หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

โรคลำไส้แปรปรวน

โพสท์โดย แสงระวี

จริง ๆ แล้วการที่เราจะสังเกตร่างกายของเราเองถือว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการดูแลตนเอง เพราะหากว่าจับสังเกตได้ไว เราก็จะมีวิธีการรักษาที่ทันท่วงทีมากยิ่งขึ้น ฉะนั้นแล้วในเรื่องของระบบทางเดินอาหาร ปัจจุบันนี้ถือว่าพบเจอได้ค่อนข้างบ่อยและได้สร้างความลำบากในด้านการทำงานต่าง ๆ มากมาย  วันนี้เราจะพาไปรู้และรับมือกับอาการที่เกี่ยวกับลำไส้หรือ โรคลำไส้แปรปรวนกันพร้อมแล้วตามมาเลย

 

หากจะถามว่าโรคลำไส้แปรปรวนถือเป็นโรคที่ร้ายแรงหรือไม่ ก็จะตอบได้ว่าอาการของโรคลำไส้แปรปรวนนั้นไม่ได้ก็ถือเป็นความรุนแรงอ่ะไรมากแต่ก็ได้สร้างความรำคาญและทรมานใจสำหรับผู้ที่เป็นมากพอสมควร

ลำไส้แปรปรวนหรือ IBS Irritable bowel Syndrome คือ โรคลำไส้แปรปรวนถือเป็นความผิดปกติอย่างหนึ่ง

 

อาการ

จะมีอาการปวดท้อง ไม่ค่อยสุขสบายท้อง ซึ่งจะมีความผิดปกติร่วมกับการขับถ่ายที่ผิดปกติไปด้วย เช่นท้องผูกเยอะขึ้น ถ่ายเหลวเยอะขึ้น จำครั้งของการขับถ่ายเปลี่ยนแปลงไป

เมื่อคนไข้ได้มีการขับถ่ายไปแล้วอาการปวดท้องมักจะดีขึ้น

สาเหตุ

สาเหตุของโรคนั้นยังไม่สามารถหาคำตอบได้ไม่ชัดเจน แต่เชื่อว่ามีความสัมพันธ์กับการที่มีตัวกระตุ้นใหเการทำงานของลำไส้เปลี่ยนแปลงไป เช่นอาจจะทำให้ลำไส้บีบตัวเยอะขึ้นก็จะทำให้รู้สึกว่าท้อฃเสียหรือปวดบิดท้องได้ หรือผู้ประสบทำให้ลำไส้บีบตัวน้อยลงก็จะทำให้รู้สึกว่าท้องอืดทำให้การขับถ่ายนั้นยากขึ้นและบางคนเกิดอาการท้องผูกได้ หรือในบางครั้งอาจสัมพันธ์กับทางด้านจิตใจเพราะในภาวะของคนที่มีความวิตก กังวล กดดันอะไรบางอย่างและไปทำให้สมองที่โดยปกติสมองจะเชื่อมโยงกับการทำงานของลำไส้อยู่แล้ว ซึ่งคุณสามารถสังเกตได้ว่าคนที่มีความเครียดส่วนใหญ่จะไม่สบายท้อง หรืออาจะเรียกอีกอย่างได้ว่า เครียดลงกระเพาะ

เราจะพบได้จากกลุ่มที่ ช่วงที่ใกล้สอบ มีนัดสัมภาษณ์งานตอบเช้า  ช่วงเช้ารถติด หรือบางคนช่วงไหนที่กดดันมาก ๆ เครียดจังเลย ก็จะมีอาการท้องอืด ถ่ายยากขึ้น นี่เลยเป็นสาเหตุหนึ่งที่ถูกนำมาตั้งข้อสังเกตว่าอาจจะมาจากความเครียด และแต่ละคนก็มักจะมีคนรู้สึกของการเจ็บปวดที่ไม่เท่ากัน บางคนเจ็บมาก บางคนเจ็บน้อย บางคนเจ็บแบบทนได้ ในขณะที่แรงกระตุ้นเท่ากัน บางคนแม้มีอาการนิดๆ หน่อย ๆ ก็จะรู้สึกแล้วว่าเริ่มมีอาการ เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงไปแล้วนะโดยเฉพาะผู้ที่มีความเครียดมักจะเห็นได้ชัด

