ปัญหาที่มากับ”รอบเดือน”
"แกๆเดือนนี้ประจำเดือนไม่มาเลย''...
"ช่วงนี้ประจำเดือนของฉันมาน้อยมาก ๆ เลย"...
"ทำไมประจำเดือนรอบนี้ของฉันมามากและมานานกวาดเดือนไหนไหนอีกละ"
ปฏิเสธกันไม่ลงเลยใช่ไหมสาวๆที่รอบเดือนประจำเดือนที่เชื่อว่าจะต้องเดินทางมาในทุกๆของเดือนนั้นไม่ได้ชวนให้คนรู้สึกกังวลใจหรือผิดหวังเลยวันนี้เราขอเอาใจสาวๆด้วยการเปิดเรื่องรอบเดือนหรือประจำเดือนที่ยากจะเข้าใจแต่ก็ต้องฝืนเข้าใจเขาให้ได้
รอบเดือนหรือประจำเดือนเกิดขึ้นได้จาก
รอบเดือนหรือประจำเดือนนั้นเกิดจากการลอกตัวของเยื่อบุโพรงมดลูก แล้วจะมีอาการมดลูกบีบตัวอย่างรุนแรงจึงส่งผลให้เกิดอาการปวดท้อง***
อย่างที่ใครๆก็ว่ากันว่าไม่มีทางหลุดพ้นเป็นแน่หากยังไม่เข้าสู่วัยทอง...แต่จะดีไม่น้อยที่เราจะได้ทำความรู้จักกับประจำเดือนนี้มากกว่าเรื่องอื่นเป็นไหนไหน
-ประจำเดือนมาแบบกะปริดกะปรอย
ปัญหานี้ส่วนใหญ่เกิดจากการใช้ยาคุมกำเนิดทั้งสิ้นเราพบว่าในผู้ที่เริ่มต้นใช้ยาคุมกำเนิด อาจส่งผลให้มีเลือดออกประปราย หรือกะปริดกะปรอย ซึ่งมีสาเหตุมาจากฮอร์โมนของยาคุม แต่เมื่อไหร่ที่ร่างกายปรับตัวเข้ากับยาคุมชนิดนั้นได้ ปัญหาที่เกิดขึ้นก็จะหายเอง ซึ่งระยะเวลาที่อาจจะต้องรอให้ร่างกายปรับตัวนั้นอยู่ที่ประมาณ 1-2 เดือนแต่หากเกินเวลาไปถึง 5-6 เดือนแนะนำว่าพบแพทย์ทันทีเพราะอาการเลือดออกที่พบอาจเป็นสัญญาณเตือนของมะเร็งปากมดลูกก็เป็นได้
-ประจำเดือนมาน้อยมาก
หากรอบเดือนนั้นมาตรงทุกรอบหรือมาสม่ำเสมอแม้จะมาน้อยนิดก็ไม่น่าเป็นห่วงเพราะอาจเป็นเวลาของการตกไข่ตามปกติและที่รอบเดือนมาน้อยก็มักพบว่าเป็นผู้ที่ใช้ยาคุมกำเนิดหรือเป็นผู้ที่มีอายุมาก แต่หากว่ากันมาน้อยจนคุณรู้สึกใจคอไม่ดี ที่สำคัญก็ไม่ได้ใช้ยาคุมกำเนิดด้วย ก็อาจมีผลมาจากความไม่สมดุลของร่างกายนั้นเอง
-ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ
ความเครียด พักผ่อนน้อย ทำงานหนัก ถือเป็นสาเหตุหลักที่ส่งผลให้ประจำเดือนมาไม่ตรงรวมถึงการขาดสารอาหารจากการลดน้ำหนักก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งด้วยที่ทำให้ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการเจริญภัยผิดไป ถึงจะดูว่าไม่น่าเป็นอันตรายและไม่ได้ตั้งครรภ์ก็ควรที่จะพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริงกว่าเดิม ซึ่งหากสุดท้ายไม่ได้เกิดจากการตกไข่ ก็อาจเป็นไปได้ว่าฮอร์โมนขาดความสมดุล
- ประจำเดือนมามากกว่าเดือนละครั้ง
การมามากกว่าอาจเป็น 2 ครั้งต่อเดือนหรือ 3 ครั้งต่อเดือนสาเหตุอย่างที่ได้กล่าวไปว่าหลักๆมาจากความเครียดที่สะสมความกังวลที่มีอยู่ภายในใจ ส่งผลให้ฮอร์โมนนั้นจับสนทำให้การมาของประจำเดือนผิดเพี้ยนไป
ในบางกรณีเกิดปัญหาเยื่อบุมดลูกเคลื่อนที่ซึ่งจะทำให้เกิดอาการปวดในตำแหน่งเชิงกรานหลังมีเพศสัมพันธ์
