หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

เริ่มอ้วนเมื่อไหร่ รู้ได้ทันที

โพสท์โดย แสงระวี


การที่เราจะเริ่มรู้สึกว่าตัวเองอ้วนหรือไม่นั้นหรือไม่ใช่เรื่องยากมากเท่าไหร่แล้วใช้เพื่อนข้างๆตอบดูก็ได้นะ 555 หรือไม่เพียงแค่เห็นรูปร่างของตัวเองคนเองก็ไม่ต้องไปขอความช่วยเหลือจากเพื่อนที่ไหนแล้วล่ะ ถูกไหม? วันนี้เราก็มีวิธีเด็ดๆมาแนะนำวิธีการตรวจสอบว่าคุณหรือคนรอบข้างของคุณมีภาวะอ้วนหรือไม่จะมีวิธีอะไรถ้ามาหาคำตอบกันเลยดีกว่า
เพียงแค่มองดูด้วยสายตาอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอแล้วในปัจจุบันนี้ ดังนั้นจึงมีวิธีการวินิจฉัยโรคอ้วนที่นำมาใช้มากมายนะตั้งแต่วิธีการง่ายๆไปจนถึงวิธีที่ซ่อนเงื่อนในบทความนี้จะขออธิบายวิธีที่นิยมใชักันบ่อยๆเลยแล้วกัน
ในปัจจุบันสำหรับการวินิจฉัยโรคอ้วนจะมีวิธีการที่ว่าก็คือ
1. Body Mass Index
2.Waist Circumference(WC)
3. Persent total body fat

Body Mass Index
คือการใช้ค่าดัชนีมวลกายเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดที่เราสามารถคำนวณได้เองเพื่อคัดกรองว่าเราอ้วนแล้วหรือไม่เพียงแค่รู้ค่าน้ำหนักที่เป็นหน่วยกิโลกรัม น้าความสูงที่หน่วยเป็นเมตรแล้วเริ่มคำนวณตามสูตรง่ายๆดังนี้
Body Mass Index- น้ำหนัก
ส่วนสูง
-ค่าดัชนีมวลกายในคนเอเชียจะใช้ตามเกณฑ์ข้อตกลงการวินิจฉัยของ w h o ปี 2547 เนื่องด้วยคนเอเชียหรือคนไทยมีรูปร่างที่เล็กกว่ามาจากฝั่งตะวันตกเช่นคนยุโรปอเมริกาและคนแอฟริกาที่โดยทั่วไปแล้วความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนั้นสูงเท่ากันดังนี้จึงมีการปรับเกณฑ์ให้สำหรับคนเอเชียใหม่ด้วย
ค่า Body Mass Index ที่ปกติ = 18.5-22.99 กิโลกรัมต่อเมตร
ค่า Body Mass Index ที่ถือว่าน้ำหนักเกินมาตรฐาน= 23-24 .99
ค่า Body Mass Index ที่คาดว่าจะเข้าสู่ภาวะอ้วนคืออยู่ที่มากกว่าหรือเท่ากับ 25 กิโลกรัมต่อเมตร

โดยข้อจำกัดของ Body Mass Indexค่าดัชนีที่เหมาะสมในการใช้คัดกรองโรคอ้วนเช่นภาวะน้ำหนักเกินเท่านั้น
เนื่องจากมีข้อจำกัดที่หลากหลายโดยเฉพาะจุดตัดของเกณฑ์น้ำหนักและความอ้วนที่แตกต่างกันในแต่ละเชื้อชาติ Body Mass Index
ยังคงไม่ได้บอกถึงมวลกล้ามเนื้อและไขมันในร่างกายว่าบริเวณไหนมีมากมีน้อย คนที่มีมากอาจถูกวินิจฉัยว่าอ้วนได้ แต่การดู Body Mass Index เพียงอย่างเดียวอาจจะรู้ได้เพียงรวมๆว่าน้ำหนักตัวมีมากกว่าไขมัน
นอกจากนี้ก็ยังไม่ได้แยกว่าค่าที่เหมาะสมของหญิงชายควรเป็นเท่าไหร่จึงจะบอกได้ว่าคุณและใครอ้วนแล้วนะนั่นเอง
ทั้งที่เราต่างก็ทราบกันดีว่าร่างกายของหญิงชายมีความแตกต่างกันมากโดยเฉพาะมนต์ไขมันในร่างกาย
(WC) Waist Circumferenceหรือ เส้นรอบเอว
เหตุผลที่ต้องใช้ Waist Circumference(WC) มาเป็นอีกค่าในการบอกว่าคุณหรือคนรอบข้างมีความอ้วนสืบเนื่องมาจากการที่ให้ความสำคัญในประเด็นการสะสมไขมันบริเวณท้องเพราะหากคุณมีไขมันสะสมมากก็จะทำให้ขนาดเส้นรอบวงที่มากขึ้นหรือที่เรียกว่า#อ้วนลงพุง#
นอกจากนี้ยังพบได้อีกว่าคนอ้วนลงพุงหรือผู้ที่มีเส้นรอบวงของเอวมากๆจะสัมพันธ์กับการเกิดโรคในกลุ่มที่เกี่ยวกับระบบการเผาผลาญไม่ดีหรือ'เมตาบอลิก ' มากขึ้นเช่นไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน
การหาค่าของเส้นรอบเอวจะได้จากการวัดด้วยสายวัดมาตรฐานวัดบริเวณกึ่งกลางของข้างเอว ระหว่างขอบล่างของกระดูกซี่โครงร่าง กลับขอบบนของกระดูกเชิงกราน ให้สายวัดรอบเอวและอยู่ในแนวขนานกับพื้น ขณะที่วัดก็ควรที่จะปล่อยตามสบายเพื่อให้ค่าของการวัดออกมาสมบูรณ์ คือไม่แขม่วพุง หรือบิดเบือนค่าความจริงของพุง