ควรพบแพทย์เมื่อไหร่

บางคนมีอาการไม่สบายท้อง แล้วอาจจะรอดูอาการตัวเองก่อน หรือหาซื้อยามารับประทานเอง

แต่ถ้าหากว่าถึงจุดที่ว่าเป็นบ่อยขึ้นแล้ว หรือรับประทานยาแล้วไม่ดีขึ้นเลยร่วมกับการมีสัญญาณเตือน ซึ่งสัญญาณเตือนถือว่าสำคัญมากเพราะอาจไม่ใช่โรคลำไส้แปรปรวน แม้ว่าจะมีอาการที่คล้ายและได้ยินได้เห็นคนรอบข้างเป็นกันบ่อย ๆ ก็อย่าเพิ่งเข้าใจแบบนั้นไป อาการที่ต้องระวังคือ

1.น้ำหนักลดลงไม่ทราบสาเหตุ

2.ถ่ายเป็นเลือด

โดยปกติอาการลำไส้แปรปรวนจะไม่มีการถ่ายเป็นเลือด อาจเป็นเพราะว่าอาการที่เป็นนั้นเป็นตอนที่อายุเยอะ หรือมีประวัติครอบครัวที่มีโรคเกี่ยวกับลำไส้ โดยเฉพาะในกลุ่มมะเร็งลำไส้ใหญ่

 

กลุ่มเสี่ยงที่อาจได้รับอาการ

 

ปัจจุบันนี้จะเห็นได้ว่าจะเกิดขึ้นกับผู้ที่มีอายุน้อย เช่น วัยรุ่น วัยทำงาน หนุ่มสาวที่มีความเครียด ภาวะซึมเศร้า หรือผู้ที่มีการใช้ชีวิตที่เร่งรีบ และส่วนใหญ่มักเกิดกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชายเพียงนิดหน่อย

 

วินิจฉัย

ทั่วไปแล้วการวินิจฉัยของแพทย์มักจะดูที่อาการที่แสดงเป็นหลัก การเจาะเลือด หรือเอกซเรย์ อาจยังไม่ได้ช่วยค้นหาได้ว่าอาการของลำไส้แปรปรวนนั้นมีสาเหตุมาจากอะไร ทั้งนี้ผู้ที่ประสบเองก็ต้องคอยจับสังเกตตัวเราเองด้วยว่ามีความเปลี่ยนแปลงไปมากน้อยแค่ไหน

 

ภาวะแทรกซ้อน

 

ในภาวะอาการลำไส้แปรปรวนมักไม่ส่งผลร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตแต่จะออกลักษณะให้รู้สึกว่า รำคาญ ในบางรายก็จะรู้สึกว่า ห่างไกลห้องน้ำไม่ได้ เพราะเดี๋ยวก็เข้า เดี๋ยวก็เข้า

วิธีการรักษา

ตามที่บอกว่าสาเหตุที่มาที่ไปไม่ชัดเจน ตัวยาที่จะรักษาเลยไม่มี แต่จะรักษาตามอาการเท่านั้น เช่น ลำไส้แปรปรวนแบบที่มีอาการถ่ายเหลว ยาที่จะนำมารักษาคือ ยากลุ่มไฟเบอร์  ทำให้มีกากใยเยอะขึ้น มีเนื้ออุจจาระที่เยอะขึ้น ถ่ายง่ายขึ้น ถ่ายนิ่มขึ้น หรือในกลุ่มยาระบาย เพื่อให้ถ่ายง่ายขึ้น สบายท้องมากขึ้น และยาในกลุ่มช่วยการบีบตัวของลำไส้ เนื่องจากอาการเชื่อมโยงกับความผิดของการบีบตัวของลำไส้ผิดปกติ  เพราะฉะนั้นในผู้ที่ท้องผูกมักเป็นกลุ่มที่ลำไส้มีการบีบตัวน้อยลงพอบีบตัวน้อยลงทำให้อุจจาระค้างและถ่ายยากขึ้น ฉะนั้นการได้รับยาก็จะช่วยเพิ่มการบีบตัวของลำไส้และลดอาการปวดท้องลงได้

ในส่วนของผู้ที่มีอาการท้องเสียก็จะได้รับยาที่ช่วยลดการบีบตัวของลำไส้ ทำให้ลำไส้มีการบีบตัวน้อยลง ทำให้การขับถ่ายน้อยลง ก็จะช่วยลดอาการปวด หรือมวลท้องได้  บางรายอาจได้รับเป็นนาลดการถ่ายหรือยาหยุดถ่าย ซึ่งในกรณีที่มีภาวะด้านจิตใจ ก็อาจจะได้รับยาลดความเครียด และยาลดความรู้สึก เช่น ยาลดความเจ็บปวด ทำให้ทนต่อความเจ็บปวดได้มากขึ้น

คำถามที่พบบ่อย

คำถามที่1 : อาการลำไส้แปรปรวนจะหายไปได้ถาวรหรือไม่?

