รู้ได้อย่างไรว่ามีไขมันทรานส์ (Trans fat) ?
ต้องบอกก่อนว่าในกฎหมายอเมริกาตอนนี้ระบุค่อนข้างชัดเจนว่าห้ามใช้ไขมันทรานส์ แต่ในปริมาณที่น้อยมันเลี่ยงกฎหมายถ้าในอาหารชนิดนั้นมีปริมาณไขมันทรานส์น้อยกว่า 0.5 กรัม ในพอร์ตชั้นของอาหารนั้นเขาจะสามารถระบุว่าไขมันทรานส์เป็น 0 ได้ ดังนั้นค่อนข้างยากที่เราจะทราบได้ว่ามีหรือไม่มี
เพียงแต่คงต้องเลี่ยงอาหารที่แปรรูป โดยเฉพาะอาหารที่น่าสงสัยว่าผ่านอุณหภูมิความร้อนสูงไหมหรือใช้เป็นพวก มาร์การีน เนยเทียม ครีมเทียมมากน้อยแค่ไหนกลไกในการประกอบอาหารไม่แนะนำอาหารที่ทอดด้วยอุณหภูมิสูง เลือกเป็นผัด ต้ม นึ่ง ดีกว่า
ซึ่งประกาศใหม่จากกระทรวงสาธารณสุข จะทำให้ผู้ผลิตไม่สามารถใช้ช่องโหว่ได้อีกต่อไป แม้จะอ้างว่า ผลิตภัณฑ์ที่ขายนั้นไขมันทรานส์ 0% แต่จริง ๆ แล้วมันมีอยู่ แต่น้อยช่องทางนี้จะไม่สามารถใช้ได้แล้ว เพราะประกาศใหม่มันเป็นยาแรงห้ามผลิต ห้ามจำหน่าย ห้ามนำเข้าอาหารที่มีส่วนผสมของน้ำมันที่ผ่านการเติมไฮโดรเจนลงไป เข้าใจง่าย ๆ ว่า พวกที่มีไขมันทรานส์นั่นแหละ ห้ามมีเลย แม้แต่นิดเดียว เพราะฉะนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากนี้ก็คือผู้บริโภคได้ประโยชน์ ไม่ต้องคอยดูฉลากว่าผลิตภัณฑ์ไหนมีผลิตภัณฑ์ไหนไม่มีไขมันทรานส์เพราะมันจะไม่มีทุกผลิตภัณฑ์แล้วนั่นเอง
น้ำมันพืช นับเป็นไขมันทรานส์ (Trans fat) ด้วยจริงหรือ (?)
ย้ำกันอีกทีหนึ่งว่าน้ำมันพืชเป็นกลุ่มของไขมันทรานส์ ขอยืนยันว่าไม่ใช่ ซึ่งเป็นเรื่องของกรรมวิธีในการกลั่นมากกว่า ไม่ได้เอาไฮโดรเจนมาเติม
ส่วนที่บอกว่าเอาน้ำมันพืชไปผัดไปทอดแล้วจะเกิดไขมันทรานส์ ตรงนี้ก็เข้าใจผิดเช่นเดียวกัน
มีงานวิจัยพบว่าเวลาโดนความร้อนสูงมาก ๆ ซ้ำ ๆ หลาย ๆ รอบถึงจะมีไขมันเกิดขึ้นแต่ก็เกิดขึ้นในปริมาณที่น้อย
ฉะนั้นปลอดภัยที่สุดเวลาจะผัดจะทอดควรใช้น้ำมันครั้งเดียวแล้วทิ้งแบบนี้ถึงปลอดภัยสุด
ผู้บริโภคควรปรับตัวอย่างไร กับ ไขมันทรานส์ (Trans fat) (?)
ในส่วนของผลกระทบ จริง ๆ ต้องบอกว่าอยากสนับสนุนสำหรับการประกาศกระทรวงนี้ช่วยผู้บริโภค คือ การที่กินไปในอดีตไม่มีใครทราบเลยว่าได้รับไขมันทรานส์หรือไม่ แต่ในอนาคตบทกระทรวงนี้จะไปบังคับกับผู้ผลิตไม่ให้ใช้ของที่ไม่ดีมาให้กับผู้บริโภค
ในขณะเดียวกันถามว่าราคาของอาหารจะเพิ่มขึ้นหรือไม่ต้องบอกว่าของส่วนใหญ่ที่มีไขมันทรานส์มันจะเป็นของที่ไม่ใช่ของจำเป็นในชีวิตประจำวันหรือเรียกง่าย ๆ ว่า ไม่ใช้อาหารหลัก
ผลกระทบจากการเปลี่ยนการใช้ไขมันทรานส์ (Trans fat) จะมีผลอย่างไรบ้างและจะกระทบต่อผู้ผลิตอย่างไร (?)
