อาการปวดหลัง แบบไหนอันตราย?
อาการปวดหลัง (Back pain) อาจจะไม่ได้เกิดจากสาเหตุ การใช้งานของกล้ามเนื้อมากเกินไป เพียงอย่างเดียว ซึ่งการปวดหลังในบางครั้ง อาจเป็นสาเหตุของโรคบางชนิด แล้วอาการปวดหลังแบบไหนอันตราย?
ถ้าพูดถึงอาการปวดหลังก็จะนึกถึงบริเวณกระดูกสันหลัง ซึ่งก็มีตั้งแต่ คอ หน้าอก เอว และก้น ทั้ง4จุดนี้ก็จะประกอบไปด้วยกระดูกหลายชิ้นเรียงต่อกัน อาการปวดหลังก็มาจากสาเหตุกระดูก ข้อต่อ หมอนลองกระดูก รวมถึงกล้ามเนื้อที่อยู่บริเวณโดยรอบที่จัดว่าเป็นปัญหาเฉพาะที่แต่สาเหตุที่เกิดจากอวัยวะภายในก็ทำให้เกิดอาการปวดหลังได้แต่จะน้อยกว่า
ปัจจัยเสี่ยงของอาการปวดหลัง?
- ผู้สูงอายุ ที่มีภาวะกระดูกพรุน ก็อาจจะทำให้กระดูกสันหลังคต และมีอาการร่วมด้วยเพราะเกิดจากการผิดรูปของกระดูกสันหลัง
- วัยหนุ่มสาว
ตามจริงแล้วอาการปวดหลังพบได้บ่อย สามารถเกิดขึ้นได้จากบุคคลที่มีอายุน้อย ๆ ไม่ว่าจะเด็ก วัยรุ่น วัยหนุ่มสาว วัยกลางคน แต่ส่วนใหญ่ที่เป็นก็จะไม่อันตราย และส่วนมากอาจเป็นอาการยอกซะมากกว่าเนื่องจากว่ามีการ ออกกำลังกาย เล่นกีฬา
ส่วนผู้สูงอายุกรณีที่จะส่งผลให้ได้รับอันตราย คือ ภาวะกระดูกพรุน เนื้องอก ข้อ กระดูกเสื่อม หมอนรองกระดกที่ผิดปกติ อาการเหล่านี้จะพบได้มากกว่า
- น้ำหนักตัวเกิน
น้ำหนักตัวของคนเราคิดว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก คนเราหนักอย่างต่ำ 60 กิโลกรัม
ช่วงบนหนัก30 กิโลกรัม ช่วงล่างหนัก 30 กิโลกรัม กระดูกสันหลังบริเวณเอวก็จะต้องรับน้ำหนักของช่วงบนประมาณ 30 กิโลกรัม ซึ่งกระดูกจะต้องรับน้ำหนักอยู่ทั้งวันก็อาจจะมีอาการอ่อนล้า เมื่อย บริเวณแผ่นหลัง
- โรคบางชนิด!
สำหรับผู้ที่ทราบดีว่าตนเองนั้นมีโรคประจำตัวอยู่แล้ว อย่าง โรคหมอนรองกระดูกที่จะพบด้ในลุ่มผู้ที่มีอายุน้อย วัยรุ่น หนุ่มสาวอายุไม่เกิน 40 ปี ผู้ป่วยปวดหลังจากโรคมะเร็ง โรคกระดูกเสื่อมมักจะพบได้ในวัย40-50ปีขึ้นไป โรคที่พบได้มากคือ โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทจากความเสื่อมของร่างกายและมีการกดทับเส้นประสาทหรือกระดูกทับเส้น รวมถึงกลุ่มผู้ที่มีอาการติดเชื้อ เนื้องอกต่าง ๆ อย่างมะเร็งตับ ไต ไทรอยด์ ปากมดลูก ต่อมลูกหมาก
- ท่าทาง อิริยาบถ การเคลื่อนไหวร่างกาย และการใช้งานหลังที่ไม่ถูกต้องเป็นเวลานาน
ผู้ที่ใช้หลังนาน หรือใช้หลังที่ผิดท่าผิดทาง เช่นไป ยกของหนัก หรือในกรณีที่ต้องยืนแล้วยกของจากพื้นก็ทำให้เกิดอาการปวดหลังได้ ลักษณะของการนายกของที่ช่วยลดอาการปวดหลังคือ นั่งยอง ๆ ลงไปก่อนแล้วค่อยยกของขึ้นมา โดยใช้น้ำหนักทั้งตัวในการยกไม่ควรที่จะใช้ท่าในลักษณะที่ก้มหลังลงไปแล้วยก
- ไม่ออกกำลังกาย!