คำตอบ: อาหารลำไส้แปรปรวนอาจเป็น ๆ หาย ๆ สลับกันไป หรือ เป็นชนิดเรื้อรัง ไม่สามารถหายขาด

คำถามที่2 : อุจจาระมีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมส่งผลให้เกิดภาวะลำไส้แปรปรวนได้หรือไม่?

คำตอบ: หากอุจจาระมีลักษณะที่เปลี่ยนไป เช่น มีความแข็งขึ้นหรือมีความเหลวก็ส่งผลต่ออาการลำไส้แปรปรวนได้ ทั้งนี้ก็ยังรวมถึงสีของอุจจาระด้วย เช่น สีดำ ควรต้องระวังให้มาก

คำถามที่3 : ฮอร์โมนเพศหญิง- ชายส่งผลกระทบได้หรือไม่?

คำตอบ : ยังไม่สามารถหาสาเหตุจากตรงนี้ได้

คำถามที่4 : นอกจากจะพบมะเร็งในลำไส้ใหญ่จากผู้สูงอายุแล้ว วัยรุ่น วัยหนุ่มสาวสามารถพบได้หรือไม่?

คำตอบ: มะเร็งในลำไส้ใหญ่สามารถพบได้ทั้งในผู้สูงอายุและวัยรุ่น วัยทำงานแต่อุบัติการณ์เกิดนั้นค่อนข้างที่จะน้อยกว่า

คำถามที่5 :  อาหารมีผลต่อการเกิดภาวะลำไส้แปรปรวนหรือไม่

คำตอบ: อาหารมักส่งผลไให้กระตุ้นได้ เช่น อาหารที่มีรส เปรี้ยว เผ็ด ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน บุหรี่ แอลกอฮอล์ มักมีผลต่อลำไส้โดยตรง

 

ในภาวะลำไส้แปรปรวนอย่างที่กล่าวไปว่าไม่ใช่อาการรุนแรงอะไร ไม่ได้ส่งผลกระทบร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตเพียงแต่ต้องระวังกันซะหน่อยว่าตกลงแล้วจะใช่โรคลำไส้แปรปรวนหรือไม่ หากไม่แน่ใจหรือมีอาการเตือนที่บอก น้ำหนักลงไม่ทราบสาเหตุมีเลือดจางจากการขาดธาตุเหล็ก ถ่ายเป็นเลือด อายุมาก มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งในลำไส้ใหญ่ แนะนำว่าพบแพทย์อย่างเดียว ให้คุณหมอดูให้แน่ใจว่าตกลงแล้วไม่ใช่โรคที่ร้ายแรงนะ คุณเป็นลำไส้แปรปรวนจริง ๆ ซึ่งหากคุณปรับพฤติกรรมได้ เปลี่ยนพฤติกรรมได้ แน่นอนว่าคุณจะอยู่กับโรคนี้ได้ โดยที่เขาก็ไม่ได้ก่อปัญหาหรือโยงให้เกิดโรคที่ร้ายแรง

Reference

  1. Hadjivasilis A, et al. New insights into irritable bowel syndrome: From pathophysiology to treatment. Annals of Gastroenterology. 2019; doi:10.20524/aog.2019.0428.
  1. Irritable bowel syndrome. Canadian Society of Intestinal Research. https://badgut.org/information-centre/a-z-digestive-topics/ibs/. Accessed Aug. 28, 2020.
  2. Kashyap PC (expert opinion). Mayo Clinic. Sept. 21, 2020.
โพสท์โดย: แสงระวี
อ้างอิงจาก: pixabay
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
แสงระวี's profile


โพสท์โดย: แสงระวี
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ไบเดน ฮึ่ม " ทุกคนต้องอยู่ใต้กฏหมายเดียวกัน "
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
ครูห่วงอนาคตเด็กไทย..ทนแดดแค่นี้ไม่ได้ ต่อไปจะทำอะไรกินดราม่าแมว ‘หนูหรั่ง’ เหมาะสมไหม? เอาแมวมาเดินในสนามบินสุวรรณภูมิmorale: ขวัญกำลังใจ ขวัญของประชาชน
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
ทำไมบางคนถึงกลัวการข้ามสะพาน? อธิบายด้วยหลักวิทยาศาสตร์ปริศนาศพหญิง 2 คนในสุสานกวนอู พวกเธอเป็นใคร? มีคนบอกว่าหนึ่งในนั้นคือเตียวเสี้ยน?"ข่าวดี"คนเล่นfacebook อย่าพลาดโอกาสswear: สาบาน ปฏิญาณ
ตั้งกระทู้ใหม่