หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ตำลึง ผักริมรั้ว

โพสท์โดย lovely art

ตำลึง ผักริมรั้ว นามนี้เชื่อว่าใครๆ ก็รู้จัก

ตำลึง ภาษาอังกฤษ เรียก Ivy gourd

ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Coccinia grandis (L.) Voigt
ชื่อเรียกอื่นๆ คือ สี่บาท ผักแคบ ผักตำนิน แคเด๊าะ เป็นต้น

 

ตำลึง เป็นเถาเลื้อย เกาะตามหลักหรือต้นไม้ต่างๆ ใบคล้ายรูปหัวใจ เมื่อใบอ่อนจะมีสีเขียวอ่อน เมื่อใบแก่จะมีสีเขียวเข้ม ส่วนดอกตำลึงจะมีสีขาวคล้ายรูประฆัง  ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด

ผลอ่อน ของตำลึง กินกับน้ำพริก หรือดองกิน

ผลสุก มีรสอมหวาน กินได้เช่นกัน

ขยายพันธ์ุ ใช้เมล็ด หรือ ปัก ชำ

ตำลึง เป็นผักท้องถิ่นของไทยนิยมปลูกริมรั้วบ้าน นำมาทำอาหารได้หลากหลายเมนู ทั้ง ต้ม  ผัด แกง ทอด เลียง

เมนูตำลึง เช่น แกงจืด ต้มเลือดหมู แกงเลียง ก๋วยเตี๋ยว ผัดไฟแดง ไข่เจียว ใบและยอดอ่อนจิ้มน้ำพริก และเมนูอื่นๆอีก

ตำลึง เป็นสมุนไพรรักษาเบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด ช่วยระบบไหลเวียนโลหิต

ตำลึง ยังเป็นผักที่มีประโยชน์ต่อผู้ที่เป็นคุณแม่ลูกอ่อนเป็นอย่างมากอีกด้วย เพราะในตำลึงนั้น อุดมไปด้วยโปรตีน แคลเซียม ธาตุเหล็ก และวิตามินหลากหลายชนิด มีเส้นใยสูง บำรุงน้ำนม ช่วยเพิ่มน้ำนมให้เพียงพอต่อความต้องการของลูกได้

 

คุณค่าทางอาหาร ใบและยอดอ่อนของตำลึง 100 กรัม จะประกอบไปด้วย

พลังงาน 39 กิโลแคลอรี

-น้ำ 90.7 กรัม

-โปรตีน 3.3 กรัม

-ไขมัน 0.4 กรัม

-คาร์โบไฮเดรต 5.5 กรัม 

-ใยอาหาร 1.0 กรัม

-เถ้า 0.1 กรัม

-แคลเซียม 126 มิลลิกรัม

-ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม

-ธาตุเหล็ก 4.6 มิลลิกรัม

-เบต้าแคโรทีน 5,190 ไมโครกรัม

-วิตามินเอ 865 ไมโครกรัม

-ไทอามีน 0.17 มิลลิกรัม

-ไรโบฟลาวิน 0.13 มิลลิกรัม 

-ไนอะซิน 1.2 มิลลิกรัม

-วิตามินซี 34 มิลลิกรัม
          
    

มหาวิทยามหิดล พบว่า ตำลึงมีเส้นใยอาหารที่ช่วยลดอัตราเสี่ยงเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหารได้

ตำรับยาโบราณ ระบุว่า ตำลึงเป็นยาเย็น ส่วนของใบช่วยขับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้อาหารแพ้ อักเสบ แก้แมลงที่มีพิษกัดต่อย แก้แสบคัน แก้เจ็บตา ตาแฉะ ตาแดง บรรเทาโรคผิวหนัง ช่วยลดน้ำตาลในเลือด

 

ประโยชน์ของตำลึง

นอกจากจะนำตำลึงไปเป็นอาหารแล้วยังนำตำลึงไปใช้ประโยชน์ด้านอื่นได้อีก เช่น

ยาดับกลิ่นกาย กลิ่นกายไม่เหม็น นำตำลึงตำผสมกับปูนแดงให้เข้ากัน แล้วทาตรงรักแร้ หรือจุดซ่อนเร้น ที่ทำให้เกิดกลิ่นอับ