การออกกำลังกายในปัจจุบันนี้ถือว่ามีผู้คนให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากว่า การออกกำลังกายนั้นมีหลากหลายวิธีเช่น ว่ายน้ำ แบตมินตัน สเก็ตบอร์ด วิ่ง หรือแม้แต่การเดินก็ถือว่าเป็นการได้ออกกำลังแล้วแลพส่งผลให้ร่างกายมีสุขภาพที่ดีมากขึ้น เพราะออกกำลังกายนั้นช่วยให้กล้ามเนื้อทุก ๆ ส่วนมีความแข็งแรง ช่วยลดประมาณไขมันในร่างกายได้ในระดับหนึ่ง ช่วยให้การนอนหลับนั้นดีมากขึ้น แต่ในกรณีผู้ที่ไม่ออกกำลังกายที่แน่นอนเลยว่ามีผลเสียมากมายตามมาคือ กล้ามเนื้อไม่แข็งแรง ร่างกายขัดขวางการได้รับวิตามินบางชนิด มีอาการอ่อนเพลีย เมื่อยล้าบ่อย ๆ ไขมันสะสมที่ไม่ออกไปสักที และโอกาสที่จะตามมาคือ ปัญหาของกระดูกที่รับน้ำหนักไม่ไหว ทำให้มีอาการปวดหลัง ปวดเอวได้
- การนั่ง, ขับรถนาน
การที่คนเรานั่งทำงานนาน ๆ นั่งขับรถนานหรือที่เรียกว่า (Office Syndrome)คือการที่กระดูกสันหลังไม่ได้เคลื่อนไหวเลย เลือดที่เกราะบริเวณกระดูกสันหลังก็ไม่ได้ไหลเวียนก็ทำให้เกิดการอ่อนล้าของกล้ามเนื้อ หรือเกิดการเกร็งของกล้ามเนื้อหลัง ก็จะทำให้เกิดอาการปวดบริเวณกล้ามเนื้อต้นคอลงมาปวดสะบักหลัง ปวดหลัง หรือปวดเอวได้
- การยืน
การยืนถือเป็นท่าอิริยาบถหนึ่งสำคัญที่คนเราจะต้องใช้งาน เช่น พ่อครัว แม่ครัว คนที่ต้องยืนขายของทั้งวัน หรือกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม ส่งผลให้ได้รับอาการปวดหลังบริเวณส่วนเอว
- ยกของหนัก
ทำให้หมอนรองกระดูกสึกหรอ ทำให้หมอนรองกระดูกทับเส้น
- สูบบุหรี่
ทำให้หมอนรองกระดูกสึกหรอและเสื่อมสภาพลง
ขั้นตอนการตรวจ
เริ่มแรกของการตรวจจะซักประวัติ สอบถามอาการเบื้องต้น
- เป็นมานานเท่าไหร่?
- ปวดหรือเจ็บช่วงไหน?
-ก่อนหน้านี้ไปทำอะไรมาหรือเปล่า?
-บริเวณส่วนไหนผิดรูปบ้าง
- ตรงไหนชา-อ่อนแรง แขน ขาถูกกดทับเส้นประสาทหรือไม่
***กรณีที่ต้องเข้ารับการเอ็กซเรย์ ***
กระดูกส่วนคอ หลัง ท่าที่ใช้ในการเอ็กซเรย์ส่วนใหญ่ใช้ทาที่ยืน ก้ม เงย เพื่อตรวจสอบว่าการเคลื่อนไหวของกระดูกผิดปกติไปหรือไม่
การตรวจ MRI
ในบางรายที่มีความจำเป็นก็จะต้องส่งตรวจ MRI เพื่อใช้สนามแม่เหล็กในการดูอวัยวะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องบริเวณหลังที่มีอาการปวดได้
เคยเข้ารับการตรวจ MRI และจำเป็นหรือไม่ที่จะต้องเข้ารับการตรวจซ้ำ?
