หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

แบคทีเรียและลำไส้พรีไบโอติกส์และการลดความเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุ

โพสท์โดย Sangsom

การเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบของจุลินทรีย์ที่ไม่สมดุลใน

ของผู้สูงอายุสามารถพัฒนาให้เกิดโรคอัลไซเมอร์จากความสัมพันธ์ระหว่างสมองและลําไส้ที่มีการสื่อสารแบบสองทิศทาง

โดยแบคทีเรียบางกลุ่มที่พบในลําไส้สามารถผลิตสารเมแทบอไลต์ที่เป็นพิษต่อเซลล์ประสาท ส่งผลทําให้เกิดการอักเสบและการตายของเซลล์ประสาทในระบบประสาทส่วนกลางผ่านวิถีหรือช่องทางต่างๆ อาหารเป็นปัจจัยสําคัญที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของแบคทีเรียในลําไส้ การบริโภคอาหารกลุ่มพรีไบโอติกส์หรือใยอาหารจากผัก ผลไม้ และธัญพืชสามารถกระตุ้นแบคทีเรียที่ผลิตกรดไขมันสายสั้นหรือจุลินทรีย์กลุ่มโพรไบโอติกส์

โดยแบคทีเรียดังกล่าวสามารถผลิตสารเมแทบอไลต์ต่อต้านการอักเสบและลดการผ่านเข้าไปของสารเมแทบอไลต์ที่เป็นพิษต่อเซลล์ประสาท ดังนั้น ความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างแบคทีเรียในลําไส้ พรีไบโอติกส์และการเกิดโรคอัลไซเมอร์อาจเป็นแนวทางในการช่วยปูองกันความเสี่ยงการเกิดของโรคอัลไซเมอร์ที่มีสาเหตุจากความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ในผู้สูงอายุได้

โรคอัลไซเมอร์(Alzheimer’s Disease; AD)

เป็นความผิดปกติทางระบบประสาท เกิดจากการตายของเซลล์ประสาทในสมอง ทําให้เกิดการสูญเสียความทรงจํา ความสามารถในด้านการใช้ความคิด การตัดสินใจสติปัญญา ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรม หรือบุคลิกภาพ  เป็นสาเหตุสําคัญของการเกิดภาวะสมองเสื่อม (dementia)ที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ (ร้อยละ 60-70) ของกลุ่มอาการโรคสมองเสื่อม

ปัจจุบันประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เนื่องจากมีจํานวนประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมด  จากรายงานการสํารวจสุขภาพของประชาชน โดยการคัดกรองผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปในประเทศไทย พบว่า มีผู้สูงอายุที่มีสภาวะสมองเสื่อมร้อยละ 8.1เป็นผู้หญิง ร้อยละ 9.2 มากกว่าผู้ชาย ร้อยละ 6.8 โดยความชุกของภาวะสมองเสื่อมจะเพิ่มมากขึ้นตามอายุ จนอยู่ในระดับสูงสุดในกลุ่มที่มีอายุ 80 ปีขึ้นไป วิชัย เอกพลากร,2557

ลักษณะพยาธิสภาพของเนื้อสมองที่เกิดโรคอัลไซเมอร์จะเกิดเบต้า-อะไมลอยด์ (beta-amyloid)ที่เป็นผลจากการเมแทบอลิซึมของอะไมลอยด์พรีเคอร์เซอร์โปรตีน (amyloid precursor protein; APP)ที่ผิดปกติ จนเกิดการสะสมและกลายเป็นแผ่นอะไมลอยด์ (amyloid plaque)ของเซลล์สมอง หรือการรวมกันของโปรตีนเทา (tau protein)ที่อยู่รอบไมโครทิวบูล

โดยมีการม้วนพับผิดปกติ (misfold)แล้วจับตัวและการเรียงกันไม่เป็นระเบียบของเส้นใยประสาท จนมีลักษณะพันกันยุ่งของเส้นใยในเซลล์สมอง (neurofibrillary tangle) (Long, & Holtzman,2019;อัญชลี ศรีจําเริญ,2561)อย่างไรก็ตาม การพัฒนาการเกิดโรคอัลไซเมอร์นั้นยังมีรูปแบบความสัมพันธ์กับแบคทีเรียที่อยู่ในลําไส้ที่สามารถทําให้เกิดสารประกอบเบต้า-อะไมลอยด์ได้ ทั้งนี้ พบว่าในระบบทางเดินอาหารของมนุษย์มีจุลินทรีย์ในลําไส้จํานวนมากกว่า 1014 เซลล์ ประกอบด้วยแบคทีเรียเป็นส่วนใหญ่ และมีจุลินทรีย์ชนิดอื่นๆ เช่น ไวรัสโปรโตซัว และฟังไจ 