เป็นครีมบำรุงผิว ช่วยให้หน้าสดใส ดูเต่งตึง ใช้ยอดตำลึงครึ่งกำมือผสมกับน้ำผึ้งแท้ครึ่งถ้วย แล้วปั่นให้ละเอียด พอกหน้า ทิ้งไว้ประมาณ 20 นาทีแล้วล้างออก

 
เป็นยารักษาตาไก่ ที่เป็นพยาธิ มีหนองขาวและแข็งภายในของเปลือกตา

1.ให้พลิกเอาหนองขาวแข็งออกจากตาไก่ก่อน

2.ใช้เถาตำลึงแก่ ๆ มาตัดเป็นท่อน ๆ แล้วใช้ปากเป่าด้านหนึ่งจนเกิดฟอง จากนั้นให้เอามือเปิดเปลือกตาไก่  แล้วเอาฟองที่ได้หยอดตาไก่วันละครั้งจนหายดี


สรรพคุณของตำลึง

-ชะลอความแก่ เพราะมีสารต้านอนุมูลอิสระ ทำให้เซลล์เกิดการเสื่อมช้าลง ทำให้ดูอ่อนกว่าวัย

-ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย ช่วยเสริมและสร้างเนื้อเยื่อ กล้ามเนื้อให้หายจากการอักเสบ ฟื้นตัวได้เร็วขึ้น

-มีสารต้านการเกิดมะเร็ง ช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งได้ดี

-เป็นยารักษาโรคเบาหวานได้ดี โดยใช้ต้มให้ได้น้ำตำลึง หรือ บีบคั้นสดทำให้น้ำตำลึงออกมา ใช้ดื่มเช้าเย็นวันละสองรอบ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงมาก ป้องกันการเกิดเบาหวานได้ดี

-ตำลึงมีธาตุเหล็กสูง จึงช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง โดยการบริโภคใบ หรือ ดื่มน้ำใบตำลึงก็ได้ผลเช่นเดียวกัน

-ใบตำลึงมีธาตุแคลเซียมสูง ทำให้ผู้บริโภคมีความแข็งแรงของกระดูกและฟัยมากขึ้น

-มีวิตามินเอมาก ดีต่อระบบสายตา การมองเห็น บำรุงประสาทจอรับภาพ ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม แก้อาการตาฝ้า เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องนั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์นาน ๆ และสายตาอ่อนล้าจากการใช้งานสายตาในที่กลางแจ้งนาน

-บำรุงระบบเลือดและการไหลเวียนโลหิต สร้างความแข็งแรงกับหลอดเลือดเพิ่มความยืดหยุ่น ทำให้เส้นเลือดไปเปราะแตกได้ง่าย ลดการตีบตันได้ดี

-ลดการเกิดโรคเลือดออกตามไรฟัน เพราะมีวิตามินซีสูง

-แก้ร้อนใน ดับร้อนภายในร่างกายได้ดี ลดอาการไข้ เป็นสมุนไพรธาตุเย็น ใช้ปรับสมดุลธาตุในร่างกาย

-แก้อาการคลื่นไส้ อาเจียน วินเวียนศีรษะ

-บรรเทาอาการตาแดง แสบตา เจ็บตา ปวดรอบๆดวงตา

-แก้แพ้อาหาร เพราะรับประทานของผิดสำแดง โดยใช้เถาต้มเป็นยาดื่มลดอาการได้ดี

-ลดอาการผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด แน่นท้อง แก้โดยการรับประทานใบสด ช่วยลดอาการได้ดี