 


คำถามที่พบบ่อย
คำถามที่ 1 : ขนาดของเส้นรอบวงที่ส่วนใหญ่ถือว่ามีภาวะอ้วนลงพุงเท่าไหร่?
คำตอบ : >90 cm (>36นิ้ว) ในชาย 80 cm (>32นิ้ว) ในผู้หญิง
***โดยอ้างอิงจาก เกณฑ์ของ WHO ปี 2547***

อัตราส่วนของเอวกับสะโพก
ค่านี้มีการนำเอาเส้นรอบสะโพกเข้ามาคำนวณด้วยซึ่งถือเป็นตัวบ่งบอกการกระจายตัวของไขมันช่องท้องและสะโพกได้ดีเลย จากการศึกษาพบว่าไขมันที่สะสมบริเวณสะโพกมากๆก็มีความสำคัญในการเกิดโรคได้ไม่น้อยเลยโดยเฉพาะโรคเรื้อรังไม่ต่างไปจากไขมันที่สะสมในช่องท้องเช่นโรคหัวใจ หลอดเลือด ไขมันในเลือดสูง ความดันและเบาหวาน
การวัดเส้นรอบสะโพกหมาตะวัดส่วนที่กว้างที่สุดของสะโพกหรือช่วงก้นโดยที่ต้องยืนให้ขาทั้งสองชิดกันแล้ววัดเป็นนิ้วส่วนการวัดเส้นรอบเอว ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกันตามที่อธิบายเอาไว้
คุณสามารถคำนวณในค่า WHR ได้ง่าย ๆ โดยการนำค่าเส้นรอบเอว เปอร์เซ็นต์ด้วยเส้นรอบสะโพกได้ตามสูตรการคำนวณตามนี้
WHR= เส้นรอบเอว(นิ้ว)
เส้นรอบสะโพก(นิ้ว)
ค่าที่ได้ออกมานั้นจะนำไปแปลผลได้ดังนี้
เอว/สะโพก(WHR) มากกว่าหรือเท่ากับ 0.9 ในชายและ มากกว่าหรือเท่ากับ0.85 ในหญิง
ถือว่าเข้าข่ายอ้วนลงพุงและเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดระบบเผาผลาญแย่ หรือ เมตาบอลิก ซึ่งจะมีรูปร่างที่คล้ายผล Apple เพราะมีไขมันสะสมบริเวณท้องมากนั่นเอง

คำถามที่พบบ่อย
คำถามที่1 : (WHR) ควรทีค่าเท่ากับเท่าไหร่จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค
คำตอบ : WHR หรือสัดส่วนของรอบเอวต้องมีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 1 ถึงจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดเบาหวาน ความดัน ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ และหลอดเลือด
ข้อจำกัดของ (WHR) คือ
สัดส่วนที่เท่าเดิม หากมีไขมันสะสมทั้งรอบเอว-สะโพก บนหรือล่างมีมากหรือน้อย หากมีไขมันเพิ่มในบริเวณสะโพกรูปร่างจะคล้ายกับผลลูกแพร์ ซึ่งจำเป็นต้องดูตามค่ารอบเอวร่วมด้วยเสมอว่า มาก-น้อยกว้าเกณฑ์ปกติ ในงานวิจัยหลายชิ้นพบว่า ขนาดของ (WC), (WHR)และ (BMI) มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันและยังบ่ฃบอกถึฃความเสี่ยงขอฃการเกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่เกิดจากการมีไขมันเพิ่มขึ้นได้ดีเลย
Persent total body fat หรือเปอร์เซ็นต์ของปริมาณไขมันรวมในร่างกาย
เป็นการวัดปริมาณไขมันที่สะสมทั้งหมดในร่างกายทุก ๆ ส่วนเทียบกับเนื้อเยื่อต่าง ๆ ที่ไม่ใช่ไขมันในเลือด เพื่อดูว่าคุณมีไขมันมากหรือน้อยแค่ไหน
ค่าไขมันในที่สะสมในร่างกาย สามารถวัดได้ด้วยหลายวิธีดังนี้
1. คาร์ลิปเปอร์(Caliper)
2.(BIA)Bioelectrical impedance Analysis
3.(DXA Scan) Dual Energy X-ray Absorptiometry
เกณฑ์การวิจัย โรคอ้วน โดยใช้ค่าเปอร์เซ็นต์ไขมันสะสมในร่างกายมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับหลาย ๆ ปัจจัย เช่น อายุ เชื้อชาติ เพศ

