การเปิดประเทศ ที่มาพร้อมกับการสิ้นสุดมาตรการเยียวยา ความท้าทายครั้งใหม่ของธุรกิจในสนามบิน
ประเทศไทยเผชิญภาวะวิกฤติเศรษฐกิจจากโรค Covid – 19 มาไม่น้อยกว่า 1 ปี ผลกระทบเกิดขึ้นกับหลากหลายธุรกิจ ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทางตรงที่โดนหนักจริงๆคงจะเป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับการเปิดประเทศทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจสายการบิน ธุรกิจโรงแรมและการท่องเที่ยว รวมถึงทางอ้อมพวกธุรกิจห้าง ร้านค้า ธุรกิจกลางคืน ผ่านมาตราการการเยียวยาทุกธุรกิจมาตลอด 1 ปีที่ผ่านมา แต่จากที่ภาครัฐฯบอก ประเทศไทยของเราอีกไม่กี่วันก็จะเปิดประเทศแล้ว หลายๆที่ก็จะได้กลับมาหารายได้ ได้ตามปกติสักที โดยวันนี้จะมาชวนคุยถึงธุรกิจประเภทนึงที่น่าจะฟื้นตัวอย่างมากจากการเปิดประเทศ นั่นคือ ธุรกิจ ในสนามบิน
พูดถึงธุรกิจในสนามบิน ก็มองถึง ธุรกิจให้เช่าพื้นที่เชิงพาณิชย์ ร้านค้า ร้านอาหาร ดิวตี้ฟรี ที่ทำให้เรานึกถึงพื้นที่ในสนามบิน ซึ่งสัมพันธ์กับกลุ่มธุรกิจเกี่ยวกับการบิน และคงต้องนึกถึง ทอท. หรือการท่าฯ ผู้ที่เป็นผู้ให้สัญญาเช่าพื้นที่ต่างๆ ภายในสนามบินเป็นหลัก ซึ่งที่ผ่านมา ทอท. ได้ช่วยเยียวยาธุรกิจต่างๆที่อยู่ในสนามบิน อาทิ การยืดระยะเวลาการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนจากสัมปทาน สัญญาค่าเช่าส่วนต่างๆ ออกไป การให้เงินกู้ Soft loan สนับสนุนธุรกิจท่องเที่ยว การลดค่าเช่า ให้สายการบิน ร้านค้าต่างๆ เพื่อให้ธุรกิจเดินหน้าได้ โดยการเยียวยาครั้งนี้ผู้ประกอบการที่อยู่ภายในสนามบินก็ได้รับการเยียวยาเหมือนกันหมด แตกต่างกันไปก็แค่รายละเอียดของสัญญาเพียงเท่านั้น
ที่ผ่านมาในปี 2020 ปีที่เกิดวิกฤต Covid – 19 พอดี ซึ่งก่อนเกิดวิกฤต ได้มีการประมูลสัมปทานดิวตี้ฟรีในสนามบินสุวรรณภูมิสัญญาใหม่ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประมูล 2 ราย และ คิงพาวเวอร์เป็นผู้ที่ชนะการประมูลสัมปทานดิวตี้ฟรี ภายใต้ผลประโยชน์ตอบแทนแก่ ทอท. ที่มากขึ้นกว่าเดิม แต่ยังไม่ทันจะได้เริ่มต้นสัญญาใหม่ก็มาเจอโควิด แน่นอนการที่คิงเพาเวอร์จะการันตีการส่งผลประโยชน์ให้กับ ทอท. ด้วยจำนวนที่สูงมากขนาดนั้นคงเป็นไปได้ยาก เพราะอีกมุมหนึ่งของสัญญา ทอท. เองก็ต้องมีการการันตีจำนวนผู้โดยสารที่จะเข้าใช้บริการที่สนามบิน ไม่อย่างนั้น คิงเพาเวอร์จะไม่สามารถที่จะคำนวณค่าตอบแทนเป็นรายหัวออกมาได้ แต่ตัวเลขของจำนวนผู้โดยสารก็ไม่ได้เป็นไปตามที่ ทอท. ได้ให้สัญญาเอาไว้ (และ ทอท.ไม่ยกเลิกสัญญา เพราะสถานการณ์ Covid-19 แบบนี้ใครจะกล้าเข้าร่วมประมูล) เลยต้องพยายามช่วยเพื่อให้ธุรกิจที่ตอนนี้เป็น No-Win situation ให้รอดไปจนผ่านวิกฤตให้ได้ โดยมาตรการเยียวยาตรงนี้หาอ่านได้ที่นี่ ...