เมื่อมีการยกเลิกการใช้ไขมันทรานส์แล้วก็อาจจะมีผลทำให้ต้องไปใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพมากขึ้นและอาจจะส่งผลให้ราคานั้นเพิ่มตามไปด้วยเพื่อสุขภาพ ซึ่งบางอุตสาหกรรมที่ก็ต้องยอมรับถึงต้นทุนที่อาจจะต้องใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพแต่อาจจะต้องลดขนาดของผลิตภัณฑ์ลง นับได้ว่าเป็นการเปลี่ยนที่ทุกฝ่ายต้องยอมรับด้วย และปัจจุบันเริ่มมีการขยับตัว
ยกตัวอย่างเช่น
ห้างร้านบางแห่ง อย่างร้านเบเกอรี่ก็จะเห็นได้ว่ามีการขึ้นป้ายระบุเลยว่า ‘ปราศจากไขมันทรานส์’ ซึ่งจากการกระตุ้นว่าไขมันทรานส์นั้นไม่ดีบรรดาผู้ผลิตหรือห้างสรรพสินค้าบางที่ที่ได้โฆษณาว่าไม่ใช้ไขมันทรานส์ กลับได้ผลตอบรับที่สินค้านั้นขายดีขึ้น เรียกได้ว่าเป็นเรื่องที่ดีตามมาเรื่อย ๆ ด้วย
6 วิธีปลอดภัยจาก ไขมันทรานส์ (Trans fat)
- ลด/เลี่ยง อาหารที่มีส่วนประกอบของมาการีน (เนยเทียม) หรือ เนยขาว
- หลีกเลี่ยงการใช้ไขมันที่มีข้อความ “Partially hydrogenate”
- ไม่ใช้ไขมันพืชผ่านกรรมวิธี
- ดื่มนมไขมันต่ำ Low fat milk หรือ นมที่ไม่มีไขมัน Skim mlik แทนนมไขมันที่เต็มส่วน Whole milk
- หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์เนื้อสัตว์ไขมันสูง เนื้อสัตว์ติดมัน หันมารับประทานปลาแทน
- กินผักและผลไม้ทุกมื้อ
ไขมันทรานส์หรือ (Trans fat) อาจเกิดจากกระบวนการใช้ไฟแรงด้วยหรือไม่ (?)
ถูกต้องแล้ว โดยเฉพาะอะไรที่จะทำให้ไขมันดีอยู่แล้วกลายเป็นไขมันที่ไม่ดีก็คือ กลุ่มที่เปิดใช้ไฟแรง ๆ ยกตัวอย่างเช่นผัดผักบุ้งไฟแดง เมื่อไหร่ที่ไฟไปโดนน้ำมันก็จะเกิดการเปลี่ยนเป็นน้ำมันที่ไม่ดีนั่นเอง
การเลี่ยงไขมันทรานส์ (Trans fat) จะมีผลต่อชีวิตด้วยไหม (?)
อาหารประจำวันหรืออาหาร 3 มื้อ ที่กินโดยทั่วไปไขมันทรานส์ไม่ได้มีเยอะอยู่แล้ว ฉะนั้นไม่ส่งผลเสียต่อร่างกายแน่นอน
สุดท้ายนี้แล้วแน่นอนว่าทุก ๆ คนนั้นได้รับไขมันทรานส์กันมามากมายเลยทีเดียว
สุดท้ายนี้เมื่อทราบถึงโทษของไขมันทรานส์แน่นอนว่าโทษของอาหารชนิดนั้น ๆ ก็ควรที่จะต้องหลีกเลี่ยงให้ได้มากที่สุด แม้จะเลี่ยงได้ยากก็ตามแต่ เพราะตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานั้นได้รับไปค่อนข้างที่จะเยอะไม่ว่าจะอาหารทอดซ้ำ น้ำมันทอดซ้ำ หากเป็นไปได้ควบคู่กับการเลือกอาหารที่มีประโยชน์หมั่นออกกำลังกายด้วยก็จะช่วยได้อีกมากเลยทีเดียว
Reference:
งานวิจัยเกี่ยวกับไขมันทรานส์
อ้างอิงจาก: pixabay