หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

โรคเท้าเหม็น Pitted Keratolysis

โพสท์โดย แสงระวี

คุณอาจจะพบความผิดปกติของตัวเองอยู่บ้างใช่ไหม...โดยเฉพาะเท้าที่ส่งกลิ่นรบกวนในขณะที่ที่คุณกำลังนั่งทำงาน นั่งเรียนร่วมกับเพื่อน ๆ และคนอื่น ๆ ซึ่งสถานการณ์เวลานั้นอาจลวนรู้สึกไม่ดีเลยเมื่อเพื่อนหรือใครต่างจับจ้องมองมาทางคุณ วันนี้เรามีข้อมูลและเนื้อหาดี ๆ ที่จัดทำเพื่อคุณเลย เกี่ยวกับเท้าหรือฝ่าเท้าที่กำลังส่งสัญญาณความผิดปกติ

 

เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า Micrococcus Sedenterius  (หรือแบคทีเรียอื่น ๆ ) ซึ่งแบคทีเรียชนิดนี้ เติบโตได้ดีในความชื้นโดยเฉพาะบริเวณเท้า/ฝ่าเท้ามีความคล้ายคลึงกันกับโรคผิวหนังทั่วไปแต่จะไม่ส่งผลต่อการติดเชื้อ การลุกลามไปยังบริเวณอื่น นอกจากนั้นก็ยังไม่เป็นโรคติดต่ออีกด้วย

สาเหตุของการเกิดโรคเท้าเหม็น

ตามที่ได้อธิบายไว้แล้วว่าเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้สามารถเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดีในความชื้นหรือสภาพอากาศที่มีความร้อนชื้น ส่วนตามเท้าหรือฝ่าเท้าที่จะเกิดได้ก็มีหลากหลายปัจจัยด้วยกัน

  1. การสวมถุงเท้าที่มีความชื้นหรือซักตากไม่แห้งสนิท
  2. ใส่รองเท้าที่มีความเปียกชื้นซ้ำหรือสวมใส่รองเท้าเป็นระยะเวลาที่นานจัด
  3. ไม่ได้รับการดูแลการทำความสะอาดบริเวณเท้า

ซึ่งทั้ง 3 ปัจจัยเหล่านี้มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคเท้าเหม็น นอกจากความอับชื้นที่ทำให้เหงื่อขับออกมา, ระบายออกมาจากทางรูขุมขนของเท้าเมื่อเหงื่อออกมากๆและไม่ได้ระบายออกให้แห้งหรือหน่วยที่คั่งค้างก็เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดแบคทีเรียสะสม และแบคทีเรียนี้จะผลิตสารทำลาย/สลายผิวหนังชั้นบนให้ลอก

 

อาการของโรคเท้าเหม็น

อาการของโรคเท้าเหม็นมากไม่ได้แสดงออกทางความเจ็บปวดหรือแสบร้อนแต่อย่างใดเพียงแต่แค่จะส่งกลิ่นเฉพาะออกมามึงก็มีน้ำหนองใสๆบางครั้งอาจทำให้มีผิวหนังบริเวณเท้าลอกหลุดเป็นแผ่น ซึ่งอาการคันหรืออักเสบจะไม่มีเหมือนการที่น้ำกัดเท้าจากการติดเชื้อของเชื้อรา และอาการไม่ได้รุนแรงมากอะไรสามารถรักษาได้

 

การรักษาโรคเท้าเหม็น

สำหรับอาการเท้าเหม็น เป็นโรคหรือเป็นอาการที่มีมานานแล้วหลายๆคนมักรู้จักหรือเรียกกันในชื่อเท้าเป็นรู เท้าเป็นหลุมจากการที่เท้าถูกสลายทำให้เห็นเป็นริ้วและความเว้าแหว่งไม่เท่ากันของหนังเท้าที่ทำให้เกิดความไม่สวยงามของรูปเท้า ซึ่งอาการเหล่านี้ไม่ได้ร้ายแรงและมีทางหายแน่นอน โดยการใช้ยาในการรักษา ระยะที่สามารถนำมารักษาได้ก็คือ

ในกลุ่มยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ที่มีทั้งรูปแบบชนิดทา และแบบชนิดรับประทาน

ซึ่งรูปแบบของชนิดทา อาจต้องใช้เวลาในการรักษาร่วมกับการรักษาความสะอาดเท้าด้วย ตั้งแต่ 2 สัปดาห์ขึ้นไป และหากผู้ประสบปัญหาเป็นผู้ที่มีการระบายของเหงื่อมาก ๆ เช่น เป็นผู้ที่มีภาวะน้ำหนักตัวมาก แม้นั่งเพียงเวลาสั้นๆ  ก็พบว่าเหงื่อออกง่าย อาจจะได้รับสารอาหารเหงื่อเช่น อลูมิเนียมคลอไรด์ Aluminium Choride รูปแบบของสารระงับก็จะมีทั้งชนิดผงและชนิดน้ำและหากในกรณีผู้ที่มีรอยของผิวหนังที่หลุดลอกกว้าง หรือยาทาที่ใช้นั้นไม่ตอบสนอง แพรจะทำการปรับยาให้จากยาทาฆ่าเชื้อแบคทีเรียก็อาจจะเป็นยาทานที่ฆ่าเชื้อแบคทีเรียด้วย