ในกรณีที่คนไข้เคยได้รับการตรวจด้วยระบบMRI มาจากที่อื่น การตรวจซ้ำก็จำเป็นมาก เนื่องจากปัจจุบันจะมีเป็นการตรวจแบบท่านอน แต่คนไข้ส่วนใหญ่ที่ปวดหลังจะรู้สึกปวดเมื่อนั่งและยืน ดัฃนั้นจำเป็นต้องเอ็กซเรย์ในท่ายืนด้วยเพื่อดูว่า ระหว่างที่ยืนน้ำหนักถูกกดลงบนข้อกระดูกสันหลังมีความผิดปกติอะไรเกิดขึ้นบ้างหรือไม่
หลายครั้งที่ดู MRI ปกติ เป็นไม่มาก แต่เมื่อเอ็กซเรย์ในท่ายืนแล้วเห็นถึงความผิดปกติมีมากขึ้น ฉะนั้นสรุปได้เลยว่า ค่า MRIนั้นน้อยกว่าอาการที่เป็นจริง นี่เลยจำเป็นที่จะต้องได้รับการตรวจMRIซ้ำ ซึ่งค่าใช้จ่ายน้อย แต่สามารถพบอาการที่เกี่ยวกับกระดูก ข้อต่อ ได้ทันทีเลย
อาการปวดหลัง มีกี่แบบ
- แบบปวดฉับพลัน ปวดหลังต่อเนื่องน้อยกว่า 6 สัปดาห์
อาจเกิจขึ้นได้จากกล้ามเนื้อแผ่นหลังอักเสบจากการ ...กโหมในการออกกำลังกาย หมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท อุบัติเหตุกระดูกหลังหักและมีการเคลื่อน
- กึ่งเฉียบพลัน ปวดหลังต่อเนื่อง 6-12 สัปดาห์
เป็นอาการจากเนื่องจากระยะแรกและยังไม่หายขาดหรือจากสาเหตุ กระดูกสันหลังติดเชื้อและโรคกระดูกหลังอักเสบที่ไม่ใช่การติดเชื้อ
- ปวดเรื้อรัง ปวดหลังต่อเนื่องนานกว่า 12 สัปดาห์
อาจมาจากสาเหตุความเสื่อมสภาพขแงกระดูกหลัง หมอนรองกระดูกเสื่อม โรคกระดูกหลังคด งอ หรือมีการผิดรูปของกระดูกหลังจากการทำงานในท่าเดิมเป็นเวลานานๆ เช่น นั่งขับรถนาน ๆ นั่งทำงานนาน ๆ ยืนในท่าเดิมนาน ๆ นอนในท่าที่ไม่สบาย
อาการปวดหลัง แต่ละบริเวณ
- อาการปวดคอ และปวดหลังส่วนบน
อาจเกิดจากความเสื่อมของข้อต่อ หรือมีการใช้งานมากจนเกินไป และอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
- อาการปวดหลังส่วนกลาง (ร่วมกับมีอาการที่ขา)
อาจมีอาการมาแต่กำเนิด แต่มารุนแรงเมื่ออายุมากขึ้น เช่น โรคกระดูกคดงอ มีการใช้งานกล้ามเนื้อมากเกินไป ออกกำลังกายหนัก หักโหมในการเล่นกีฬา ยกของหนัก ติดเชื้อ และมีเนื้องอก
- อาการปวดหลัง ที่ไม่มีอาการปวดร้าวลงขาร่วมด้วย
หลัก ๆ มักเกิดจากการใช้งานของร่างกายหนัก เช่น แบกหาม ยกหนัก ออกกำลังกาย นั่งนาน ใช้เวลาอยู่กับท่าเดิมนานเกินไป
- ปวดหลังส่วนล่าง
อาการปวดหลังในลักษณะตึง รู้สึกหลังแข็ง ๆ ในตำแหน่งชายโครงไปจนถึงช่วงแก้มก้น บางรายมีอาการร้าวลงที่ขา ซึ่งอาการที่แสดงออกถึงความเจ็บปวดส่งผลให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตได้อย่างไม่ปกติ หยิบจับอะไรก็จะรู้สึกเจ็บ เคลื่อนตัวไปทางไหนก็รู้สึกปวด แต่สาเหตุที่พบบ่อยคือ การอักเสบที่ไม่ได้ติดเชื้อ อุบัติเหตุของกระดูกสันหลังและความเสื่อมสภาพของข้อต่อ
สาเหตุ อาการปวดหลัง บอกโรคอะไรบ้าง?
- กล้ามเนื้อฉีก : อาการปวดหลังจาก...
อาหารการของกล้ามเนื้อฉีกขาดไม่ว่าจะเรื้อรังหรือรุนแรงมักจะมีผลมาจากการ ยกหนัก ที่ถือว่าเป็นความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อได้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า พฤติกรรมเสี่ยงหลัก ๆ เลยก็คือกีฬา เช่น กล๊อฟ ฟุตบอล ที่มักจะมีการใช้กล้ามเนื้อหลังและเอว
- โรคอ้วน : อาการปวดหลัง
เกิดจากการที่มีน้ำหนักตัวที่มากเกินไป ทำให้กระดูกบริเวณแผ่นหลัง และเอวรับไม่ไหว โอกาสที่คนอ้วนหรือผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินก็จะปวดเมื่อยตาม ต้นคอลงไป
- หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท : อาการปวดหลัง
หลัก ๆ เลยก็เกิดจากการยกของ และน้ำหนักตัวที่เกินและรวมถึงปัจจัยเสี่ยงที่ไม่ตั้งใจให้เกิดอย่างการเกิดอุบัติเหตุ
- กระดูกสันหลังคด : อาการปวดหลัง
อาการของโรคกระดูกสันหลังคด หรือเรียกอีกชื่อในภาษาอังกฤษว่า Idiopathic scoliosis เป็นโรคที่พบได้บ่อย บางรายเป็นตั้งแต่กำเนิดหรือ เป็นตั้งแต่อายุน้อย ๆ และจะรุนแรงขึ้นเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ แต่โดยทั่วไปยังหาสาเหตุไม่ได้ว่าเกิดจากอะไร ซึ่งบางรายก็เกิดจากพันธุกรรม พ่อเป็น แม่เป็น ลูกจึงเป็น
- โรคกระดูกพรุน : อาการปวดหลัง ...
