หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ช็อกโกแลตซีสต์ Chocolate Cyst หรือ เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่

โพสท์โดย แสงระวี

สาว ๆ มีอาการเหล่านี้ไหม? ปวดประจำเดือนผิดปกติ  ปวดท้องน้อยเป็นช่วงและปวดบ่อยมาก ๆ คลื่นไส้ อาเจียน

รู้ไหมว่าคุณกำลังเสี่ยงกับ ‘’ช็อกโกแลตซีสต์'’ที่อาจเกิดขึ้นเมื่อมีภาวะอาการปวด แล้วอยากรู้ไหมว่าสาเหตุของโรคช็อกโกแลตซีสต์มีที่มาที่ไปยังไง  อย่าพลาดความรู้ดี ๆ เชียวตามมา ๆ

 

สาเหตุของการเกิดช็อกโกแลตซีสต์

เกิดจากประจําเดือนไหลน้อยขึ้นด้านบนไปยังท่อนำไข่ พาไปตกมดลูกบริเวณอุ้งเชิงกรานผนังมดลูกด้านนอกลำไส้ หรือตกค้างอยู่ในท่อนำไข่ และมีเซลล์หล่อเลี้ยงกลายเป็นถุงน้ำ เป็นแบบนี้ทุกครั้งเมื่อมีประจำเดือน และจะมีอาการปวดท้องประจำเดือนมากกว่าปกติและเมื่อนานๆเข้าก็จะมีลักษณะเป็นถุงน้ำมีสีน้ำตาลคล้ายสีช็อคโกแลต นี่เลยเป็นที่มาของ “ช็อกโกแลตซีสต์”

อาการของภาวะช็อกโกแลตซีสต์

อาการที่แสดงของการเกิดช็อกโกแลตซีสต์ คือ จะมีลักษณะอาการที่ปวดคือ ปวดท้องน้อย ปวดอุ้งเชิงกราน มีอาการปวดที่เรื้อรัง  มีอาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง  คลื่นไส้ อาเจียน บางรายพบว่ามีอาการปวดหลังและร้าวไปถึงก้น เมื่อมีวันนั้นของเดือนทุกครั้ง ซึ่งการที่มีประจำเดือนร่วมกับอาการปวดบางคนอาจจะเข้าใจว่าเป็นอาการที่ต้องพบอยู่ทั่วไป แต่ในความเป็นจริงแล้วการมาของประจำเดือนที่ส่งผลร่วมกับอาการปวดต่าง ๆ ความไม่สบายตัว มีความปวดเมื่อยเนื้อตัว ถือเป็นอาการที่ไม่ใช่ผลดีเท่าไหร่ เนื่องจากว่าการมาของประจำเดือนนั้นจะไม่สร้างความเจ็บปวดใด ๆ ต่อร่างกายเลย ฉะนั้นหากมีอาการปวดมากหรือมีความถี่ขึ้นร่วมกับมีประจำเดือนด้วยอย่างปล่อยไว้เด็ดขาดเลย เพราะนั้นอาจเป็นสัญญาณที่ไม่ดีแน่

การรักษาช็อกโกแลตซีสต์

ในทางการแพทย์แผนปัจจุบันมีการรักษาได้หลากหลายวิธี ซึ่งหลักการคือ ทำยังไงไม่ให้มีประจำเดือนไหลย้อนกลับขึ้นไปผ่านท่อนำไข่

ยกตัวอย่างการรักษา เช่น การฉีดยาคุมกำเนิดไม่ให้มีประจำเดือนเมื่อไม่มีประจำเดือน 1-2 ปีช็อกโกแลตซีสต์ก็จะค่อยๆฝ่อตัวลงไปเอง แต่การฉีดยาคุมจะส่งผลทำให้มดลูกฝ่อหลังจากนั้นก็จะมีบุตร(ลูก)ยากและมีอาการวัยทองต่างๆตามมามากมาย การรักษากี่วิธีคือการตั้งครรภ์สำหรับผู้ที่วางแผนจะมีบุตรอยู่ในแล้วเมื่อตั้งครรภ์9-12 เดือนช็อกโกแลตซีสต์ก็จะค่อยๆฝ่อลงไปเอง และอีกทางเลือกหนึ่งคือการผ่าตัดเอาช็อกโกแลตซีสต์ออก แต่หลังจากผ่าตัดไปในระยะเวลาหนึ่งก็จะมีโอกาสกลับมาเป็นได้อีก

“ปัญหาหลักๆคือเกิดจากตัวมดลูกที่ไม่กระชับ โดยจะดีดให้ประจำเดือนไหนออกอย่างรวดเร็ว และอีกปัญหาที่พบก็คือสมดุลของฮอร์โมนเพศไม่ดี ประจำเดือนนานๆทีมาเยอะทำให้ประจำเดือนล้นไปยังท่อนำไข่ได้ง่าย...