หลังการดูแลรักษาโรคเท้าเหม็น

แม้ว่าจะทำการรักษาโดยหายดีแล้วโอกาสของการเกิดซ้ำก็มีมากในผู้ที่เคยเป็นโรคเท้าเหม็นหรือผู้ที่ยังไม่เคยเป็นก็ตามสิ่งที่ต้องคอยควบคุมให้ได้ก็คือ

- ดูแลในเรื่องสุขอนามัย เช่นดูแลรักษาความสะอาด ชำระล้างเท้าด้วยสบู่หรือน้ำยาที่มีส่วนผสมของยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย แล้วมันเช็ดผิวบริเวณนั้นให้แห้งสนิททุกครั้ง

- สวมใส่รองเท้าถุงเท้าต้องคอยดูเรื่องความชื้นความชื้นก่อนสวมใส่เสมอ

- หากใส่รองเท้านานไปในขณะที่ทำงาน ลองหาเวลาพักงานแล้วถอดรองเท้ามาดูว่าเท้าของคุณมีความอับชื้นมากน้อยแค่ไหน หากมีความอับชื้นควรหากระดาษทิชชูซับเหงื่อหรือซับความชื้นออกจากเท้าด้วย

นั่งนานแล้วอาการของโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัยทุกสายงานอาชีพทั้งหมดอาจพบเจอปัญหานี้บางรายอาจเป็นแต่ไม่ทราบเลยว่าตัวเองเป็นอะไรกันแน่ระหว่างน้ำกัดเท้าหรือโรคเท้าเหม็นที่เกิดจากการได้รับแบคทีเรียซึ่งการตรวจหาด้วยตัวเองหรือหายามารับประทานเองอาจใช้เวลาที่นานมากๆบางรายยิ่งไปกระตุ้นทำให้อาการหนักเข้าไปกว่าเดิม บางรายไม่หาย

หากคุณยังคงแยกไม่ได้ลองปรึกษาคุณหมอหรือแพ้ที่ใกล้เคียงกับคุณดูเพื่อที่จะได้รับคำแนะนำร่วมกับการรักษาที่ถูกวิธีได้

 

Reference

 

  1. Leung AK, Barankin B. Pitted Keratolysis. J Pediatr 2015;167:1165.

2.Gao Y, Liu Z. Pits on the sole of the foot. BMJ 2018;361.

  1. Law RWY, So E, Chu AKC, Logan DB. Pitted keratolysis: a case report and review of current literature. Proceedings of Singapore Healthcare 2018.
โพสท์โดย: แสงระวี
อ้างอิงจาก: pixabay
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
แสงระวี's profile


โพสท์โดย: แสงระวี
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
5 VOTES (5/5 จาก 1 คน)
VOTED: maddog2565
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
1 ใน 8 ของนักเรียนร.ร.รัฐในนิวยอร์ก'ไร้บ้าน'!นางเอกดังสุดเศร้า กับการสูญเสียครั้งใหญ่ โพสต์อาลัยรักสุดหัวใจ5 เทคนิคเพิ่ม Productivity ที่ช่วยให้คุณทำงานสำเร็จเร็วขึ้นตำรวจ ตามรวบจนครบ 3 โจ๋เหิมเกริม ใช้มีดฟันคู่อริ กลางสถานี BTSอีกมุมของ "ยายสา" ตำนานแม่มดแห่งสมิหลา กับความลึกลับที่ไม่มีใครกล้าท้าทาย""ช็อกแป๊บ! เจอ 'หลวงพี่เท่งตัวจริง' เดินบิณฑบาต คนถามหนังหรือชีวิตจริง"
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
"ลิลลี่ เหงียน" สวนกลับ "ปู มัณฑนา"..อย่าลืมเอาเงินมาคืนกะxsี่ผู้มีพระคุณด้วยเงินดิจิทัลเฟส 3 คนทั่วไป เงินเข้าเมื่อไหร่ ได้เงินสดไหม วิธีเช็กสถานะทางรัฐอีกมุมของ "ยายสา" ตำนานแม่มดแห่งสมิหลา กับความลึกลับที่ไม่มีใครกล้าท้าทาย"หวังเซียนเฉา นักการทูตผู้ยิ่งใหญ่ของราชวงศ์ถัง‘ขนม ศศิกานต์’ เลิก ‘ครูเต้ย อภิวัฒน์’ ทั้งที่เพิ่งคลอดลูก คนที่ 2 จากกันด้วยดี ไม่มีมือที่ 3
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
ปริศนาในภาพเขียน Salvator Mundi โดย Leonardo da Vinciแม้รวยเท่าใดอย่างไรก้ต้องเกิดตายไม่สิ้นสุด จะหยุดได้ก็เพียงด้วยยอดแห่งบุญ"ตารางลดน้ำหนัก" ฉบับกินยังไงก็ผอม5 เทคนิคเพิ่ม Productivity ที่ช่วยให้คุณทำงานสำเร็จเร็วขึ้น
ตั้งกระทู้ใหม่