โดยเฉพาะผู้สูงอายุ เพราะเมื่ออายุมากขึ้นร่างกายก็ย่อมมีการสูญเสียฮอร์โมนไปส่งผลให้เกิดความเสื่อมของกระดูก อย่าง กระดูกเริ่มบางลงในทุก ๆปี บางรายมีประวัติจากพันธุกรรม หรือคนในครอบครัวมีโรคกระดูกพรุน ได้รับวิตามิน แคลเซียมน้อย เน้นเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมากเกินไป
- ปวดหลังจากเนื้องอก หรือมะเร็งกระดูก
ถือเป็นอาการสำคัญที่ไม่ควรละเลย เนื่องจากว่าอาการปวดหลังที่ใคร ๆ ก็บอกว่า กินยาแล้วนอนพักเดี๋ยวเดียวก็หาย แต่ในกรณีที่ไม่หายหรือกลับเพิ่มความถี่ในการปวดมากขึ้น เช่น ปวดบริเวณต้นคอมีอาการร้าวร่วมด้วย เช่น ร้าวลงแขน ขา หรือเลยหัวเข่าลงไปจะข้างเดียวหรือสองข้างก็ตามหาก เป็นมาก ๆเข้าส่งผลให้ระบบประสาทได้รับผลกระทบ เช่น กลั้นอุจจาระไม่อยู่ ก็ควรพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แน่ชัดก่อนเข้ารับการรักษาตามขั้นตอน
- คนที่มีน้ำหนักตัวมาก อ้วนลงพุง: อาการปวดหลัง
เป็นอีกหนึ่งอาการของโรคที่ชื่อว่า เมตาบอลิซึมที่มีต้นสายมาจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะกินเก่ง กินจุ กินของหวาน ของทอด และรวมถึงอาหารที่อยู่ในกลุ่มบุฟเฟ่ต์ ที่มักจะเต็มไปด้วยอาหารไขมันสูง ๆ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่ส่งผลให้เกิดภาวะอ้วนลงพุงและเมื่อน้ำมากขึ้นการทรงตัวของกระดูกก็ต้องทำงานมากขึ้น บางรายกระดูกรับน้ำหนักไม่ไหวก็เกิดความเสี่ยงของโรคกระดูกเสื่อมที่สำคัญอาจเป็นบ่อเกิดของโรคร้าย อย่าง เบาหวานได้อีกด้วย
- ติดเชื้อที่กระดูกสันหลัง: อาการปวดหลัง
จะมีอาการปวด บวมบริเวณแผ่นหลัง บางรายมีไข้ร่วมด้วย สำหรับการติดเชื้อ หลัก ๆ จะมี 3 ที่ทำให้เกิดการแพร่กระจายของแบคทีเรีย คือ เชื้อเข้าถึงกระดูกสันหลังโดยตรง เล่น ถูกทิ่งแทงด้วยของมีคม
2.เชื้อลามไปในบริเวณที่ใกล้เคียงกับกระดูกสันหลัง 3.ติดเชื้อในกระแสเลือด
ลักษณะของการติดเชื้อมี2 รูปแบบ คือ
1.ติดเชื้อจากแบคทีเรีย
อาการติดเชื้อจากแบคทีเรียส่งผลให้เกิดการอักเสบที่รุนแรง มีไข้ ทรมาน มีหนอง ขยับเขยื้อนตัวยาก
2.ติดเขื้อจากวัณโรค
อาการติดเชื้อที่ไม่รุนแรง แต่จะค่อยเป็นค่อยไป อาการโดยทั่วไปแล้วแพทย์แทบแยกไม่ออกด้วยซ้ำว่ามีการติดเชื้อ เพราะอาการคล้ายอาการปวดธรรมดาและบางรายไม่มีไข้เลยด้วยซ้ำจะรู้อีกทีคือ เชื้อลามไปมากขึ้น บางกรณีหนองแตกออกมาจากกระดูกมาที่ผิวหนังและอาจพบความผิดปกติคือ พบความนูนของผิวหรือหลังโก่งแต่หากรีบรักษาตั้ฃแต่เนิ่น ๆ โอกาสในการรักษาสามารถหายขาดได้
อาการปวดหลังแบบไหนอันตราย ต้องรีบพบแพทย์ทันที!
