จริงหรือนี่! กาแฟก็ถือเป็นเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์
ใครจะรู้ว่า กาแฟพวกเราคิดว่า จะใช้ในการบริโภคเพื่อให้ทำงานตาสว่างในทุกๆเช้าหรือเป็นยาแก้ง่วงนอนขนานแท้ได้ดีอย่างหนึ่ง แต่หารู้ไม่ว่ากาแฟก็นำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ก็ได้ค้นพบว่า ตัวเมล็ดกาแฟเองก็มีสารที่ทำให้ติดไฟได้ง่ายและก็สามารถนำมาใช้แทนที่เชื้อเพลิงได้ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องยนต์หรือยานพาหนะชนิดตางๆ วันหนึ่งพวกเราก็อาจจะใช้เชื้อเพลิงเป็นกาแฟก็ได้
ซึ่งน้ำมันที่สกัดจากกากกาแฟใช้แล้วถูกใช้เป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียนสำหรับการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ ในงานปัจจุบัน สามารถรับน้ำมันได้มากถึง 13%
โดยเฉลี่ยทั่วโลกมีการบริโภคกาแฟถึง 2 พันล้านถ้วยต่อวัน ขณะที่มีการผลิตกาแฟเฉลี่ยปีละประมาณ 6 ล้านตัน และในแต่ละปีก็จะมีขยะกากเมล็ดกาแฟหลังจากชงกาแฟเกิดขึ้นถึงปีละ 200,000 ตัน ขณะที่ขยะเหล่านั้น เมื่อสลายตัวก็จะปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศทำให้เกิดภาวะโลกร้อน
กรณีนี้มีการนำประโยชน์จากกากกาแฟที่กลายเป็นขยะให้เป็นพลังงาน ด้วยวิธีนำไปผลิตเป็นน้ำมันไบโอดีเซลเติมรถเมล์ มีใช้จริงแล้วในประเทศอังกฤษ ความนิยมดื่มกาแฟของผู้คนทั่วโลก ทำให้แต่ละปีเรามีขยะจากกากกาแฟมากกว่า 7 พันตันต่อปีและกากกาแฟเหล่านี้หากเราไปทำลายแบบไม่ถูกวิธีจะกลายเป็นการเพิ่มมลภาวะในอากาศให้กับโลกของเรา วิธีการกำจัดกากกาแฟอย่างสร้างสรร ก็คือ การนำไปผลิตเป็นไบโอดีเซล และ ทำเป็นถ่านสำหรับใช้ในครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรม
โดยกากกาแฟแห้งมีค่าความร้อนสูงประมาณ 19.3 MJ/kg ซึ่งพลังงานชีวมวลระดับนี้สามารถนำมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงแข็งได้และพบว่าในกากกาแฟมีปริมาณน้ำมันประมาณ 7-17 wt.% ดังนั้นน้ำมันกาแฟสามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบเพื่อผลิตเป็นเชื้อเพลิงเหลว เช่น ไบโอดีเซล และผลพลอยได้จากกระบวนการสกัดน้ ามันคือ กากกาแฟไร้น้ ามัน สามารถนำมาใช้เป็นแหล่งวัตถุดิบชีวมวลเพื่อผลิตเป็นเชื้อเพลิงแข็งอัดเม็ดนอกจากนั้นการใช้น้ ามันจากกากกาแฟจะช่วยลดการใช้วัตถุดิบเพื่อผลิตไบโอดีเซล เช่น น้้ำมันปาล์ม น้ ามันมะพร้าว และ
น้้ำมันเรพซีด เนื่องจากน้ ามันกาแฟไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่มของน้ ามันเพื่อบริโภค
และมีงานวิจัยหลายงานพัฒนากระบวนการทางเลือกในการผลิตไบโอดีเซลจากกากกาแฟโดยตรง โดยที่ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องสกัดเอาน้ำมันออกมาก่อน เรียกว่า กระบวนการสกัดพร้อมการทำปฏิกิริยา (Reactive Extraction Process; In-situ Transesterification) ซึ่งสามารถลดความซับซ้อนและขั้นตอนการทำไบโอดีเซลจากกากกาแฟ ทำให้กระบวนการผลิตมีขนาดเล็ก และสามารถติดตั้งใกล้กับแหล่งกากกาแฟได้ แต่ยังมีปัญหาเรื่องต้นทุนการผลิตซึ่งจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนากันต่อไป
เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ หรือ เชื้อเพลิงฟอสซิล ( fossil fuel; เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์เป็นศัพท์ทางธรณีวิทยา ส่วนเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นศัพท์ทางวิศวกรรมเครื่องกล) หรือแร่เชื้อเพลิง ( mineral fuel) เป็นเชื้อเพลิงอันเกิดแต่ซากดึกดำบรรพ์ซึ่งได้แก่ไฮโดรคาร์บอนที่พบจากช่วงชั้นดิน ด้านบนสุดของเปลือกโลก
เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์มีตั้งแต่แร่สารระเหยสูง (volatile material) ซึ่งมีอัตราคาร์บอนต่อไฮโดรเจนต่ำ เป็นต้นว่า แก๊สมีเทน ไปจนถึงปิโตรเลียมเหลว (liquid petroleum) และแร่ไร้สารระเหย (nonvolatile material) ซึ่งแร่ไร้สารระเหยนี้มักประกอบด้วยคาร์บอนบริสุทธิ์ เป็นต้นว่า ถ่านแอนทราไซต์ (anthracite coal) ทั้งนี้ แก๊สมีเทนอันมีในแร่สารระเหยสูงเช่นว่าสามารถพบได้ในสารจำพวกไฮโดรคาร์บอนเพียงจำพวกเดียวก็ได้ ในสารจำพวกไฮโดรคาร์บอนประสมกับน้ำมันก็ได้ และในรูปมีเทนผังหนา (methane clathrate) ก็ได้