(Thursby, & Juge,2017) แบคทีเรียไฟลัมหลักที่พบได้แก่ แบคเทอรอยเดเทส(Bacteroidetes)และเฟอร์มิคิวท์ (Firmicutes)และมีไฟลัมอื่นๆ เช่น แอคติโนแบคทีเรีย (Actinobacteria),โพรทีโอแบคทีเรีย (Proteobacteria),ฟิวโซแบคทีเรียม (Fusobacteria),และ เวอร์รูโคมิโครเบีย(Verrucomicrobia)เป็นต้น (Rinninella, et al.,2019)

โดยแบคทีเรียในลําไส้มีบทบาทสําคัญต่อสุขภาพและมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคในโฮสต์ (host)หรือในร่างกายของแต่บุคคลนั้น ๆ ซึ่งไม่ได้จํากัดการเกิดอันตรกิริยาในลําไส้เพียงอย่างเดียว แต่ส่งผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง โดยพบว่าสมองและลําไส้มีการสื่อสารแบบสองทิศทาง (bidirectional communication) (Dinan, Stilling, Stanton, &Cryan,2015)

ทั้งนี้เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุมักจะเกิดการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของจุลินทรีย์ที่ไม่สมดุล (dysbiosis)โดยมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคอัลไซเมอร์ (Parker, Fonseca, & Carding,2020) มีรายงานพบว่าสารเมแทบอไลต์ที่ผลิตจากแบคทีเรียที่สามารถกระตุ้นการตอบสนองระหว่างสมองและลําไส้ได้ทั้งทางตรงและทางอ้อมจากกระบวนการสื่อสารแบบสองทิศทางระหว่างแกนสมองและลําไส้ (gut–brain axis)ผ่านวิถีในลักษณะต่าง ๆเช่น วิถีระบบภูมิคุ้มกัน (immune pathways)วิถีต่อมไร้ท่อ (endocrine pathways)และฮอร์โมนสารสื่อประสาท (neurotransmitter hormone)เป็นต้น (Westfall,et al.,2017)

 

การเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบของแบคทีเรียในลําไส้ มักได้รับอิทธิพลจากอาหารเป็นปัจจัยหลัก และมีอิทธิพลเหนือพันธุกรรมของโฮสต์ (Rothschild, et al., 2018) และย่อมส่งผลต่อสุขภาพโดยพบว่า การบริโภคอาหารกลุ่มพรีไบโอติกส์ (prebiotics) หรืออาหารที่มีใยอาหารจากผัก ผลไม้ และธัญพืชจะช่วยส่งเสริมให้แบคทีเรียที่ดีต่อสุขภาพมีการเจริญเติบโตและสร้างสารเมแทบอไลต์ที่มีผลต่อการปูองกันการเกิดโรคอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุที่มีสาเหตุจากความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ในลําไส้

เพื่อความเข้าใจกลไกการสื่อสารระหว่างสมองและลําไส้ ความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงของแบคทีเรียกับการเกิดโรคอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุ และอาหารที่มีส่วนช่วยในการปูองกันโรคอัลไซเมอร์ ดังนั้น บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างแบคทีเรียในลําไส้ต่อการเกิดโรคอัลไซเมอร์และการบริโภคอาหารที่มีส่วนช่วยในการปูองกันการเกิดโรคอัลไซเมอร์