ปวดหลังทีปวดหลังที่อันตรายเลย คือ
- มีอาการชาหรืออ่อนแรงร่วมกับอาการปวดหลัง
- อาการปวดหลังในคนที่มีอายุน้อยกว่า 20 ปีหรือมากกว่า 55 ปี
- อาการปวดในขณะพักหรือไม่มีกิจกรรม
- อาการปวดที่หลังบริเวณทรวงอก
- น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว
- มีไข้ร่วมกับการปวดหลังไม่ว่าสูงหรือต่ำ
- ประสบอุบัติเหตุก่อนจะปวดหลัง
- มีประวัติของการเจ็บป่วยเป็นมะเร็งของคนในครอบครัว
- สังเกตพบความคดผิดรูปของหลัง
- ปวดหลังต่อเนื่อง และปวดมากขึ้นเรื่อยๆ มากกว่า 4 สัปดาห์
- ปวดหลังที่เกิดจากอุบัติเหตุรุนแรง เช่น อุบัติเหตุจราจร ตกจากที่สูง
- ปวดหลังร่วมกับความผิดปกติของระบบประสาท เช่น ปวดหลังร่วมกับอาการปวดร้าวลงขา ชาขา หรืออ่อนแรงของขา
- ปวดหลังร่วมกับการควบคุมการขับถ่ายที่เสียไป เช่น สูญเสียการกลั้นอุจจาระ/ปัสสาวะ
- ปวดหลังร่วมกับอาการไข้ น้ำหนักลด
- ควบคุมการขับถ่ายไม่ได้
- คลื่นไส้ อาเจียน มีไข้
- น้ำหนักลดผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ
- ปวดหลังเรื้อรังมีอาการมากกว่า 2-3 สัปดาห์
2-3เดือนขึ้นไป หรือเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยการเป็น ๆ หาย ๆ มีอาการปวดที่รุนแรงขึ้นจากเดิมแค่1-2 ชั่วโมงต่อมาปวดทั้งวัน
- Night Pain
หรือปวดในช่วงเวลากลางคืน ที่จัดว่าเป็นลักษณะอาการเฉพาะ นอนไปแล้วตี02:00-03:00 ต้องตื่นขึ้นมา ซึ่งถือว่าเป็นอาการปวดที่บ่งบอกถึงการเป็นโรคที่ร้ายแรง เช่น อาจมีการติดเชื้อที่ยังไม่รุนแรงหรือยังไม่มีไข้ หรืออาจจะเป็นเนื้องอกที่ธรรมดาหรือมะเร็ง
- ปวดหลังแต่ร้าวลงขา
ถือเป็นอาการหนักที่ร้ายแรงแล้วมีอาการอื่นร่วมด้วยคือปวดที่ร้าวลงขา มีอาการชาของนิ้วเท้า หน้าแข้ง (ชาเส้นประสาท) อาการปวดร้าวเลยหัวเข่าลงไป มีอาการผิดปกติของการขับถ่าย ชารอบก้น อุจจาระกลั้นไม่อยู่
ออกกำลังกาย
การออกกำลังกายแบบง่าย ๆ หรือ Cardio ที่สามารถช่วยลดอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อซ้ำ ๆ ที่ทำได้ในช่วงที่มีเวลาไม่มากประโยชน์ของการออกกำลังกายนี้ก็จะถือเป็นการวอร์มอัพร่างกายก่อนและช่วยเพิ่มอัตราการพัฒนาของกล้ามเนื้อหัวใจ ช่วยให้ไขมันในร่างกายถูกนำออกไปใช้งานมากขึ้นด้วย จะมีอะไรบ้างดังนี้
- วิ่ง
- ปั่นจักรยาน
- เดิน
- ว่ายน้ำ
- กายภาพบำบัด (ยกตัวอย่างท่ากายบริหาร ประมาณ 3-5 ข้อ)
แน่นอนว่าวันทั้งวันนั่งทำงานตั้งแต่เช้ากว่าจะได้ลุกออกจากเก้าอี้และโต๊ะทำงานก็ปาไปเกือบเที่ยง ภาวะเมื่อยล้า และอาการปวดหลังก็เริ่มคลานเข้ามา บางคนมีอาการปวดเรื้อรังบ้างแล้วซึ่งเราก็ได้ทำการจัดหาท่าทางการบริหารเอาไว้สำหรับคุณด้วย
1.ท่ายืดเหยียดหลัง
