ออฟฟิศซินโดรม โรคยอดฮิตของคนรุ่นใหม่
ออฟฟิศซินโดรม เป็นง่ายแต่หายยาก ป้องกันไว้ก่อนดีที่สุด!
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ต้องนั่งทำงานทั้งวัน ก็ถือว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นโรค ออฟฟิศซินโดรม หลายคนเข้าใจว่าคนที่จะเป็นโรคออฟฟิศโดรมนั้นต้องเป็นพนักงานออฟฟิศเท่านั้น ซึ่งนั่นเป็นส่วนมากของผู้ที่เป็นโรคนี้ เนื่องจากพนักงานออฟฟิศต้องนั่งทำงานอยู่ตลอดเวลา แต่จริงๆ แล้วอาชีพอื่นก็มีความเสี่ยงด้วยกัน จึงต้องหาทางรับมือและป้องกันที่จะเกิดขึ้น
สารบัญ
- ออฟฟิศซินโดรม เกิดจากอะไร
- ระดับความรุนแรงของโรค ออฟฟิศซินโดรม
- วิธีดูแลตัวเองเพื่อป้องกันโรค ออฟฟิศซินโดรม
ออฟฟิศซินโดรม เกิดจากอะไร
สำหรับอาการของโรค ออฟฟิศซินโดรม นั้นเกิดจากการทำงานด้วยอิริยาบถเดิมซ้ำๆ เป็นเวลานานหลายชั่วโมง ไม่มีการเปลี่ยนท่าทาง ยืดเส้นยืดสายเพื่อคลายกล้ามเนื้อ หรือการนั่งทำงานด้วยสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวย เช่น เก้าอี้ โต๊ะ หน้าจอคอมพิวเตอร์ไม่สมดุลกับสรีระของร่างกาย ทำให้เกิดผลกระทบกับการทำงานของกล้ามเนื้อ เอ็นกระดูกและเส้นประสาท หากยังไม่ปรับพฤติกรรมดังกล่าว ก็อาจจะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคออฟฟิศซินโดรมสูงได้
ขอแนะนำการทำกายภาพบำบัดสำหรับผู้ที่กำลังเผชิญปัญหาโรคออฟฟิศซินโดรม
https://www.themoveclubratchada.com/office-syndrome.html |
ระดับความรุนแรงของโรค ออฟฟิศซินโดรม
ระยะแรก
เมื่อนั่งทำงานในท่าเดิมนานๆ ก็จะเริ่มรู้สึกปวดเมื่อยกล้ามเนื้อบริเวณหลัง และช่วงสะโพก แต่เมื่อมีการลุกขึ้นยืน ขยับร่างกายหรือเปลี่ยนอิริยาบถ อาการปวดก็จะหายไป โดยอาการเหล่านี้จะเริ่มเป็นๆ หายๆ เหมือนส่งสัญญาณให้กับตัวเราว่าอาการ ออฟฟิศซินโดรม กำลังมา จึงต้องรีบป้องกันเพื่อไม่ให้มีอาการรุนแรงขึ้น
ระยะสอง
ระยะนี้จะเริ่มรุนแรงขึ้น โดยจะมีอาการปวดบริเวณช่วงหลังขณะทำงาน แม้ปรับเปลี่ยนอิริยาบถ ยืดเส้นสายแล้วอาการปวดก็ไม่หายเหมือนกับอาการแรก และอาการปวดเหล่านี้เริ่มมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ส่งผลต่อการใช้ชีวิตและการทำงาน หากอยู่ในระยะนี้แล้ว ไม่ควรปล่อยให้อาการกำเริบหนักถึงขั้นเรื้อรัง แนะนำให้รีบเข้ารับการรักษาโดยด่วน
ระยะสุดท้าย
หากอยู่ในระยะนี้แล้วค่อนข้างเป็นอันตรายต่อร่างกาย ร่างกายจะรู้สึกปวดตลอดเวลาแม้ไม่ได้นั่งนานๆ ร่วมกับอาการชา อ่อนแรง เวียนหัวปวดไมเกรน ซึ่งจะส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน จนไม่สามารถใช้ชีวิตหรือทำงานเป็นปกติได้ ควรเข้ารับการรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญให้ไวที่สุด
วิธีดูแลตัวเองเพื่อป้องกันโรค ออฟฟิศซินโดรม
- ปรับอิริยาบถในการทำงาน ไม่นั่งท่าเดียวตลอดทั้งวัน
- ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมในการทำงานเพื่อให้ร่างกายสมดุล ลดปัจจัยในการเกิดอาการปวด
- เหยียดกล้ามเนื้อของร่างกายขณะทำงานบ้าง เพื่อให้เลือดและน้ำเหลืองไหลเวียนดีขึ้น
- ออกกำลังกายเพื่อบริหารกล้ามเนื้อ เพิ่มความแข็งแรงและความยืดหยุ่นให้กับร่างกาย
- หาโอกาสนวดคลายกล้ามเนื้อ ประคบร้อน แช่น้ำอุ่นเพื่อผ่อนคลายร่างกาย
สรุป
ออฟฟิศซินโดรม เป็นหนึ่งในโรคที่เกิดจากพฤติกรรมในการนั่งทำงานในอิริยาบถเดิมเป็นเวลานานโดยไม่มีการเปลี่ยนท่าทาง ส่งผลให้เกิดการกดทับ และการใช้กล้ามเนื้อบริเวณหลังมากเกินไปจนเกิดอาการปวด อย่างร้ายแรงที่สุดคือปวดจนไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ ซึ่งตัวเราสามารถหลีกเลี่ยงโรคนี้ได้ด้วยการขยับนิด ขยับหน่อย ไม่ปล่อยให้ร่างกายใช้กล้ามเนื้อหลังมากไป