พ่อแม่มือใหม่วางแผนอย่างไรให้ปลอดภัยทั้งแม่และลูกในช่วงตั้งครรภ์
จากวินาทีแรกที่เรารู้ว่ากำลังมีชีวิตน้อยๆกำลังเติบโตจากในครรภ์ของผู้เป็นแม่ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีความหมายและแสนพิเศษที่ได้รับรู้ว่าเรากำลังจะเป็นพ่อแม่ หน้าที่อันยิ่งใหญ่ที่จะต้องมาซึ่งความรับผิดชอบและความเสียสละในหลายๆเรื่อง ที่เราอาจจะไม่เคยคิดมาก่อนว่า เราจะต้องยอมเสียสละในสิ่งที่เรารักมากๆหรือความเคยชินที่เราไม่สามารถนึกภาพออกได้เลยว่า หากว่าเรามีลูก เราจะเลิกสิ่งนั้นได้จริงๆเหรอ เช่น หากพ่อหรือแม่ที่สูบบุหรี่ เมื่อทราบว่าจะต้องมีลูก ก็จะเลิกทำสิ่งนั้น เพราะการสูบบุหรี่ถือว่าเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์อย่างมาก อีกทั้งหากผู้เป็นแม่ไม่ได้สูบ แต่พ่อสูบ ความอันตรายจากควันบุหรี่ก็ยังทำร้ายทารกในครรภ์ได้
มีเรื่องราวมากมายที่เราอยากจะแบ่งปันเรื่องราว ยิ่งในช่วงเวลาตั้งท้องในระยะเวลากว่า 9 เดือน ที่แต่ละช่วงนั้นก็จะมีความแตกต่างกันไป เพราะร่างกายของคุณแม่แต่ละคนนั้นก็จะตอบสนองต่ออาการแพ้ท้องหรือไม่มีอาการแพ้ท้องเลย อีกทั้งฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไปมายังส่งผลกระทบต่อทั้งแม่และเด็กในเรื่องของอารมณ์ และเป็นสิ่งที่คนรอบข้างอย่างครอบครัวและคุณพ่อจะต้องทำความเข้าใจและรับฟังด้วยหัวใจ และความใส่ใจในทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการพักผ่อน ที่จะต้องให้คุณแม่ตั้งครรภ์นั้นพักผ่อนได้อย่างเต็มที่ การฝากครรภ์ที่มีคุณหมอคอยให้คำปรึกษาและดูแล รวมไปถึงสารอาหารที่เหมาะสมกับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ ซึ่งเว็บไซต์ foodnetworksolution ได้แชร์ไว้ว่า หญิงมีครรภ์ต้องการสารอาหารเพิ่มมากกว่าปกติ เพื่อใช้บำรุงสุขภาพของมารดาให้สมบูรณ์แข็งแรง เพื่อใช้ในการเจริญเติบโตของร่างกายทารกในครรภ์ เพื่อสะสมไว้สำหรับใช้พลังงานในการคลอดบุตรและการให้นมบุตรในระยะต่อไป หญิงมีครรภ์ที่ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ จะเกิดผลเสียต่อตนเอง เพราะทารกในครรภ์จะใช้สารอาหารจากเลือดเนื้อของ มารดานำไปสร้างร่างกายทดแทนอาหารที่ได้รับไม่เพียงพอ สารอาหารที่หญิงมีครรภ์ต้องการ ได้แก่ สารอาหารที่ให้พลังงาน โปรตีน เหล็ก แคลเซียม กรดโฟลิก วิตามินเอ วิตามินซี และวิตามินดี เป็นต้น สารอาหารเหล่านี้มีความจำเป็นสำหรับสร้างกล้ามเนื้อ สร้างโครงกระดูกให้ทารก และสร้างฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงสารอาหารต่างๆ ที่หญิงมีครรภ์จำเป็นต้องได้รับเพิ่มมากขึ้น ได้แก่ อาหารที่ให้พลังงาน ในระยะ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ความต้องการพลังงานยังคงเท่าเดิม น้ำหนักตัวยังคงปกติ หรือเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่ถ้าน้ำหนักเพิ่มขึ้นรวดเร็วเกินไป ควรลดอาหารที่ให้พลังงานคือ กินอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต (แป้งและน้ำตาล) และไขมันให้น้อยลง เมื่อตั้งครรภ์ได้ 4-6 เดือน น้ำหนักของทารกในครรภ์จะเริ่มเพิ่มขึ้น และทารกจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ในช่วงเดือนที่ 7-9 โดยเฉพาะในเดือนที่ 9 ดังนั้นในช่วงหลังของการตั้งครรภ์ต้องได้รับสารอาหารที่ให้พลังงานเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากร่างกายมีเมแทบอลิซึมเพิ่มมากขึ้น มี BMR เพิ่มขึ้น ประมาณ 25% และยังต้องใช้พลังงานส่วนหนึ่งในการอุ้มท้อง ดังนั้นหญิงมีครรภ์ควรรับสารอาหารที่ให้พลังงานเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ ประมาณวันละ 300 กิโลแคลอรี (หรือ 80,000 กิโลแคลอรี ต่อ 250 วันที่ตั้งครรภ์)