เริ่มต้นจากการนั่งแล้วยืดขาทั้งสองข้างไปข้างหน้า ต่อมาเมื่อจังหวะหายใจเข้าให้ยกมือขึ้นแตะที่บริเวณศีรษะของตัวเองหรือจะเลือกประสานมือระหว่างมืออีกข้างก็ได้ เมื่อหายใจออกก็ค่อยๆลดมือทั้งสองข้างลงมาแตะที่ปลายเท้า ทั้งนี้เข่าต้องไม่งอ และพยายามก้มให้ได้มากที่สุด ซึ่งท่านี้ก็จะได้ทั้งบริเวณช่วงหลังและเอว ช่วยให้ร่างกายได้ผ่อนคลายลง ลดอาการปวดเมื่อยแผ่นหลังได้
- ท่ายืดหัวเข่า
ยืดเหยียดสะโพกข้างขวา พับขาเข้ามาด้านนอก ให้ส้นเท้าชิดกับสะโพกไว้ จากนั้นค่อย ๆ เอนตัวไปด้านหลัง จากนั้นลดข้อศอกลงมาช้า ๆ ค่อย ๆ นอนลงไปให้แผ่นหลังแนบชิดกับผืนเสื่อ ก็จะเริ่มรู้สึกยืด ตึง ช่วงกล้ามเนื้อขาด้านหน้า ซึ่งเป็นตรงข้ามกับกล้ามเนื้อสะโพกด้านหลัง หายใจเข้าลึก ๆ หายใจออกยาว ๆ หากใครที่ไม่รู้สึกว่าตึง แนะนำให้ชันขาซ้ายเข้ามา วางฝ่ายเท้าซ้ายลงไปที่พื้นตั้งเข้าไว้ก็จะรู้สึกว่ายืดมากขึ้น แต่หากว่าใครต้องการให้ยืดมากขึ้นกว่าอีกสักหน่อยให้ยกเข่าซ้ายเข่ามาให้เท้าลอยจากพื้นขึ้นมา เอามือช่วยดึงเข่าซ้ายเข้ามาหาอกมากขึ้นจะช่วยให้รู้สึกตึงมากขึ้น ท่านี้ก็จะช่วยผ่อนคลายหัวไหล่ ลำตัว ช่วงบนผ่อนคลาย ท่านี้ก็เหมาะกับคนที่นั่งทำงานนาน ๆ
- 3. ท่ายืด บิดสะโพก
ยกขาขวาขึ้นมา ใช้มือซ้ายจับข้อเท้ายกขึ้นมา จากนั้นเอามือซ้ายสอดใต้ขาแล้วดึงขาเข้ามา แขนขวาก็สอดเข้ามาด้วย ส่วนฝ่าเท้าขวาวางไว้ที่ข้อศอกซ้าย มือซ้ายจับที่น่องขวา แล้วมือขวาจับที่ข้อมือซ้ายอีกทีหนึ่ง ดึงหน้าแข้งเข้ามาหาอก ท่านั้นก็จะให้ความรู้สึกยืดกล้ามเนื้อสะโพกด้านนอกหรือกล้ามเนื้อ Piriformisมือซ้ายจับน่องไว้แล้วส่งแรงดึงไปทางซ้ายนิดนึงแล้วค้างไว้หายใจเข้าออกลึก ๆ ยาว ๆ
วิธีรักษาอาการปวดหลัง
สำหรับการรักษาจะรักษาตามอาการ ซึ่งจะแบ่งเป็น 3 ลักษณะด้วยกัน คือ
1.อนุรักษ์นิยม
คือ ให้ยาแก้ปวด พักการออกกำลังกาย พักการใช้หลัง ใช้เครื่องช่วยพยุง นวด จับเส้น เป็นวิธีที่ไม่ต้องเข้ารับการผ่าตัด สามารถใช้รักษาในกลุ่มผู้ที่เป็นในระยะแรก ๆ ที่ไม่รุนแรงมาก
2.ฉีดยา
ทำโดยการฉีดยาโดยรอบไขข้อกระดูกสันหลังที่มีความสึกหรอเพื่อให้บรรเทาอาการปวด มีการฉีดยารอบ ๆ บริเวณเส้นประสาทที่รักษาอาการอักเสบ
- ผ่าตัด
ขึ้นอยู่กับลักษณะของรอยโรค แต่ข้อบ่งชี้ของการผ่าตัดโดยทั่วไป มี 2 ข้อ คือ 1.แบบไม่ผ่าตัด หรือแบบอนุรักษ์นิยมแล้วไม่ได้ผล คนไข้ยังมีอาการปวดทรมาน ไม่สามารถดำรงใช้ชีวิตประจำวันได้ หรือไม่สามารถทำในสิ่งที่อยากทำได้ 2.มีการกดทับเส้นประสาท รู้สึกชา อ่อนแรง ซึ่งขึ้นอยู่กับการประเมินของแพทย์ด้วย ลักษณะของอาการชา หรือกดทับโอกาสเสี่ยงทำให้อาการแย่งลงเรื่อย ๆได้