ดังนั้นการแก้ปัญหาหาแก้ที่ตัวมดลูกและการปรับสมดุลของฮอร์โมนก็จะเป็นทางเลือกหนึ่งในการแก้ปัญหาช็อกโกแลตซีสต์ได้ดี”

ภาวะแทรกซ้อนในการเกิดช็อกโกแลตซีสต์

อาจทำให้มีความเสี่ยงต่อการมีบุตรยาก เนื่องจากรังไข่นั้นฝ่อตัวลงซึ่งบางรายก็เลือกที่จะรักษาโดยการตัดรังไข่ทั้ง2 ข้างออกไปเพื่อยับยั้งการเกิดช็อกโกแลตซีสต์

ในการรักษาเบื้องต้นของโรคช็อกโกแลตซีสต์

การให้ยาแก้ปวดยาปรับฮอร์โมนถ้าอาการรุนแรงมากขึ้นหรือก็ช็อกโกแลตซีสต์มีขนาดใหญ่จะต้องได้รับการผ่าตัดจะมีตั้งแต่ผ่าตัดผ่านทางหน้าท้อง กับผ่าตัดส่องกล้อง ซึ่งจะต้องพิจารณาอายุของผู้ป่วยเป็นหลัก และจากความต้องการในการมีบุตร สำหรับในรายที่ไม่มีความต้องการมีบุตรแล้วก็อาจจะเลือกวิธีการผ่าตัดมดลูกและรังไข่ทั้งสองข้าง ก็จะทำให้รอยโรคนั้นหายได้มากที่สุด

หากสำรวจตัวเองว่ามีอาการของโรคช็อกโกแลตซีสต์ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาอย่างเร่งด่วนไม่ควรปล่อยทิ้งไว้จนลุกลามกลายเป็นระยะที่มีแรงและสร้างความทรมานให้กับร่างกาย

คำถามที่พบบ่อย

คำถาม: เคยผ่าตัดแล้วมีโอกาสเป็นอีกไหม?

คำตอบ: แน่นอนว่าคนที่เป็นช็อกโกแลตซีสต์ เกิดจากกลไกการไหลของประจําเดือนที่ผิดปกติ เป็นแล้วก็เป็นอีกได้เพราะฉะนั้นในกรณีคนที่ผ่าตัดแล้วก็ต้องมีการเฝ้าติดตามเทรนอัลตร้าซาวด์ทุกๆ 3 หรือ 6 เดือนหลังผ่าตัดเนื่องจากว่าถ้าก้อนช็อกโกแลตซีสต์เริ่มโตแต่ขนาดไม่ใหญ่มากสามารถใช้ยาฉีดฮอร์โมนเพื่อลดก้อนซีสต์ทำให้ไม่ต้องผ่าตัดรอบ 2 อีก

 

Reference

  1. Redwine DB. Ovarian endometriosis: a marker for more extensive pelvic and intestinal disease. Fertil Steril. 1999 Aug;72(2):310-5.
  2. Missmer SA, Chavarro JE, Malspeis S, Bertone-Johnson ER, Hornstein MD, Spiegelman D, Barbieri RL, Willett WC, Hankinson SE. A prospective study of dietary fat consumption and endometriosis risk. Hum Reprod. 2010 Jun;25(6):1528-35.
  3. Saavalainen L, Lassus H, But A, Tiitinen A, Härkki P, Gissler M, Pukkala E, Heikinheimo O. Risk of Gynecologic Cancer According to the Type of Endometriosis. Obstet Gynecol. 2018 Jun;131(6):1095-1102.
โพสท์โดย: แสงระวี
อ้างอิงจาก: pixabay
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
แสงระวี's profile


โพสท์โดย: แสงระวี
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
แม่พาลูกสาวตัวน้อยเข้าพบผู้อำนวยการโรงเรียน โวยครูอนุบาลถักเปียลูกสาวตึงเกินไปจนเจ็บหนังศีรษะ"หัวโอลเมก" ปริศนาแห่งอารยธรรมโบราณลอว์สัน เรียกคืนสินค้า หลังจากสงสัยว่ามีเศษแก้วปนในถุงน้ำแข็งเรื่องที่ต้องระวังต้นปี 68 by อ.กัญจน์ ญาณพยากรณ์เลขเด็ด เลขมาเเรง เลขดัง "รวมหวยเด็ดสำนักดัง vol.25" งวดวันที่ 2 มกราคม 2568จากผลการสำรวจพบว่า คนอังกฤษจำนวนมากเผลอหลับในที่แปลกๆ ตั้งแต่ไนต์คลับไปจนถึงที่ทำงานสวนสวยระดับโลก สวนนงนุชพัทยา
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
เรื่องที่ต้องระวังต้นปี 68 by อ.กัญจน์ ญาณพยากรณ์ลอว์สัน เรียกคืนสินค้า หลังจากสงสัยว่ามีเศษแก้วปนในถุงน้ำแข็ง
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
จากผลการสำรวจพบว่า คนอังกฤษจำนวนมากเผลอหลับในที่แปลกๆ ตั้งแต่ไนต์คลับไปจนถึงที่ทำงาน"หัวโอลเมก" ปริศนาแห่งอารยธรรมโบราณเซเว่นเยอะจนฝรั่งงง เมืองไทยสะดวกขั้นเทพ ชีวิตง่ายแค่ข้ามถนนฝรั่งยังอึ้ง คนไทยไว้ใจกันขั้นสุด ซื้อของไม่ต้องรอพ่อค้าดูสลิป
ตั้งกระทู้ใหม่