-เปลือกรากและ หัว ใช้เป็นยาถ่าย ยาระบาย ช่วยระบายท้องได้ดี

-ขับสารผิดในระบบทางเดินอาหาร โดยเฉพาะในลำไส้

-ใบสามารถป้องกันอาการท้องผูกได้ดี ทำให้ขับถ่ายเป็นปกติ

-ช่วยลดอาการแพ้ ลดอาการผื่นบริเวณผิวหนัง ใช้ใบสดตำมาทาบริเวณที่เกิดอาการ

-บรรเทาอาการคันหรืออักเสบ จากแมลงสัตว์กัดต่อย หรือจากพืชที่ทำให้เกิดอาการคัน อาการแพ้ระอองเกสรพืชต่างๆ เกิดผื่นที่ผิวหนัง ใช้ใบสดหนึ่งกำมือตำและใช้ทาบริเวณที่เกิดอาการ

-แก้ฝีพิษและฝีแดง แก้อักเสบ ดับพิษต่าง ๆ

-รักษาแผลสด แผลพุพอง ใช้ใบสดและรากตำและประคบบริเวณที่มีแผล บรรเทาอาการปวดแสบปวดร้อน และช่วยทำให้แผลหายเร็ว

-แก้โรคหิด โดยใช้เมล็ดตำลึง ตำผสมน้ำมันมะพร้าว นำมาทาบริเวณที่เป็น ลดอาการได้ดี

-ใช้รักษาโรคงูสวัด และโรคเริม โดยใช้ใบสด 2 กำมือ (ล้างด้วยน้ำสะอาดก่อนนำมาใช้) ผสมให้เข้ากันกับพิมเสน หรืออาจจะใช้ดินสอพองแทนก็ได้ 1 ต่อ 4 ส่วน นำมาพอกบริเวณที่เกิดอาการ ช่วยบรรเทาและทำให้หายเร็วขึ้น

-รับประทานตำลึงเป็นประจำช่วยป้องกันการเป็นตะคริวได้ดี


โทษของตำลึง

ตำลึงเป็นยาเย็น การรับประทานมากเกินไปอาจไม่ดีต่อร่างกาย โทษของตำลึง มีดังนี้

ตำลึงมีสรรพคุณเป็นยาเย็น หากนำน้ำตำลึงมาทาที่ผิวหนังแล้วไม่รู้สึกเย็น แปลว่า ไม่ถูกโรค ให้หยุดใช้ทันที เพราะ จะทำให้เกิดอาการอักเสบเพิ่มมากขึ้น


ตำลึงมีทั้ง ตำลึงตัวผู้ และ ตำลึงตัวเมีย ตำลึงตัวเมีย กินได้ไม่มีปัญหา ตำลึงตัวผู้ สำหรับคนที่ธาตุอ่อน อาจทำให้ท้องเสียได้ (วิธีดูตำลึงว่าเป็นตัวผู้หรือตัวเมีย ในเวปสนุกดอทคอมมีค่ะ)



⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
lovely art's profile


โพสท์โดย: lovely art
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
น้ำมันตับปลา ยาอายุวัฒนะจากท้องทะเลลึก สู่ช้อนชาในโรงเรียนอังกฤษ
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
“เดือดสนั่นวงการ! MGI สั่งปลดฟ้าผ่า ‘แตแต’ มิสแกรนด์เมียนมา แฟนนางงามสะเทือน!”"หมูเด้ง" ทายผลว่า "ทรัมป์" จะชนะการตั้งมะกันสะเทือนใจ! เด็กถูกสุนัขกัดกลางถนน ไม่มีใครช่วย
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
น้ำมันมะกอก ของดีมีมูลค่า ก็มักมีมารชาวเน็ตงง วอลเลย์บอลสายพันธุ์ใหม่ เล่นเซตแบบบาสติดแฮชแท็กไทยแลนด์ ชาวเขมรหรือกะเหรี่ยงกันแน่นักท่องเที่ยวต่างชาติปลื้มหนัก สายชำระไทยสร้างปรากฏการณ์ ชาวตะวันตกแห่ติดตั้งเองที่บ้านส่องเงินเดือนพนักงาน Subway ทุกตำแหน่ง ใครสนใจบ้างยกมือขึ้น!
ตั้งกระทู้ใหม่