บริเวณที่ต้องทำการผ่าตัด การผ่านตัดจะอิงจากรอยโรค อาจจะเป็นการผ่าตัดหมอนรองกระดูก ผ่าตัดยึดกระดูกสันหลัง ผ่าตัดเพื่อกรอหินปูนออกหรือเอาส่วนที่ไปกดทับเส้นประสาทออกก็มีหลายเทคนิคและก็ทีตั้งแต่ผ่าแผลเล็ก แผลกลาง แผลใหญ่ ขึ้นอยู่กับเทคนิค
- ผ่าตัดผ่านกล้อง
วิธีการผ่าตัดโดยใช้กล้อง Endoscope ถือเป็นเทคนิคสมัยใหม่ที่ได้รับความนิยมมากในทางการแพทย์ เนื่องจากเป็นการผ่าตัดที่บาดเจ็บน้อยและมีจุดประสงค์เพื่อให้มีการบาดเจ็บต่อกล้ามเนื้อให้น้อยที่สุด ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้คือดีไม่แพ้การผ่าตัดเปิดแผลปกติเลย
ปวดหลังแบบไหนถึงต้องทำการผ่าตัดเท่านั้น?
นอกจากที่ได้อธิบายไปแล้วว่ามีข้อบ่งชี้คือรักษาโดยใช้วิธีอนุรักษ์นิยมคือไม่ผ่าตัดแล้วเกิดไม่ได้ผล มีการกดทับเส้นประสาท สุดท้ายอาจเกิดจากการปวดหลังในกรณีร้ายแรง เช่น เป็นเนื้องอก ชนิดธรรมดา ชนิดรุนแรง (ที่เรียกว่าเซลล์มะเร็ง) หรือการติดเชื้อ ไม่ว่าจะเป็นการติดเชื้อแบคทีเรีย รส และวัณโรค ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลนี้จำเป็นที่จะต้องทำการเข้ารับการผ่าตัด แต่ต้องมุ่งไปถึงสาเหตุด้วยว่าเกิดจากอะไร เช่น หากเป็นเนื้องอกก็ต้องทำการเจาะดูว่าเป็นเนื้องอกชนิดไหนเมื่อตรวจดูแล้วก็อาจจะต้องใส่โลหะเพื่อดามกระดูกสันหลังเพื่อไม่ให้คนไข้มีอาการเจ็บในระหว่างผ่าเนื้องอก หรืออาจจะต้องทำการผ่าตัดเอาเนื้องอกที่ทับเส้นประสาทนั้นออก การติดเชื้อก็เช่นเดียวกันต้องทำการเจาะหนอง ส่งตรวจชิ้นเนื้อและหลายๆครั้งก็ต้องทำการใส่โลหะยึดเพื่อไม่ให้คนไข้มีอาการเจ็บปวดในขณะที่ให้ยาฆ่าเชื้อ
วิธีป้องกัน
1.พยายามออกกำลังกายให้กล้ามเนื้อและกระดูกสันหลังได้ทำงานบ้าง
2.ไม่ยกของหนัก หากต้องยกควรอยู่ในท่าที่ถูกต้อง ไม่ก้มโค้งโดยใช้แผ่นหลัง แต่ใช้ทั้งตัว
3.ลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม โดยไม่รบกวนกระดูก กล้ามเนื้อส่วนเอวและหลังมาก
4.ลดหรือเลิกการสูบบุหรี่ เพื่อให้ระบบภายในร่างกายและของเหลวทำงานได้อย่างปกติ
5.รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะกลุ่มแคลเซียมเพื่อบำรุง กระดูกและระบบไขข้อ
อะไรคือสาเหตุที่ชัดเจนของอาการปวดหลัง?
ภาวะเสี่ยงจากพฤติกรรมที่มีการพิสูจน์แล้วว่ามีผลต่ออาการปวดหลังอย่างชัดเจนคือ การสูบบุหรี่ เนื่องจากการสูบบุหรี่ทำให้เลือด หรือสารอาหารที่ไปหล่อเลี้ยงหมอนรองกระดูกนั้นน้อยลง ทำให้หมอนรองกระดูกสึกและเสื่อมเร็ว ฉะนั้นใครที่มีพฤติกรรมนี้ควรจะลดละหรือเลิกไปก็จะทำให้โอกาสที่หมอนรองกระดูกที่เสื่อมแล้วหรือยังไม่เสื่อมนั้นชะลออาการปวดหลังลงไปได้
*** Keyword อื่นๆ ปวดหลังส่วนบน, ปวดหลังส่วนล่าง, ปวดหลังเรื้อรัง, ปวดหลังนอนไม่ได้, ปวดหลังในวัยหนุ่มสาว , ปวดหลังในวัยสูงอายุ ***
วิธีการผ่าตัดกระดูกสันหลังมีกี่แบบ?