การสื่อสารระหว่างสมองและลำไส้การสื่อสารระหว่างสมองและลําไส้ เป็นกลไกที่เกี่ยวกับการส่งสัญญาณแบบสองทิศทางระหว่างระบบประสาทส่วนกลางของสมองและระบบทางเดินอาหาร ผ่านวิถีระบบประสาทและฮอร์โมนที่ซับซ้อน (Dalile, et al., 2019) เช่น การสื่อสารผ่านทางระบบประสาทอัตโนมัติและระบบประสาทเอนเทอริก (enteric nervous system; ENS) ซึ่งเป็นระบบประสาทลําไส้ เชื่อมโยงกันเป็นร่างแหในระบบทางเดินอาหาร  ทั้งนี้บทบาทของสมองต่อลําไส้ในการสื่อสารแบบสองทิศทางจะทําหน้าที่ควบคุมการหลั่งและการขวางกั้นการเคลื่อนที่ของของเหลว การเกิดอันตรกิริยาระหว่างระบบภูมิคุ้มกันและระบบต่อมไร้ท่อ การเคลื่อนไหวของลําไส้ การกระตุ้นการสร้างสารเมือกและไบโอฟิล์ม (biofilm) และการผ่านเข้าออกของลําไส้ (Carabotti, Scirocco, Maselli, & Severi, 2015) และเนื่องจากในลําไส้มีแบคทีเรียอาศัยอยู่เป็นจํานวนมาก

 

โดยแบคทีเรียสามารถผลิตสารเมแทบอไลต์จากอาหารผ่านกระบวนการเมแทบอลิซึมโดยมีโมเลกุลที่ได้จากการผลิตโดยตรงจากแบคทีเรีย หรือเปลี่ยนแปลงเป็นโมเลกุลอื่นจากกระบวนการชีวเคมีในร่างกายหรือกรดน้ําดี สารเมแทบอไลต์ที่เกิดขึ้นจะกระตุ้นผ่านเซลล์เอนเทอโรโครมาฟิน (enterochromaffin cells) ซึ่งเป็นเซลล์เอนโดไครน์และเซลล์นิวโรเอนโดไครน์ในลําไส้ (Conte, Sichetti, & Traina, 2020) นอกจากนี้ แบคทีเรียในลําไส้และสารเมแทบอไลต์ยังมีบทบาทควบคุมประสาทส่วนปลายและระบบประสาทส่วนกลางผ่านการควบคุมเซลล์ประสาทนําเข้าในลําไส้ (enteric sensory afferents) กระตุ้นเส้นประสาทเวกัส (vagus nerve) เซลล์เยื่อบุที่ผลิตฮอร์โมน สารสื่อประสาท การผลิตไซโตไคน์ การปลดปล่อยกรดไขมันสายสั้น (short chain fatty acids) และการไหลเวียน รวมทั้งการแสดงออกและการหมุนเวียนของสารสื่อประสาท เช่น เซโรโทนิน (serotonin), กาบา (GABA) และ นิวโรโทรฟิก แฟกเตอร์(neurotrophic factor) เป็นต้น (Parker, Fonseca, & Carding, 2020)

นอกจากนี้ ยังปูองกันให้ลําไส้มีความสามารถในการขวางกั้นหรือช่วยให้โปรตีนของรอยต่อระหว่างเซลล์หรือเซลล์จังชันก์ (cell junction) ที่ลําไส้สามารถปูองกันการรั่วไหลของสารเมแทบอไลต์จากแบคทีเรีย เนื่องจากสารเมแทบอไลต์จากแบคทีเรียบางชนิดสามารถผ่านแนวกั้นเลือดและสมอง (blood brain barrier; BBB) เข้าสู่สมองส่วนกลางได้ (Westfall, et al., 2017; Carabotti, Scirocco,Maselli, & Severi, 2015)

แบคทีเรียในลำไส้กับการเกิดโรคอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุในลําไส้ของผู้สูงอายุพบว่า มีการเพิ่มขึ้นของแบคทีเรียก่อโรคมากกว่าแบคทีเรียที่ให้ประโยชน์ต่อร่างกายทําให้เกิดความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ในลําไส้ เช่น การเพิ่มขึ้นของแบคทีเรียกลุ่ม โพรทีโอแบคทีเรีย (Proteobacteria spp.) และการลดลงของไบฟิโดแบคทีเรีย (Bifidobacteria spp.)

