อาการสะอึก
อาการสะอึกถือเป็นความน่ารำคาญไม่น้อยเลยสำหรับผู้ประสบเอง เพราะทันทั้งเหนื่อยเมื่อต้องควบคู่ไปกับการหายใจ บางท่านที่ก็พยายามกลั้นไม่ให้เสียงดังอึกอัก แต่เมื่อไหร่ที่สะอึกหลุดหรือคุมไม่อยู่มักจะส่งผลให้เกิดการหงุดหงิดยิ่งนัก วันนี้เราเลยนำข้อมือดี ๆ ฝากทุก ๆ คนกันด้วย
สาเหตุของอาการสะอึกเกิดจาก
การขยายตัวกระเพาะอาหารที่มากเกินไป หรือการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศที่เร็ว รวมถึง สภาพจิตใจ อาการหวาดกลัว เครียด วิตกกังวลกับบางสิ่งและการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
สำหรับภาวะการสะอึกไม่จำเพาะหรือเขาจาะจงว่าต้อวเป็นใครเพศไหน อายุที่ไหร่
ในอุบัติการณ์เกิดเราพบว่าเป็นได้ตั้งแต่เด็กเล็ก ๆ ไปจนถึงผู้สูงอายุ ซึ่งเหตุผลหลัก ๆ ก็คือพฤติกรรมการรับประทาน เช่น เด็กที่ยังอายุไม่มากโดยเฉพาะเด็กที่อายุหลังคลอดและอยู่ในช่วงดื่มน้ำจากเต้าอาจต้องระมัดระวังเป็นพิเศษแม้จะไม่ได้รุนแรงก็ตามที
อาการสะอึก
สำหรับอาการสะอึกมักพบได้บ่อยทุกเพศทุกวัย และจะเป็นเพียงเวลาสั้นๆ ก่อนจะสงบลงเอง เฉลี่ยแล้วเวลาของอาการจะอยู่ที่2-3 นาที โอกาสเป็นนาน ๆ นับชั่วโมงก็มีแต่น้อย ซึ่งอาการสะอึกที่น่าเป็นห่วงคือการสะอึกนาน2-3 วันแบบนี้แนะนำได้คือให้พบแพทย์แล้ว
วิธีการรับมือกับอาการสะอึก
ที่จริงแล้วอาการสะอึกไม่ได้นับว่าเป็นความรุนแรงเพราะบางคนเป็นแล้วหายได้เพียงเวลาไม่นาน หรือ2-3นาทีก็หาย หรือเปล่าไว้เฉย ๆ ก็หายไปเองแต่ว่าใครที่อยากจะหยุดสะอึกสามารถทำได้ดังนี้
- จิบน้ำแบบเร็ว ๆ 3-5 ครั้ง
- ปล่อยให้อาการเป็นไปสักพัก รอให้หายเอง
- ทำให้ตกใจ
วิธีทำให้ตกใจนี้สามารถทำให้เราไม่โฟกะสกับอาการสะอึก แต่ในช่วงที่มีใครมาทำให้ตกใจแบบเผลอ ๆ ก็จะไปแทนที่ช่วงเวลาของการสะอึกได้ ทำให้การสะอึกนั้นหายไปทันที
- หายใจเข้าลึก ๆ และหายใจออกยาว ๆ
การสูดลมหายใจเข้าลักษณะนี้มักจะทำเพื่อไปแทรกระหว่างเสียงและอาการสะอึก แต่บางโอกาสอาการสะอึกและเสียงก็มักล่นเวลาออกไปหลังหายใจเข้าออกเสร็จ
สะอึกเรื้อรัง
เป็นอาการสะอึกที่ยาวนาน กรณีที่เกิดการสะอึกลักษณะนี้มักมีผลมาจากการเกิดโรคอยู่ก่อนหน้าแล้ว
เช่น โรคปอดบวม โรคหอบหืด โรคลำไส้อักเสบ โรคคอหอยอักเสบ โรคลมชัก และโรคของความเครียด
ยาที่มีผลกระทบต่อการเกิดอาการสะอึก
ในกลุ่นของยา Anaesthesia หรือ ยาชาที่ใช้ในการทำให้ไม่รู้สึกตัว เช่น การผ่าตัด ฟันคุด ฯลฯ
Corticosteroids ยาในกลุ่มรักษาอาการอักเสบปวดบวม
Methyldopa ยารักษาความดันโลหิตสูง และยากันชัก
สำหรับเด็กที่สะอึก:
กรณีที่เป็นเด็กแนะนำให้อุ้มพาดไหล่และใช้มือลูบหลังเบา ๆ เพื่อให้เกิดอาการเรอออกมา
วิธีป้องกันการเกิดอาการสะอึก
1.เลือกรับประทานอาหารที่พอดีหรือไม่น้อยเกินไป
- 2. พยายามจิบน้ำให้ได้มากในแต่ละวันแม้จะไม่สะอึกก็ตาม
- 3. เลือกรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย ไม่เหนื่อย ไม่แข็ง
4.ลดการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ลดสูบบุหรี่
- รับมือกับความเครียดให้ได้ ปล่อยวางให้ได้
6.ปรับพฤติกรรมการเร่งรีบให้ช้าลงหน่อย(โดยเฉพาะการรับประทาน)
ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงและอาจมีอาการสะอึกนานผิดปกติ
ความเสี่ยงในการเกิดอาการสะอึกเรื้อรังหรือมีระยะเวลานานพอสมควรจนผิดปกติคือ ผู้ที่รักษาความดัน ผู้ที่เคยผ่านการใช้ยากันชัก (ผู้ที่ชักบ่อย)และ ผู้ที่เป็นซึมเศร้า
ทั้งนี้นอกจากที่เราจะมองว่าอาการสะอึกนั้นถือเป็นเรื่องธรรมดาในผู้ที่มีอาการที่ไม่เรื้อรังหรือไม่ได้เป็นยาวนานนับได้เป็น 10-20นาที แต่ผู้ที่อยู่ในภาวะนี้ก็อย่าละเลยในการดูแลใส่ใจสุขภาพอาหารการกินของตัวเอง เลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อร่างกาย และในผู้ที่มีภาวะเรื้อรังอาจจะต้องเข้าพบแพทย์หรือปรึกษาแพทย์เพื่อจะได้รู้สาเหตุที่แท้จริงอย่างละเอียดรวมถึงการดูแลรักษาให้อาการนั้นดีขึ้นเรื่อย ๆ เท่านี้ก็จะช่วยให้คุณลดภาวะการสะอึกนาน ๆ ได้ไม่มากก็น้อย
Reference
- Friedman NL. Hiccups: a treatment review. Pharmacotherapy. 1996;16:986-95.
- Nagayama T, Kaji M, HiranoH, et al. Intractable hiccups as a presenting symptom of cerebellar hemangioblastoma. Case report. J Neurosurg. 2004;100:1107-10.
- Funakawa I, Terao A. Intractable hiccups and syncope in multiple sclerosis. Acta Neurol Scand. 1998;98:136-39.
อ้างอิงจาก: pixabay