โดยทั่วไปต้องแบ่งไปตามเทคนิค ซึ่งขึ้นอยู่ที่รอยโรคเป็นหลักไม่ว่าจะเข้าไปแก้ไข หมอนรองกระดูก หินปูนทับเส้นประสาท หรือการเคลื่อนตัวที่ผิดปกติของกระดูกสันหลัง แต่การผ่าตัดก็จะมีทั้งแบบมาตราฐานคือ เปิดแผลถึงรอยโรค ทำการผ่าตัดเอาหมอนรองกระดูกออก จัดการกับหินปูนที่ทับเส้นประสาท หรือจะใส่สกูรเพื่อยึดกระดูกแผ่นหลังหรือเชื่อมกระดูกสันหลัง
อีกวิธีหนึ่งที่ถูกให้ความสำคัญกันในปัจจุบันคือการผ่าตัดแผลเล็กก็คือมีลักษณะการทำเหมือนผ่าตัดใหญ่เพียงแต่ไม่ได้ทำการเปิดแผลบนผิวหนังที่สำคัญไม่ได้ผ่าตัดกล้ามเนื้อมากเท่าผ่าตัดใหญ่ ทั้งนี้ทั้งนั้นการผ่าตัดต้องขึ้นอยู่กับการประเมินของแพทย์ด้วย
ทำไมค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดเล็กถึงมีคาราสูง?
ถึงแม้ว่าจะเป็นการผ่าตัดเล็กและพักฟื้นน้อยแต่ค่าใช้จ่ายจะสูง เนื่องจากว่าการผ่าตัดเล็กจำเป็นจะต้องใช้เครื่องมือชนิดพิเศษทั้งหมด
การพักฟื้นต้องนอนโรงพยาบาลนานแค่ไหน?
ยกตัวอย่างของการผ่าตัดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทแผลเล็กไม่เกิน 1นิ้ว โดยผ่าตัดผ่านกล้อง ระยะเวลาในการพักฟื้นประมาณ1-2วันพักฟื้นที่บ้าน2-3สัปดาห์ส่วนใหญ่ก็สามารถที่จะกลับไปทำงานได้ตามปกติ
*บางกรณีที่หมอนรองกระดูกมีการสึกหรอ มีรอยแตกมากขึ้นแพทย์ก็จะแนะนำให้ผู้ป๋วยประคับประคองตัวเอง อย่าพึ่งยกของหนักหรือทำกิจกรรมหนัก ๆ ระยะการพักฟื้นก็ประมาณ 3 เดือนเพื่อลดการแตกของกระดูกที่จะเกิดซ้ำ
ส่วนในกรณีที่ต้องผ่าตัด เชื่อมกระดูกสันหลัง มีการใส่โลหะ โดยทั่วไปจะต้องอยู่โรงพยาบาล1สัปดาห์ 1-2วันหลังผ่าตัดก็จะมีการทำกายภาพบำบัดลุก ยืน เดิน จากนั้น 2-3สัปดาห์คนไข้ก็จะเริ่มดูแลตัวเองได้ 6 สัปดาห์ก็จะเริ่มออกนอกบ้านได้และช่วง 3 เดือนถึงจะสามารถทำกิจกรรมหรือกลับมาเล่นกีฬาได้ตามปกติ จนกระทั่ง 6เดือนก็สามารถที่จะนั่งทำงานหรือใช้ชีวิตปกติได้(ขึ้นอยู่กับปัญหาการผ่าตัดและอายุของคนไข้ด้วย)
ดังนั้นแล้วไม่ว่าจะอาการเจ็บไข้ได้ป่วยแบบใดก็ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น เพราะเมื่อเกิดขึ้นแล้วอาการก็จะรบกวนกับการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ทำงานได้ไม่เต็มที่ นอนหลับไม่เพียงพอ ทำให้ต้องสูญเสียคุณภาพชีวิตจากอาการเจ็บป่วย เหนือสิ่งใดสิ่งที่ต้องมีเลยคือ การมีสติทุกกิจกรรม ทุกการเดินทาง เพราะในชีวืตคนเรานั้นล้วนแล้วแต่จะประสบกับปัญหาได้ทั้งตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจให้เกิด
Reference:
- https://www.vejthani.com/th/2014/12/%E0%B8%9B%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87/
อ้างอิงจาก: pixabay