หรือการลดลงของกลุ่มแบคทีเรียที่สามารถผลิตบิวทิเรต (butyrate) ได้ เช่น รูมิโนคอคคัส (Ruminococcus) ฟีคอลลิแบคทีเรียม (Faecalibacterium spp.)  (Westfall, etal., 2017)ทั้งนี้แบคทีเรียบางชนิดสามารถสร้างสารเมแทบอไลต์ไปกระตุ้นการผลิตไซโตไคน์ที่ทําให้เกิดการอักเสบ (pro-inflammation) เช่นสารประกอบลิโพโพลีแซคคาไรด์ (lipopolysaccharides; LPS) และสารประกอบบีต้า-เอ็น-เมทิลอะมิโน-แอล-อะลานีน (β-N-methylamino-L-alanine; BMAA) ซึ่งเป็นสารที่มีความเป็นพิษต่อระบบประสาท (Sarkar, & Banerjee, 2019) โดยมีงานวิจัยพบว่า ปริมาณของสารประกอบลิโพโพลีแซคคาไรด์ในสมองของคนที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ ในส่วนของนีโอคอร์เทกซ์ (neocortex) และฮิปโปแคมปัส (hippocampus) มีค่าสูงกว่าสมองคนปกติ 2 และ 3 เท่า ตามลําดับ (Zhao, Jaber, & Lukiw, 2017) ความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ลําไส้

โดยมีแบคทีเรียบางชนิดที่ผลิตโปรตีนอะไมลอยด์ (amyloid proteins) ทําให้โครงสร้างเซลล์ของแบคทีเรียสามารถจับกันด้วยการสร้างสารไบโอฟิล์มที่ทนต่อการทําลายทางกายภาพและระบบภูมิคุ้มกัน อะไมลอยด์ที่ผลิตโดยแบคทีเรียในลําไส้มีจะมีโครงสร้างระดับปฐมภูมิที่แตกต่างจากอะไมลอยด์ที่เกิดขึ้นในระบบประสาทส่วนกลาง

แต่จะมีลักษณะร่วมกันในโครงสร้างระดับตติยภูมิ การจับตัวของโปรตีนคือ แอลฟา-ซิน (α-syn) หรือเบต้าอะไมลอยด์ที่ระบบประสาทและลําไส้จะส่งผลให้มีการส่งสัญญาณไปยังระบบภูมิคุ้มกันให้ทํางานเพิ่มขึ้น โดยจะกระตุ้นไซโตไคน์ชนิดที่มีผลต่อการอักเสบ เช่น อินเตอร์ลิวคิน-1 เบต้า (interleukin-1β; IL-1β) อินเตอร์ลิวคิน-6 (interleukin-6; IL-6) และทูเมอร์ เนโครซิส เฟคเตอร์-แอลฟา (tumor necrosis factor-α; TNF-α) ทําให้เกิดการอักเสบของแนวกั้นเลือดและสมองมีการสะสมหรือรวมตัวของโปรตีนดังกล่าวในสมองส่วนกลางและในลําไส้ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุ

แบคทีเรียที่สร้างอะไมลอยด์พบได้ทั้งแบคทีเรียแกรมลบและแกรมบวก เช่น แบคเทอรอยเดเทส (Bacteroidetes) แอคติโนแบคทีเรีย(Atinobacteria) คลอโรเฟล็กซี (Chloroflexi) โพรทีโอแบคทีเรีย (Proteobacteria) และเฟอร์มิคิวท์ (Firmicutes) (Kowalski, & Mulak, 2019; Lina, et al., 2019)

 

อาหารพรีไบโอติกส์กับการลดความเสี่ยงของการเกิดโรคอัลไซเมอร์

พรีไบโอติกส์จัดเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนที่พบได้ในผัก ผลไม้ หรือธัญพืช เป็นอาหารที่ร่างกายไม่สามารถย่อยและดูดซึมได้ในระบบทางเดินอาหาร แต่จะถูกย่อยโดยเอนไซม์ของแบคทีเรียที่อยู่ในลําไส้ใหญ่เกิดกระบวนการหมัก (fermentation) ได้ผลผลิตเป็นกรดไขมันสายสั้นที่มีคุณสมบัติในการปูองกันระบบประสาท กรดไขมันสายสั้นที่พบได้มากจากกระบวนการหมักในลําไส้ใหญ่ ได้แก่ อะซีเตต (acetate) โพรพิโอเนต (propionate) และบิวทิเรต (butyrate) (Dalile, Oudenhove, Vervliet, & Verbeke, 2019) ซึ่งกรดไขมันสายสั้นดังกล่าวมีคุณสมบัติในการควบคุมการเกิดการอักเสบ โดยพบว่า บิวทิเรตจะกดการสร้างลิโพโพลีแซคคาร์ไรด์ และไซโตไคน์ที่กระตุ้นการอักเสบ เช่น TNF-α, IL-6ไนตริกออกไซด์ (nitric oxide)