คำถามที่พบบ่อย
คำถามที่ 1 : การกำหนดเกณฑ์ระดับเปอร์เซ็นต์ของไขมันที่สะสมในร่างกายควรอยู่ที่เท่าไหร่
คำตอบ : ตามกำหนดระดับเปอร์เซ็นต์ของ American Country on Exercise (ACE)
>25% ในชาย >32% ในผู้หญิง แต่จะมีค่าที่พอรับได้คือ 18-24%ในชาย และ 25-31%ในหญิง
พอจะทราบเป็นสังเขปแล้วสำหรับวิธีการวัดตามเกณฑ์ที่เหมาะสม ทั้งนี้ทั้งนั้นหากว่าคุณเริ่มที่จะรู้ตัวแล้วว่าอยู่ในความเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่ตามมา การลดน้ำหนัก หรือลดขนาดรอบเอว ก็ถือว่าจะช่วยลดความเสี่ยงได้ไม่มากก็น้อยเลย
สุดท้ายนี้บทความนี้จะเป็นประโยขน์ด้วยหากคุณนำไปปรับใช้กับตัวเองและคนรอบข้างก็จะช่วนให้เขาและคุณรู้ว่าควรลดน้ำหนักได้เมื่อไหร่
Reference
1. Simpson JA, MacInnis RJ, Peeters A. Hopper JL, Giles GG, English DR. A comparison
Of adiposity measures as predictors of all-cause mortality : the Melbourne
Collaborative Cohort Study. Obesity (Silver Spring) 2007; 15 (4) : 994 1003.
2. Koster A. Leitzmann MF, Schatzkin A, Mouw T, Adams KF, van Eijk JT, et al. Waist
Circumference and mortality. Am J Epidemiol 2008; 167 (12): 1465-75.
3. Jacobs EJ, Newton CC, Wang Y, Patel AV, McCullough ML, Campbell PT, et al. Waist
Circumference and all-cause mortality in a large US cohort. Arch Intern Med 2010;
On

โพสท์โดย: แสงระวี
อ้างอิงจาก: pizxabay
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
แสงระวี's profile


โพสท์โดย: แสงระวี
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
5 VOTES (5/5 จาก 1 คน)
VOTED: แสร์
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
อดีตผู้บริหารหญิง Google ไทย เมาแล้วขับ ลาออกเมื่อต้นปี..ทั้งนี้ยังมาก่อเหตุซ้ำอีก!นางเอกดัง จบป.เอกแล้ว ลุ้นเล่นการเมืองพฤติกรรมและวัฒนธรรมแปลกประหลาด แต่เป็นเรื่องปกติของผู้คนในอิตาลี ที่คุณอาจจะสงสัยและไม่รู้มาก่อน!สื่อดัง "วอยซ์ทีวี" ประกาศปิดกิจการ 31 พ.ค.นี้ เลิกจ้างพนักงานกว่า 100 ชีวิตเขมรโป๊ะแตก! โชว์ "มงกุฎร่ายรำ" เขมรโบราณอายุพันปี ชาวเน็ตไทยตามแหก ลั่น แบบนี้ที่สำเพ็งมีขายเยอะเลย!!ญี่ปุ่นสั่งกั้นมุมภเขาไฟฟูจิ! เหตุ นนท. ทำพิษลุงโวยสาวเอาสุนัขขึ้นรถไฟใต้ดินได้ยังไง ก่อนจะรู้ว่าความจริง ทำเอาหน้าชา อายหน้าแดงไปเลยอิสราเอลเตรียมโจมตีทางอากาศเมืองราฟาห์ ก่อนบุกผู้ประกาศสาวเป็นลม กลางรายการสดทางทีวี
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
พฤติกรรมและวัฒนธรรมแปลกประหลาด แต่เป็นเรื่องปกติของผู้คนในอิตาลี ที่คุณอาจจะสงสัยและไม่รู้มาก่อน!ญี่ปุ่นสั่งกั้นมุมภเขาไฟฟูจิ! เหตุ นนท. ทำพิษอดีตผู้บริหารหญิง Google ไทย เมาแล้วขับ ลาออกเมื่อต้นปี..ทั้งนี้ยังมาก่อเหตุซ้ำอีก!Starlink ของ Musk จะหยุดให้บริการ!
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
นอร์เวย์: ดินแดนแห่งสวัสดิการ "เงินก้อนโตตั้งแต่เกิด" จริงหรือ?คืนชีพผักเหี่ยวแบบง่ายๆ..ให้กลับมาสดใสอีกครั้งนิตยสารแฟชั่นโซเวียตเกิดในปีที่เกิดเหตุการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เชอร์โนบิลโรงเรียนอนุบาลเชอร์โนบิลในยูเครน ของเล่นกระจัดกระจายไปทั่ว รังสีนิวเคลียร์น่ากลัว
ตั้งกระทู้ใหม่