AOT แจงช่วย ‘คิง เพาเวอร์’ ตามนโยบาย ย้ำยึดผลประโยชน์ผู้ถือหุ้นและประเทศเป็นหลัก – THE STANDARD
https://thestandard.co/aot-king-power-2/
AOT เลื่อนนับสัญญาสัมปทานดิวตี้ฟรี-พื้นที่เชิงพาณิชย์ “กลุ่มคิง เพาเวอร์” เริ่ม เม.ย.65 - ThaiPublica
https://thaipublica.org/2020/07/aot-help-covid-19-3/
ซึ่งหากเปิดประเทศได้จริง จะปรับสัญญาดิวตี้ฟรีของ คิง พาวเวอร์ ให้เป็นตามเดิมในเดือนมีนาคม 2565 โดยค่าผลประโยชน์ตอบแทนขั้นต่ำโดยรวม จะแปรผันตามจำนวนผู้โดยสารที่เกิดขึ้นจริงทันที และค่าตอบแทนขั้นต่ำนี้จะถูกปรับขึ้นทันทีในปีถัดไปตามอัตราการขยายตัวของผู้โดยสารและเงินเฟ้อ โดยไม่ต้องรอให้ผู้โดยสารกลับมาในระดับก่อนวิกฤตดังเช่นผู้ประกอบการรายอื่น และยังคงอัตราค่าตอบแทนขั้นต่ำ ตามสัญญาเดิม (ที่เสนอตอนประมูล ตอนที่ยังไม่เจอวิกฤต Covid -19) ทุกประการ จะเห็นได้ว่าหากมีการเปิดประเทศจริง จะ “สิ้นสุดมาตรการเยียวยา” ให้กับธุรกิจดิวตีฟรีพอดี และสัญญาแทบจะกลับไปเป็นอย่างเดิม (สัญญาที่เสนอตอนประมูล ตอนที่ยังไม่เจอวิกฤต Covid -19)
แต่ก่อนที่จะสิ้นสุดมาตรการเยียวยา หนทางที่จะไปถึงเป้าหมายจุดนั้นได้ก็ค่อนข้างท้าทายความสามารถของผู้ประกอบการอยู่มาก สืบเนื่องจากความไม่แน่นอนของสถานการณ์โรคระบาด ที่อาจจะเกิดการระบาดขึ้นมาใหม่จนทำให้เศรษฐกิจชะงักลงอีกครั้ง รวมไปถึงวิธีการบริหารจัดการจากทางภาครัฐ ถึงแม้ว่าประกาศเปิดประเทศแล้วแต่ปัจจัยที่ทำให้ผู้ประกอบการยังคงไม่สามารถวางใจได้
ยกตัวอย่างจากเหตุการณ์ที่ “สายการบิน” การบินต่าง ๆ คืนสลอตการบินฤดูหนาว หรือ winter schedule 2564-2565 (ระหว่าง 31 ตุลาคม 2564-26 มีนาคม 2565) จำนวนมากนั้นก็ได้สะท้อนให้เห็นถึงความกังวลอะไรหลายๆ
"แอร์ไลน์" แห่คืนสลอตบิน ชี้ 5 เดือนจากนี้ธุรกิจยังไม่เชื่อมั่น (prachachat.net)
https://www.prachachat.net/tourism/news-785125
รวมถึงข่าวที่ ไทยแอร์เอเชีย จ่อปลดพนักงาน 350 คน จาก 5,000 คน เพื่อให้สอดคล้องกับฝูงบินที่มีมีขนาดเล็กลง ก็ทำให้เห็นว่าผู้ประกอบการยังไม่ฟื้นจากอาการบาดเจ็บเท่าที่ควร
https://www.sanook.com/news/8476202/
ถึงแม้ว่าจะมีการเปิดประเทศ ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกอย่างจะกลับมาเป็นปกติได้อย่างฉับพลัน เศรษฐกิจบอบช้ำ ผู้ประกอบการสะบักสะบอมกับการต่อสู้ที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าจะได้รับมาตรการเยียวยาแล้ว แต่ดูเหมือนจะยังไม่เพียงพอที่ผ่าน ทอท.เยียวยาแล้ว แต่ก็ยังไม่น่าจะพอ รัฐฯ จะต้องลงมาสนับสนุนเพิ่มเติม และมิใช่เพียงแค่ธุรกิจสายการบิน หรือการเช่าพื้นที่เชิงพาณิชย์ในสนามบินเท่านั้น รัฐจะต้องสนับสนุนให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว โรงแรม ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า องค์ประกอบอื่นๆ กลับมีความแข็งแกร่ง เพื่อกอบกู้สถานการณ์กลับมาให้ไวที่สุด อย่าลืมว่าการที่จะเปิดประเทศครั้งนี้ต้องดำเนินภายใต้มาตรการใหม่ มีการตรวจโรค ต้องการเพิ่มมาตรการความปลอดภัยของผู้ใช้บริการ ตรงนี้เป็นต้นทุนสำหรับผู้ประกอบการทั้งนั้น ดังนั้นเมื่อประกาศเปิดประเทศแล้วรัฐก็ปล่อยให้ผู้ประกอบการไปจัดการกันเอง รัฐจะต้องมีความช่วยเหลือสนับสนุนตรงนี้ต่อไปอีก เพื่อความอยู่รอดอย่างมั่นคง
อ้างอิงจาก: sanook,prachachat