 

และเพิ่มการปล่อยไซโตไคน์ต่อต้านการอักเสบ เช่น อินเตอร์ลิวคิน-10 (IL-10) ทั้งนี้ มีรายงานวิจัยพบว่า อะซิเตตและโพรพิโอเนตที่ 30 มิลลิโมล (mM)สามารถลดการผลิตTNF-αจากการกระตุ้นของลิโพโพลีแซคคาไรด์ในนิวโทรฟิล (neutrophil) (Vinolo, Rodrigues, Nachbar, & Curi,2011)

ทั้งนี้ กรดไขมันสายสั้นจะไปรบกวนอันตรกิริยาระหว่างโปรตีนกับโปรตีนอะไมลอยด์เบต้าเปปไทด์ (amyloid betapeptide)ซึ่งเป็นโอลิโกเมอร์ที่เป็นพิษต่อระบบประสาทที่จะทําให้เกิดการสูญเสียการไซแนปส์และความจํานอกจากนี้ กรดไขมันสายสั้นสามารถผ่านแนวกั้นเลือดและสมองทําให้ยับยั้งการตอบสนองต่อการอักเสบ(Silva,et al.,2020)พรีไบโอติกส์จะช่วยส่งเสริมแบคทีเรียที่ดีต่อสุขภาพให้เจริญเติบโตได้ดี โดยส่งเสริมแบคทีเรียในกลุ่มโพรไบโอติกส์ (probiotics)ซึ่งเป็นแบคทีเรียไม่ก่อโรค เช่น แลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus)ไบฟิโดแบคทีเรีย (Bifidobacteria)แลคโตคอคคัส (Lactococcus)พรีโวเทลลา (Prevotella) (Parker,Fonseca, & Carding,2020)

รวมทั้งส่งเสริมแบคทีเรียในไฟลัมแบคเทอรอยเดเทส (Bacteroidetes)ให้สามารถผลิตอะซีเตตและโพรพิโอเนต และไฟลัมเฟอร์มิคิวท์ (Firmicutes)สามารถผลิตบิวทิเรตได้ โดยแบคทีเรียที่สามารถผลิตกรดไขมันสายสั้นอะซีเตต ได้แก่ แลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus spp.)ไบฟิโดแบคทีเรีย (Bifidobacterium spp.)สเตรปโตคอคคัส (Streptococcus)แบคทีรอยด์ดีส (Bacteroidesspp.)รูมิโนคอคคัส (Ruminococcus spp.)พรีโวเทลลา (Prevotella spp.)และแอคเคอร์แมนเซียมิวซินิฟิลา (Akkermansia muciniphila) (Feng, et al.,2018)โดยอะซีเตตจะช่วยลดไซโตไคน์ที่ทําให้เกิดการอักเสบและทําหน้าที่ควบคุมสัญญาณการอักเสบ (Silva, et al.,2020)

ขณะที่แบคทีเรียที่ผลิตสารประกอบโพรพิโอเนต เช่น ฟาสโคแลคโตแบคทีเรียม ซัคซินาทูเทนส์ (Phascolacctobacteriumsuccinatutens)แบคทีรอยด์ดีส (Bacteroides spp.)ไดอะลิสเตอร์(Dialister spp.)เมกะสเฟียราเอลส์เดนิไอ(Megasphaera elsdenii)โรสบูเรียอินูลินิโวแลนส์ (Roseburia inulinivorans)และรูมิโนคอคคัส (Ruminococcus) (Feng,et al.,2018)โดยพบว่า กรดไขมันสายสั้นมีผลต่อการผลิตสารสื่อประสาทและเพิ่มภาวะความยืดหยุ่นของสมอง (neuronal plasticity) (Martínez Leo, & Segura Campos,2020)

นอกจากนี้ มีรายงานวิจัยพบว่าการรับประทานอาหารกลุ่มพรีไบโอติกส์ซึ่งมีสารสําคัญที่มีความสามารถในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ อาจช่วยส่งเสริมการสร้างแบคทีเรียที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพได้โดยพบว่า การให้อาหารเสริมสารประกอบโพลีฟีนอล (polyphenol)สามารถลดสัดส่วนของแบคทีเรียไฟลัมเฟอร์มิคิวท์ (Firmicutes)ต่อแบคเทอรอยเดเทส (Bacteroidetes)ในลําไส้ได้