อาการในลักษณะนี้ถือว่าค่อนข้างที่จะน่าเป็นห่วงควรพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุอื่นๆร่วม
-ประจำเดือนมานับเป็นอาทิตย์
เดิมทีผู้หญิงจะมีอายุการมาของประจำเดือนอยู่ที่ 4 ถึง 7 วันในวันที่ 2 และ 3 ของการมาเลือดค่อนข้างจะมีมากหน่อย แต่ไม่ควรมีนานและมีมากเกิน 6-8 วันหากมีมากและนานวันก็ควรที่จะพบแพทย์ทันทีเพราะอาจเกิดเป็นเนื้องอกที่มดลูกได้
คำถามที่พบบ่อย
คำถาม: มีประจำเดือนห้ามออกกำลังกายไม่ดีจริงหรือ
คำตอบ: ต้องขอที่บอกว่าการออกกำลังกายในขณะที่เป็นประจําเดือนอยู่นั้นยังไม่ถือว่าเป็นข้อห้ามหรือข้อเว้น ในทางกลับกันตอนออกกำลังกายจะผลิตสารเอ็นโดรฟินทำให้รู้สึกผ่อนคลายและคลายเครียดซึ่งสามารถช่วยลดหรือบรรเทาอาการปวดได้พอๆกับยาแก้ปวดเลยด้วยซ้ำ
แต่ในบางคนที่รู้สึกว่าการมาของประจำเดือนนั้นทำให้การทำกิจกรรมต่างๆต้องหยุดไป อาจมีสาเหตุมาจากร่างกายอ่อนแอในช่วงนั้นอาจมีปวดท้อง ปวดหน่วงๆ ทำให้รู้สึกว่าทำกิจกรรมนั้นได้ไม่สะดวกเท่ากับวันปกติ
ดังนั้นแล้วออกกำลังกายดีที่สุด ไม่ว่าจะวิ่ง เดินหรือ ปั่นจักรยาน
คำถาม: เพราะเหตุใดการมีประจำเดือนจึงห้ามมีเพศสัมพันธ์
คำตอบ: ที่จริงแล้วไม่ได้มีข้อห้ามหรือข้อยกเว้นเพียงแต่จำเป็นที่จะต้องระวังเพราะการที่มีประจำเดือนเป็นช่วงที่มดลูกเปิด เพื่อที่จะขับเลือดออกมาซึ่งมีผลทำให้เกิดการติดเชื้อในขณะที่มีเพศสัมพันธ์ได้ๆฉะนั้นแล้วการมีเพศสัมพันธ์อาจมีได้แต่ให้รักสุขอนามัยที่ดี เพื่อป้องกันการติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์
คำถาม: มีเพศสัมพันธ์ในช่วงมีประจำเดือนเสี่ยงท้องจริงหรือ
คำตอบ: ในความเข้าใจผิดของหลายๆคน ก็อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดการติดเชื้อได้ แต่ที่จริงแล้วการมีเพศสัมพันธ์ ณ ในช่วงที่มีประจำเดือนโดยมากจะปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์สูง เว้นแต่ผู้ที่มีประจำมาหลายหนต่อเดือนจะมีเลือดออกในช่วงไข่ตกหรือในช่วงกลางรอบเดือน ซึ่งหากมีเพศสัมพันธ์กันในวันนั้นก็มีโอกาสท้องได้มาก ขอเป็นระยะที่มีการตกไข่ดังนั้นอยากให้ป้องกันและใช้ถุงยางอนามัยจะดีที่สุด
ดังนั้นแล้วแม้อาจมีเข้าใจผิดกันไปบ้างในสาวๆ ในวันนี้เราก็ได้มาเสิร์ฟข้อมูลดีๆและคำถามที่ต้องการคำตอบให้กันไปแล้วอย่างไรสำหรับการมีประจำเดือนไม่ว่าจะมากน้อย หรือความผิดปกติใดๆหากไม่แน่ใจหรือเป็นกังวลใจในช่วงนั้นลองปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงเราเชื่อว่าคุณอาจกลับบ้านนอนหลับฝันดีแน่นอน
Reference:
- Marieb EN, Hoehn KN. Anatomy and Physiology (3rd edition). San Francisco: Pearson Benjamin Cummings; 2008.
- Odell WD, Molitch ME. The pharmacology of contraceptive agents. Annu Rev Pharmacol 1974;14:413-34.
อ้างอิงจาก: pixabay