื่นของโลกได้รับอิทธิพลจากโพลาร์ วอร์เท็กซ์ที่แปรปรวน ก็คือมีอุณหภูมิต่ำลงโลกเราเผชิญกับปรากฎการณ์โพลาร์ วอร์เท็กซ์มาตั้งแต่ปีสองปีที่แล้ว โดย Jennifer Francis นักวิทยาศาสตร์อาวุโสแห่งศูนย์ Woods Hole Research Centre ผู้ศึกษาผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและทางออก วิเคราะห์ในงานวิจัยไว้ว่า ทะเลน้ำแข็งของอาร์กติกที่ละลายอาจเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงสมดุลของโพลาร์ วอร์เท็กซ์ และมีแนวโน้มจะเกิดบ่อยขึ้น เนื่องจากมหาสมุทรที่ไร้น้ำแข็งนั้นดูดซับความร้อน ไม่ได้สะท้อนกลับ ทำให้เกิดจุดความร้อนขึ้น และนี่คือสาเหตุที่กระแสลมโพลาร์ วอร์เท็กซ์ แยกเป็นหลายสาย (Francis, 2019) เมื่อโลกมีอุณหภูมิที่สูงขึ้น โลกร้อนขึ้นอาร์ตติกเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่อุณหภูมิสูงขึ้นกว่าพื้นที่อื่นถึงสองเท่า เมื่ออุณหภูมิน้ำทะเลรอบอาร์กติกสูงขึ้น ทำให้ทะเลแข็งตัวยากขึ้น อุณหภูมิของอาร์กติกที่ขยับสูงขึ้นจนใกล้เคียงกับพื้นที่แลติจูดกลางนั้นยังเป็นการเปลี่ยนแปลงกระแสลมเจ็ทสตรีมในชั้นบรรยากาศให้อ่อนตัวลง การเปลี่ยนแปลงของกระแสลมนี้ส่งผลต่อสภาพภูมิอากาศแบบสุดขั้วสาเหตุสำคัญมาจากกิจกรรมของมนุษย์ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ โดยเฉลี่ยสูงขึ้น 1 องศาเซลเซียสภายในระยะเวลา 50 ปี ซึ่งถือว่ารวดเร็วมากมาก เมื่อสะสมมาเป็นเวลานาน จึงทำให้สภาพภูมิอากาศแปรปรวน ไม่เพียงประเทศใดประเทศหนึ่งเท่านั้น โลกเราต่างได้รับผลกระทบในรูปแบบต่างๆ อย่างประเทศไทยเราแม้จะอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติต่างๆเช่นกัน ปรากฎการณ์โพลาร์ วอร์เท็กซ์ ในครั้งนี้ มันคือคำเตือนของโลก ให้มนุษย์ได้รู้ว่า ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวันของตนเอง ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ทำในสิ่งที่กระตุ้นให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นอีกต่อไป