ซึ่งช่วยลดการเกิดการอักเสบและอาจเป็นประโยชน์ต่อการลดความเสี่ยงในการเกิดโรคอัลไซเมอร์ (Wu,et al.,2020) แหล่งอาหารของแบคทีเรียที่จัดเป็นอาหารกลุ่มพรีไบโอติกส์ หรือกลุ่มใยอาหารที่เกิดกระบวนการหมักโดยแบคทีเรียแล้วให้กรดไขมันสายสั้นที่สําคัญคือ กลุ่มโอลิโกแซคคาไรด์ (oligosaccharides)ได้แก่ฟรุคโตโอลิโกแซคคาไรด์(fructo-oligosaccharides)สามารถพบได้ในแหล่งอาหาร เช่น หัวหอม กล้วย กระเทียม ชิคอรี่ แก่นตะวันหน่อไม้ฝรั่ง เป็นต้น นอกจากนี้ ยังพบใน ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ น้ําผึ้ง ฯลฯ ขณะที่กาแลคโตโอลิโกแซคคาไรด์(galacto-oligosaccharides)พบได้ตามธรรมชาติในน้ํานมแม่ นมวัว และโยเกิร์ต ฯลฯ และพรีไบโอติกส์กลุ่มเบต้า-กลูแคน (β-glucan)พบมากในธัญพืชไม่ขัดสี ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ เห็ด สาหร่าย ทั้งนี้ผัก ผลไม้ธัญพืชและพืชตระกูลถั่วชนิดต่าง ๆ

เป็นแหล่งพรีไบโอติกส์ที่ส่งเสริมการเจริญของแบคทีเรียที่ส่งเสริมต่อสุขภาพ(Parker, Fonseca, & Carding,2020)นอกเหนือจากคุณสมบัติการเป็นพรีไบโอติกส์ของอาหารจาก ผัก ผลไม้และธัญพืชแล้ว (Dalile,Oudenhove, Vervliet, & Verbeke,2019) มีรายงานวิจัยพบว่า

การรักษาผู้ปุวยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ด้วยการให้รับประทานผลิตภัณฑ์นมที่มีโพรไบโอติกส์ที่มีแบคทีเรียกลุ่มผลิตกรดแลกติก เช่นแลคโตบาซิลลัสแอซิโดฟิลัส (Lactobacillus acidophilus)แลคโตบาซิลลัส เฟอร์เมนตัม (Lactobacillus fermentum)ไบฟิโดแบคทีเรียม ไบฟิดัม (Bifidobacterium bifidum)และแลคโตบาซิลลัส แคซิไอ (Lactobacilluscasei)

โดยรับประทานเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ช่วยเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้และความจําเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญ โดยการประเมินmini-mental-state examination (MMSE) test (Wu,et al.,2020)ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงของความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ในลําไส้จากความสัมพันธ์แบบสองทิศทางระหว่างสมองและลําไส้ที่ทําให้เป็นสาเหตุการเกิดโรคอัลไซเมอร์และผลของการบริโภคอาหารกลุ่มพรีไบโอติกส์ 

การเกิดโรคอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุที่มีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของแบคทีเรียในลําไส้เนื่องจากเกิดความไม่สมดุล ทําให้แบคทีเรียที่ผลิตสารเมแทบอไลต์ที่กระตุ้นอักเสบ ส่งผลกระทบไปยังสมอง

จากความสัมพันธ์ของกลไกการสื่อสารระหว่างสมองและลําไส้ การรับประทานอาหารพรีไบโอติกส์จากผัก ผลไม้ธัญพืช หรือผลิตภัณฑ์นมหรือนมหมัก สามารถกระตุ้นแบคทีเรียที่ผลิตสารเมแทบอไลต์กลุ่มกรดไขมันสายสั้นในการกระตุ้นการสร้างสารไซโตไคน์ที่มีผลต่อการต้านการอักเสบ ช่วยเพิ่มความสมบูรณ์ของเยื่อบุลําไส้ ลดการผ่านเข้าไปของสารเมแทบอไลต์ที่เป็นพิษต่อระบบประสาท และช่วยต่อต้านการเกิดอักเสบของเซลล์ประสาทและการถูกทําลาย

