ศิลปะบนความตาย ! ศีรษะของชนเผ่าเมารีมีค่า
ถ้าพูดถึงชาวเผ่าเมารี เราก็จะนึกถึงในหนังที่เป็นคนป่าดุร้าย มีรอยสักบนใบหน้า ซึ่งรอยสักบนใบหน้านั้นพวกเขาเรียกว่า "ตาโมโกะ" ซึ่งส่วนใหญ่ของการสักมุ่งเน้นไปที่หัว ชาวเผ่าเมารีเชื่อว่าศรีษะเป็นส่วนที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของร่างกาย จึงให้ความสำคัญด้วยการสักบนหน้าเป็นอันดับแรก และในการสักแต่ละลายก็จะมีเอกลักษณ์เฉพาะสำหรับแต่ละคน ซึ่งจะได้รับการยอมรับจากคนในเผ่าด้วยลายสักของเขา ในผู้ชายมักจะสักทั้งใบหน้าในขณะที่ผู้หญิงจะสงวนบริเวณคางและริมฝีปากไว้
ชนเผ่าเมารี (Maori) คือ ชนพื้นเมืองในนิวซีแลนด์ที่ขึ้นชื่อเรื่องรอยสักอันเป็นเอกลักษณ์ โดยเฉพาะ โมโกะ (Moko) รอยสักบนใบหน้าของผู้ชาย ซึ่งจะแสดงถึงตัวตนของผู้นั้น ไม่ว่าจะเป็นชนเผ่า อาชีพ เชื้อสาย ไปจนถึงสถานะทางสังคม ความสามารถ และความมั่งคั่งหรือความสำเร็จ โดยเมื่อชายเมารีที่มีโมโกเสียชีวิต ศีรษะพวกเขาจะถูกตัดไปทำเป็น โมโกโมไก (Mokomokai)
โมโกะโมไก คือศีรษะของชายเผ่าเมารีผู้มีรอยสักโมโกะบนใบหน้า ที่มีการเก็บรักษาเอาไว้เป็นอนุสรณ์ โดยเมื่อชายผู้นั้นเสียชีวิตลง ศีรษะจะถูกตัดออกจากร่าง ดวงตาและสมองจะถูกควักออกไป จากนั้นจะนำไปทำความสะอาด พันด้วยผ้าเส้นใยพืชและยางไม้ นำไปต้มหรือนึ่ง แล้วรมควันและตากแดดจนแห้งสนิท จากนั้นชโลมด้วยน้ำมันฉลามและเก็บไว้ในกล่อง เป็นวัตถุเคารพ เชื่อว่าเป็นที่สถิตของวิญญาณ ครอบครัวของผู้วายชนม์จะเป็นผู้เก็บรักษาไว้ และจะนำออกมาขึ้นหิ้งเฉพาะมีการทำพิธีเท่านั้น
แต่ในการทำสงครามสู้รบกัน หัวหน้าชนเผ่าที่พ่ายแพ้จะถูกตัดหัวไปทำโมโกะไมโกแล้ววางประจานเพื่อประณามหยามเกียรติ นอกจากนี้โมโกะโมไกยังมีส่วนสำคัญในสังคม โดยเฉพาะการเจรจาทางการทูตระหว่างชนเผ่า จะมีการแลกเลี่ยนโมโกะไมไกเพื่อเป็นสัญญาสงบศึกด้วยเช่นกัน
ในช่วงปี 1807 - 1837 ได้เกิด Musket Wars หรือ สงคราม 30 ปี ระหว่างชนเผ่าเมารีย่อยหลายเผ่า ที่รู้จักการใช้ปืนเป็นสงครามเพื่อแย่งชิงอาณาเขตและอำนาจ ส่งผลให้มีผู้ถูกจับไปเป็นเชลยหลายหมื่นราย มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก จนกระทั่งปี 1840 นิวซีแลนด์ตกอยู่ใตอาณานิคมของอังฤษ และในระหว่างการเดินทางไปนิวซีแลนด์ครั้งแรกชาวอังกฤษชื่อโจเซฟแบงก์เขาได้ซื้อหัวมนุษย์ที่มีรอยสักกลับไปคู่หนึ่ง จากนั้นร้านเสริมสวยในยุโรปหลายๆร้านก็เต็มไปด้วยโมโกะไมโกหลายร้อยหัว ทำให้เกิดการฆาตกรรมโดยการจับเอาทาสมาสักบนใบหน้า แล้วก็ตัดทำเป็นโมโกะไมโก ซึ่งไม่การยอมกันในเรื่องนี้ ตอนหลังดังนั้นประเพณีโบราณของ ตาโมโกะ จึงหายไป
นับตั้งแต่ช่วงสงครามจนกระทั่งปลายศตวรรษที่ 19 โมโกะโมไก กลายเป็นรางวัลสงครามและของล้ำค่า ถูกซื้อขายกลายเป็นของสะสมไปทั่วโลก หนึ่งในนั้นคือ นายพล โฮราติโอ กอร์ดอน รอบลีย์ (Horatio Gordon Robley) ผู้มีส่วนสำคัญในสงครามนิวซีแลนด์ และหลงใหลในรอยสักของชนพื้นเมืองโมโกะโมไก เขามีศีรษะเหล่านี้ในครอบครองมากกว่า 40 หัว และนำกลับไปจัดแสดงที่อังกฤษ ก่อนจะเสนอขายให้กับรัฐบาลนิวซีแลนด์ แต่ถูกปฏิเสธ เขาจึงขายให้พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ธรรมชาติอเมริกัน
โมโกะโมไกในคอลเลกชั่นของนายพลรอบลีย์ ได้กลับมายังนิวซีแลนด์ทั้งหมดในปี 2014 และได้มีการจัดตั้งแคมเปญเรียกร้องการกู้คืนโมโกะโมไก จากชาวต่างชาติกลับคืนสู่แผ่นดินแม่ และยังคงดำเนินเรื่อยมาจนปัจจุบัน