ดังนั้น การส่งเสริมให้ผู้สูงอายุรับประทานอาหารกลุ่มดังกล่าว จึงมีส่วนช่วยในการปูองกันการเกิดโรคอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุ โดยอาจจะมีการแปรรูปให้ง่ายต่อการรับประทาน เช่น การตุ๋น การนึ่ง การต้ม เป็นต้น เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านสรีระที่อาจจะมีปัญหาเรื่องการเคี้ยว การกลืน และการรับรสสัมผัสของผู้สูงอายุ

โพสท์โดย: แสงระวี
อ้างอิงจาก: Carabotti, M., Scirocco, A., Maselli, M.A. , & Severi, C. (2015).The gut-brain axis: interactions between enteric microbiota, central and enteric nervous systems. Annals of Gastroenterology.28(2), 203-209.
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
Sangsom's profile


โพสท์โดย: Sangsom
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
10 VOTES (5/5 จาก 2 คน)
VOTED: ไทยเฉย, bemygon
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
สาวทอมคว้ามงกุฏ "มิสแกรนด์เลย 2025"..ทำเอาแฟนๆ กรี๊ดสนั่น!ชายชาวจีนถูกจับ หลังฉี่ใส่บันไดเลื่อนบนสถานีรถไฟฟ้า10 เลขขายดีแม่จำเนียร งวด 17/1/68 หวยแม่จำเนียร 17/1/68อุทาหรณ์สำหรับคนชอบเมนูเนื้อสัตว์ดิบๆ หลังคนไข้พบพยาธิตัวตืด ยาวทะลุลำคอออกปาก จนหมอต้องช่วยคีบออกแฟนตัวจริง! ดีเจมะตูมเปิดตัวแฟนหนุ่มแล้ว เพื่อนสนิทเผยภาพหวานข้าวไข่ตุ๋นฟักทองอบยูทูบเบอร์ดังสายเที่ยวเปิดใจ! ประเทศอันตราย คนไม่เป็นมิตร หวิดไม่รอดชีวิตอดีตปธน.เกาหลีใต้ถูกจับกุมแล้ว!!ทาคิน แพะในร่างวัวซีรี่ส์ในตำนาน The X Files เตรียมสร้างภาคใหม่!!ตำรวจบุกรวบตัว ผีน้อยเกาหลี ที่แอบไปทำงานในร้านตัดผมชื่อดังย่านสุขุมวิท ซึ่งเป็นอาชีพต้องห้ามกับชาวต่างชาติผู้เชี่ยวชาญเผย จากคดี ซิงซิง ชี้ให้เห็นว่าจีนเทาได้ปรับตัวอย่างต่อเนื่อง ทำการค้ๅมนุษย์ด้วยวิธีการที่ซับซ้อนขึ้น
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
ผู้เชี่ยวชาญเผย จากคดี ซิงซิง ชี้ให้เห็นว่าจีนเทาได้ปรับตัวอย่างต่อเนื่อง ทำการค้ๅมนุษย์ด้วยวิธีการที่ซับซ้อนขึ้นอินโดนีเซียเตรียมกำหนดอายุ สำหรับเล่นสื่อโซเชียลแฟนตัวจริง! ดีเจมะตูมเปิดตัวแฟนหนุ่มแล้ว เพื่อนสนิทเผยภาพหวานเทคนิคการไดเอทด้วยกาแฟของสาวๆเกาหลีข้าวไข่ตุ๋นฟักทองอบสาวทอมคว้ามงกุฏ "มิสแกรนด์เลย 2025"..ทำเอาแฟนๆ กรี๊ดสนั่น!
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
สูตินรีแพทย์ วอนให้หยุดตรวจคัดกรอง HPV ในเด็กมัธยม เพราะเคยมีผู้ปกครองเข้าใจผิดว่าเด็กไปมีเwศสัมพันธ์มาทาคิน แพะในร่างวัวdiligent: ขยันการพบกันของสายน้ำหลักสองสาย ทำให้เกิดปรากฏการณ์แม่น้ำสองสี ที่น่าทึ่ง...
ตั้งกระทู้ใหม่